ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ส่งเพื่อนขึ้นรถไฟ

เริ่มโดย จูนค่ะ, 15:00 น. 20 เม.ย 53

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณพี่แอ๊ดมาก ๆ ครับที่ถ่ายภาพทางรถไฟสายสงขลาในปัจจุบันมาให้ชม
ตรงจุดตัดทางรถไฟที่คลองแหนั้น ถ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ (ทางไปบ้านคลองแห)
ซ้ายมือนั้น ในอดีตเคยมีป้ายหยุดรถวัดคลองแหครับ

ขอบคุณคุณยุวชนทหารด้วยครับ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ป้ายสถานีสงขลานั้น หวังว่าคงไม่มีใครไปทำอะไรนะครับ
แม้จะไม่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
แต่อย่างน้อยก็เป็นโบราณวัตถุ ที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของสงขลาครับ
น่าสงเสริมให้เป็นที่ท่องเที่ยว ถ่ายภาพครับ

หม่องวิน มอไซ

สำหรับปริศนา อักษรย่อ ว.น. หรือ ร.น. ที่เสื้อของนักเรียนที่มาส่งเพื่อนขึ้นรถไฟนั้น
ขณะนี้ก็ยังไม่คลี่คลายว่าเป็นโรงเรียนใดกันแน่

เมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์ภาพถ่ายนักเรียนโรงเรียนวชิรานุกูลในภาพนี้
----------------------------------------------------------------------------------------
รูปครูและนักเรียน โรงเรียนวชิรานุกูล สงขลา
รูปนี้ ถ่ายวันไหว้ครู ประมาณปี พ.ศ. 2510 หรือไม่ก็ 2511 ถ่ายบริเวณหน้ามุขของอาคารหลังที่ยาวที่สุด หน้าเสาธง
นักเรียนชั้น ป.6 หรือไม่ก็ ป.7
นักเรียนชาย นุ่งกางเกงขาสั้นสีดำ
นักเรียนทั้งชายและหญิง แขวนป้ายชื่อ แทนการปักชื่อ
พานดอกไม้ที่นัก เรียนผู้หญิงถือ ทำจากสับปะรดทั้งลูก

เจ้าของภาพต้นฉบับ คือนักเรียนที่ถือพานดอกไม้ครับ
-----------------
ก็เป็นอันมั่นใจได้ว่า ภาพส่งเพื่อนขึ้นรถไฟ ไม่ใช่นักเรียนโรงเรียนวชิรานุกูลอย่างแน่นอน
แต่จะเป็นโรงเรียนระโนดหรือไม่นั้น คงต้องค้นคว้ากันต่อไปครับ

Anusorn_ab

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 09:23 น.  27 เม.ย 53
สำหรับปริศนา อักษรย่อ ว.น. หรือ ร.น. ที่เสื้อของนักเรียนที่มาส่งเพื่อนขึ้นรถไฟนั้น
ขณะนี้ก็ยังไม่คลี่คลายว่าเป็นโรงเรียนใดกันแน่

เมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์ภาพถ่ายนักเรียนโรงเรียนวชิรานุกูลในภาพนี้
----------------------------------------------------------------------------------------
รูปครูและนักเรียน โรงเรียนวชิรานุกูล สงขลา
รูปนี้ ถ่ายวันไหว้ครู ประมาณปี พ.ศ. 2510 หรือไม่ก็ 2511 ถ่ายบริเวณหน้ามุขของอาคารหลังที่ยาวที่สุด หน้าเสาธง
นักเรียนชั้น ป.6 หรือไม่ก็ ป.7
นักเรียนชาย นุ่งกางเกงขาสั้นสีดำ
นักเรียนทั้งชายและหญิง แขวนป้ายชื่อ แทนการปักชื่อ
พานดอกไม้ที่นัก เรียนผู้หญิงถือ ทำจากสับปะรดทั้งลูก

เจ้าของภาพต้นฉบับ คือนักเรียนที่ถือพานดอกไม้ครับ
-----------------
ก็เป็นอันมั่นใจได้ว่า ภาพส่งเพื่อนขึ้นรถไฟ ไม่ใช่นักเรียนโรงเรียนวชิรานุกูลอย่างแน่นอน
แต่จะเป็นโรงเรียนระโนดหรือไม่นั้น คงต้องค้นคว้ากันต่อไปครับ

เห็นรูปนี้แล้วนึกถึงตอนที่ผมเรียน ม.ต้น  ผมก็เป็นศิษเก่าที่นี้
ลักษณะการถ่าย นักเรียนยืนอยู่หน้ามุข หันไปเข้าหอประชุมใหญ่ หันหลังให้กับ ถนนทะเลหลวง(วชิรา)
ตอนที่ผมอยู่  ห้องที่อยู่ด้าซ้ายเป็นร้านขายของ  ด้านขวาเป็นโต๊ะประชุมขนาดใหญ่
ปัจจุบันยังเป็นเหมือนเดิมหรือปล่าวหนอ

พี่แอ๊ด

ที่พี่แอ๊ดสงสัยอีกอย่างก็คือ    นายสุเมธ สุนทรัตน์ ได้จัดตั้งโรงเรียนสอน
ภาษาอังกฤษภาคกลางคืนที่โรงเรียนสอนภาษาจีน ปัจจุบันเป็น 
โรงเรียนสงขลามูลนิธิ   เป็นบุคคลคนเดียวกันที่ก่อตั้งโรงเรียน
วชิรานุกูลสงขลา   

พี่แอ๊ด

อ้างถึงเห็นรูปนี้แล้วนึกถึงตอนที่ผมเรียน ม.ต้น  ผมก็เป็นศิษเก่าที่นี้
ลักษณะการถ่าย นักเรียนยืนอยู่หน้ามุข หันไปเข้าหอประชุมใหญ่ หันหลังให้กับ ถนนทะเลหลวง(วชิรา)
ตอนที่ผมอยู่  ห้องที่อยู่ด้าซ้ายเป็นร้านขายของ  ด้านขวาเป็นโต๊ะประชุมขนาดใหญ่
ปัจจุบันยังเป็นเหมือนเดิมหรือปล่าวหนอ

ไม่ทราบว่าอยู่โรงเรียนวชิรานุกูลหรือเปล่า

Thanakorn P.

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 09:20 น.  27 เม.ย 53
ป้ายสถานีสงขลานั้น หวังว่าคงไม่มีใครไปทำอะไรนะครับ
แม้จะไม่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
แต่อย่างน้อยก็เป็นโบราณวัตถุ ที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของสงขลาครับ
น่าสงเสริมให้เป็นที่ท่องเที่ยว ถ่ายภาพครับ

ป้ายสถานีสงขลาปัจจุบันครับ
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

Anusorn_ab

อ้างจาก: พี่แอ๊ด เมื่อ 21:27 น.  27 เม.ย 53
อ้างถึงเห็นรูปนี้แล้วนึกถึงตอนที่ผมเรียน ม.ต้น  ผมก็เป็นศิษเก่าที่นี้
ลักษณะการถ่าย นักเรียนยืนอยู่หน้ามุข หันไปเข้าหอประชุมใหญ่ หันหลังให้กับ ถนนทะเลหลวง(วชิรา)
ตอนที่ผมอยู่  ห้องที่อยู่ด้าซ้ายเป็นร้านขายของ  ด้านขวาเป็นโต๊ะประชุมขนาดใหญ่
ปัจจุบันยังเป็นเหมือนเดิมหรือปล่าวหนอ

ไม่ทราบว่าอยู่โรงเรียนวชิรานุกูลหรือเปล่า

ใช่ครับ

หม่องวิน มอไซ

มีอยู่ยุคสมัยหนึ่ง ที่โรงเรียนเอกชน มักจะปักอักษรย่อชื่อโรงเรียนด้วยไหมสีแดง
ขณะที่โรงเรียนรัฐบาล ปักด้วยไหมสีน้ำเงิน
วชิรานุกูล (ว.น.) ก็ปักด้วยสีแดงจนถึงปัจจุบัน
แต่มองในภาพขาวดำ คงดูไม่ออกครับว่าเป็นไหมสีอะไร
น่าสังเกตว่าในภาพถ่ายเก่า ว.น. ปี ๒๕๑๐-๒๕๑๑ นั้น ยังแขวนป้ายชื่อ และไม่ได้ปัก ว.น. ครับ

สำหรับป้ายสถานีรถไฟสงขลาที่คุณ Thanakorn P. ถ่ายภาพมาให้ชมนั้น
เป็นป้ายด้านทิศเหนือ
จะเห็นว่าป้ายเริ่มมีคราบตะไคร่แล้ว
ป้ายนี้เคยเป็นกังวลกันมาก ว่าจะถูกทุบทิ้ง
เนื่องจากมีการก่อสร้างร้านค้าบริเวณใกล้กับป้าย
ดังภาพนี้ที่ถ่ายโดยคุณ BigBoy เมื่อวันที่ ๓ พ.ย. ๒๕๕๐ ครับ

หม่องวิน มอไซ

แต่ต่อมาก็พบว่า ไม่มีการทุบทิ้ง
และมีผู้ปรารถนาดี ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นท่านใด ทาสีป้ายให้ใหม่อย่างที่เห็นครับ
ภาพถ่ายโดยคุณ BigBoy เมื่อวันที่ ๑๕ เม.ย. ๒๕๕๑


ที่มา : http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1970

หม่องวิน มอไซ

เวลาผ่านไป ๒ ปี ป้ายเริ่มมีตะไคร่จับอีกแล้ว อย่างที่คุณ Thanakorn P. ได้ถ่ายภาพมาให้ชม

ชาวสงขลาส่วนใหญ่ เข้าใจว่าป้ายสถานีรถไฟสงขลาในปัจจุบัน เหลืออยู่เพียงป้ายเดียว คือ ป้ายด้านเหนือนี้
แต่อันที่จริง ยังมีป้ายด้านทิศใต้เหลืออยู่
ได้รับการสร้างหลังคากันแดดกันฝนเป็นอย่างดี อยู่ที่นี่ครับ ใกล้กับโกดังของลีวิวัฒน์
สามารถเดินเข้าไปชมได้ครับ

ภาพถ่ายป้ายสถานีรถไฟสงขลา ด้านทิศใต้ ถ่ายเมื่อ ๑๗ ก.ค. ๒๕๕๑


พี่แอ๊ด

พี่ให้ข้อมูลเรื่องโรงเรียนวชิรานุกูล
ประมาณ  55 ปีกว่าก่อน   จะใช้การแขวนป้าย
แทนการปัก    และบริเวณที่เป็นร้าน
ไก่ทอด KFC ในปัจจุบัน  จะเป็นนักเรียนเด็กผู้หญิง
และฝั่งตรงข้ามจะเป็นนักเรียนผู้ชาย  (พ่อเล่าให้ฟัง)
แต่เด็กผู้ชายใส่กางเกงสีดำตั้งแต่แรก   อาคารเป็นเรือนไม้

วัลลภ

สมัยผมเรียนที่โรงเรียนวชิรานุกูล ม.ศ.1-3 ปี พ.ศ. 2516-2518  ผมสวมเสื้อสีขาวปักตัวอักษรย่อ ว.น.ด้วยไหมสีแดง  สวมกางเกงขาสั้นสีดำ รองเท้าสีดำ ถุงเท้าสีขาว  ทรงผมต้องตัดรองหวี  หัวเกรียน  ไม่งั้นถูกเฆี่ยนครับ สมัยผมเป็นนักเรียนครูยังใช้วิธีลงโทษด้วยการตี  จนทำให้ผมได้ดีมาทุกวันนี้ และผมก็ไม่เคยโกรธครูที่ตีผมแม้แต่คนเดียวครับ  อดีตเด็ก ว.น.

จูนค่ะ

จากเวป
http://iseehistory.socita.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711067


วีรกรรมประชาชนชาวน้ำน้อย

          กิจกรรมชาวบ้านน้ำน้อยได้ช่วยกันเพื่อปกป้องบ้านเมืองคราวนี้  ได้แก่    ระเบิด ทางรถไฟ  สองจุดคือที่ หลักกิโลเมตรที่  ๑๙  และ เยื้องๆ ประตูโรงเรียนประชาบาล ตำบลน้ำน้อย  (โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำน้อยใน ปัจจุบัน)    ชาวบ้านน้ำน้อยส่วนนี้มีอาชีพทำเหมืองหินที่เขาบันไดนางในบริเวณใกล้เคียง  จึงชำนาญการวางระเบิด


ไม่ทราบว่าบริเวณที่มีการระเบิดรางรถไฟแถวๆ น้ำน้อย ยังมีร่องรอยให้เห็นหรือเปล่าคะ

พี่แอ๊ด

บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 19,  น้ำน้อย   คือบริเวณที่ขุนนิพัทธ์ฯ  เป็นผู้บุกเบิกทำ
เหมืองแร่ดีบุกบริเวณนั้น    และท่านยังเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทางรถไฟด้วย
และสุสานท่านก็อยู่บนถนนเส้นนี้      กำลังหาภาพการะเบิดหินในอดีตของท่าน
รอหน่อยคะ     

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 15:33 น.  20 เม.ย 53
ขออนุญาตนำไปโพสต์ที่เว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอมด้วยนะครับ
เพื่อให้ช่วยกันวิเคราะห์หาปีที่ถ่ายอีกทางหนึ่ง
ดูแล้ว คลังน้ำมันยังไม่สร้างเลยครับ

ปัญหาคือ ยังหาปีที่สร้างคลังน้ำมันไม่ได้ (ก่อนปี 2517 แน่ ๆ)

ถ้าสะดวก คุณ June_หลาเหลือง ช่วยเล่าถึงที่มาว่าได้ภาพเหล่านี้มาจากท่านใดได้ไหมครับ
แม้จะไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับภาพก็ตาม
ข้อมูลจากหนังสือสงขลา  โดย  นายยุวัฒน์  วุฒิเมธี   อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
คลังน้ำมันการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สงขลา  ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2514   
บริเวณสถานีรถไฟเก่า  อำเภอเมือง  หลังจากได้เกิดแหล่งชุมชนประชาชนชาวสงขลา  เริ่มขยายถิ่น
ที่อยู่เข้ามาใกล้บริเวณที่ตั้งคลังน้ำมันเดิมของ  ปตท. กันมากขึ้น   ด้วยตระหนักถึงความวิตกกังวง
เรื่องความปลอดภัยของชาวสงขลา  จึงเลือกเอาบริเวณใกล้เทียบเรือน้ำลึกจังหวัดสงขลา  เป็นจุดที่ตั้ง
ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 677 ล้าน   เริ่มก่อสร้างวันที่  12  มกราคม  2530  เสร็จเมื่อวันที่
2531    เป็นคลังผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้

คนหน้าสวน

วันก่อนไปกันตังมา เลยถ่ายภาพมาฝากกัน ตอนนี้สถานีกันตังกำลังดำเนินการปรับปรุงอยู่ แต่ทำไมของเราไม่มีการปรับปรุง เห็นแล้วอนาจจัง

คนหน้าสวน

เพิ่มอีกภาพนะ

ข้าวเหนียวมะม่วง

ที่จริงสถานีสงขลา ก็ขึ้นป้ายว่า

"สุดปลายทางฝั่งอ่าวไทยไปเลย"

น่าจะได้

เหอะๆ

ปรับปรุงด่วน เร่งผลักดันๆ
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"

Big MaHad

ไปเที่ยวสถานีกันตังมาเหมือนกันครับขอร่วมแจม ภาพด้วย
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

อีกภาพ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

ข้าวเหนียวมะม่วง

ถ้าสถานีสงขลา ถ้าไม่เร่งเข้าไปพัฒนาก็จะเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ แล้วจะมาเสียดายทีหลัง คนบุกรุกก็มากขึ้น เด่วจะไม่ทันการณ์นะครับ
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"