ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

‘ในหลวง’ พระราชทาน รธน. 48 มาตรา

เริ่มโดย itplaza, 12:29 น. 23 ก.ค 57

itplaza

พ่วงนิรโทษฯคสช. ครม.36-ปฏิรูป250 'มีชัย-วิษณุ'ลุ้นชิง! เก้าอี้ประธานสนช.

"ประยุทธ์" รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2557 มีทั้งสิ้น 48 มาตรา กำหนดให้มีนายกฯและ ครม.ไม่เกิน 36 คน คงอำนาจ คสช.สั่งการด้านความมั่นคงเหนือรัฐบาล จัดโควตาสภาปฏิรูป 250 สนช. 220 "มาร์ค" เด็ดขาดห้ามลูกพรรคเป็น สนช. ตบท้ายมาตรา 48 นิรโทษกรรม คสช. ตั้งแต่ทำรัฐประหาร 22 พ.ค.57 ลุ้นชื่อ "มีชัย-วิษณุ" ประธาน สนช. เปิดฉากมหกรรมปรองดอง สนามหลวง-ตจว.คึกจัด ดึงทุกขั้วขัดแย้งนั่งจับเข่ายิ้มใส่กัน กปปส.-นปช.แห่ร่วมงาน ปลัด กห.หวังสังคมไม่แบ่งฝ่ายอีก คสช.พอใจแย้มเงื่อนไขก่อนนิรโทษกรรม ป.ป.ท.โดดหนุน พ.ร.บ.สกัดโกง คสช.อนุมัติ 252 ล้านเนรมิตทำเนียบใหม่ "ปู" ร่วมทริป "หญิงอ้อ" บินทัวร์นอก เบิร์ธเดย์ "ทักษิณ" องค์กรสื่อโล่งคลายกฎเหล็ก

การเดินหน้าจัดระเบียบประเทศตามพิมพ์เขียวของ คสช.เข้าสู่โรดแม็ปเฟส 2 เต็มตัว เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

"บิ๊กตู่" เรียกประชุม คสช.ชุดใหญ่

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 ก.ค. ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถนนราชดำเนิน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมใหญ่ คสช. ครั้งที่ 7/2557 โดยมี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.ทหารสูงสุด รองหัวหน้า คสช. ด้านความมั่นคง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. รองหัวหน้า คสช.ด้านสังคมจิตวิทยา พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. รองหัวหน้า คสช.ด้านเศรษฐกิจ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รอง ผบ.ทบ. เลขาธิการ คสช. พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง และหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

แจ้งหมายเข้าเฝ้าฯวังไกลกังวล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระหลักในที่ประชุมคือ การรายงานผลการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ในโอกาสครบรอบ 2 เดือน ที่ คสช. เข้ามาควบคุมและบริหารประเทศ โดย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เสนอร่าง พ.ร.บ.ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจำนวน 42 ฉบับ เข้าสู่ที่ประชุมด้วย

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้กล่าวเปิดการประชุมตอนหนึ่งว่า วันนี้มีภารกิจสำคัญที่ต้องไปเข้าเฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรับพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามแผน

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา คสช.มีการประชุมเรื่องสำคัญๆ ทั้งการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ งบลงทุนของรัฐและรัฐวิสาหกิจ งบอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศควบคู่ไปกับการตรวจ สอบความโปร่งใส และมอบหมายให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อลดข้อจำกัดด้านกฎหมายเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธาร– ณูปโภค และประชาสัมพันธ์การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ที่ถือเป็นวิธีการออมเงินที่น่าสนใจ ทดแทนกองทุน LTF ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2559 โดยขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศและประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการที่ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย

ในหลวงโปรดเกล้าฯ รธน.ชั่วคราว

ต่อมาเวลา 16.52 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ใน ฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในโอกาสนี้ พ.อ.ณัฐวุฒิ ภาสุวณิชย์พงศ์ ฝ่าย เสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา และนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เฝ้าทูลละอองธุลี พระบาทด้วย

รธน.ฉบับ คสช.รวม 48 มาตรา

จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อเวลา 19.40 น. โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มีทั้งหมด 48 มาตรา โดยมีมาตราที่น่าสนใจ อาทิ มาตรา6 ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 220 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ตามที่ คสช.ถวายคำแนะนำ โดย สนช.ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา โดยมาตรา 8 ให้ สนช.ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ เคยดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง ภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เคยถูกไล่ออก ปลดออกจากราชการ เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มผิดปกติ อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง เป็นต้น

พวกเหลือบ สนช.มีสิทธิถูกปลดได้

ขณะที่มาตรา 10 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง สนช.เป็นประธาน สนช.1 คน และเป็นรองประธาน ไม่เกิน 2 คน ให้หัวหน้า คสช.รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิก สนช. ประธานและรองประธาน และหาก สนช.กระทำการเสื่อมเสียเกียรติหรือมีพฤติการณ์ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก สนช.ให้สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน เข้าชื่อร้องต่อประธาน สนช. เพื่อให้ สนช.มีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ โดยมติต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด ส่วนมาตรา 16 สมาชิก สนช.มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี เกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นว่าไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์ของแผ่นดิน แต่เมื่อมีปัญหาสำคัญ สนช.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 เข้าชื่อขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงคณะรัฐมนตรี แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจไม่ได้

นายกฯบวก ครม.รวม 36 คน

มาตรา 19 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คนหนึ่งตามมติของ สนช. และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวนไม่เกิน 35 คน ตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่างๆ ส่งเสริมความสามัคคี และความสมานฉันท์ของคนในชาติ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่ประธาน สนช.ถวายคำแนะนำตามมติของสนช. และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่นายก– รัฐมนตรีถวายคำแนะนำ ทั้งนี้ นายกฯและรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม สนช. หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออก เสียงลงคะแนน และให้นำเอกสารสิทธิ ตามมาตรา18 มาบังคับใช้แก่การชี้แจง แสดงความคิดเห็นของนายกฯและรัฐมนตรีตามมาตรานี้โดยอนุโลม

กำหนดคุณสมบัตินายกฯ–ครม.

สำหรับมาตรา 20 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม อาทิ มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 เช่น ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตำแหน่ง และต้องไม่เป็น สนช. ไม่เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือผู้บริหารท้องถิ่น ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษา หรือตุลาการ อัยการ และกรรมการในองค์กรอิสระ

สภาปฏิรูปมีได้ 250 คน

มาตรา 27 ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ เช่น ปฏิรูปการเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงาน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สื่อสารมวลชนเป็นต้น มาตรา 28 ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติมีสมาชิกไม่เกิน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ตามที่ คสช.ถวายคำแนะนำโดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นประธาน 1 คน รองประธานไม่เกิน 2 คน มาตรา 30 ให้ คสช.ดำเนินการคัดเลือกบุคคลเป็น สนช.ดังนี้ 1.จัดให้มีคณะกรรมการสรรหา และมีคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด 2.คณะกรรมการสรรหา มาจากผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน และคณะกรรมการสรรหาไม่สามารถเสนอชื่อตนเองได้ 3.คสช.คัดเลือกบุคคลที่เห็นสมควรจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ 250 คน โดยจำนวนนี้ให้คัดเลือกจังหวัดละ 1 คน ขณะที่มาตรา 31 กำหนดสภาปฏิรูปมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ศึกษาวิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ เสนอต่อ สนช. ครม.และ คสช.และพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการยกร่างจัดทำขึ้น

กรรมาธิการยกร่าง รธน. 36 คน

ส่วนมาตรา 32 ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิก 36 คน ซึ่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งจากบุคคล ดังนี้ ประธาน กมธ.ที่ คสช.เสนอ สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ 20 คน และ สนช. ครม. และ คสช.เสนอฝ่ายละ 5 คน โดยให้แต่งตั้ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับตั้งแต่เรียกประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นครั้งแรก โดยมีมาตรา 33 กำหนดเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามผู้ที่จะมาเป็น กมธ.ยกร่างฯ มาตรา 34 กำหนดกรอบเวลาจัดทำรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ มาตรา 37 คำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เมื่อแก้ไขเพิ่มเติมแล้วให้เสนอร่างต่อสภาปฏิรูปฯ เพื่อให้มีมติภายใน 15 วัน เมื่อสภาปฏิรูปฯเห็นด้วยกับร่าง ให้ประธานสภาปฏิรูปฯ นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่สภาปฏิรูปฯ มีมติ

ยังคงอำนาจหัวหน้า คสช.ล้นฟ้า

สำหรับมาตรา 42 ระบุว่า ให้ คสช.ดำรงอยู่ต่อไป และมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ โดยหัวหน้า คสช.สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้ดำรงตำแหน่งใดใน คสช.ก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 15 คน และในกรณีที่ คสช.เห็นว่า คณะรัฐมนตรีควรดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ไว้ในมาตรา 19 ในเรื่องใด ให้ คสช.แจ้งให้ ครม.ทราบเพื่ออำนาจการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป และกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้า คสช.หรือนายกฯ อาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของ คสช.กับ ครม. เพื่อพิจารณาหรือแก้ปัญหาใดๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ตลอดทั้งปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้ ส่วนมาตรา 44 ระบุไว้ว่า ในกรณีที่หัวหน้า คสช. เห็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในชาติ หรือเพื่อป้องกันระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. มีอำนาจการสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด

เขียนล็อกนิรโทษกรรม คสช.

ขณะที่มาตรา 47 กำหนดไว้ว่า บรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช. หรือคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 22 พ.ค. จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับตำแหน่งนี้ ไม่ว่าประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังที่รัฐธรรมนูญนี้บังคับใช้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้ประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก และในกรณีที่ คสช.ได้มีคำสั่งให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่งใดที่ระบุไว้ในมาตรา 24 ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้นายกฯนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งให้บุคคลนั้นหรือทรงให้บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งนั้นด้วย

ส่วนมาตรา 48 ระบุไว้ว่า บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ของหัวหน้า และคณะ คสช. รวมทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะ คสช. หรือของผู้ซึ่งได้รับ คำสั่งจากผู้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะ คสช. อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวขั้นต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือตุลาการ รวมทั้งการลงโทษ และการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้น หรือก่อน หรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง
เปิดโควตา 220 สนช.ลดท็อปบูต

ผู้สื่อข่าวรายงานจากคณะทำงานฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช.ว่า หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว จะเข้าสู่การเตรียมแต่งตั้ง สนช. จำนวน 220 คน เบื้องต้นโผบัญชีรายชื่อ สนช.ที่ คสช. และคณะทำงานเตรียมไว้ก่อนหน้านี้ มีทั้งรายชื่อจากสายกองทัพที่แต่ละเหล่าทัพส่งมา รายชื่ออดีตบิ๊กทหารที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ทั้งสายที่ใกล้ชิดกับ คสช.หรืออดีตนายทหารที่มีความรู้เรื่องข้อกฎหมาย ส่วนสายนักวิชาการ ประกอบด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง รวมถึงตัวแทนจากองค์กรหลากหลายสาขาอาชีพ ขณะเดียวกันมีกระแสข่าวว่าจะมีอดีต สนช.รุ่นปี 49 ได้กลับมาเป็น สนช.57 อีกรอบ เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์เคยเป็น สนช.ปี 49 มาก่อน จึงรู้จักกับอดีต สนช.รุ่นดังกล่าวหลายคน เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ที่ คสช.อาจไม่ตั้งพวกทหารหรืออดีตทหารเป็น สนช.มากอย่างที่เป็นข่าว อาจลดโควตาลง แต่ก็ไม่มีใครรู้ได้

ลุ้นชื่อ "มีชัย–วิษณุ" ประธาน สนช.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขั้นตอนต่อจากนี้หากกระบวนการตั้ง สนช. และมีประธาน สนช.ที่จะต้องมีการนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ต้องขยับออกไปจากกำหนดเดิมที่ คสช.วางไว้ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะต้องเลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ในชั้น สนช.จากเดิมที่วางไว้วันที่ 6 ส.ค.ออกไปด้วย สำหรับคนที่จะมาเป็นประธาน สนช.นั้น ต้องจับตาดูว่าจะมีชื่อของนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธาน สนช.ปี 49 หรือไม่ หากไม่มีชื่อนายมีชัย หรือนายมีชัยปฏิเสธไม่รับตำแหน่ง มีโอกาสสูงที่นายวิษณุ เครืองาม จะเป็นประธาน สนช. โดยไม่ไปรับตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย แต่หากไม่มีชื่อนายวิษณุ ก็เป็นไปได้ว่าจะไปเป็นรองนายกฯ ใน ครม.ที่จะตั้งขึ้น โดยจะมีนายทหารระดับสูงบางคนที่ คสช.ผลักดันให้เป็นประธาน สนช. เพื่อประสานระหว่าง คสช.กับฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่มาช่วยเป็นที่ปรึกษา คสช. ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว อาจได้เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจากเดิมที่คณะทำงานยกร่างที่มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ได้เสนอไปให้ คสช.พิจารณาเมื่อช่วงปลายเดือน มิ.ย. มีด้วยกัน 45 มาตรา แต่สุดท้ายมีการปรับเพิ่มขึ้นมา 3 มาตรา จึงกลายเป็น 48 มาตรา ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาเป็นเพราะ คสช.ได้ขอให้คณะทำงานไปเขียนเพิ่มเรื่องพระราชอำนาจในด้านต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น

"บิ๊กต๊อก" นำทีมแจง รธน.ชั่วคราว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้มอบหมายให้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. และนายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมแถลงข่าวการปฏิบัติงานด้านกฎหมาย คสช. ภายหลังพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว 2557 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 23 ก.ค. เวลา 10.00 น.

สรุปมีกฎหมายตกค้าง 400 ฉบับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมฝ่ายกฎหมายฯ คสช. ได้จัดทำสรุปข้อมูลกฎหมายที่ค้างพิจารณาทั้งหมดมีประมาณ 400 ฉบับ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เรื่องเร่งด่วนที่มีผลกระทบต่อประชาชน ที่ คสช.ได้ออกเป็นประกาศและคำสั่งรวม 5 ฉบับ กลุ่มที่ 2 เป็นกฎหมายที่ผ่าน ครม.ชุดที่แล้ว และอยู่ระหว่างนำเข้าสู่สภา มี 138 ฉบับ ซึ่งผ่านการเห็นชอบ จากที่ประชุม คสช.แล้ว 5 ฉบับ เพื่อเสนอเข้าสู่การ พิจารณาวาระแรกของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (การค้ำประกัน) ร่าง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ ร่าง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และที่อยู่ระหว่างการเสนอ คสช. เพื่อ พิจารณาให้ความเห็นชอบอีก 3 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร ร่าง พ.ร.บ.เหรียญพิทักษ์เสรีชน และร่าง พ.ร.บ.คนไร้ที่พึ่ง

ทยอยส่ง สนช.ตามความเร่งด่วน

ที่ประชุม คสช.วันนี้ (22 ก.ค.) ได้นำร่าง พ.ร.บ.ที่ได้ปรับปรุงหลักการเหตุผลและบทจำกัด สิทธิเสรีภาพ จำนวน 12 ฉบับ มาพิจารณา อาทิ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่าง พ.ร.บ.ถวายความปลอดภัย ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่าง พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทั้ง 12 ฉบับนี้ คสช.จะพิจารณาตามความเร่งด่วน และคาดว่าสัปดาห์หน้าจะนำเข้าสู่ที่ประชุม คสช. อีก 26 ฉบับ ส่วนที่เหลือจะทยอยพิจารณาทุกสัปดาห์จนกว่าจะครบ 138 ฉบับ โดยทุกวันอังคาร นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย คสช. จะประชุมกับฝ่ายกฎหมาย เพื่อคัดกรองเรื่องที่ต้องนำมาหารือด้วย ทั้งนี้ คสช.เห็นว่ากฎหมายที่รอให้ สนช.พิจารณาได้ ก็ขอทำตามขั้นตอน เพื่อความสง่างาม ไม่จำเป็นต้องรวบรัดออกเป็นประกาศ

"วิษณุ"จ่อชง คสช.ออก ก.ม.ใหม่

ส่วนกลุ่มที่ 3 นายวิษณุเสนอให้ คสช.ยกร่างกฎหมายใหม่ ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ สนช.พิจารณา เป็นร่าง พ.ร.บ. ที่อยู่ในหน่วยงาน 19 กระทรวง และสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ นายวิษณุยังแจ้งว่ามีอีก 3 เรื่องที่เป็นเรื่องเร่ง ด่วนให้ใช้คำสั่ง คสช. โดยไม่ต้องผ่าน สนช. เพราะหากต้องรอ สนช.อาจต้องใช้เวลาถึง 1 ปี อาทิ การ ขยายเวลาอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไปอีก 1 ปี เงินทดแทนในโครงการเกษียณราชการก่อนครบกำหนด

แค่ 2 เดือนสะสางแทบทุกด้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้ดำเนินการตามภารกิจด้านการพัฒนา ผลักดันกฎหมายและมาตรการต่างๆ โดยมุ่งเน้นการสร้างมาตรฐานการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน การสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดความเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในมุมมองของนานาประเทศ อาทิ การแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ โดยเฉพาะการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ รวมถึงการเฝ้าระวังป้องกันโครงการสำคัญที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตในการจ่ายงบประมาณแผ่นดิน การเร่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงิน รวมถึงแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของหน่วยราชการ องค์กรอิสระต่างๆ ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ป.ป.ท.หนุนสุดลิ่ม พ.ร.บ.สกัดโกง

นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวว่า แนวคิด คสช.ที่จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการพิสูจน์พยานหลักฐานทางด้านการเงินและบัญชี รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ว่าการสืบสวนทางการเงินที่ผ่านมากฎหมายจะให้อำนาจในชั้นสอบสวนหรือชั้นไต่สวน แต่ในชั้นสืบสวนไม่มีเครื่องมือ ทำให้เมื่อมาถึงขั้นตอนการสอบสวนหรือไต่สวน พยานหลักฐานจะมีน้อย ต้องไปค้นหลักฐานเพิ่มเติม ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานในชั้นสืบสวนลดน้อยลง จึงเชื่อว่าการมีกฎหมายฉบับนี้เพื่อให้มีเครื่องมือในชั้นสืบสวน อย่าง ป.ป.ท.เองเครื่องมือสอบเบื้องต้นไม่มี แต่หาทางแก้โดยไปขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แต่ถ้ามีกฎหมายฉบับนี้จะทำให้การทำงานคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

จำกัดวงอำนาจต้องไม่ล้นฟ้า

นายประยงค์กล่าวอีกว่า แต่อำนาจในการสืบสวนเจ้าพนักงานต้องใช้เท่าที่จำเป็น ไม่กระทบสิทธิของบุคคลภายนอกจนเกินไป ตรงนี้กฎหมายต้องคุ้มครองเอกชน และบุคคลภายนอก ดังนั้นในการยกร่างกฎหมายต้องคุยรายละเอียด ขอบข่ายของกฎหมายจะมีมากน้อยแค่ไหน เพราะในสถาบันการเงินก็มีกฎหมายคุ้มครองของเขาอยู่ แต่ก็ต้องแลกกัน ถ้าเกิดอาชญากรรมนั้นๆ มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ฉะนั้นต้องชั่งน้ำหนักแล้วให้เกิด ความพอดี ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน โดยที่สังคมได้ประโยชน์ ต้องมองหลายมุม ส่วนใหญ่มาตรการเหล่านี้ในต่างประเทศถือเป็นหลักสากลอยู่แล้ว อาจดูแล้วมาพิจารณาปรับให้สอดคล้องกับบ้านเรา

ไล่เช็กจัดซื้อจัดจ้างย้อนหลัง 5 ปี

เลขาธิการ ป.ป.ท.กล่าวต่อว่า จากคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 69/2557 กำหนดแนวทางและมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ โดยป.ป.ท.ให้หน่วยงานรัฐส่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการของรัฐ ที่ม

ที่มา http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=1&news_id=37953&page=1

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวแรก:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง