ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

หอการค้าสงขลาโพลล์ ส่งสัญญาณที่ต้องกังวล และต้องปรับตัว เรื่องยางพาราราคาตก

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 10:53 น. 26 เม.ย 57

ทีมงานประชาสัมพันธ์

หอการค้าจังหวัดสงขลา ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดแถลงข่าว "สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของ จ.สงขลา และ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้" และเปิดตัว หอการค้าสงขลาโพลล์ กับโพลล์แรกเรื่อง ราคายางพาราผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา

[attach=2]

วันนี้ (25 เม.ย.57) เวลา 11.00 น. ที่ โรงแรมซากุระแกรนด์วิว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายสมพร สิริโปราณานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ดร.มาลิน สืบสุข รองประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา ร่วมกันแถลงข่าว ประเด็น "สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา และ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และหอการค้าสงขลาโพลล์ ราคายางพาราผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา และ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งข้อมูลทางด้านยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในพื้นที่ มีการวิเคราะห์ผลกระทบเรื่องยางพาราต่อเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา

ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สถานการณ์ยางพาราในพื้นที่เป็นไปตามกลไกตลาดยางพาราโลก ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจระดับโลกและระดับประเทศยังไม่ฟื้นตัว ส่วนราคายางพาราที่ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม ในอนาคตข้างหน้าความเป็นไปได้ที่ยางพาราจะมีราคาสูงนั้นน้อยมาก หรืออาจจะมีราคาต่ำลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ยางพาราอาจมีราคา 40 บาทต่อกิโลกรัม ฟังแล้วอย่าตกใจนะครับแต่จะบอกให้ป้องกันระมัดระวัง และหาทางปรับตัวถ้าเกิดสถานการณ์นี้ หนึ่งในวลีของ ผศ.ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย ที่ฟังแล้วอาจดูน่ากลัวสำหรับชาวสวนยาง แต่มันคือแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจริงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  พร้อมเผยไอเอ็มเอฟคาดการณ์ 5 ปีข้างหน้าราคายางอาจดิ่งเหวเหลือกิโลกรัมละ 40 บาท ดังนั้นรัฐบาลและประชาชนจึงควรมีการเตรียมแผนการรองรับสถานการณ์ยางพาราที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้

http://youtu.be/EdNBUymEXPY

ทางด้าน ดร.มาลิน สืบสุข ได้กล่าวถึงผลสรุปของหอการค้าสงขลาโพลล์เรื่องของยางพาราไว้ดังนี้

สำหรับผลสำรวจของหอการค้าสงขลาโพลล์


ราคายางพาราในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสงขลามากน้อยเพียงใด

ในการจัดทำการสำรวจของหอการค้าสงขลาโพลล์ ได้รับความร่วมมือจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการจำนวน 65 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจด้านยางพาราที่มีมูลค่ากว่า 60% - 70%

ซึ่งจากผลการสำรวจผลดังกล่าว เป็นดังนี้

ราคายางพาราเฉลี่ย ณ ช่วงของการสำรวจอยู่ที่ 63 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการเห็นว่า 58.7% เห็นว่าระดับราคาดังกล่าวนั้นไม่เหมาะสม 28.6% เห็นว่าเหมาะสมน้อย และร้อยละ 25.6 เห็นว่าเหมาะสมปานกลาง  โดยเห็นว่าราคาที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 95-96 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนผู้ประกอบการที่เห็นว่าราคาดังกล่าวเหมาะสม อย่างไรก็ตามการที่ราคายางพาราอยู่ในระดับ 63 บาทต่อกิโลกรัมนั้น ผู้ประกอบการเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชนในพื้นที่ลดลง นอกจากนั้นยังส่งผลต่อภาระหนี้ของประชาชนชาวสวนยางเพิ่มขึ้น เช่นกัน

ผลกระทบของราคายาง ณ ปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อธุรกิจยางพาราหรือไม่

จากผลการสำรวจพบว่า ราคายาง ณ ปัจจุบัน นั้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจยางพาราในระดับน้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาวะธุรกิจโดยรวม ยอดขาย การจ้างงาน ค่าจ้าง ต้นทุน กำไร และยอดคำสั่งซื้อนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการธุรกิจยางพาราไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ณ ขนาดนี้ หรือหากได้รับผลกระทบก็จะได้รับผลกระทบในระดับปานกลางเท่านั้น

แนวโน้มต่อราคายางพาราของประเทศไทย

จากผลการสำรวจผู้ประกอบการยางพาราเกี่ยวกับแนวโน้มต่อราคายางพาราของประเทศไทย นั้นพบว่า ใน 1 เดือนข้างหน้าระดับราคาอาจมีแนวโน้มอยู่ในระดับ 60.83 บาทต่อกิโลกรัม  3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.50 บาท ต่อกิโลกรัม 6 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 67.50 บาทต่อกิโลกรัม และในอีก 12 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะมีระดับราคาอยู่ที่ 70.17 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าระดับยางพาราในอนาคต อาจมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่โอกาสราคาจะกลับอยู่ที่ 100 บาทนั้น ผู้ประกอบการเองยังไม่แน่ใจว่าจะมีโอกาสหรือไม่เป็นส่วนใหญ่

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

เมื่อพิจารณาทางด้านของระดับราคายางพารา ณ ปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้อยู่ในระดับแย่ลง

สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการ

-   การประกันราคายางพาราที่เหมาะสม
-   ทำวิจัยในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มผลผลิต
-   ส่งเสริมตลาดยางพารา
-   เปลี่ยนแปลงค่า CESS
-   แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
-   ควรใช้กลไกขององค์กรการยาง 3 ประเทศให้เป็นประโยชน์