ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ชี้ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเสี่ยงภัยน้ำท่วม-กระทบถึงชาวสวนยาง

เริ่มโดย ฅนสองเล, 15:14 น. 16 มิ.ย 55

ฅนสองเล

[attach=3]

พิบัติภัยในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น  เช่น น้ำท่วม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการตื้นเขินของทะเลสาบสงขลา ซึ่งอาจเป็นผลจากการบุกรุกภูเขาทำสวนยางพารา ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินลงมายังทะเลสาบ  และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปยังอาจจะส่งผลทำให้เกิดอุทกภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนักในช่วงเวลาสั้นๆ มากขึ้น

ด้านการเกษตร คาดว่า สวนยางพารา เส้นเลือดใหญ่ของชาวใต้ได้รับผลกระทบจากการกระจายตัวของฝนที่ตกเกือบทั้งปี ทำให้จำนวนวันที่กรีดยางได้ลดลงจาก 160 วัน เหลือเพียง 100 วัน  ในขณะที่ มังคุด ลองกอง เลื่อนระยะเวลาออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตจากภัยแล้ง ในส่วนของพื้นที่ชายฝั่งทะเล ยังมีข้อสังเกตว่า การปลูกป่าสน ชายหาด หรือปลูกปะการังในทะเล ไม่ส่งผลดี สู้ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเองจะมีความหลากหลายของพันธุ์พืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้มากกว่า
   
สำนักงานนโนบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้จัดสัมมนาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน เพื่อระดมความคิดเห็นเบื้องต้น โดยมีนักวิชาการสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร สังคม การมีส่วนร่วม และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ณ ชายหาดสมิหาลา อ.เมือง จ.สงขลา เพื่อศึกษาประเมินพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งครอบคลุมพัทลุงทั้งจังหวัด สงขลา 12 อำเภอ และนครศรีธรรมราช 2 อำเภอ และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติ และจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น

[attach=8]

นายสมศักดิ์ บุญดาว รักษาการผู้อำนวยการกองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเปิดประเด็นว่า นักวิชาการต้องเป็นผู้พิสูจน์ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบอะไรบ้าง ภัยพิบัติเกิดจากสภาพภูมิอากาศจริงหรือไม่  เพราะจากการศึกษาพิบัติภัยหลายอย่าง เช่น การกัดเซาะชายฝั่ง ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น สร้างสิ่งก่อสร้างลงไป หากมีประเด็นอะไรที่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือพิบัติภัยในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประชาชนจะต้องปรับตัว เช่นจะต้องปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร

[attach=6]

รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ หัวหน้าศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาแบ่งเป็น 12 ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำใหญ่ คือ ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา มีประชากรอยู่มาก รวมทั้ง อำเภอหาดใหญ่ มีเขื่อนหลักคืออ่างเก็บน้ำคลองสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา จุน้ำได้ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่ามีขนาดเล็กมากถ้าเทียบกับที่อื่น เช่น เขื่อนภูมิพล จุน้ำได้หมื่นกว่าล้าน ลูกบาศก์เมตร

ประวัติการเกิดน้ำท่วม ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เกิดตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2376 มีบันทึกว่าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานข้าวสาร จำนวน 1,000 เกวียน แก่ประชาขน  และตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 เป็นต้นมา มีการเกิดน้ำท่วม 16 ครั้งเป็นน้ำท่วมใหญ่ 3 ครั้ง พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2543  และ พ.ศ. 2553  ซึ่งเป็นน้ำท่วมใหญ่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นมามีพื้นที่ท่วมเกิน 3 เมตร ใกล้ทางรถไฟ ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1-3 อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำท่วมประมาณ 2 เมตร ในปีพ.ศ. 2553 มีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมจำนวน 220 ตารางกิโลเมตร จากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง  ฝนในช่วงเวลาเดียวกันตกมากกว่าเมื่อก่อน เดิมฝนเคยตกปริมาณ 40-60 มิลลิเมตร ต่อวัน เพิ่มเป็น 200 มิลลิเมตร ต่อวัน

คลองระบายน้ำ ร.1-คลองระบาย ร.5  ของอำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ก็ช่วยได้บ้าง แต่คลองที่มีในปัจจุบันยังไม่พอ วิธีที่ทำได้คือเพิ่มคลอง ถ้ามีงบประมาณมากพอก็จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมได้ให้คลองรับน้ำโดยตรง แล้วไหลลงทะเลสาบสงขลา
ขณะนี้กรมชลประทาน กำลังของบขยายคลอง ร.1 จากเดิมระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะเพิ่มคันคลองขึ้นมาและระบายน้ำได้มากขึ้นก็จะช่วยได้   และที่ทางหลวงจะสร้างทางหลวงไฮเวย์ ถ้าขุดคลองขนานกับถนนเส้นใหม่ก็ช่วยได้มาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนไป แนวโน้มที่จะเกิดอุทกภัยเพิ่มขึ้น จากฝนตกในช่วงเวลาสั้นๆ จะหนักขึ้น
   
รศ.ดร.สายัณห์ สดุดี คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า  เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ส่งผลกระทบโดยตรงกับการเกษตร ประชาชน  60% ทำการเกษตร  โดยปลูกยางพารา ปาล์น้ำมัน และไม้ผล   ปัจจัยที่มีผลกระทบมากคือการกระจายตัวของฝนปัจจุบันเริ่มไม่มีหน้าร้อน เพราะหน้าร้อนเกิดน้ำท่วม เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลกระทบมาก ปีพ.ศ. 2554 เราไม่มีผลิตผลมังคุด แม้มีฝน แต่เราก็มีช่วงแล้ง  แต่ตอนนี้ไม่มี โดยเฉพาะปี 2554 ผลไม้ไม่ออก ซึ่งเป็นปัญหาในอนาคต ศึกษาย้อนไป 10 ปี พบว่า วันออกดอกของพืชเลื่อนไปเรื่อย จนเมื่อปีที่ แล้ว มังคุด ลองกอง ออกดอกเดือนกันยายน แล้วไปเก็บผลได้เดือนมกราคม ซึ่งไม่เคยเป็นมาก่อน แสดงว่าการออกดอกของพืชถอยไปเรื่อยๆ

   ยางพารา เป็นเส้นเลือดของชาวภาคใต้ ผลผลิตยางพาราลดลงเรื่อยๆ สาเหตุเนื่องจาก  ฤดูร้อนมีฝน ปกติยางพาราต้องมีช่วงที่แล้งจัด  ใบจะร่วงเดือน  เมษายน  ฝนมาพฤษภาคม ฝนทยอยมา ทำให้เกิดโรค เรียกว่า ราแป้ง   ใบผลิแตกมาก็ร่วงหล่น  ปีที่แล้วการกรีดยางของจังหวัดสงขลา บางสวนเหลือไม่ถึง 100 วัน จากปกติเรากรีดได้ 160 วัน  ในอนาคต การกรีดยางก็จะได้รับผลกระทบ ปี 2553 ดีเปรสชั่นเข้า ทำให้สวนยางเสียหายไปจำนวนประมาณ  สองแสนไร่ ในพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ผลกระทบเริ่มใกล้เข้ามา เกษตรกรต้องรู้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเตรียมตัวหรือตั้งรับ
   
[attach=7]

อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สิ่งที่น่ากลัวคือ บางปีจะพบความแห้งแล้ง และไฟป่า  ในขณะที่บางปีจะมีฝนตกมาก จนน้ำจืดทะลักออกสู่ทะเลอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน แนวปะการังบริเวณเกาะหนู เกาะแมว จ.สงขลา มีสภาพเสื่อมโทรมจากปัญหาน้ำจืดและตะกอนที่ออกจากปากทะเลสาบสงขลา

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ทำให้สัตว์น้ำหลายชนิดหายไป ปลาที่มีเคยมีมากกว่า 400 ชนิด พบว่าเหลือเพียง 271 ชนิด เพราะน้ำจืดมากขึ้น ปลาทะเลและสัตว์น้ำอื่นๆ จะไม่เข้ามาในทะเลสาบสงขลา   ในขณะที่ บริเวณท้องทะเลด้านนอก ชาวประมงต้องเดินเรือไปไกลขึ้นกว่า 10 กิโลเมตร ถึงจะเจอปลาและกุ้งที่จะจับ เนื่องจากมีน้ำจืดไหลออกไปจากทะเลสาบสงขลาเป็นปริมาณมาก  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันในระบบนิเวศน์ เพื่อให้ระบบนิเวศปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลง พื้นที่ที่ต้องอนุรักษ์จำเป็นต้องอนุรักษ์อย่างเข้มงวด

ธรรมชาติจะเป็นผู้คัดเลือกว่าใครจะอยู่รอด การฟื้นฟูป่าชายหาด โดยเอาต้นสนไปปลูก ซึ่งไม่เหมาะสมกับชายหาด ต้องพิจารณาไม่ใช่เราอยากปลูกพืชอะไรก็ปลูก โดยไม่สนใจระบบนิเวศน์ดั้งเดิมในแถบนั้น การปกป้องพื้นที่ และปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวมันเอง เราจะได้พรรณไม้ที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลง และมีความหลากหลาย  การฟื้นฟูแนวปะการังก็เช่นกัน เราไม่ควรส่งเสริมการปลูกปะการัง เพราะ ที่ผ่านมาแนวปะการังส่วนใหญ่จะฟื้นตัวได้เอง เพียงอาศัยเวลา โดยต้องปกป้องธรรมชาติ อย่าให้มีการทิ้งน้ำเสียลงไป
   
ผศ.พยอม รัตนมณี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัญหาที่วิกฤตหนักหนากว่าการกัดเซาะชายฝั่งทะเลคือ  น้ำท่วม  จากการตื้นเขินของทะเลสาบ  เพราะไม่มีแหล่งระบายน้ำทะเลสาบสงขลาอาจจะแห้งกลายเป็นสนามกอล์ฟเพราะหน้าดินมันไหลลงมาทะเล   เนื่องจากมีการบุกรุกปลูกยางพาราบริเวณเทือกเขาบรรทัด และเขาหลวง ปัญหานี้จะยังคงมีอยู่ตราบใดที่ยางพาราราคาสูง 
   
ดร.มณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิงแวดล้อม กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม และที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องสร้างจิตสำนึกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องมีการให้ความรู้ มีการฝึกอบรม เตรียมรับเหตุภัยพิบัติ เช่น  ดินถล่ม มีการประสานงานทุกภาคส่วน  การบริหารจัดการ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง แต่ทั้งนี้จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปโดยพิจารณาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไป
   
[attach=4]

ผู้สนใจศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืนเข้าชม ข้อมูลได้ที่  www.onep.go.th/slbproject2555/  และfacebook  โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

powerphone2522

พิมพ์ข้อความผิดพลาดประการใดขออภัยมาน่ะที่นี้ด้วยครับ


puiey

โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

บีซัง


jackbest

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซันคลาร่า และ เพียวไวท์กาแฟสำหรับลดความอ้วน

rosemount