ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สกย.ใจป้ำ สั่งอัดฉีดเพิ่ม 1.5 หมื่น/ไร่ จูงใจโค่นยางเก่า

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 13:53 น. 11 ก.ค 55

ทีมงานบ้านเรา

ที่มา...หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 8-11 กรกฏาคม 2555

[attach=2]

สกย.ใจป้ำ สั่งอัดฉีดเพิ่มอีก 15,000 บาทต่อไร่ เพิ่มแรงจูงใจให้เกษตรกรภาคใต้โค่นต้นยางเก่าหันปลูกปาล์มทดแทน แจงรายที่โค่นต้นยางเก่าเพื่อปลูกต้นยางใหม่ แจกเพิ่มไร่ละ 5,000 บาท  หวังผลระยะยาวกระตุ้นราคายางดีขึ้น เผยมีผลทันทีไม่ต้องผ่านครม.

นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา การประชุมบอร์ดคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง (กสย.) ที่มีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานได้มีมติเห็นชอบกรณีการโค่นต้นยางพาราที่มีอายุ 25 ปีขั้นไป จะได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มเติม 

โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดภาคใต้ที่จะโค่นต้นยางพาราแล้วหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน จะได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มจากเดิมไร่ละ 11,000 บาท เป็นไร่ละ 26,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 15,000 บาท ส่วนเกษตรกรที่โค่นต้นยางเก่าแล้วหันมาปลูกยางใหม่ จะได้ค่าโค่นจากเดิมไร่ละ 11,000 บาท เป็นไร่ละ 16,000 บาทหรือเพิ่มอีก 5,000 บาท

อย่างไรก็ดี สำหรับเป้าหมายในครั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจเกษตรกรให้โค่นยางเก่าเพื่อหันมาปลูกปาล์มน้ำมันแทนหลังจากที่ผ่านมาราคายางดีทำให้เกษตรกรไม่ยอมโค่นยางเก่าทิ้ง  โดยเฉพาะเกษตรกรทางภาคใต้ที่สามารถปลูกปาล์มแล้วได้ผลผลิตดี หากไปส่งเสริมปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วให้ผลผลิตต่ำไม่คุ้ม

ดังนั้นนโยบายดังกล่าวจึงถือเป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่การผลิตพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่ นอกจากนี้เกษตรกรที่โค่นต้นยางพาราเก่า เพื่อปลูกใหม่ก็จะได้รับเงินสนับสนุนเช่นกัน ซึ่งเงินที่จะใช้สำหรับโครงการนี้จะเป็นเงินที่มาจากการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษจากผู้ส่งออกยางพารา หรือเงินเซส ที่ปัจจุบันมีเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท

ทั้งนี้หากเกษตรกรรายใด สนใจให้มาแจ้งความประสงค์ได้ทันที ที่สกย.จังหวัดนั้นๆ  โดยเบื้องต้นจะต้องเป็นต้นยางพาราอายุมากกว่า 25 ปี หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อย  อีกทั้งจะต้องไม่เป็นที่ดินหวงห้ามของทางราชการ ไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ไม่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ไม่อยู่ในเขตป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดไว้ให้เป็นป่าถาวรอันเป็นสมบัติของชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้มีสิทธิ์ทำกิน หรือได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวเพื่อการทำสวนยาง

นายวิทย์ กล่าวอีกว่า เรื่องดังกล่าวมีผลทันที โดยไม่ต้องขอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ที่ผ่านมาโครงการได้รับความร่วมมือจากเกษตรน้อยมาก โดยในปีที่ผ่านมามีเกษตรกรภาคใต้โค่นต้นยางพาราเก่าแล้วปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนเพียง 17,000 ไร่เท่านั้น นับว่าจำนวนน้อยมาก หากเทียบกับจำนวนพื้นที่การปลูกยางพาราทั้งหมดของภาคใต้ที่มีจำนวนกว่า 12 ล้านไร่เนื่องจากปีที่แล้วยางพาราราคาดี อย่างไรก็ดีโครงการโค่นต้นยางเก่าในครั้งนี้คาดจะไม่ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมยางพาราในภาครวม

ด้านนายชยันต์ สังขไพฑูรย์ ประธานสภาเกษตรกร จังหวัดสงขลา กล่าวถึง มาตรการดังกล่าวเป็นหลักการดี ที่จะทำให้ราคายางพารากลับมาราคาสูงอีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าการที่จะให้เกษตรกรร่วมมือกันนั้นค่อนข้างยาก และไม่สามารถที่จะไปบังคับได้ อาทิ ที่ผ่านมาเคยขอความร่วมมือให้ชาวสวนกว่า 6.5 ล้านครัวเรือน ให้หยุดกรีดยาง 1 อาทิตย์ เพื่อผลักดันราคาให้สูงขึ้น ก็ไม่สามารถกระทำได้  เพราะส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องใช้เงินหมุนเวียน
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215