ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

4 ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง?

เริ่มโดย haileyb10, 21:49 น. 24 เม.ย 65

haileyb10

   ว่าด้วยเรื่องของภาวะ 'กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ' โรคที่มักเกิดและพบได้บ่อยในคนสูงวัย ทั้งนี้ปัจจัยหรือสาเหตุของการเกิดนั้นอาจมีได้จากการหกล้มธรรมดาหรืออุบัติเหตุอื่นๆ อย่างเช่น รถยนต์ ตลอดไปจนถึงภาวะการติดเชื้อในกระดูก แต่นอกเหนือจากสาเหตุการเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักที่กล่าวไปในข้างต้นแล้ว ปัจจุบันยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยจะมีปัจจัยอะไรที่ควรทราบเพิ่มเติมบ้าง บทความนี้มีข้อมูลดีๆ มาฝากกัน


ปัจจัยเรื่องของอายุและเพศ
   สาเหตุและปัจจัยของการเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุในขั้นพื้นฐาน นั่นก็คือปัจจัยส่วนบุคคล ทั้งเรื่องของอายุที่มากขึ้นมีส่วนทำให้กระดูกพรุนได้ง่าย กระดูกมีความบางกว่าคนวัยหนุ่มสาว มวลกล้ามเนื้อภายในที่ลดลง รวมไปถึงความสามารถในการมองเห็นที่อาจจะพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเท่าเดิม หรือประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้คล่องแคล่วเท่าคนวัยหนุ่มสาว ทั้งหมดทั้งมวลรวมกันก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มและสะโพกหักได้ง่ายกว่าคนวัยหนุ่มสาวทั่วๆ ไป อีกทั้งยังมีปัจจัยเรื่องของเพศเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ทั้งนี้พบว่าเพศหญิงกว่า 70% สามารถมีภาวะมวลกระดูกที่ลดลงได้ง่ายกว่าเพศชายโดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือนเป็นต้นมา

โรคประจำตัวชนิดเรื้อรัง
   ปัจจัยในลำดับถัดมาที่ส่งผลทำให้กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุนั่นก็คือโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ ในตัวผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะความผิดปกติของลำไส้ในเรื่องของการดูดซึม, ภาวะการขาดแคลเซียมหรือวิตามินดี ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุหรือปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุอาจมีภาวะสะโพกกระดูกหักได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ยาที่รับประทานเป็นประจำ
อีกหนึ่งคำถามยอดฮิตที่แพทย์จำเป็นต้องทราบโดยเฉพาะในผู้สูงวัยนั่นก็คือยาที่รับประทานเป็นประจำ เนื่องมาจากการเลือกรับประทานยาบางชนิดมาเป็นเวลานานๆ เพื่อรักษาโรคประจำตัวก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน อย่างเช่น ยาเพนนิโซโลนที่อาจทำให้ง่วงซึม มึนงง ซึ่งแน่นอนว่าเสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายจนเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุนั่นเอง

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
ปัจจัยและสาเหตุในลำดับสุดท้าย เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่เฉพาะบุคคลมากๆ เลยก็ว่าได้ นั่นก็คือวินัยในการออกกำลังกายรวมไปถึงผู้สูงอายุในบางคนที่ยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์อยู่ จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุเนื่องจากสารคาเฟอีนทั้งหลายล้วนแล้วแต่มีส่วนทำให้สูญเสียความแข็งแรงของมวลกระดูกไปนั่นเอง

จากข้อมูลที่เกริ่นไปในข้างต้น เราในฐานะที่เป็นผู้ดูแลและอยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ เมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่าเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ในบ้าน ผู้สูงอายุหกล้มจากการทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวันจนทำให้มีอุปสรรคในการเดินหรือลุกนั่งให้สันนิษฐานโดยขั้นต้นได้เลยว่าอาจเกิดจากภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ทางที่ดีแนะนำว่าไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยตนเอง แต่ให้จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนพักในท่าที่สบายที่สุดก่อนจะโทรข้อความช่วยเหลือจากรถพยาบาลให้มารับผู้ป่วยไปรักษาในลำดับถัดไป