ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แผ่นดินไหว 3.2 ริกเตอร์ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

เริ่มโดย ฅนสองเล, 09:03 น. 18 เม.ย 55

ฅนสองเล

โดย เนชั่นทันข่าว


สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว รายงาน เมื่อเวลา 04.15 น. เกิดแผ่นดินไหว 3.2 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางที่อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รับรู้แรงสั่นไหวได้ในหลายพื้นที่

แผ่นดินไหวบนเกาะภูเก็ต

ชี้แผ่นดินไหวภูเก็ตแรงสุดในภาคใต้ เตือนจับตารอยเลื่อนคลองมะรุ่ย-ระนอง 
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 17 เมษายน ที่กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี พร้อมด้วยนายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกันแถลงข้อเท็จจริงการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ ที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
นายนิทัศน์กล่าวว่า การเกิดแผ่นดินไหวที่ จ.ภูเก็ต เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ อ. ถลาง มีขนาด 4.3 ริกเตอร์  ซึ่งถือเป็นแผ่นดินไหวบนบกขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในภาคใต้ของไทย และยังเกิดแผ่นดินไหวตามหรืออาฟเตอร์ช็อกจำนวน 5 ครั้ง ขนาด 2.1-2.7 ริกเตอร์ จนทำให้มีบ้านเรือนเสียหายกว่า 30 หลังคาเรือน
ทางด้านนายเลิศสินกล่าวว่า การเกิดแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 11 เมษายน ขนาด 8.6 ริกเตอร์ และ 8.2 ริกเตอร์ที่เกิดตามมานั้น เป็นแผ่นดินไหวคนละเหตุการณ์กัน ไม่ใช่แผ่นดินไหวตามหรืออาฟเตอร์ช็อกตามที่เข้าใจในตอนแรก ซึ่งการเกิดแผ่นไหว 2 ครั้งดังกล่าวส่งแรงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ ที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งเกิดบริเวณแขนงของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทำให้กรมทรัพยากรธรณีต้องเฝ้าระวังกลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยความยาว 150 กม. และกลุ่มรอยเลื่อนระนอง ความยาว 270 กม. ซึ่งกินพื้นที่ตั้งแต่ จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และพังงาเป็นพิเศษ เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มรอยเลื่อน ถือว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีการขยับตัวชัดเจน ทั้งยังเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง และจากวันนี้เป็นต้นไปแผ่นดินไหวที่เกิดจาก 2 รอยเลื่อนดังกล่าวนี้สามารถเกิดได้ทุกเมื่อ แต่ขนาดจะไม่รุนแรงและเป็นแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง 5-6 ริกเตอร์


สมิธ คาดการณ์

สมิทธ เตือนระวังสึนามิ ถล่มอันดามันอีก
13 เม.ย. 55 18.19 น.    พิมพ์หน้านี้ สนับสนุนเนื้อหา  (+ให้คะแนนบทความ) Cancel Rating12345เปิดอ่าน 42,797 ความคิดเห็น 91

สมิทธ เตือนระวังสึนามิ ถล่มอันดามันอีก
สมิทธ เตือนระวังสึนามิถล่มชายฝั่งอันดามันในอนาคตอันใกล้ ชี้ผลมาจากพายุสุริยะทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัว หวั่นกรุงเทพฯ พังราบเป็นหน้ากอง

(13 เม.ย.) นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงการกิดแผ่นดินไหวที่บริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า ที่ไม่เกิดสินามิเพราะเป็นแผ่นดินไหวแนวราบ และก่อนหน้าเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรชาวไทยในองคการนาซ่า ได้ส่งรายงานการเกิดพายุสุริยะ และได้เตือนว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณมหาสุมทรอินเดีย เป็นคำเตือนที่ส่งมาให้ตนล่วงหน้า 1 วันก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ทำให้ตนเชื่อว่าการเกิดพายุสุริยะ มีผลกระทบต่อเปลือกโลกจริง ในปีนี้จะเกิดพายุสุริยะอีกจำนวนมากไปจนถึงปี 2556 แต่รุนแรงที่สุดในวันที่ 21 ธ.ค. ปีนี้ หรือเป็นตามตัวเลข 21/12/12 ตรงตามปฏิทินชนเผ่ามายาที่ทำนายถึงวันสิ้นโลกเอาไว้

นายสมิทธ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศไทยและรุนแรง ซึ่งจะเกิดความเสียหายมาก โดยเฉพาะกรุงเทพฯ พื้นดินเป็นดินอ่อน หากเกิดแผ่นดินไหวห่างจากกรุงเทพฯไปถึง 350 กิโลเมตร ก็ทำให้กรุงเทพฯ พังราบได้ง่าย ๆ ภาครัฐควรเร่งออกสำรวจสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพฯได้แล้ว และเตรียมมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้าได้ตั้งแต่ตอนนี้ จะทำให้ลดความสูญเสียได้มาก

นายสมิทธ กล่าวอีกว่า รอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่พาดผ่านประเทศไทยมีทั้งหมด 13 รอยเลื่อน โดยเฉพาะรอยเลื่อนในทะเลอันดามันน่าห่วงมากที่สุด บริเวณเกาะสอง จ.ระนอง จ.สุราษฐธานี จ.พังงา จ.กระบี่ เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ไปถึงประเทศพม่า รอยเลื่อนพวกนี้มีพลังมาก และถ้าถามว่าไทยจะเกิดคลื่นสึนามิอีกหรือไม่นั้น มีนักวิจัยด้านแผ่นดินไหวชาวไอร์แลนด์ชี้ว่ามีโอกาสที่จะเกิดคลื่นยักษ์ ที่เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งเกาะสุมาตราในอนาคตอันใกล้นี้ และแรงแผ่นดินไหวส่งผลถึงกรุงเทพฯแน่นอน จะเกิดความเสียหายคล้ายกับประเทศเฮติ รวมทั้งมีผลสะท้อนมาจากการไหวอย่างรุนแรงที่ประเทศชิลี ซึ่งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกใหญ่แปซิฟิก เคลื่อนตัวมาทางตะวันออกเมื่อเร็วๆนี้ ทำให้อัตราการไหวเพิ่มถึง
80-90 เปอร์เซ็นต์

แผ่นดินไหวในทางพุทธ

สาเหตุแผ่นดินไหวในพระพุทธศาสนา
ปัจจุบันโลกของเราเกิดแผ่นดินไหวหลายแห่ง ตึกหลายชั้นและบ้านเรือนได้พังทลายลงมาทับผู้คนล้มตาย และได้รับบาดเจ็บกันเป็นจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยตามหลักทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ว่า บริเวณนั้นเป็นบริเวณที่ลาวาภายในโลกยังคุกรุ่นอยู่ ทำให้เกิดรอยแยก เป็นเส้นทางพาดผ่านของภูเขาไฟและพร้อมที่จะปะทุขึ้นมาทุกขณะ

โยมพ่อ "สาเหตุแผ่นดินไหวในพระพุทธศาสนามีกล่าวไว้ในพระไตรปิฏกมีไหมครับ"

ลูกพระ "มี เจริญพร ในมหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค ได้บันทึกเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวไว้ว่า

ประการที่๑ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ ขณะที่ลมใหญ่พัด ย่อมทำ
                ให้น้ำไหว ครั้นน้ำไหว ย่อมทำให้แผ่นดินไหวด้วย และทำให้แผ่นดินแยกแตกกันออก
ประการที่๒ สมณะหรือมีฤทธิ์ถึงความชำนาญทางจิต หรือเทวดา ผู้มีฤทธิ์มาก เจริญปฐวีสัญญา
                เล็กน้อย เจริญอาโปสัญญามาก ย่อมทำแผ่นดินให้ไหวได้
ประการที่๓ ในคราวที่พระโพธิสัตว์เคลื่อนจากดุสิต ก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดา
ประการที่๔ ในคราวประสูติของพระโพธิสัตว์
ประการที่๕ ในคราวตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ประการที่๖ ในคราวที่ทรงแสดงธรรมครั้งแรกของพระพุทธเจ้า
ประการที่๗ ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร
ประการที่๘ ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    แผ่นดินอันใหญ่หนักด้วยของหนัก ถ้าคุณความดีของบุคคลมีมาก จนแผ่นดินไม่อาจรับไว้ได้ จึงสะเทือนสะท้านหวั่นไหว คือ ความไพบูลย์แห่งกำลังบุญทาน เช่น พระเวสสันดร ที่บังเกิดแผ่นดินไหว เพราะพระหฤทัยของท่านนั้น ไม่ได้ทำทานด้วยอำนาจ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฐิ กิเลส ความโกรธ หรือความริษยา แต่ทำด้วยอำนาจแห่งทานอย่างเดียวเท่านั้น"

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

ตั้งสติ วิเคราะหกันอย่างรอบคอบ
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

พุทธญาณพยากรณ์

พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์โดยญาณไว้กับพระอานนท์ว่า อานันทะดูกรอานนท์ ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง จะมีการรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ฝนเหล็กจะตกจากอากาศ ไฟจะลงมาจากอากาศ จะเผาผลาญประชาชน และบุคคลให้พินาศ จะมีการล้มตายซึ่งกันและกันเป็นอันมาก แต่ว่า อานันทะ ดูกรอานนท์ ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะถือว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงนักยังหาได้ไม่ ทั้งนี้ก็เพราะว่าหลังกึ่งพุทธกาลไปแล้ว อานันทะ ดูกรอานนท์ จะมีความร้ายแรงก่อนกึ่งพุทธกาลมาก ยักษ์นอกศาสนาจะรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ยักษ์นอกพุทธศาสนานั่นหมายถึง คนที่ไม่ได้เคารพพระพุทธศาสานจะรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายจะล้มตายกันฝ่ายละมากๆ สมณะ ชี พราหมณ์จะล้มตาย จะตายไปฝ่ายละครึ่งจึงจะเลิกรากัน สำหรับประเทศที่นับถือพุทธศาสนาจะมีภัยเหมือนกัน แต่ไม่ร้ายแรงนัก โลกยังไม่สลาย พระพุทธศาสนาจะทรงอยู่ได้ตลอด ๕,๐๐๐ ปี


แผ่นดินไหวบนเกาะภูเก็ต

 ภูเก็ตเจออาฟเตอร์ช๊อกต่ำ2ริกเตอร์กว่า50ครั้ง   
สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวเผยภูเก็ตเจออาฟเตอร์ช็อกกว่า50ครั้งต่ำกว่า2ริกเตอร์แต่ยังไม่มีผลกระทบ
นักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า จากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 เวลา 16.44 น. ขนาด 4.3 ริกเตอร์ ที่บริเวณอ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นไหวได้ใน จ.ภูเก็ตนั้น ได้มีอาฟเตอร์ช็อก ขนาดมากกว่า 2 ริกเตอร์ (ถึงเวลา 11.30 น.วันที่ 18 เมษายน 2555) จำนวน 12 ครั้ง ซึ่งสามารถรับรู้แรงสั่นไหวได้ในบริเวณ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และยังมี อาฟเตอร์ช็อก ขนาดต่ำกว่า 2 ริกเตอร์ อีกประมาณ 40 ครั้ง ซึ่งไม่มีผลกระทบใดๆ



นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

DtawanDigital

    น่ากลัวจริงๆครับ  ยังงัยเพื่อนๆสมาชิกดูแลตัวเองกันด้วยเน้อ

แผ่นดินไหวบนเกาะภูเก็ต

คนภูเก็ตผวาแผ่นดินไหวอีก3ครั้ง 
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานเหตุแผ่นดินไหวต่อเนื่องที่จ.ภูเก็ตว่า ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้น 3 ครั้ง ระหว่างคืนวันที่ 17 เม.ย. ถึงช่วงเช้าวันที่ 18 เม.ย. โดยมีจุดศูนย์กลางที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ในเวลา 21.56 น. วันที่ 17 เม.ย. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.0 ริกเตอร์ ต่อมาเวลา 00.49 น. วันที่ 18 เม.ย. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 ริกเตอร์ และเวลา 04.15 น. วันที่ 18 เม.ย. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 ริกเตอร์
ซึ่งในช่วงสายวันเดียวกันนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร นำกำลังลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะการซ่อมแซมบ้านเรือนที่แตกร้าว พร้อมสร้างความมั่นใจในการเข้าไปช่วยเหลือหากเกิดเหตุซ้ำ
นายจำเริญกล่าวว่า ในระยะเร่งด่วนต้องเข้าไปช่วยซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้มีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน โดยกำหนดหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ กำหนดจุดอพยพและการให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่ไม่สามารถห้ามได้ สิ่งสำคัญคือต้องมีสติและมีความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุขึ้น โดยที่ผ่านมาได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น จึงนำรูปแบบการบริหารจัดการมาใช้เป็นตัวอย่าง



แผ่นดินไหวบนเกาะภูเก็ต

รายงานแผ่นดินไหวในรอบ 15 วัน 
วันที่ เวลา จุดศูนย์กลาง ละติจูด ลองจิจูด ขนาด ลึกจากพื้นดิน หมายเหตุ
18 เม.ย. 55 23:08 OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA 1° 10' 12'' N 92° 55' 12'' E 4.7  10   
18 เม.ย. 55 20:39 อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 8° 01' 48'' N 98° 19' 48'' E 2.7    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 เม.ย. 55 19:53 อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 8° 00' 00'' N 98° 20' 24'' E 2.2    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 เม.ย. 55 19:48 อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 8° 01' 12'' N 98° 19' 12'' E 2.3    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 เม.ย. 55 17:44 MOLUCCA SEA 0° 25' 48'' N 126° 06' 36'' E 4.4  40   
18 เม.ย. 55 04:19 อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 8° 00' 36'' N 98° 19' 48'' E 2.4    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 เม.ย. 55 04:19 อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 8° 00' 36'' N 98° 19' 48'' E 2.4    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 เม.ย. 55 04:15 อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 8° 01' 12'' N 98° 19' 12'' E 3.2    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
18 เม.ย. 55 02:45 OFF W COAST OF NORTHERN SUMATRA 2° 36' 36'' N 92° 34' 12'' E 5.0  15   
18 เม.ย. 55 00:49 อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 8° 01' 12'' N 98° 19' 48'' E 2.6    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
 

ความรู้เรื่องแผ่นดินไหว

อะไรเป็นสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
ความสั่นสะเทือนของพื้นดินเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทำของธรรมชาติและมนุษย์
ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกโดยฉับพลัน ตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลก หรือตามแนวรอยเลื่อน การระเบิดของภูเขาไฟ การยุบตัวของโพรงใต้ดิน แผ่นดินถล่ม อุกาบาตขนาดใหญ่ตก เป็นต้น
ส่วนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิดต่างๆ การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร เป็นต้น
แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร
แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นได้จาก
1. แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดจากตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน พม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ส่วนมากบริเวณที่รู้สึกสั่นไหวได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพมหานคร
2. แผ่นดินไหวเกิดจากแนวรอยเลื่อนที่ยังสามารถเคลื่อนตัวซึ่งยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนเมยอุทัยธานี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนคลองมะรุย เป็นต้น
ภัยจากแผ่นดินไหวมีอะไรบ้างและส่งผลกระทบอย่างไร
ภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น พื้นดินแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทะลายเนื่องจากแรงสั่นไหว ไฟไหม้ ก๊าซรั่ว คลื่นซูนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางคมนาคมเสียหาย เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดหรือขัดข้อง การคมนาคมทางบก ทางอากาศชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก มีผลต่อการลงทุนและการประกันภัย เป็นต้น
บริเวณใดในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวสูงกว่าบริเวณอื่น
บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทยได้แก่
1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ภาคเหนือและตะวันตก ของประเทศไทย
2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหว เป็นระยะเวลานาน ๆ บริเวณนั้นจะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก
3. บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา เช่น บริเวณที่ลุ่ม หรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น
องค์ประกอบอะไรที่ทำให้ความเสี่ยงและอันตรายจากแผ่นดินไหวเพิ่มมากขึ้น?
มีองค์ประกอบหลายประการที่ทำให้บางบริเวณมีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวหรืออาจได้รับความเสียหายมากกว่าบริเวณอื่น ได้แก่
1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่
2. บริเวณที่เป็นชุมชนหนาแน่น อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวซึ่งมีศักยภาพพอเพียงที่จะทำเกิดความเสียหาย เช่น รอยเลื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหว
3. ช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว หากเป็นช่วงที่เหมาะสม บางครั้งในบริเวณหนึ่งแผ่นดินไหว เกิดในเวลากลางวันจะทำความเสียหายมาก แต่บางบริเวณแผ่นดินไหวที่เกิดในเวลากลางคืนอาจทำความเสียหายมากกว่า ขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมหรือการอยู่อาศัย ของมนุษย์ในช่วงเวลานั้นๆ
4. มีการวางแผน และประชาชนมีความรอบรู้ในเรื่องมาตรการป้องกันและบรรเทาภัย แผ่นดินไหวของบริเวณ ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว หากมีแผนที่ดี อาคาร สิ่งก่อสร้าง สร้างได้แข็งแรงมีมาตรฐาน โดยมีความแข็งแรงสามารถ ป้องกันได้ตามค่าอัตราเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวที่เหมาะสม ตลอดจนรูปร่างที่ดีของสิ่งก่อสร้าง จะสามารถบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ลดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินของชุมชนนั้นได้เป็นอย่างดี
5. ตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบจากการสั่นสะเทือน มีสภาพทางธรณีวิทยาเป็นเช่นไร บริเวณที่เป็นหินแข็งย่อมมีการดูดซับพลังงาน ความสั่นสะเทือนได้ดีกว่าบริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งมักจะขยายค่าความสั่นสะเทือนได้ดี ดังนั้นอาคารสิ่งก่อสร้างในบริเวณ ที่เป็นดินอ่อนจึงควรมีการพิจารณาในเรื่องการก่อสร้างที่เหมาะสมกับค่าแรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
6. ความยาวนานของการสั่นไหว ถ้ายิ่งมีช่วงเวลามาก ความเสียหายจะเพิ่มขึ้นมาก
7. ความลึกของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่เกิดลึกๆ จะสร้างความเสียหายได้น้อยกว่า แผ่นดินไหวตื้น
8. ทิศทางการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน จะมีผลต่อสิ่งก่อสร้างที่อยู่ตรงหรือรับแรงในทิศทางของการเคลื่อนตัว
หน่วยงานใดที่มีความรับผิดชอบหรือมีความเกี่ยวข้องเรื่องแผ่นดินไหวในประเทศไทย
สำหรับการวางนโยบายในระดับประเทศ มีคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยหลายหน่วยงาน และผู้เชี่ยวขาญด้านแผ่นดินไหว วิศวกร รวมทั้งหน่วยงานที่อยู่ในภาครัฐและเอกชน ทำหน้าที่ดำเนิน กิจกรรมด้านแผ่นดินไหวของประเทศทางด้านวิชาการ โดยจัดตั้งโครงการ แผนงานต่าง ๆ เพื่อการป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหวของชาติ มีนาวาเอกขจิต บัวจิตติ เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเป็น รองประธานฯ กองพยากรณ์อากาศเป็นฝ่ายเลขานุการฯ
นอกจากนั้นมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการตรวจวัดแผ่นดินไหว ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวอยู่ทั่วประเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายบริเวณเขื่อน ต่างๆ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ติดตั้งเครือข่าย แบบ ARRAY ที่จังหวัดเชียงใหม่ และกรมชลประทาน ติดตั้งเครือข่ายเล็กๆ บริเวณจังหวัดแพร่
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย จะเกิดแผ่นดินไหวตามมา (After Shock) อีกหรือไม่
โดยปกติไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว ณ ที่ใด เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดในระดับ ปานกลาง ตั้งแต่ 5.0 ริคเตอร์ ขึ้นไป มักเกิดแผ่นดินไหวตามมาอีก แต่ขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมักจะลดลง เช่น เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.0 ริคเตอร์ ขนาด แผ่นดินไหวตามมาจะเป็นแผ่นดินไหว ขนาดโดยประมาณตั้งแต่ระดับ 6 ริคเตอร์ ลงไป เป็นต้น
ขนาด ริคเตอร์ มีความหมายอย่างไร
ริคเตอร์เป็นชื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งค้นคิดวิธีคำนวณขนาดแผ่นดินไหว เป็นคนแรก ดังนั้นเพื่อให้เป็นเกียรติจึงเรียกหน่วยของขนาดแผ่นดินไหว ว่า " ริคเตอร์ "
ขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) เป็นปริมาณที่สัมพันธ์กับพลังงานแผ่นดินไหว คำนวณขนาดได้จากความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว ที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เพื่อบ่งบอกขนาดของแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งที่เกิดหรือที่เรียกกันว่า "ศูนย์กลางแผ่นดินไหว" ขนาดแผ่นดินไหวในทางทฤษฏีไม่มีขีดจำกัด แต่ในความเป็นจริงยังไม่มีแผ่นดินไหวใดเกิดขึ้นเกินกว่า 9.0 ริคเตอร์
ความรุนแรงแผ่นดินไหวคืออะไร?
ความรุนแรงแผ่นดินไหว คือ อันดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว วัดโดยใช้ความรู้สึกของการสั่นสะเทือน กับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว เป็นสิ่งกำหนดอันดับความรุนแรง โดยมีตารางบรรยายเปรียบเทียบ เรียงลำดับจากความรู้สึก ความเสียหายจากน้อยไปมาก รวมถึงสภาพทางธรณีวิทยาที่เปลี่ยนแปลง ในกรณีของประเทศไทยใช้มาตราเมอร์แคลลีซึ่งแบ่งออกเป็น 12 อันดับ
เขื่อนที่สร้างในบริเวณแผ่นดินไหว โดยเฉพาะภาคตะวันตกของประเทศจะเป็นอันตรายหรือไม่?
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้คำรับรองว่าเขื่อน ที่สร้างขึ้นได้คำนึงถึงเรื่องแผ่นดินไหวในการออกแบบโครงสร้าง แล้วและสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ถึงขนาด 7.0 ริคเตอร์ โดยทั่วไปจากสถิติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ซึ่งสามารถตรวจพบในปัจจุบันมีขนาดไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์
ประชาชนควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว?
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ให้อยู่อย่างสงบ มีสติ คิดหาหนทางที่ปลอดภัย หมอบอยู่บริเวณที่สามารถป้องกันสิ่งของหล่นใส่ เช่น บริเวณใต้โต๊ะ ใต้เตียง หลีกเลี่ยงให้ห่างจากหน้าต่าง หากอยู่นอกอาคารให้อยู่ในที่โล่ง อยู่ให้ห่างจากสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว เป็นต้น
ข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีตของประเทศไทยเป็นอย่างไร? โดยเฉลี่ยแผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นปีละกี่ครั้ง และทำไมดูเหมือนว่าปัจจุบันมีแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้น?
ข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีตส่วนใหญ่ บ่งบอกถึงความรุนแรงแผ่นดินไหว ได้รับการบันทึกอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น ปูม พงศาวดาร ศิลาจารึก เป็นต้น มีแผ่นดินไหวรู้สึกได้โดยทั่วไป ส่วนใหญ่มีตำแหน่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศ ข้อมูลแผ่นดินไหวต่างๆ สามารถค้นจากการบันทึกเหล่านี้ พบว่าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทยเกิดขึ้น ตั้งแต่ 624 ปี ก่อนคริสตศักราช บางครั้งเหตุการณ์รุนแรงจนทำให้เมืองล่ม เช่น เหตุการณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 1003 มีการบันทึกว่าเมืองโยนกนครล่ม เนื่องจากการสั่นสะเทือน ส่วนใหญ่เหตุการณ์ได้บันทึกถึงความรู้สึกสั่นไหว ความเสียหาย และความตื่นตระหนก ของผู้คน ปัจจุบันพบว่าแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทยเกิดขึ้นปีละ 6-8 ครั้ง โดยเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงปานกลาง มีตำแหน่งศูนย์กลางทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ
ส่วนสาเหตุที่ดูเหมือนว่า ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นนั้น แท้ที่จริงแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นปกติเช่นนี้ตั้งแต่อดีต แต่เนื่องจากการสื่อสารในอดีตไม่รวดเร็ว จึงทำให้การรับรู้เรื่องความสั่นสะเทือนไม่แพร่หลาย ต่างจากปัจจุบันที่การสื่อสารรวดเร็ว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแม้ว่าอยู่ห่างไกลอีกมุมหนึ่งของโลก ก็สามารถทราบข่าวได้ทันที อีกทั้งความเจริญทำให้เกิดชุมชนขยายตัวล้ำเข้าไป อยู่ใกล้บริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ชุมชนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ดูเหมือนว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในอดีต
กรมอุตุนิยมวิทยา บริการข้อมูลแผ่นดินไหวและด้านวิชาการแผ่นดินไหวประเภทใด ?
กรมอุตุนิยมวิทยาให้บริการข้อมูลด้านการตรวจวัด ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวทั้งในและต่างประเทศ เวลาเกิด ขนาด สถิติแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน ความรู้ วิชาการด้านแผ่นดินไหวและวิศวกรรมแผ่นดินไหวแผ่นดินไหว การดำเนินงานของคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ ความร่วมมือด้านแผ่นดินไหว และวิศวกรรมแผ่นดินไหวระหว่าางประเทศไทยกับ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อาเซียน เป็นต้น
เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหวทำงานอย่างไร รัศมีการตรวจวัดเท่าใด
เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เรียกว่า Seismograph มีหลักทำงานอย่างง่ายๆ คือ เครื่องมือจะประกอบด้วย เครื่องรับความสั่นสะเทือน แปลงสัญญานความสั่นสะเทือนเป็นสัญญานไฟฟ้า จากนั้นถูกขยายด้วยระบบขยายสัญญาน และแปลงกลับมาเป็นการสั่นไหว ของปากกาที่บันทึกบนแผ่นกระดาษ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีสัญญานเวลาปรากฏบนกระดาษบันทึกอย่างสม่ำเสมอทุกนาที ทำให้ทราบว่าคลื่นแผ่นดินไหว ที่เดินทางมาถึงสถานีเมื่อไร รัศมีการตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว ของกรมอุตุนิยมวิทยาสามารถ ตรวจคลื่นแผ่นดินไหวได้ทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่การคำนวณตำแหน่ง เวลาเกิด ขนาดแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาจะคำนวณเฉพาะคลื่นแผ่นดินไหว ใกล้ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร
เครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยามีกี่แห่งที่ไหนบ้าง
ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยามีสถานีตรวจแผ่นดินไหวอยู่ 2 ระบบ ได้แก่
1. ระบบ Analog ได้แก่ ที่ จังหวัด เชียงราย น่าน ตาก นครสวรรค์ เขื่อนเขาแหลม กาญจนบุรี เลย อุบลราชธานี ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต สงขลา และจันทบุรี
2. ระบบ Digital ได้แก่ ที่ จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน แพร่ เลย ขอนแก่น นครราชสีมา กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี และสงขลา
ความรุนแรงแผ่นดินไหวเท่าใดที่เริ่มก่อให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้าง?
โดยทั่วไปความรุนแรงแผ่นดินไหว อันดับ VI ตามมาตราเมอแคลลีเสกล เป็นความรุนแรงที่เริ่มต้นก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยกับอาคารสิ่งก่อสร้างในบริเวณใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว
ในอดีตนั้นเคยมีแผ่นดินไหวในประเทศไทยซึ่งทำความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างอย่างชัดเจน ที่ไหน เมื่อไร?
แผ่นดินไหวที่เกิด บริเวณอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ ทำให้ความเสียหายให้กับโรงพยาบาลอำเภอพาน โรงเรียน และวัดต่าง ๆ นับสิบ ๆ แห่ง บริเวณใกล้ศูนย์กลาง บางอาคารถึงกับขั้นใช้การไม่ได้
ทำไมจึงเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ๆ ในต่างประเทศ แต่ไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในประเทศไทย?
การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทำได้อย่างไร แผ่นดินไหวใหญ่ที่เกิดในต่างประเทศ เกิดเนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในแนวของ แผ่นดินไหวโลก ซึ่งเป็นรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ส่วนประเทศไทยนั้นไม่อยู่ย่านดังกล่าว แต่มิใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหว นักธรณีวิทยาพบว่า ยังมีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวได้แก่รอยเลื่อนใหญ่ๆ หลายแนวซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ทราบถึง ลักษณะที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ได้หรือไม่ โดยทั่วไป ในปัจจุบันอันตรายที่เกิดขึ้นของภัยแผ่นดินไหว ในประเทศไทยมักเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดกลาง ส่วนเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนทั้งในระยะสั้นระยะยาว ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเสี่ยงที่เหมาะสม สร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตามความเสี่ยงของแผ่นดินไหว ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน และบรรเทาภัยเมื่อก่อนเกิด ขณะเกิด และภายหลังการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหว ได้หรือไม่?
เรื่องของการพยากรณ์แผ่นดินไหวปัจจุบันยังไม่สามารถกระทำได้ให้ถูกต้องแม่นยำ ทั้งด้านเวลาและสถานที่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ จึงยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกในอนาคต การดำเนินการศึกษา เพื่อการพยากรณ์แผ่นดินไหวในปัจจุบันมีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจวัดของค่า พารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น วัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก วัดค่า แรงเค้น (Stress) และความเครียด (Strain) ของเปลือกโลก วัดก๊าซเรดอน วัดสนามแม่เหล็กโลก วัดค่าความโน้มถ่วงในพื้นที่ต่างๆ วัดคลื่นความถี่วิทยุ รวมถึงการสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น น้ำใต้ดิน พฤติกรรมของสัตว์ และอื่นๆ เป็นต้น
แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่บริเวณใด เกิดเมื่อไร ขนาดเท่าใด?
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 จนถึงปัจจุบันกรมอุตุนิยาวิทยาตรวจพบแผ่นดินไหวที่มีขนาดสูงสุดที่บริเวณอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ มีความสั่นสะเทือนซึ่งประชาชน รู้สึกถึงการสั่นสะเทือนได้เกือบทั้งประเทศ



คืบหน้าแผ่นดินไหวภูเก็ต

 เตือนภูเก็ตรับมืออาฟเตอร์ช็อกอีก1สัปดาห์ 
  วานนี้ (18 เม.ย.) กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย เหตุการณ์แผ่นดินไหว
เมื่อเวลา 04.15 น. ช่วงเช้าวันนี้ว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 3.2 ริกเตอร์ ที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่เคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยเหตุกาณ์ครั้งนี้ประชาชนใน จ.ภูเก็ต สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ นอกจากนี้ จากการตรวจวัดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.ถึงวันที่ 18 เม.ย.เวลา 08.00 น. ปรากฎว่า เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 3.1 – 4.0 ริกเตอร์ จำนวน 7 ครั้ง แต่มีขนาด 4.1 – 5.0 ริกเตอร์ถึง 14 ครั้งและขนาด 5.1 – 6.0 ริกเตอร์ จำนวน 4 ครั้ง โดยแผ่นดินไหว ล่าสุด มีขนาด 5.0 ริกเตอร์ ในทะเล ที่ระดับความลึก 12 กม.จากผิวโลก เมื่อวันที่ 18 เม.ย. เวลา 02.45 น. ตามเวลาประเทศไทย
ด้านนายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี  กล่าวว่า
จากที่มีการตรวจพบแผ่นดินไหวขนาด 3.2 ริกเตอร์ ในพื้นที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อช่วงเช้ามืดวันนี้ เป็นอาฟเตอร์ช็อกของแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมา และจะมีอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่องไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ แต่จะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ควรศึกษาแนวทางการปฏิบัติตัวรับมือ หากเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ถึงขนาดปานกลาง คือไม่เกิน 6 ริกเตอร์ ซึ่งจะมีผลกระทบกับบ้านเรือนที่มีลักษณะชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น แต่ยังไม่กระทบกับอาคารสูง ทั้งนี้ แนวทางการปฏิบัติตัว คือ หากอยู่ในบ้านชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น ให้ออกจากบ้านโดยทันที ไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง หากอยู่บนตึกสูง ให้หาที่กำบัง เพื่อป้องกันของตกใส่ และใช้เส้นทางหนีไฟ หรือบันไดเท่านั้น และห้ามใช้ลิฟต์อย่างเด็ดขาด.



นายไข่นุ้ย

ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ไม่รู้เมื่อไรจะสงบ ส.อืม
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

สั่นกันทั่วโลกา

 เขย่าโลกอีกแล้ว! เกิดแผ่นดินไหวที่อิหร่าน 2 จุด 5.1 และ 5.2 ริกเตอร์ 
  ที่ประเทศอิหร่าน สำนักธรณีวิทยาสหรัฐ รายงานว่าเกิดแผ่นดินไหวบนบก 2 จุด โดยจุดแรก เมื่อเวลาประมาณ 00.40 น. ตามเวลาประเทศไทย
ขนาด 5.1 ริกเตอร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ จุดศูนย์กลางของใต้พื้นดินลึกราว 62 กิโลเมตร ห่างจากเมืองแบมราว 129 กิโลเมตร และห่างจากเมืองแบนดาร์ อับบาส ราว 198 กิโลเมตร ส่วนจุดที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 01.43 น. ตามเวลาประเทศไทย บริเวณพรมแเดนอิหร่าน - อิรัก ขนาด 5.1 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ใต้พื้นดินลึกราว 80 กิโลเมตร ห่างจากเมืองเดซฟูล ของอิหร่าน ราว 127 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเตหะราน เมืองหลวงอิหร่าน ราว 530 กิโลเมตร
เบื้องต้น ยังไม่มีรายงานผลกระทบจากทางการอิหร่าน ทั้งนี้ จูดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งนี้ ยังอยู่ห่างจาก เมืองอัลอามาราห์ ของอิรัก ราว 80 กิโลเมตร และห่างจากเมืองอัลกูด 116 กฺดลเมตร แต่ก็ยังไม่มีรายงานผลกระทบจากทางการอิรัก เช่นกัน


จุดสุดยอด

ใกล้แล้ว ใกล้จะถึงจุดสุดยอดของการสะสมพลังงานใต้ดินที่จะปลดปล่อยพลังงานสะสมใต้พื้นโลก เพื่อเขย่าขวัญคนทั้งอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวทำให้เกิดคลื่นยักษ์ หรืออาจจะมีการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเลก็อาจเป็นไปได้ โปรดใช้ความระมัดระวังและอย่าขาดสติ สาธุ  ส.อ่านหลังสือ ส.กลิ้ง ส.โบยบิน

แผ่นดินไหวทำบ้านแตกร้าว

ชี้ "เป็นไปไม่ได้" ข่าวลือภูเก็ตจม-ชี้เป็นเกาะหินแกรนิตฐานกว้าง 
  วันที่ 19 เม.ย. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า จากกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวใน จ.ภูเก็ต อย่างต่อเนื่อง
จนขณะนี้มีกระแสข่าวลือ และมีใบปลิวว่อนไปทั่วเกาะภูเก็ตว่า ในวันที่ 28 เม.ย. นี้ เกาะภูเก็ตจะจมลงในทะเลอันดามันทั้งเกาะ ส่งผลให้ประชาชนหวาดกลัวและตื่นตระหนกกันเป็นจำนวนมาก
ด้านนายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า
เรื่องเกาะภูเก็ตจมทั้งเกาะนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเกาะภูเก็ตมีสภาพเป็นหินแกรนิต และมีฐานกว้างมาก เหมือนกับเขาตะปู จ.พังงา ซึ่งหินแกรนิตนั้นมีกำเนิดมาจากแมกมาใต้โลก มีฐานเป็นแผ่นกว้าง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติ คือ หากเกิดแผ่นดินไหวคลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่เร็ว เมื่อเคลื่อนที่เร็วอัตราการทำลายล้างจะจะน้อย หรือต่ำ แต่หากพื้นที่นั้นๆเป็นดินอ่อน จะทำให้คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ช้า เมื่อเคลื่อนที่ช้าจะทำให้อัตราการทำลายล้างเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เกาะภูเก็ตจะจมหรือหักอย่างแน่นอน
"ล่าสุดที่แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 4.3 ริกเตอร์นั้น จากการศึกษาเรื่องอัฟเจตอร์ช็อค พบว่า หลังจากนี้ จะมีอัฟเตอร์ช็อคตามมาอีกประมาณ 10 วัน คือ หลังจากนี้ แต่จะเป็นอัฟเตอร์ช็อคแบบรู้สึกได้ 1 ครั้ง และรู้สึกไม่ได้ แต่เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวจับได้ ตามมาอีก 3 ครั้ง เป็นแบบนี้สลับกันไป สำหรับพื้นที่ ที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายเป็นรอยร้าว ขอให้เฝ้าสังเกตว่ารอยร้าวที่เกิดขึ้นนั้นเพิ่มขึ้นมาหรือไม่ หากพบว่ารอบร้าวเพิ่มขึ้นให้รีบแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสำนักงานโยธาธิการจังหวัด เพื่อจะเข้าไปตรวจสอบความมั่นคงโครงการตัวอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย"นายเลิศสิน กล่าว
นายเลิศสิน กล่าวอีกว่า สภาพธรณีวิทยา ธรณีสัญฐาน และตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ไกลจากรอยต่อของเปลือกทวีป หรือแผ่นเปลือกทวีป
ทั้งนี้เปลือกโลกจะมีรอยต่ออยู่หลายแผ่น ซึ่งรอยต่อแผ่นเปลือกโลกนี่เองที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว แต่ประเทศไทยเราอยู่ไกลจากรอยต่อแผ่นเปลือกโลก แม้ว่าเราจะรับรองแบบ 100% ไม่ได้ว่า จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศไทย แต่โอกาสที่จะเกิดไหวมากขนาดตึกพังมีน้อยมาก ดังนั้นอยากให้ทุกคนต้องเรียนรู้ร่วมกันว่า หากเกิดแผ่นดินไหวเราต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะปลอดภัย



กทม.สั่งตรวจอาคาร

กทม.ผวาแผ่นดินไหวเร่งตั้งทีมสำรวจความแข็งแรงตึกสูง 50 เขตทั่วกรุง "มท.1" ชี้ แผ่นดินไหว "ภูเก็ต" เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่รุนแรง เล็งออก"ทีวีพูล" แทนหาก "ยิ่งลักษณ์" ไม่อยู่ ยันการเตือนภัยไม่ได้ล่าช้า ประสาน ส.ส.พื้นที่ตลอด
19เม.ย.2555 นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ประธานสภากรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงเหตุแผ่นดินไหวในช่วงระยะหลังว่า ถึงแม้กรุงเทพฯจะไม่เป็นศูนย์กลางของแผ่นดินไหวแต่ก็รับถึงแรงสั่นสะเทือนถึงได้ โดยเฉพาะตึกสูงที่อยู่ใจกลางเมือง ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีก โดยมีการประชุมร่วมกับคณะกรรรมการฯที่กำกับดูแลในด้านการป้องกันภัยพิบัติและโครงสร้างอาคารสูง และได้มอบหมายให้คณะกรรมการสำรวจอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่และอาคารมหรสพทั้ง 50 เขต เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบระบบป้องกันภัยพิบัติ อาทิ ภัยน้ำท่วม แผ่นดินไหวโดยจะให้สำนักการโยธาไปสำรวจอาคารสูงว่ามีระบบป้องกันอัคคีภัย และระบบรองรับแผ่นดินไหวหรือไม่
นายสุทธิชัย กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้กทม.จะเชิญผู้ประกอบการอาคารสูงเข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นถึงแนวทางการป้องกันภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม จากนี้จะเสนอผู้บริหารกทม.ให้ทบทวนข้อบัญญัติการควบคุมอาคารในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยและการป้องกันเหตุแผ่นดินไหวซึ่งจะมีการเสนอญัติดังกล่าวในที่ประชุมสภากทม. ให้มีการพิจารณาแก้ไขเป็นการเร่งด่วน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้วย


puiey

ถ้าเปลี่ยนรัฐบาล อาเพสต่าง ๆ จะหมดไปมั๊ยนะ เพราะประมาณเกือบปีที่ผ่านมานี่มันหลายเรื่องแล้วนะ
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

คิดลบใครรู้ตอบหน่อย

บ้านที่เราอยู่ เอาเป็นว่า คอนกรีต สองชั้น รับแรงสั่นของแผ่นดินไหวได้สูงสุด กี่ริกเตอร์ ถึงจะพังตัวลงมา สัก 7 ริกเตอร์ ต่อเนื่อง ซัก1นาที บนพื้นดิน ถึงไหม ที่ เฮติ และ จีน เท่าไหร่แล้ว คนตายเป็นหมื่นเป็นแสน สมมตินะ ถ้าเกิดในตัวเมืองที่ประชากรหนาแน่นแถวบ้านเรา ความเสียหายมันจะสักแค่ไหน แต่คงไม่เกิดในไทย เพราะไม่เคยมีประวัติ เกิน 6 ริกเตอร์ในประเทศไทย

หน้าสวน




      สงสัยว่างานนี้พวกบริษัทประกันงานเข้า เอาทั้งภัยธรรมชาติ และ ภัยที่มนุษย์เป็นคนสร้าง

      ส.โอ้โห ส.โอ้โห ส.โอ้โห ส.โอ้โห ส.โอ้โห ส.โอ้โห ส.โอ้โห ส.โอ้โห ส.โอ้โห ส.โอ้โห

        ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊ ส.เอ๊  ส.เอ๊

Nonsense

อ้างจาก: puiey เมื่อ 21:40 น.  19 เม.ย 55
ถ้าเปลี่ยนรัฐบาล อาเพสต่าง ๆ จะหมดไปมั๊ยนะ เพราะประมาณเกือบปีที่ผ่านมานี่มันหลายเรื่องแล้วนะ
ส.โขกกำแพง ส.สั่งสอน ส.สั่งสอน ส.สั่งสอน ส.สั่งสอน ส.หลกจริง