ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

เริ่มโดย ฟ้าเปลี่ยนสี, 08:06 น. 01 มิ.ย 55

ฟ้าเปลี่ยนสี

[attach=1]

พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

พุทธชยันตี 2600 ปี หรือ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (อังกฤษ: Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha's Enlithenment) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555 การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า และประเทศไทย

โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน)

ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555

[attach=2]

พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี (อังกฤษ: Sambuddha jayanthi) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (อังกฤษ: Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้

โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง

พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง

[attach=3]

ประวัติ

คำว่า สัมพุทธชยันตี หรือ พุทธชยันตี สันนิษฐานว่าเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ในประเทศศรีลังกา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยดำริของ พณหัวเจ้าท่าน อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก โดยเรียกว่า การฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ (2500th Buddha Jayanti Celebration) โดยนำคำ Buddha Jayanti (बुद्ध जयंती) ซึ่งเป็นคำเรียกวันครบรอบของชาวอินเดียและเนปาลมาใช้ เพื่อให้เกียรติประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธสังเวชนียสถาน และมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศ พม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษในครั้งนั้น ในประเทศอินเดีย ได้มีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการนำของ ดร.บี.อาร์.อามเพฑกร นำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ การสร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระนี้ และนอกจากนี้ ฯพณฯ ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ยังได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนพุทธอุบัติภูมิอีกด้วย

ในประเทศพม่า ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างปาสาณคูหาเพื่อการทำฉัฏฐสังคีติสังคายนาพระไตรปิฎก สำหรับในประเทศศรีลังกา ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นการประกาศศักยภาพของประเทศศรีลังกาหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 ด้วย

โดยในส่วนของประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้มีการฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีนี้ด้วย โดยจัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย มีการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พระราชบัญญัติล้างมลทิน มีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราวด้วย[14] นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ดี การจัดงานครั้งนั้นในประเทศไทย ได้ใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ" ทำให้คำว่า "พุทธชยันตี" ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่น ๆ

[attach=4]
พิธีฉลองสัมพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ของชาวศรีลังกา ณ พระมูลคันธกุฎี วัดพระเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

บทความ "พุทธชยันตี" โดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

มหาธัมมาภิสมัย
๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

ในฐานะที่ประเทศไทย มีพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ รัฐบาลไทย ได้ประกาศให้ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี อย่างยิ่งใหญ่ ตลอดทั้งปี เนื่องจากเป็นปีที่พระพุทธศาสนามีอายุครบ ๒๖๐๐ ปี โดยการเฉลิมฉลองให้เน้นหนักด้านการปฏิบัติบูชาและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ไปจนถึงระดับชาติ มุ่งให้ประชาชนได้นำหลักธรรมไปปฏิบัติ ตามวิถีชาวพุทธอย่างแท้จริง อันจะทำให้เกิดความมั่นคงแห่งสถาบันชาติพระศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างยั่งยืน

ในระดับนานาชาติ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก รัฐบาลได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม วิสาขบูชาโลก มีผู้นำชาวพุทธเข้าร่วมประชุมกว่า ๘๕ ประเทศทั่วโลก

นับว่า เป็นการประชุมในระดับนานาชาติที่มีชาวพุทธ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน เข้าร่วมประชุมมากที่สุดครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

การฉลองพุทธชยันตี ถูกกำหนดขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น วันประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา หรือ ใช้เรียกการจัดกิจกรรม ในปีที่ครบรอบวาระสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น ฉลองครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษ หรือ ฉลองครบรอบ ๒๖ พุทธศตวรรษ

วันฉลองที่สำคัญนี้เรียกตามสากลว่า Sambuddha Jayanti ๒๖๐๐ ตรงกับภาษาไทย ว่า "สัมพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี" โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้าง ในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชยันตี สัมพุทธชยันตี พุทธชยันตี

เฉพาะประเทศไทย มหาเถรสมาคม ได้มีมติให้ เรียกงานฉลองนี้ว่า "พุทธชยันตี" ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

แม้จะแตกต่างกันเรื่องการใช้คำพูด แต่รวมความแล้ว ก็คือ การจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระเหตุการณ์ที่สำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

ซึ่งเมื่อวาระสำคัญเวียนมาบรรจบอีกพุทธศตวรรษหนึ่ง ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา จึงจัดเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ ดังที่เคยฉลองครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษ หรือ พ.ศ. ๒๕๐๐ มาแล้ว ในขณะนั้น ถือกันว่า พระพุทธศาสนามีอายุถึงกึ่งพุทธกาล โดยในครั้งนั้น กำหนดนับวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นวันแห่งการฉลองพุทธชยันตี

แต่ในครั้งนี้ กำหนดนับวันที่พระบรมศาสดาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเวียนมาบรรจบครบรอบ ๒๖ พุทธศตวรรษ ๒๖๐๐ ปี กำหนดให้เป็นวันฉลองพุทธชยันตี

พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี
พระพุทธศาสนาก้าวสู่พุทธศตวรรษที่ ๒๖


การจัดงานฉลองพุทธชยันตี ก็เพื่อน้อมระลึกถึงชัยชนะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวง อย่างสิ้นเชิง เพราะพระองค์ ทรงตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา เมื่อ ๒๖๐๐ ปี ล่วงแล้ว ทำให้พระนามว่า "สัมมาสัมพุทธะ" ปรากฏขึ้นในโลก เป็นจุดเริ่มต้นแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา อันเกิดจากปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทำให้พุทธศาสนิกชน ได้มีพระธรรมเป็นหลักแห่งการดำเนินชีวิต

ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ณ พระตำหนักสมเด็จฯ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้มีการดำเนินการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ให้เรียกชื่อว่า "งานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า" ให้เสนอเรื่องไปยังรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ ในการดำเนินการจัดงาน พร้อมทั้งให้มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการ โดยมีมหาเถรสมาคม เป็นที่ปรึกษา มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ของบประมาณในการดำเนินการสนับสนุนจากรัฐบาล

ซึ่งคณะกรรมการที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น ได้กำหนดกรอบแนวทางในการจัดกิจกรรม และผู้รับผิดชอบเป็น ๓ ด้าน ประกอบด้วย

๑. ด้านการศึกษา การเผยแผ่ และการปฏิบัติพุทธบูชา มุ่งเน้นส่งเสริมการปฏิบัติธรรม สำหรับพุทธศาสนิกชน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และการมีส่วนร่วมขององค์กรทุกภาคส่วน โดยมี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นผู้รับผิดชอบ และเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรม

๒. ด้านวิชาการ เน้นการประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ

๓. ด้านศิลปวัฒนธรรม มอบให้กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ

และ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานในการประสานจัดกิจกรรม และการประชาสัมพันธ์ และเผยแผ่

การจัดกิจกรรมทั้งหมด มุ่งเน้นให้เกิดการศึกษา การเผยแผ่ การปฏิบัติตามหลักธรรม และการมีส่วนร่วมขององค์กรทุกภาคส่วน พร้อมทั้งประสานการจัดกิจกรรมประชุมสัมมนาทางวิชาการ เพื่อเป็นเวทีถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้ และเข้าใจหลักธรรม ในพระพุทธศาสนามากขึ้น ทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ

ในระดับนานาชาติ คาดว่า จะมีชาวพุทธจากทั่วโลกกว่า ๕,๐๐๐ รูป/คน ซึ่งประกอบด้วยผู้นำทางการเมือง ประมุขสงฆ์ ผู้นำองค์กรชาวพุทธ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป จาก ๘๕ ประเทศทั่วโลกเดินทางมาร่วมงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี และร่วมประชุมวิสาขบูชาโลกครั้งยิ่งใหญ่ โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งจะเป็นการสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างองค์กรชาวพุทธตั้งแต่ระดับประชาคมอาเซียน จนถึงนานาชาติ เพื่อนำพระพุทธศาสนาก้าวไปสู่พุทธศตวรรษที่ ๒๖ ตามนโยบายของคณะสงฆ์และรัฐบาลไทย

สำหรับ หัวข้อหลักที่ใช้ในการจัดงานพุทธชยันตีปีนี้ คือ "พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ"

และ การประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญ ดังนี้
    ๑. พุทธิปัญญาและความปรองดอง
    ๒. พุทธิปัญญาและสิ่งแวดล้อม
    ๓. พุทธิปัญญาและการปรับเปลี่ยนชีวิตมนุษย์

[attach=5]

พุทธชยันตี
๒๕๐๐ ปี แห่งการปรินิพพาน
รัฐบาลไทยประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ


การฉลอง พุทธชยันตี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ ที่ผ่านมาถือกันว่า พระพุทธศาสนามีอายุถึงกึ่ง พุทธกาล จึงจัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ กึ่งพุทธกาลอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อน้อมระลึกถึงการปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และ รัฐบาลไทยได้ถือโอกาสในวาระที่สำคัญนี้ ประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

การฉลองพุทธชยันตี ในครั้งนั้น เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของชาวพุทธนานาชาติ ทำให้ชาวพุทธตื่นตัวไปทั่วโลก และหันมาให้ความสำคัญกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง

ประเทศศรีลังกา ก็ได้ถือเอาการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นการฉลองเอกราช ภายหลังได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑

ดร. อัมเบดการ์ ผู้นำคนจันฑาล ซึ่งเป็นชนชั้นต่ำในอินเดีย ก็ได้ถือโอกาสประกาศอิสรภาพจากการถูกกดขี่ในระบบวรรณะ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย ให้กลับสู่แผ่นดินเกิดอีกครั้ง ภายหลังจากที่ถูกกองทัพมุสลิมเติร์กทำลายไปอย่างราบคราบ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๗ ประมาณ ๑๓๐๐ - ๑๗๐๐ ปี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน โดย ดร.อัมเบดการ์ได้นำชาวอินเดียประมาณ ๒ แสนคนประกาศเลิกนับถือศาสนาฮินดู ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ

ในขณะที่ รัฐบาลประเทศอินเดีย ได้สร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้เป็นอนุสรณ์ ที่กรุงนิวเดลี

ส่วน การเฉลิมฉลองระดับนานาชาติ ในครั้งนั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด "ฉัฏฐสังคีติ" คือ การสังคายนาพระไตรปิฎกนานาชาติ โดยนำพระไตรปิฎกแต่ละประเทศมาเคียบเคียงความถูกต้อง ซึ่งประเทศพม่านับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๖ และได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์ทั้งหลายขึ้นเป็นจำนวนมาก มีพระสงฆ์ไทย และพระสงฆ์จากทั่วโลกเข้าร่วมสังคายนาพระไตรปิฎก ในครั้งนั้น

คณะสงฆ์ไทยนั้น มีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ ครั้งเป็นพระมหาเกี่ยว อุปเสโณ และ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ครั้งเป็นพระมหาช่วง วรปุญโญ วัดปากน้ำ เป็นต้น เป็นตัวแทนคณะสงฆ์ไทย เข้าร่วมประชุมสังคายนาฉัฏฐสังคีตินานาชาติ นับเป็นการเปิดวิสัยทัศน์ของพระสงฆ์ไทยไปสู่นานาประเทศ เป็นครั้งแรกจนก้าวไปสู่การเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ในปัจจุบัน

สำหรับรัฐบาลไทย ในขณะนั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ ด้วยการประกาศให้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ให้วันพระหรือวันธรรมสวนะ เป็นวันหยุดราชการ (ตามประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม๒๔๙๙) สร้างพุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน สร้างพระพุทธรูปปางลีลาเป็นพุทธสัญลักษณ์แห่งพุทธศตวรรษที่ ๒๕ และ มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุด เป็นฉบับแรก เป็นต้น

พุทธชยันตี
๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้
ประเทศไทย ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก

พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เริ่มต้นเมื่อฉลองพุทธชยันตี ๒๕๐๐ ปี พร้อมกับรัฐบาลไทย ประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ครั้นถึง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี พุทธมณฑลได้กลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก

ภายหลังจากตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เผยแผ่พระธรรมคำสอน ไปยังประชาชนทุกชั้นวรรณะ ในชมพูทวีป แม้พระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานแล้ว แต่พระธรรมคำสอนของพระองค์ ได้แพร่ขยายไปยังนานาประเทศทั่วโลก พระพุทธศาสนาได้กลายเป็นศาสนาที่สำคัญของโลกศาสนาหนึ่ง จนกระทั่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่พระพุทธองค์ ประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญขององค์การสหประชาชาติและเป็นวันแห่งการฉลองทั่วโลก โดยประกาศให้วันดังกล่าว เป็นวันหยุดของสหประชาชาติ

เรียกว่าวัน "United Nations Day of Vesak"

คณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชาโลก ๑๔ ประเทศ ได้มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จัดประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๕๕ จากการประชุมคณะกรรมการฯ ที่ประชุมได้หารือกัน ถึงประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ๒๕๕๕ ซึ่งถือว่า เป็นปีที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง อีกวาระหนึ่ง เนื่องจากเป็นปีที่ครบรอบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

โดยในที่ประชุม ได้มีประเทศที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน ๒ ประเทศ คือ ประเทศศรีลังกา และ ประเทศไทย

ที่ประชุมมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นอกจากจะเป็นการถวายเป็นพุทธบูชาฉลอง ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้แล้ว ยังเป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนงานพระพุทธศาสนา และสนองงานคณะสงฆ์ ได้ประสานการจัดงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในโอกาสที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้น อำนวยประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ ครบ ๒๖๐๐ ปี โดยเน้นบูรณาการการศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่หลักธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้และทรงสั่งสอนไปสู่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย อย่างกว้างขวาง รวมถึงกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับมติมหาเถรสมาคม โดยได้สรุปประเด็นความสำคัญของวาระดังกล่าวเสนอมหาเถรสมาคมพิจารณา

ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นปีแห่งการฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

ให้จัดกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาเป็นพิเศษ ทั้ง ๓ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และ วันอาสาฬหบูชา

สำหรับที่พุทธมณฑล มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่จากคณะสงฆ์ไทย คณะสงฆ์นานาชาติ และผู้นำชาวพุทธทั่วโลกกว่า ๘๕ ประเทศ รวมทั้งมีการวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก เพื่อเป็นการประกาศเริ่มต้นการดำเนินงานที่ประเทศไทย ได้รับการยอมรับให้เป็น "ศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก" พร้อมกันนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการฉลองครบรอบ ๒๖ พุทธศตวรรษ มีการบูรณะวัดไทยพุทธคยา วัดไทยแห่งแรกในประเทศอินเดีย บูรณะลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า โดย มหาเถรสมาคม รัฐบาลไทย มูลนิธิไทยพึ่งไทย ร่วมกับประชาชนชาวไทย ซึ่งมีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช รับเป็นประธาน นับเป็นการบูรณะลุมพินีสถาน ครั้งที่ ๓ หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พ.ศ. ๒๕๐) และองค์การสหประชาชาติ (พ.ศ. ๒๕๑๓) เคยบูรณะไว้ มีการมอบรางวัลผู้นำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ แด่ ผู้นำชาวพุทธทั่วโลกกว่า ๘๕ ประเทศ เป็นครั้งแรก มีการจัดตั้งยุวฑูตพุทธชยันตี ตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ หนึ่งใน ๘ ส่วน ที่ตระกูลศากยราชได้รับแบ่งปันเมื่อคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พุทธศักราชที่ ๑ ซึ่งขุดพบที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประเทศอินเดีย และรัชกาลที่ ๕ โปรดฯ ให้บรรจุไว้บนบรมบรรพต (ภูเขาทอง) ออกไปให้ประชาชนสักการะ ตามเกาะรัตนโกสินทร์ และอัญเชิญไปประดิษฐานตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ และ ภาคกลาง ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับแต่ครั้งที่รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯ ให้บรรจุไว้บนบรมบรรพต (ภูเขาทอง) เป็นเวลา ๑๑๓ ปี เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา มีการรณรงค์ให้ครู นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ทำสมาธิ ๑ วัน ๑ นาที ก่อนเริ่มบทเรียน หรือทำงาน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา มีการจัดทำพระไตรปิฎกสากล การจัดทำตำราทางพระพุทธศาสนา และสิ่งของที่ระลึกต่าง ๆ มากมาย

และ ในโอกาสที่พระพุทธศาสนาก้าวเข้าสู่พุทธศตวรรษ ๒๖ อันเป็นพุทธศตวรรษแห่งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มีการรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาเป็นสื่อในการเผยแผ่พระธรรมคำสอน เช่น จัดประกวดภาพยนต์สั้น jariyatam short flim ในหัวข้อ "พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้" ทั้งระดับนักเรียน นักศึกษา และประชาชน และ โครงการสร้าง "พระนักเขียน" เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าแห่งพุทธศตวรรษที่ ๒๖ โดยมุ่งเน้นให้พระสงฆ์ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา

นอกจากนี้ ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ยังขอให้มีการจัดทำธงตราสัญลักษณ์พุทธชยันตีแจกไปยังทุกวัดทั่วประเทศ และวัดในต่างประเทศทั่วโลกอีกด้วย

[attach=6]

ธงธรรมจักร
สัญลักษณ์แห่งพุทธชยันตี


สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เสนอรูปแบบธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ตามคำแนะนำของมหาเถรสมาคม เพื่อเผยแพร่ให้คณะสงฆ์หน่วยงานราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ราชการ วัด และเคหสถาน ซึ่งขนาดของธงเท่ากับธงธรรมจักรทั่วไป พื้นสีเหลือง มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี รูปธรรมจักรมีซี่ จำนวน ๑๒ ซี่ ซึ่งหมายถึง ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔ มีชื่อภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่อภาษาอังกฤษอยู่รอบวงธรรมจักร หากใช้ประดับในต่างประเทศ หรือสถานที่ระดับสากลสามารถสลับระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษก็ได้ โดยแบบธงสัญลักษณ์ได้ผ่านความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม

สำหรับความหมายของธงสัญลักษณ์นั้น

ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สีเขียวแห่งใบโพธิ์  หมายถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง รัศมีแห่งพระธรรมได้ฉายแสงเหนือผืนแผ่นดินไทย และส่องประกายไปยังนานาประเทศ จนประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก

กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยรุ่งเรืองด้วยอารยธรรมแห่งชนชาติไทย ได้เชิดชูพระธรรมคำสั่งสอนของพระพระพุทธเจ้า ให้อำนวยประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ และจะดำรงอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยตราบชั่วกัลปาวสาน

การคำนวณนับปีพุทธชยันตี จาก ๒๕๐๐ ปี แห่งปรินิพพาน ถึง ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้

วิธีกำหนดนับปีทางพระพุทธศาสนานั้น มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง คือ นับวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน เป็น พ.ศ ๑ และ ครบรอบวันปรินิพพานเวียนมาบรรจบอีกครั้ง จึงนับเป็น พ.ศ. ๑ ประเทศอินเดีย ศรีลังกานั้น คำนวณนับ พ.ศ. เร็วกว่าไทย ๑ ปี เพราะเริ่มนับ พ.ศ. ๑ จากวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ขณะประเทศไทยครบรอบหนึ่งปี นับแต่วันปรินิพพาน จึงนับเป็น พ.ศ. ๑

ประเทศไทยจึงฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี ช้ากว่าประเทศอินเดีย และ ประเทศศรีลังกา ๑ ปี

วิธีคำนวณนับ พ.ศ. แบบไทยนั้น ให้เคียบเคียงวิธีนับปีเกิด เช่น อายุ ๗๙ ปีเต็ม ย่างเข้า ๘๐ ยังให้นับเป็นอายุ ๗๙ ปี จนกว่าจะถึงครบรอบวันเกิด จึงให้นับเป็นอายุ ๘๐ ปีเต็ม และย่างเข้า ๘๑

อย่างไรก็ตาม ในวาระสำคัญเนื่องในมหาธัมมาภิสมัยพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้นั้น หากยึดถือตามหลักการคำนวณปีพุทธศักราชแบบไทย ก็อยู่ในช่วงระหว่าง วิสาขบูชาปี ๒๕๕๔ – วิสาขบูชาปี ๒๕๕๕ ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชาปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ตรงกับวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ ๒๕๙๙ ปีเต็ม และย่างเข้าสู่ปีที่ ๒๖๐๐ และพระพุทธศาสนาครบ ๒๖๐๐ ปีเต็ม ในวันวิสาขบูชา ตรงกับวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕

โดยเริ่มนับพุทธศักราชที่ ๑ จากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน จนถึงปัจจุบัน นับได้ ๒๕๕๕ ปี บวกด้วย ๔๕ อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระพุทธองค์ได้ดำเนินพุทธกิจ ภายหลังตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

พ.ศ. ๒๕๕๕ + ๔๕ พรรษา = ๒๖๐๐

ในประเทศต่างๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็ง ได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา ๓ ปี (๒๕๕๓-๒๕๕๕) ดังเช่น ในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดีย เป็นต้น ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัว และยิ่งใหญ่ แม้ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ก็มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา เช่นกัน

รัฐบาลไทยได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองใหญ่ตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ อย่างเป็นทางการโดยสั่งการและสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการและดำเนินการจัดงานอย่างจริงจัง ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เน้นหนักด้านการปฏิบัติบูชา และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติธรรมในหมู่พุทธศาสนิกชน มุ่งให้มีการฟื้นฟูวิถีชาวพุทธตั้งแต่ระดับครอบครัว และชุมชนอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และยั่งยืน อันจะเป็นการเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี และเกิดความมั่นคงต่อประเทศชาติบ้านเมือง

ขอขอบคุณข้อมูล
-วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-บทความ "พุทธชยันตี" โดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

[attach=1]

ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

pa_เฟี๊ยว

 ส.ยกน้ิวให้ นักเรียนจัดทำรายงานส่งครูได้เลยนะเนี๊ย... ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้

ฟ้าเปลี่ยนสี

เพลง พุทธชยันตี ล้านนาบารมี 2600 แห่งการตรัสรู้
ร่วมประกาศ และอนุโมทนาในชัยชนะอันยิ่งใหญ่ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อกิเลสและหมู่มารทั้งปวง

เนื้อร้อง /ทำนอง /ขับร้อง/ กัญญนัทธ์ ศิริ
ดนตรี กฤษดา เครือนวล
อ. นิรุตน์ แก้วหล้า
ดนตรีพื้นเมือง อ. บุญยิ่ง กันธะวงค์

นักร้องตัวน้อยเสียงใส น้ำเพชร ผักกาดแก้ว ข้าวหอม ใบบัว อิม

http://youtu.be/2J3gZImhfig
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

เพลงสัมพุทธชยันตี๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้

พุทธชยันตี โดยรากศัพท์ของคำว่าชยันตีมาจากคำว่า "ชย" คือชัยชนะ อันหมายถึง ชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก พุทธชยันตีจึงมีความหมายว่าเป็น การตรัสรู้และการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

http://youtu.be/7_HqNbRcNj0
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

ฉลองวิสาขบูชา ฉลองพุทธชยันตี ฉลอง ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้

* วันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ชาวพุทธต่างพร้อมหน้า ระลึกคุณพระพุทธองค์
และในปีนี้ เป็นปีที่ยิ่งใหญ่ เป็นป๊มหามงคล ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้

* * ขอก้าวตามรอยพระบาท พระพุทธองค์ ด้วยใจมั่งคงเป็นคนดี ทั้งกายและใจ
หนทางดับทุกข์ ท่านได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ อยู่ที่ใครตั้งใจ จะก้าวตาม (*) , (**), (**)
อยู่ที่ความตั้งใจ และมั่งคง.

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

สาธุ สาธุ สาธุ มหาอนุโมทนาขอกุศลส่งบุญ คณะผู้ผลิตบทเพลง
"เพื่อฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า"
เนื้อร้องและทำนอง โดย แกรมมี
ขับร้องโดย - ยุทธพงษ์ แสงสุวรรณ (หนุ่ม) วงกะลา - พิราพร พรานมนัส (ทราย) ฟาเรนไฮซ์

http://youtu.be/-qzTnFOX-ZM
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

สรภัญญะ
พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี
แห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พุทธยุหยาตราสถลมารคพุทธชยันตี
เนื่องในปีแห่ง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี
แห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าขอจัดงานบวชมหากุศลน้อมถวายเป็นพุทธบูชา
เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาให้ยั้งยืนตลอดกาล

www.thesiamtharawalai.com / สังคมอุดมคุณธรรม กับ เดอะ สยาม ธาราวาลัย / thamxxx2@hotmail.com / 081 494 3770 / นาย ทิวากร ทองอินทร์

http://youtu.be/APOhmQAz5k8
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

แหล่.พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี

พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี วิสาขบูชา จัดทำขึ้นเพื่อ ถวายเป็นพุทธบูชา

http://youtu.be/vqUlyp7j3rk
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

คุณหลวง

    คุณ pa_เฟี๊ยว ประทับใจคำตอบแล้วนะครับ นี่ล่ะน้า เค้าว่าคนดีมีเทวดาคอยช่วยเหลือ  ส.หลกจริง กำลังตกที่นั่งลำบากว่าจะตอบยังไงดี ท่านพี่คนข้างพลาซ่าก็มาช่วยทันเวลา ขอบคุณมั่กๆๆคับ (คารวะ ๓ จอก)

    ด้วยความจริงใจครับ ผมเพิ่งได้ยินคำว่าพุทธชยันตีเมื่อไม่กี่วันมานี่เอง จู่ๆก็โดนคำถามทันที ก็ขอบคุณที่คิดถึงครับ ยังนึกถึงว่าใครจะมาช่วยได้หนอ เพราะตัวเองไม่รู้ หากตอบก็คงตอบแบบสีข้างเข้าถูให้ถลอกปอกเปิกไปนั่นเอง

    พอดีช่วงเวลาแห่งโลกไร้การสื่อสารเพราะที่บ้านไร้เน็ต เลยถ่วงเวลาได้มั่ง แอบเข้ามาดูความเคลื่อนไหวทางโทรศัพท์ช่วงสั้นๆนานๆครั้ง (ขี้เกียจจ่ายค่าเน็ต)

    สำหรับผม เมื่อพุทธชยันตีเป็นวันรำลึกถึงชัยชนะของพระพุทธองค์ ซึ่งตรงวันเพ็ญเดือนหก หรือวันวิสาขบูชา เราก็มีวันรำลึกพุทธชยันตีได้ทุกปีอยู่แล้ว เพียงแต่การครบรอบใหญ่ๆอย่างปีนี้ ก็ควรรำลึกให้ก้องโลกสักทีก็ดีเหมือนกัน แต่กระนั้น ชัยชนะของพระพุทธองค์ก็ยังคงเป็นของพระองค์เอง แล้วเราล่ะ จะมีวันที่เราจะชยันตีให้ตัวเองไหมหนอ

    ลำพังแล้วยังอยากถามท่านพี่คนข้างพลาซ่าอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปีไหนแล้วล่ะครับที่ยูเนสโกประกาศให้พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลสำคัญของโลกในรอบ ๓๐๐๐ ปี และวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก

    ขอบคุณต่อการสงสัย แบ่งปันจากทุกๆท่านครับ

สะบายดี...
มีความสุขในวันประเทศไทยไสวสีครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 13:53 น.  08 มิ.ย 55
    คุณ pa_เฟี๊ยว ประทับใจคำตอบแล้วนะครับ นี่ล่ะน้า เค้าว่าคนดีมีเทวดาคอยช่วยเหลือ  ส.หลกจริง กำลังตกที่นั่งลำบากว่าจะตอบยังไงดี ท่านพี่คนข้างพลาซ่าก็มาช่วยทันเวลา ขอบคุณมั่กๆๆคับ (คารวะ ๓ จอก)

    ด้วยความจริงใจครับ ผมเพิ่งได้ยินคำว่าพุทธชยันตีเมื่อไม่กี่วันมานี่เอง จู่ๆก็โดนคำถามทันที ก็ขอบคุณที่คิดถึงครับ ยังนึกถึงว่าใครจะมาช่วยได้หนอ เพราะตัวเองไม่รู้ หากตอบก็คงตอบแบบสีข้างเข้าถูให้ถลอกปอกเปิกไปนั่นเอง

    พอดีช่วงเวลาแห่งโลกไร้การสื่อสารเพราะที่บ้านไร้เน็ต เลยถ่วงเวลาได้มั่ง แอบเข้ามาดูความเคลื่อนไหวทางโทรศัพท์ช่วงสั้นๆนานๆครั้ง (ขี้เกียจจ่ายค่าเน็ต)

    สำหรับผม เมื่อพุทธชยันตีเป็นวันรำลึกถึงชัยชนะของพระพุทธองค์ ซึ่งตรงวันเพ็ญเดือนหก หรือวันวิสาขบูชา เราก็มีวันรำลึกพุทธชยันตีได้ทุกปีอยู่แล้ว เพียงแต่การครบรอบใหญ่ๆอย่างปีนี้ ก็ควรรำลึกให้ก้องโลกสักทีก็ดีเหมือนกัน แต่กระนั้น ชัยชนะของพระพุทธองค์ก็ยังคงเป็นของพระองค์เอง แล้วเราล่ะ จะมีวันที่เราจะชยันตีให้ตัวเองไหมหนอ

    ลำพังแล้วยังอยากถามท่านพี่คนข้างพลาซ่าอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปีไหนแล้วล่ะครับที่ยูเนสโกประกาศให้พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลสำคัญของโลกในรอบ ๓๐๐๐ ปี และวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก

    ขอบคุณต่อการสงสัย แบ่งปันจากทุกๆท่านครับ

สะบายดี...
มีความสุขในวันประเทศไทยไสวสีครับ

นมัสเต ครับท่าน คุณหลวง

เจอท่านแล้วรู้สึกผิดทุกคราไป รับปากท่านไว้ ยังไปไม่ถึงไหนเลยครับ ขอประทานโทษด้วยน่ะครับท่าน
แต่รับปากอีกคราว่า ประวัติพระโพธิสัตว์กวนอิม ต้องจบแบบสมบูรณ์ในเว็บแห่งนี้ ครับท่าน

ฮ่าๆๆ ความรู้เท่าหางอึ่ง ข้อมูลมีเพียบพร้อมแล้วครับ เพียงแต่เรียบเรียงให้เป็นขั้นเป้นตอนตามลำดับความคิดครับ
ก็เท่านั้นเอง ครับผม เพื่อเป็นประโยชน์กับชนหมู่มากที่เป็นพุทธมามกะ มีพระพุทธพุทธเจ้า เป็น สรณะ ทุกๆท่าน ครับผม

ส่วนปีไหนแล้วล่ะครับที่ยูเนสโกประกาศให้พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลสำคัญของโลกในรอบ ๓๐๐๐ ปี และวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก ขอติดไว้ก่อนน่ะครับท่าน มีโอกาสจะได้มาตอบกันครับ แต่ถ้าท่านใดทราบ ก็ตอบให้ได้แจ้ง จะได้เป็นประโยชน์ และ เพิ่มพูนความรู้ ต่อๆไปครับท่าน

ขอบพระคุณท่านมากครับ ท่านคุณหลวง  ส.หัว
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

pa_เฟี๊ยว

ประทับใจกับพี่สุภาพบุรุษทั้งสองท่านนี้จริงๆค่ะ... ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้

ถ้าท่านทั้งสองเป็นเจ้าคนนายคนอยู่ณ ขณะนี้...บริวารและคนใกล้ชิดท่าน คงจะมีความสุขกับการที่ได้ทำการอันใดที่เกี่ยวข้องกับท่านพี่ทั้งสองโดยมิต้องสงสัยค่ะ... ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ นับถือมากมายค่ะ... ส.สู้ๆ





"24%ของคนที่ติดเหล้า มักเสียชีวิตโดยการฆ่าตัวตาย"

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: pa_เฟี๊ยว เมื่อ 19:39 น.  08 มิ.ย 55
ประทับใจกับพี่สุภาพบุรุษทั้งสองท่านนี้จริงๆค่ะ... ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้

ถ้าท่านทั้งสองเป็นเจ้าคนนายคนอยู่ณ ขณะนี้...บริวารและคนใกล้ชิดท่าน คงจะมีความสุขกับการที่ได้ทำการอันใดที่เกี่ยวข้องกับท่านพี่ทั้งสองโดยมิต้องสงสัยค่ะ... ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ นับถือมากมายค่ะ... ส.สู้ๆ

ไม่ต้องยกถึงขนาดนั้น เดีียวเจอตัวจริงแล้วจะหนาว...ฮ่าๆๆๆ  ส.หัว

ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

[attach=1]

องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก

เนื่องจากคณะกรรมมาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ร่วมพิจารณาและมีมติเห็นพ้องต้องกันประกาศให้วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของโลกทั้งนี้ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวล มนุษย์ทั้งหลายในโลก จะเห็นได้จากการยกเลิกแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเท่ากับเป็นการเลิกทาสโดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกด้วย กล่าวคือ ทรงสอนให้ไม่ฆ่าสัตว์ ให้รู้จักช่วยเหลือสัตว์ เหตุผลสำคัญ อีกประการหนึ่งคือ พระองค์ ทรงเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนา พุทธและทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทน

ความเป็นมา

ในการประชุม International Buddhist Conference ณ กรุงโคลัมโบ ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ บังคลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฐาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถาน และไทย ได้ตกลงกันที่จะเสนอให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองข้อมติประกาศวันวิสาขบูชาให้เป็นวันหยุดของสหประชาชาติ
     
ในการเยือนของประเทศต่างๆ ในอินโดจีนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา ในปี 2542 ก็ได้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือ และได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ได้ด้วยดี
     
คณะทูตถาวรศรีลังกาประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กได้จัดเตรียมร่างข้อมติ และได้ขอเสียงสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ เพื่อให้มีการรับรองข้อมติเรื่องการประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดของสหประชาชาติในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54
     
โดยที่สหประชาชาติประกาศวันหยุดเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว และจะเป็นปัญหาในเรื่องงบประมาณและการบริหารแก่สหประชาชาติ หากประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุด ศรีลังกาจึงได้ตัดสินใจที่จะเสนอร่างข้อมติ ขอให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลที่สหประชาชาติ ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และสำนักงานต่าง ๆ แทนการเสนอให้เป็นวันหยุดซึ่ง ออท. ผู้แทนถาวรประเทศต่าง ๆ รวม 16 ประเทศ ได้แก่ ศรีลังกา บังคลาเทศ ภูฐาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน ได้ร่วมลงนามในหนังสือถึงประธานสมัชชาฯ เพื่อให้นำเรื่องวันวิสาขบูชาเข้าเป็นระเบียบวาระการประชุมของสมัชชาฯ
       
ต่อมาเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2542 General Committee ของสมัชชาฯ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว โดย ออท.ผู้แทน ถาวรศรีลังกาได้กล่าวถ้อยแถลงสนับสนุนหนังสือร้องขอให้ที่ประชุมบรรจุระเบียบวาระดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของ ที่ประชุมสมัชชาเต็มคณะ ออท.ผู้แทนถาวรไทย อินเดีย สเปน บังคลาเทศ ปากีสถาน ไซปรัส ลาว และภูฐาน ได้กล่าวถ้อย แถลงสนับสนุน ซึ่งที่ประชุม General Committee ได้มีมติให้บรรจุเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาเต็มคณะ
   
เมื่อ 15 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ 174 International recognition of the Day of Visak โดยการเสนอของศรีลังกา
     
ในการพิจารณา ประธานสมัชชาฯ ได้เชิญผู้แทนศรีลังกาขึ้นกล่าวนำเสนอร่างข้อมติ และเชิญผู้แทนไทย สิงคโปร์ บังคลาเทศ ภูฐาน สเปน พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดียขึ้นกล่าวถ้อยแถลง สรุปความว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของ พุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรม ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางของ สหประชาชาติ จึงขอให้ที่ประชุมรับรองข้อมตินี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรองความสำคัญของพุทธศาสนาในองค์การสหประชาชาติ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง(observance) ตามความเหมาะสม
     
ที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างข้อมติโดยฉันทามติ ถ้อยแถลงของเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรฯ ศรีลังกาประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ถ้อยแถลงของนายวรวีร์ วีรสัมพันธ์ อุปทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก


แหล่งอ้างอิง
1. ธนากิต วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
2. วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2528.
3. สุภักดิ์ อนุกูล. วันสำคัญของไทย.กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต,2530.
4. ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. ขนมธรรมเนียมประเพณีและวัมนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : 2525
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ผีดำ1

ขอบคุณที่ลงไว้ให้ได้ดูครับ

คุณหลวงนอกระบบ

เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ แต่อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น ศีลพึงรู้ได้จากการคบกันนานๆ สะบายดี...

คุณหลวง


    ส่วนไอ้คำตอบที่ว่า
อ้างถึงเฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ แต่อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น ศีลพึงรู้ได้จากการคบกันนานๆ สะบายดี...

    อันนี้ก็ตอบมาจากโทรศัพท์ เจตนานั้นตอบคุณpa_เฟี๊ยว เพราะรู้สึกเขินกับคำยอจริงๆ จนคิดว่าหากดูกระจกขณะอ่านคำชม ผมคงต้องผะอืดผะอมตัวเองเป็นแน่ ส.ฉันเอง

    คืออยากจะบอกคุณpa_เฟี๊ยวว่า ผมเองก็ทำในสิ่งที่ผมเชื่อ แต่ความเชื่อของผมนั้น ส่วนนึงมาจากความรู้ ส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ และบางส่วนอาจจะมาจากความเชื่อ ดังนั้น จึงมีผิดมีถูกอยู่บ้างกระมัง ดังนั้น จึงไม่ควรเชื่อในสิ่งที่เห็น ที่ได้ยินทันที เพราะว่ามันอาจไม่เป็นอย่างที่พูด

    และคนที่พูดถึงความดี ก็ไม่ได้หมายความว่าคนๆนั้นจะเป็นคนดี การตั้งจินตนาการถึงความเป็นคนดีของบุคคลที่เราเพียงได้ยินสิ่งที่เขากล่าวอาจทำให้เราเข้าใจผิดได้ และหากเมื่อพบตัวจริงแล้วมันไม่เป็นอย่างจินตนาการ มันจะทำให้ใจเสียได้ เป็นการทำร้ายจิตใจตนเองเปล่าๆ และอย่างที่พี่ว่า เจอตัวจริงจะหนาว  ส.หลกจริง

    ศีลหรือความประพฤติของบุคคลนั้น จะสามารถรู้ได้จากการอยู่ร่วมกันนานๆ อย่างในพระพุทธประวัติตอนหนึ่งกล่าวถึงพระเจ้าปเสนทิ จะทรงลองพระพุทธองค์ โดยให้คนของพระองค์ปลอมเป็นนักบวชและแสดงให้น่าเลือ่มใสที่สุด และให้เดินผ่านขณะที่พระองค์ทรงสนทนาอยู่กับพระพุทธองค์ แล้วพระองค์จะถามพระพุทธเจ้าว่าคนเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์หรือไม่

    หากพระพุทธองค์ตอบว่าใช่ แสดงว่าพระองค์รู้ไม่จริง หากตอบว่าไม่ ก็จะจับผิดพระพุทธองค์ว่าอวดความดีแต่ตนและพวกตนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่พระเจ้าปเสนทิกำลังสนทนากับพระพุทธองค์ นักบวชปลอมเหล่านั้นก็เดินผ่านไปให้เห็น พระเจ้าปเสนทิหันไปดูและกราบทูลพระพุทธองค์ว่า นักบวชเหล่านี้น่าเลื่อมใสนัก เห็นจะเป็นพระอรหันต์แน่ๆ พระผู้มีพระภาคเห็นว่าอย่างไรพระเจ้าข้า

    พระพุทธองค์ตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์ยังเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ย่อมไม่สมควรที่จะพยากรณ์อรหันต์ และตรัสคาถาว่า

    "ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกันนานๆ..........................." และอีกสามสี่อย่างที่ผมจำไม่ได้(ต้องค้นดูอีกที) ผมจึงยกมาเพื่อที่จะบอกว่า การอนุญาตให้สังขารจิตทำงานด้วยความเชื่อ ด้วยความศรัทธาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นอาจจะเป็นการทำร้ายจิตใจตัวเองได้ อย่างบางคนที่เคยอ่านหนังสือพระเทศน์แล้วชื่นชม ยกย่อง พอไปเจอของจริงแล้วกลับด่าเสียเพราะไม่เป็นอย่างที่คิด

    อันนั้น เกิดจากการที่สังขารจิตของเขา(การปรุงแต่ง)ทำงานโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น การเขียนหนังสือของเขา คำนิยมของคอื่นๆมาปรุงแต่งให้เป็นบุคคลในฝันของตน เมื่อไม่เป็นอย่างฝันก็เลยผิดหวัง และอาจถึงขั้นพาลด่าว่า นินทาเสียๆหายๆ (ซึ่งมันอาจจะไม่เป็นปัญหาอะไรกับเขา แต่ใจเรามันเสียเอง ทุกข์เอง)

    ดังนั้น หากสิ่งที่ผมทำ ผมเขียน มีประโยชน์อันใดแล้ว ขออนุโมทนาต่อสิ่งดีๆที่ได้รับ แต่อย่าวาดว่าผมเป็นอย่างไร หรือใครเป็นอย่างไร เวลาเจอตัวจริงแล้วจะได้ไม่เสียความรู้สึก เป็นเพื่อนร่วมแ่บ่งปันหนทางสันติกันเถิดครับ

    ขอบคุณคุณpa_เฟี๊ยว ที่ให้ความเชื่อมั่นครับ แต่อย่างที่บอกครับ ศรัทธาพึงมีในตนให้มาก มีความสุขกับความสุขของตน เพราะคนเราสุดท้ายแล้วจะมีความสุขแท้ได้จากใจตนเท่านั้น

    ป.ล.อนึ่ง ท่านพี่คนข้างพลาซ่าอย่าได้เกรงใจเรื่องพระประวัติขององค์แม่ว่าจะช้า เร็ว เพียงใด ผมเข้าใจดีว่าของอย่างนี้มันต้องใช้เวลา ผมเสียอีกที่ควรละอายเพราะไม่ได้อ่านอย่างละเอียดสมกับความทุ่มเท ตั้งใจของท่านพี่ แต่รับรอองครับว่า เมื่อจบแล้ว ผมจะคัดลอก พิมพ์ออกมาเป็นเล่มเพื่ออ่านแน่นอน (ชอบอ่านหนังสือมากกว่าจอ) หวังว่าจะไม่ถูกฟ้องลิขสิทธิ์นะครับ  ส.หลกจริง ส.หลกจริง ส.หลกจริง

    สะบายดี...ในวันหนีเมียมาเล่นเน็ตครับ


(พระพุทธองค์ทรงมีพระดำรัสตอบในครั้งหนึ่งที่มีผู้ทูลถามว่า

     "ดูก่อนมหาบพิตร ศีลถึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ก็ศีลนั้นจะพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้

     "ดูก่อนมหาบพิตร กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ก็กำลังใจนั้น จะพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้

     "ดูก่อนมหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้น จะพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้

     "คนผู้เกิดมาดี ไม่ควรไว้วางใจ เพราะผิวพรรณและรูปร่างไม่ควรไว้วางใจ เพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว เพราะว่านักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปในโลกนี้ ด้วยเครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว ประดุจกุณฑลดินและมาสกโลหะ หุ้มด้วยทองคำปลอมไว้ คนทั้งหลายไม่บริสุทธิ์ในภายใน งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวาร ท่องเที่ยวอยู่ในโลก"

                                                                                                 ชฏิลสูตรที่ ๑ ส. สํ. (๓๕๖))


ขออนุญาติท่าน คุณหลวง เปลี่ยนแปลงบางประการน่ะครับ กราบขอโทษด้วยครับท่าน

สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

pa_เฟี๊ยว

ลงท้ายข้อความว่า"สะบายดี" .... นึกในใจไว้ว่า น่าจะเป็น"ท่านคุณหลวง ส.หัว ส.หัว เข้าใจค่ะ... ส.สู้ๆ








"อูฐ มีเปลือกตาสามชั้น เพื่อป้องกันทรายพัดเข้าดวงตา"