ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สงขลา ประชุมเข้มแก้ไขปัญหาอุทกภัยคาบสมุทรสทิงพระ

เริ่มโดย ฅนสองเล, 13:28 น. 29 ก.พ 55

ฅนสองเล

จังหวัดสงขลา ประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อการแก้ไขปัญหาอุทกภัยคาบสมุทรสทิงพระ ครั้งที่  3

วันนี้ (29 ก.พ. 55)  เวลา  09.00  น.ที่ห้องประชุมเปรมปรีด์  โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท  อ.สิงหนคร  จ.สงขลา  นายพิรสิญจ์  พันธุ์เพ็ง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา  เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่  3  (ปัจฉิมนิเทศโครงการ)  โครงการศึกษาความเหมาะสมการแก้ไขปัญหาอุทกภัยคาบสมุทรสทิงพระ  จ.สงขลา   โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า  150  คน
นายธีระเทพ เทพสุยะ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนดกระแสสินธุ์ กล่าวว่า กรมชลประธานได้ว่าจ้างที่ปรึกษา  ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทโปรเกรส  เทคโนโลยี คอนซัลแท็นส์  จำกัด  บริษัท  เอ็นริช  คอนซัลแตนท์  จำกัด  และบริษัท  ทรานส์  เอเชีย  คอนซัลแตนท์  จำกัด  ได้ดำเนินการศึกษาในเรื่องดังกล่าว  โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้ปฏิบัติงานมาแล้วตั้งแต่วันที่  24  กันยายน  2553  รวมระยะเวลาในการศึกษา  540  วัน  และได้กำหนดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะๆ  ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการศึกษาของโครงการ 

โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นครั้งที่  3  เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของโครงการ  รวมทั้งมาตรการในการป้องกัน  แก้ไข  และบรรเทาผลกระทบ  อีกทั้งร่วมหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นผลการศึกษาของโครงการ   เพื่อนำไปพิจารณาประกอบในการปรับปรุงรายงานการศึกษาของโครงการให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สำหรับความคิดเห็นต่อวิธีการแก้ไขปัญหาอุทกภัยคาบสมุทรสทิงพระในครั้งนี้  คือ การสร้างคันกั้นน้ำกระแสสินธุ์สำหรับพื้นที่ตอนเหนือของคลองระโนด  การปรับปรุงคลองหนังและคลองสทิงพระที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลอ่าวไทยให้มีการทางระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทย    โดยการขุดคลองต่อและปรับปรุงขยายความกว้างปากคลอง  การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร   

โดยการปรับปรุงคลองพลเอกอาทิตย์กำลังเอกให้เก็บกักน้ำได้มากขึ้น  และก่อสร้างระบบกระจายน้ำริมคลอง  ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าริมคลอง  ก่อสร้าง ปตร.กั้นน้ำเค็มเข้าคลองสทิงหม้อเพื่อบริหารจัดการแบ่งโซนน้ำจืด-น้ำเค็ม  โดยบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคและอุปโภค  และให้ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดต่อไป