ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ก็ไม่อยากให้ 'ประวัติศาสตร์' ซ้ำรอย...

เริ่มโดย itplaza, 17:04 น. 18 ส.ค 57

itplaza


แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย ก็ย้ำชัด ระหว่างการพบกับกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ที่มีบทบาทลงทุนในไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ประเทศ จะมีนายกรัฐมนตรี พร้อมทีม ครม. ไม่เกินสิ้นเดือน ส.ค.นี้ แน่นอน พร้อมยืนยัน ต่อหน้ากลุ่มนักธุรกิจตางชาติว่า ที่ คสช.เข้าดำเนินการตั้งแต่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ไม่ได้ต้องการอำนาจ-ผลประโยชน์ โดยพร้อมจะเดินตามแผนโรดแม็ป 3 ระยะ เพื่อเร่งให้ประเทศกลับสู่แนวทางประชาธิปไตย และให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว

วิษณุ เครืองาม ในฐานะที่ปรึกษาคสช.

ทั้งนี้ หากมาพิจารณาการขับเคลื่อนตามแผนโรดแม็ป โดยเฉพาะการก่อกำเนิดแม่น้ำ 5 สาย ทั้งตั้งสนช.-เลือกนายกรัฐมนตรี-ครม.ไปจนถึงกรณีจ่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ สปช.รวมถึง คณะกรรมาธิการยกร่าง รธน.ที่ นายวิษณุ เครืองาม ในฐานะที่ปรึกษา คสช.เคยระบุไว้ก่อนหน้า ต้องถือว่า คณะคสช.ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ สามารถเดินหน้าไปได้ตามแผนโรดแม็ป ถึงแม้มีข้อจำกัด เส้นทางที่ผ่านมามี"ขรุขระ"ไปบ้างก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะต้องไม่ลืมว่า ยามนี้ประเทศไม่ได้อยูในภาวะปกติ เพิ่งผ่านสภาวะขัดแย้งทางการเมืองขั้นรุนแรงมาไม่ถึง 3 เดือน ดี เรียกว่า เกือบเข้าขั้น"กลียุค"

ถึงตอนนี้สังคมอาจไม่มีทางเลือก ต้องมาเอาใจช่วย พล.อ.ประยุทธ์ ให้สามารถฟื้นฟู เศรษฐกิจ สังคม ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ปฏิรูปประเทศในทุกด้าน เพื่อขับเคลื่อนให้ไปสู่จุดหมายปลายทางให้สำเร็จ ในระยะเวลาอีกประมาณ 1 ปีจากนี้



แน่นอนประเด็นการเมืองที่น่าจับตามากที่สุด ขณะนี้ คือ การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และ ครม.ชุดใหม่ ที่หัวหน้า คสช."ย้ำแล้วย้ำอีก"ว่าจะมีนายกฯ และ ครม.ใหม่แน่ ไม่เกินสิ้น ส.ค.นี้ รวมไปถึงโผโยกย้ายนายทหาร ซึ่งที่น่าจับตาหนีไม่พ้น ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และ ผบ.เหล่าทัพ รวมไปถึง การแต่งตั้ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในยุค คสช.ด้วย

ฉะนั้น"อย่ากะพริบตา" หลังช่วงกลางเดือน ส.ค.จากวันนี้ไป (18 ส.ค.) ทุกอย่างจะถูกผลักดันให้เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว หลังโปรดเกล้าฯ ปธ.และ รอง ปธ.สนช.เมื่อวานแล้ว ก็ต่อเนื่องด้วย โหวตนายกฯ -แต่งตั้ง ครม.ประยุทธ์ 1. ตั้ง (ผบ.ทบ.-ผบ.เหล่าทัพ) รวมไปถึงโหวต ผบ.ตร. ที่ยังค้างลำกล้องจะทยอยออกมา ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.

อย่างที่ทราบ"ไฮไลต์"อยู่ที่การสรรหารายชื่อบุคคลที่จะมาทำหน้าที่"ครม.ประยุทธ์ 1"น่าจับตาเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีใครกันบ้าง ยอมรับที่ผ่านมา มีชื่อ"คนเด่น-คนดัง"จากหลายวงการ ถูกเก็งกันว่า จะเข้ามารับหน้าที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ทั้งที่มาจากสาย"ท็อปบู๊ต"หรือ จะเป็นสายมืออาชีพทั้งทาง"เศรษฐกิจ-กฎหมาย-สังคม-วัฒนธรรม"

โผ ครม.ที่กำลังจะออกมาถึงตอนนี้ รายชื่อก็ยังไม่นิ่ง"ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" จึงทดลองคัดรายชื่อเพียงบางส่วนที่มีเค้าจะได้รับทาบทามดำรงตำแหน่งค่อนข้างแน่มาเสนอ แต่ออกตัวไว้ก่อนเลยว่า โผ ครม.ใหม่ชุดนี้ ยังอยู่ในขั้นคาดการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะอย่างที่ทราบกัน บุคคลผู้มีอำนาจเด็ดขาด ที่สามารถเคาะว่า"จะโอเคหรือไม่" ท้ายสุดอยู่ที่คนที่ชื่อ"บิ๊กตู่" ผู้เดียวเท่านั้นที่จะรู้จริง

พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส.

โผ ครม.ประยุทธ์ 1

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควบ หัวหน้า คสช.

พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. เป็น รมว.การต่างประเทศ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง  เป็นรองนายกฯ ควบ รมว.คมนาคม

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

พล.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรองนายกฯ ดูแลงาน ด้านสังคมจิตวิทยา ควบ รมว.ศึกษาธิการ

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองนายกฯ กำกับดูแล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. เป็น รมว.กลาโหม

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผช.ผบ.ทบ.เป็น รมช.พาณิชย์ หรือ รมว.พลังงาน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ คุมเศรษฐกิจ ควบ รมว.คลัง

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อดีตรอง ผบ.ทบ. เป็น รมว.มหาดไทย หรือ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายกฯ น้อย)


พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย คสช.

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย คสช. เป็น รมว.ยุติธรรม

นายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี รมว.อุตสาหกรรม

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสาธารณสุข เป็น รมว.สธ.

พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร เลขาธิการคสช.

ข้ามมาดูที่"โผโยกย้ายนายทหาร"โดยเฉพาะตำแหน่ง"ผบ.ทบ."นาทีนี้ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการ คสช. และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ซึ่งเป็นนายทหาร สายบูรพาพยัคฆ์ สายเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ มีโอกาสสูงยิ่ง นั่งเก้าอี้ "จ่าฝูงกองทัพบก" ขณะที่คู่แคนดิเดต อย่าง พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผช.ผบ.ทบ. มีชื่อติดในโผ ครม.เป็น รมว.ยุติธรรม แทน

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง

ส่วนตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ชื่อของ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ุม่วง รอง ผบ.ตร. กับชื่อของ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. ยังคู่คี่ สูสี ก่ำกึ่ง กันอยู่ แต่ต้องยอมรับว่า พล.ต.อ.สมยศ อาจได้เปรียบกว่าเล็กน้อย

'ชิงดำ' คู่แคนดิเดต (ผบ.ตร.)

เอาเถอะ! ถือซะว่า"อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด" กับโผรายชื่อผู้นำองค์กร"ทหาร-ตำรวจ"ยุคคสช.ถือว่า"ค่อนข้างนิ่งแล้ว"จะเหลือก็แต่รายชื่อ ครม.ชุดใหม่ ที่ยังมีลุ้นกัน"จนถึงวินาทีสุดท้าย" ซึ่งจริงๆ แล้วใครจะได้เป็นหรือไม่ก็ไม่เป็นไร เพราะสิ่งที่สำคัญกว่า คือ"นอกจากบุคคลนั้นต้องมีความรู้-ความสามารถและเป็นที่ยอมรับแล้ว ยังต้องมีความตั้งใจจริง และพร้อมที่จะเสียสละทำงานเพื่อประเทศชาติ โดยต้องไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน" ก็เพื่อไม่ให้ความหวังปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่สุดของประเทศไทย"ต้องเสียเที่ยวเปล่า" อย่างที่หลายฝ่ายออกมาดักคอก่อนหน้า

ทั้งหมดทั้งปวงจากนี้ไปกระบวนการของ คสช. ไม่ว่าจะแต่งตั้งคน หรือจะเป็นการแบ่งงาน เน้นต้องมีความโปร่งใส เป็นธรรม เป็นประจักษ์ในสายตาของสังคม ถึงแม้มีอำนาจพิเศษที่นักการเมืองไม่มี ก็ไม่ควรใช้ เพราะเสี่ยงกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้คนในสังคมที่ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่แรก ฉะนั้น อย่าได้ซ้ำรอยเหมือนนักการเมือง ที่ประกาศรายชื่อ ครม.ออกมาแต่ละที มีแต่คนร้องยี้กันทั้งเมือง

เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติ 2550

ขณะที่  ดร.เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติ 2550 เสนอ วิธีป้องกันความแตกแยกของคนในชาติให้รู้รักสามัคคีกัน โดยแนะให้บัญญัติมาตราไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กำลังจะปฏิรูปจัดทำขึ้น

"ประชาชนคนไทยเป็นคนรู้รักสามัคคี และห้ามมิให้บุคคลใดกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความแตกแยกแก่ประชาชนคนในชาติ บทบัญญัตินี้หากมีข้อถกเถียงกันบ้าง แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจน ก็ควรเพิ่มบทบัญญัติเป็นวรรคสองว่า "หากมีมิปัญหาว่าการกระทำใดที่เป็นการก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติตาม วรรคแรก ให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัย"

ทั้งยังเสนออีกว่า แนวทางนี้ไม่ควรมองข้าม ส่วนการที่หากจะมีผู้ใด นักการเมืองคนใด หรือพรรคการเมืองใดที่สร้างความแตกแยกให้ประชาชนเหมือนที่ผ่านมา ก็จะมีบทบัญญัติต้องเอาผิดเอาโทษคน หรือ พรรคการเมือง



ถือว่าเป็นแนวคิด"เข้าท่าดีเหมือนกัน" เพราะ บทเรียนสำคัญของประเทศที่ผ่านมา คือ นักการเมืองมีการแบ่งเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย ถกเถียงกันแต่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว มีการแก่งแย่งเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ ขณะที่เมื่อเข้ามาได้แล้วก็กลับเอาอำนาจที่ประชาชนทั้งประเทศมอบให้นั้นไปอำนวยแบ่งปันผลประโยชน์กับพรรคพวกกันเอง จนกลายเป็นบ่อเกิดการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมโหฬาร นำมาซึ่งการ ทะเลาะเบาะแว้ง ยั่วยุ ปลุกระดมคนไทยด้วยกันเองให้แบ่งเป็นฝักฝ่าย ไม่มีจุดสิ้นสุด ตลอดเกือบ10 ปีผ่านมา

"ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าว เพียงแต่อาจมีข้อกังวลอยู่บ้าง คือ ต้องมีการกำหนดขอบเขตความหมายให้ชัดเจนลงไปใน รธน.ใหม่เลยว่า"การกระทำใดบ้างที่เข้าข่ายเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการแตกแยกของคนในชาติ เพราะขึ้นชื่อว่า นักการเมืองแล้ว ก็มักจะมีเรื่อง"เถไถ"ไปได้เรื่อยๆ"



หากจำกันได้ ยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง กรณี"สปก.4-01" นักการเมืองก็เคยโต้เถียงกันถึงขั้นจะ"เอาเป็นเอาตาย"เพียงแค่ว่า"ใครคือเกษตรกรและเกษตรกรหมายถึงผู้ใด" ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็ทราบว่า ไทยเราตั้งแต่ในอดีตมา เป็นประเทศเกษตรกรรมติดอันดับ จนกลายเป็นครัวโลก มีพี่น้องประชาชนยึดอาชีพเกษตรกรรม ทำมาหาเลี้ยงชีพกันมาอย่างช้านาน ทั้งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ก็ยังต้องมานั่งตีความกันอีกถึงขั้นต้องส่งตีความตามกฎหมาย จนเป็นที่วุ่นวายมาแล้ว

ก็ไม่อยากให้'ประวัติศาตร์'ต้องมาซ้ำรอยอีก....

ขอบคุณเนื้อหา thairath
ที่มา http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=1&news_id=38786&page=1