ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ชื่อบ้านนามเมือง

เริ่มโดย HAADYAI.history, 16:06 น. 15 พ.ค 52

HAADYAI.history

ชื่อถนน

ถนนหลายสายในหาดใหญ่มีชื่อมาจากผู้บุกเบิกเมืองหาดใหญ่ ในยุครถไฟ

มีข้อสังเกตว่า ถนนเหล่านั้นจะผ่านที่ดินที่มีเจ้าของมีชื่อหรือนามสกุล เกี่ยวข้องกับชื่อถนน เช่น

ขุนนิพัทธ์จีนนคร : ถนนนิพัทธ์อุทิศ1-3, ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์1-5

ขุนศุภสารรังสรรค์ (และครอบครัว) : ถนนศุภสารรังสรรค์, ถนนละม้ายสงเคราะห์, ถนนฉัยยากุล, ถนนชีอุทิศ, ถนนชีวานุสรณ์

พระเสน่หามนตรี : ถนนเสน่หานุสรณ์, ถนนมนตรี 1-2


ขอเชิญผู้รู้ท่านอื่นๆ เล่าถึงความเป็นมาของชื่อถนนสายอื่น ในหาดใหญ่ ครับ

บก.วชิระ

ความจริงเรื่องนี้ผมจะเขียนนานแล้ว แ่ต่เริ่มไม่ถูก เอางี้เขียนแบบเล่า ถามมาตอบไปดีกว่า

หาดใหญ่มีถนนอยู่ 3 สาย ที่แบ่งมาจากชื่อคนเดียวกันผมว่าเป็นกลวิธีที่แหยบคายมากคือ ถนนชีอุทิศ ถนนกิมประดิษฐ์ และหยงวิถี มาจากชื่อนายชีกิมหยง

ถนนหอยมุกด์เป็นชื่อภรรยาท่าน

ถนนศรีภูวนารถ มาจากนายอำเภอเหนือ(อำเภอหาดใหญ่) คนแรก คือหลวงศรีภูวนารถบริรักษ์

ถนนประชาธิปัตย์ เป็นการตั้งชื่อในวันฉลองรัฐธรรมนูญ

เท่านี้ก่อนนะครับถามมาตอบไปครับ

HAADYAI.history


แสงจันทร์
บุญรอง
เหมือนจะเป็นนามสกุลของใคร

ยังมี
แสงศรี
ดวงจันทร์

สามชัย มาจากชื่อ ของ 3 คนที่มีคำว่าชัย อยู่ในชื่อ
บ้านจ่า น่าจะมาจากจ่าอนันต์
แล้ว ราษฎร์ยินดี ละครับ

sarut

แล้ว ลพบุรีราเมศวร์   กาญจนวนิช   ....ล่ะคับ ..?

กิมหยง

คือผมไม่รู้เรื่องครับ

แต่ฟังเขามาปะติดปะต่อครับ อาจผิดบ้างถูกบ้างครับ

ลพบุรีราเมศวร์ เป็นชื่อของเจ้าที่ปกครองหัวเมืองสิงขรสมัยก่อนครับ
ตอนแรกที่ได้ยินชื่อถนนเส้นนี้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคืออะไร

เมื่อก่อนใช้ ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1
ตอนหลังถนนหน้าบิ๊กซีเปลี่ยนเป็น ลพบุรีราเมศวร์  ตอนแรก ๆ ไม่ยอมใช้เพราะไม่รู้ว่าชื่ออะไร

ตอนหลังพอทราบแล้วก็ รู้สึกเป็นชื่อที่ทรงคุณค่าครับ

ตอนนี้สำนักงานเว็บกิมหยง ก็ตั้งอยู่ในซอย 5 ถนนลพบุรีราเมศวร์ ครับ

ส่วนถนนกาญจนวนิช เมื่อก่อนชื่อถนนไทรบุรี เป็นถนนที่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินให้สร้าง
ตั้งแต่เมืองไทรบุรี ตอนนี้เป็นของมาเลย์ ไปจนถึงเมืองบ่อยาง หรือเมืองสงขลาในปัจจุบัน

ตอนหลังมีช่างซ่อมถนน มาซ่อมถนนเส้นนี้
เมื่อก่อนมีกฏว่าถ้าใครได้ซ่อมถนนเกิน 3 ครั้ง
ก็มีสิทธิตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อถนนใหม่

เขาก็เลยเปลี่ยนเป็นถนนที่เป็นนามสกุลของเขา

อันนี้ฟังมาอีกทีครับ อาจมีผิดมีถูกครับ
ใครมีหลักฐานหรือมีความเห็นเป็นอย่างไร เล่ามาฟังกันได้ครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

Singoraman

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
พระนามเดิม "ยุคลฑิฆัมพร"
เป็นพระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระอนุชา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระเชษฐา ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นต้นสกุล "ยุคล"  (เป็นพระอัยกา มจ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
ดำรงตำแหน่ง "อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ และมณฑลนครศรีธรรมราช"
(มณฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย เมืองนครศรีธรรมราช+เมืองสงขลา+เมืองพัทลุง)
ทรงเลือกตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองสงขลา
และทรงประทับ ณ เมืองสงขลา เป็นเวลา 15 ปี
โดยทรงสร้างบ้านพักด้วยเงินส่วนพระองค์ คือ "ตำหนักเขาน้อย" (ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการสงขลา)
สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 50 พรรษา
พระอนุสาวรีย์ประดิษฐาน บนเขาน้อย สงขลา (เคยถูกขโมยกระบี่ไปเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้จังหวัดสร้างถวายคืนแล้ว)
คุณูปการต่อเมืองสงขลาท่วมท้นหาที่สุดมิได้
ครั้งหนึ่งเคยเสด็จ ณ วัดคูเต่า มีเรื่องราวครั้งเสด็จที่น่าสนใจมาก
ลองสอบถามชาวคูเต่าดู อาจได้ข้อมูลดี ๆ


HAADYAI.history

อ้างจาก: sarut เมื่อ 03:22 น.  18 พ.ค 52

แล้ว ลพบุรีราเมศวร์   กาญจนวนิช   ....ล่ะคับ ..?


กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๖ และเป็นอุปราชเมืองปักษ์ใต้ ครับ

ในสมัยที่ประเทศไทยเริ่มมีวิทยุโทรเลขครั้งแรก โทรเลขฉบับปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการ ผู้ส่งคือรัชกาลที่ ๖ ส่งจากสถานีศาลาแดง (ที่ถูกรื้อไปสร้างสวนลุมไนท์บาซาร์เสียแล้ว) ผู้รับโทรเลขคือกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ซึ่งประทับอยู่ที่สงขลา โดยสถานีวิทยุโทรเลขอยู่ที่เขาตังกวน จึงนับว่าสงขลาแลเขาตังกวนมีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์การสื่อสารของประเทศไทยอีกด้วย


HAADYAI.history

อ้างจาก: sarut เมื่อ 03:22 น.  18 พ.ค 52

แล้ว กาญจนวนิช   ....ล่ะคับ ..?


กาญจนวณิชย์
ขนานนามขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาประกิตย์ กลศาสตร์ (ประกิต รณชิต กาญจนวณิชย์)
อดีตนายช่างด้านสงขลา

หมายเหตุ
มีหลายคนเคยถาม/สงสัยว่า ชื่อ ถนน กาญจนวณิชย์ เขียนอย่างไรกันแน่
ราชกิจจานุเบกษา เขียนอย่างนี้ครับ  กาญจนวณิชย์

HAADYAI.history

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 10:09 น.  18 พ.ค 52

ส่วนถนนกาญจนวนิช เมื่อก่อนชื่อถนนไทรบุรี เป็นถนนที่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินให้สร้าง
ตั้งแต่เมืองไทรบุรี ตอนนี้เป็นของมาเลย์ ไปจนถึงเมืองบ่อยาง หรือเมืองสงขลาในปัจจุบัน


ถนนสงขลา - ไทรบุรี
เปนถนนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองสงขลาสร้างในปี ๒๔๐๕
จึงน่าจะเรียกว่า ถนนราชดำริ หรือถนนไทรบุรีก็ยังดี


อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 10:09 น.  18 พ.ค 52

เขาก็เลยเปลี่ยนเป็นถนนที่เป็นนามสกุลของเขา
ใครมีหลักฐานหรือมีความเห็นเป็นอย่างไร เล่ามาฟังกันได้ครับ


จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เปนคนเปลี่ยนครับ โดย ลงประกาศ ในราชกิจานุเบกษา วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๓

HAADYAI.history

อ้างจาก: HAADYAI.history เมื่อ 11:18 น.  18 พ.ค 52

ถนนสงขลา - ไทรบุรี
เปนถนนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕


ขออภัยครับ พิมพ์ผิด ที่ถูกต้องคือ รัชกาลที่ ๔ ครับ

HAADYAI.history

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 10:09 น.  18 พ.ค 52

ส่วนถนนกาญจนวนิช เมื่อก่อนชื่อถนนไทรบุรี เป็นถนนที่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินให้สร้าง
ตั้งแต่เมืองไทรบุรี ตอนนี้เป็นของมาเลย์ ไปจนถึงเมืองบ่อยาง หรือเมืองสงขลาในปัจจุบัน


"ตัวเมืองสงขลาเก่า หรือเทศบาลนครสงขลาปัจจุบัน ตั้งอยู่ตำบลบ่อยาง ซึ่งสำนวนเก่าแถบอำเภอสทิงพระ-ระโนด ถิ่นเดิมของผู้เขียน จะเรียกกันติดปากว่า บ่อยาง เช่น ไปบ่อยาง มาบ่อยาง อยู่ที่บ่อยาง... แม้ปัจจุบันสำนวนนี้จะมีคนนิยมใช้พูดน้อยลง แต่หากใครใช้ใครพูด คนในพื้นที่ก็ยังคงเข้าใจ...

วัดยางทอง ที่ผู้เขียนอยู่ปัจจุบันนี้เอง คือสถานที่ตั้งของ บ่อยาง ในอดีต... เล่ากันต่อๆ มาว่า ถ้าวิ่งเรือจากตอนในของทะเลสาบสงขลาออกมาปากอ่าว พอเรือพ้นจากเกาะยอ มองจากหัวเรือมาทางทิศตะวันออก จะเห็น ต้นยางทอง ขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่ที่ริมฝั่งข้างหน้า จึงนิยมเป็นที่นัดหมายพบปะของคนสัญจร ครั้นขุดบ่อเพื่อใช้น้ำ น้ำก็จืดสนิทสะอาดดี เมื่อสถานที่นี้กลายเป็นวัด ต่อมาจึงได้ชื่อว่า วัดยางทอง ส่วนบ่อน้ำและต้นยางทองซึ่งเป็นสิ่งคู่กันก็ได้รับการประสมตามนัยแห่งภาษาว่า บ่อยาง (บ่อน้ำที่อยู่ใกล้ต้นยาง) และนั่นคือ ตำบลบ่อยาง ที่ตั้งแห่งเทศบาลนครสงขลาในปัจจุบัน...
"

กิมหยง

ขอบพระคุณครับท่าน
สร้าง & ฟื้นฟู

sarut

ขอบคุณคุณ กิมหยง คุณ HatYai History และทุก ๆ คนเลย ที่หาข้อมูลมาให้ เก่งจังครับ ๆ  ๆ    มีข้อมูลดียังงี้ ....นึกแล้ว อยากให้รายการ  พินิจนคร...เป็นรายการแนวย้อนเมืองเก่าในอดีต ของทาง ทีวีไทย (ไทยพีบีเอส)  เอาข้อมูลมาออกอากาศจังเลยๆ ๆ ๆ ๆ        O0 )angel )love

กิมหยง

สำหรับข้อมูลของท่าน "HAADYAI.history" นับว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์
ด้านประวัติเมืองหาดใหญ่ มากๆเลยครับ

นับว่าเป็นบุญของเมืองเราครับ
ที่มีบุคคลที่ให้ความสำคัญด้านประวัติศาสตร์
ความเป็นมาของเมืองนี้ครับ

ต้องขอบพระคุณท่านครับ ที่ท่านร่วมแบ่งบันข้อมูล
ให้ติดตามและพูดคุยกันครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

tawich

หัวข้อนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

Singoraman

กิรดังได้สดับมา เกี่ยวกับ "ถนนไทรบุรี" (จากความทรงจำ ยังไม่ได้สอบค้นจากเอสาร)
๑. ถนนสายนี้เจ้ากรุงสยามดำริให้ "เจ้าเมืองสงขลา" และ "เจ้าเมืองไทรบุรี" (เมืองหนึ่งของแผ่นดินสยามในครั้งนั้น) เป็นผู้สร้าง
๒. เพื่อเชื่อมระหว่างหัวเมืองสงขลา กับหัวเมืองทางมลายู
๓. การสร้าง กำหนดให้ เมืองสงขลา สร้างจากเมืองสงขลาไปยังเมืองไทรบุรี เริ่มจากหน้าวัด "ไทรงาม" ในเมืองสงขลา
๔. ด้านเมืองไทรบุรี ก็สร้างจากเมืองไทรบุรี (เริ่มจากจุดใดไม่ทราบ) มุ่งไปยังเมืองสงขลา
๕. ทั้ง ๒ เมือง ใช้เงินแผ่นดินของตัวเอง
๖. การกำหนดให้แต่ละเมืองสร้างถนนนั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรม จำต้องหาจุดกึ่งกลาง
๗. การหาจุดกึ่งกลาง มีเรื่องเล่าว่า ให้เจ้าเมืองทั้ง ๒ จัดชุดสำรวจโดยขบวนช้าง ออกจากต้นทางของตนเอง ในเวลาพร้อมกัน คือ "ยามไก่ขันน้ำขึ้น"  หรือ "ไก่ขันหนสอง" มุ่งหน้าไปยังเมืองปลายทาง
๘. จุดที่ขบวนช้างมาพบกัน ปัจจุบันเรียกว่า "บ้านหัวถนน" อยู่ใน ต.พังลา อ.สะเดา จ.สงขลา
๙. ณ จุดนั้น มีเสาหลักปักกำหนดไว้เป็นเครื่องหมาย ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า "ทวดหลัก"
๑๐. ปัจจุบันเรื่องราวดังกล่าวยังสอบถามได้จากคนเฒ่าคนแก่ในหย่อมย่านบ้าน "หัวถนน"
๑๑. ใครได้ข้อมูลเพิ่มเติมและภาพถ่าย นำมาเสนอกันบ้าง จักเป็นพระคุณอย่างสูง

HAADYAI.history

เมื่อตอนเย็นมีเด็กนักเรียนตัวน้อยๆ คนหนึ่งเดินเข้ามาหาพร้อมกับแผนที่แจกฟรีสำหรับนักท่องเที่ยว แล้วก็เอ่ยถามว่า

"คุณลุงครับๆ Royal Pagoda นี่คืออะไรครับ"

ดูตามแผนที่แล้วคือ "เจดีย์หลวง" บนยอดเขาตังกวน

แต่คำว่า "หลวง" ในที่นี้ น่าจะเปน ภาษาใต้ มากกว่า ไม่ได้หมายถึง พระราชวงศ์ แต่อย่างใด


ถ้าผู้อ่านช่างสังเกตหน่อย
ตามเอกสารที่แจกนักท่องเที่ยวที่เปนภาษาอังกฤษจะมีอะไรแปลกๆ อย่างนี้แทรกอยู่เสมอๆ เช่น สวนหย่อมรถจักรสูงเนิน ก็จะเขียนว่า "RODJAK" แทนที่จะเขียนว่า "Steam Locomotive"
นอกจากนั้นแล้วคำบรรยายข้างๆ หัวรถจักรดังกล่าว ยังบอกทำนองว่า เปนรถจักรแรกที่ทำขบวนมาที่หาดใหญ่ ซึ่งที่จริงแล้ว รถจักรสูงเนิน เปนรถจักรที่ใช้กับรางขนาดเล็ก (narrow gauge) ไม่สามารถวิ่งบนราง จากบางกอกน้อยมาหาดใหญ่ได้ และที่มีชื่อว่า สูงเนิน คงจะมาจากชื่อของอำเภอ อำเภอหนึ่ง ของจังหวัด "นครราชสีห์มา" (สะกดแบบเดิม) อันเปน สถานที่ๆ มีรถจักรนี้ใช้งานอยู่ในสมัยหนึ่ง

Singoraman

"หลวง" ในอีกความหมายคือ "ใหญ่"เจดีย์หลวง จึงหมายถึง เจดีย์องค์ใหญ่ ส่วนองค์อื่นเป็น เจดีย์ราย หรือ เจดีย์บริวาร

หม่องวิน มอไซ

เจดีย์หลวงในยุค 2478-2480 ครับ ภาพได้รับความเอื้อเฟื้อจากคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ
ชมภาพขยายได้ที่นี่
http://www.songkhlaline.com/image/tangkuan2478_2480.jpg

ไม่ทราบท่านใดพอจะเข้าใจความหมายของชื่อที่เขียนไว้บริเวณเจดีย์ไหมครับ หรือเป็นเพียงเขียนเล่นเฉย ๆ แบบปัจจุบัน



Big Beach

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 18:11 น.  11 ม.ค 53
เจดีย์หลวงในยุค 2478-2480 ครับ ภาพได้รับความเอื้อเฟื้อจากคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ
ชมภาพขยายได้ที่นี่
http://www.songkhlaline.com/image/tangkuan2478_2480.jpg

ไม่ทราบท่านใดพอจะเข้าใจความหมายของชื่อที่เขียนไว้บริเวณเจดีย์ไหมครับ หรือเป็นเพียงเขียนเล่นเฉย ๆ แบบปัจจุบัน




เค้าเขียนว่าอะไร
และเขียนอยู่ตรงไหนครับ

Big MaHad

อ้างจาก: Big Beach เมื่อ 18:54 น.  11 ม.ค 53
อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 18:11 น.  11 ม.ค 53
เจดีย์หลวงในยุค 2478-2480 ครับ ภาพได้รับความเอื้อเฟื้อจากคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ
ชมภาพขยายได้ที่นี่
http://www.songkhlaline.com/image/tangkuan2478_2480.jpg

ไม่ทราบท่านใดพอจะเข้าใจความหมายของชื่อที่เขียนไว้บริเวณเจดีย์ไหมครับ หรือเป็นเพียงเขียนเล่นเฉย ๆ แบบปัจจุบัน




เค้าเขียนว่าอะไร


และเขียนอยู่ตรงไหนครับ


ภาพเจดีย์หลวงมุมมองนี้ สวยมากเลยครับ ผมเพิ่งเห็นเป็นครั้งแรกครับ

ตามข้อสังเกตของ อ. หม่องวิน ข้อความที่เขียนไว้บนเจดีย์ ไม่ทราบท่านอื่นอ่านได้ว่าอย่างไรครับ
ผมอ่านเป็น อินทร ณ สงขลา ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ และไม่ทราบว่าในตระกูล ณ สงขลามีบุคคลท่านนี้หรือไม่ครับ

ที่หามาทราบเพียงว่า
พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (ทิตย์) เป็นผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล "ณ สงขลา" เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Na Sonkla" ขณะที่ดำรงบรรดาศักดิ์พระพฤกษาภิรมย์ ตามประกาศครั้งที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พุทธศักราช 2450 เป็นลำดับที่ 108 ของประเทศ

ที่มา:http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1601.0


ดังนั้นจากข้อมูลของภาพนี้ที่ถ่ายในยุค 2478-2480 ก็เป็นที่แน่นอนว่ามีการใช้นามสกุล ณ สงขลากันแล้วในยุคนั้น

อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

หม่องวิน มอไซ

ที่ฐานของเจดีย์ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกครับ แต่อ่านไม่ออก
คล้าย ๆ "สุริยง" ด้วยครับ