ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สาระธรรมไตรภพ

เริ่มโดย กัมมุนาวัฏตีโลโก, 21:49 น. 01 ต.ค 55

กัมมุนาวัฏตีโลโก

049 ผู้ที่ไม่เถียงกับใคร ๆ

๔๗. ปัญหา คนเราที่ไม่รู้ความจริงแท้ ย่อมมีความเห็นแตกต่างกันและทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกัน มีคนประเภทใดบ้างที่ไม่ทุ่มเถียงกับใคร ๆ ?

พุทธดำรัส ตอบ "อัคคิเวสสนะ เวทนา ๓ อย่างนี้คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา เท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา
"อัคคิเวสสนะ สุขเวทนา...... ทุกขเวทนา....... อทุกขมสุขเวทนา.....ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คล้ายไปดับไปเป็นธรรมดา
"อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งใน ทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา ทั้งอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใคร ๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกันก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฐิ"

ทีฆมขสูตร ม. ม. (๒๗๓)
ตบ. ๑๓ : ๒๖๗-๒๖๘ ตท.๑๓ : ๒๒๖-๒๒๗
ตอ. MLS. II : ๑๗๙-๑๘๐

033 กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่

ปัญหา มีพุทธศาสนิกชนบางพวกเห็นว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเพราะเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นฆ่า ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล....."

ชีวกสูตร ม. ม. (๕๗)
ตบ. ๑๓ : ๔๘-๔๙ ตท.๑๓ : ๑๓ : ๔๗
ตอ. MLS. II : ๓๓
156 เป็นอรหันต์แต่ไม่มีฤทธิ์

ปัญหา ภิกษุที่ได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพแล้วจะต้องมีฤทธิ์ สามารถกระทำปาฏิหาริย์ได้ทั้งนั้นหรือ ?

คำตอบ ไม่ได้เสมอไป ตามเรื่องสุสิมสูตรว่าเมื่อพระสุสิมะได้ยิน ภิกษุหลายรูป ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์จึงเข้าไปหาแล้วก็ถามว่า ท่านเหล่านั้นแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ไหม มีหูทิพย์ตาทิพย์ไหม เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่าแสดงฤทธิ์ก็ไม่ได้ มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็ไม่ได้ พระสุสิมะ จึงแสดงความประหลาดใจว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ท่านเหล่านั้นตอบว่า ท่านหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสกะ
พระสุสิมะยังไม่หายสงสัย จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลถามเรื่องนี้

พระพุทธองค์ตรัสถามเธอว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ควรถือว่าเป็นเราเป็นของของเรา เป็นตัวตนของเราหรือไม่ พระสุสิมะทูลว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ควรถือว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตนของเรา พระพุทธองค์ทรงสอนต่อไปว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นอย่างนี้แบ้วจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและหลุดพ้น เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระสุสมะในเรื่องปฏิจจสุมปบาทว่าเพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา และภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯ เพราอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ในสายดับทุกข์พระองค์ทรงแสดงว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะ จึงดับ ฯลฯ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ในที่สุดทรงถามว่า "ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ....ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด... ด้วยทิพย์ โสตธาตุอันบริสุทธิ์..... ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น.... ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก... ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ.... บ้างหรือหนอ ?"
พระสุสิมะทูลตอบว่า " ไม่ใช่อย่างนั้น ก็แสดงว่า พระอรหันต์ผู้ได้บรรลุเพราะอาศัยปัญญา เกิดความรู้จริงเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ ย่อมไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ใด ๆ"

นัยสุสิมสูตร นิ. สํ. (๒๘๑-๓๐๑)
ตบ. ๑๖ : ๑๔๖-๑๕๕ ตท. ๑๖ : ๑๓๒-๑๔๑
ตอ. K.S. II : ๘๕-๙๑
104 อำนาจจิต

ปัญหา (เทวดาทูลถาม) โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไรหนอเสือกไสไปได้ โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกใสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือ จิต "

จิตตสูตรที่ ๒ ส.สํ. (๒๘๑)
ตบ. ๑๕ : ๕๔ ตท. ๑๕ : ๕๓
ตอ. K.S. I : ๕๕
083 สมณพราหมณ์ที่ไม่ควรไหว้

ปัญหา ขึ้นชื่อวาเป็นสมณพราหมณ์ ครองเพศบรรพชิตแล้ว เราควรเคารพกราบไหว้บูชาทั้งนั้นหรือ ? หรือว่ามีสมณพราหมณ์ประเภทใดบ้างที่ไม่ควรเคารพกราบไหว้ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์ เหล่าใดยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ..... ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต.... ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ... ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา.... ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย.... ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังมีความประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อยู่สมณพราหมณ์ เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ.... ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้วยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็น แม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์ พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนั้น ฉะนั้นท่านสมณพราหมณ์ เหล่านั้นจึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา...."

นครวินเทยยสูตร อุ. ม. (๘๓๓)
ตบ. ๑๔ : ๕๒๙ ตท. ๑๔ : ๔๕๔
ตอ. MLS. III : ๓๔๐

084 วิธีสังเกตสมณพราหมณ์แท้

ปัญหา เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าสมณพราหมณ์ พวกไหนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่น ถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไร จึงเป็นเหตุให้พวกท่านกล่าวพึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อจัดโมหะ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าความจริงท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าดงเป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีกลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะอันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย
"นี้แล อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นเป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะแน่ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่...."

นครวินเทยยสูตร อุ. ม. (๘๓๕)
ตบ. ๑๔ : ๕๓๑-๕๓๒ ตท. ๑๔ : ๔๕๖
ตอ. MLS. III : ๓๔๑-๓๔๒

138 สมณพราหมณ์ที่แท้จริง

ปัญหา สมณพราหมณ์ที่แท้จริงตามความหมายทางพระพุทธศาสนานั้น ควรจะมีคุณสมบัติที่สำคัญอะไรบ้าง ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่กำหนดรู้ชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้ความดับแห่งชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้ ชาติ ...
ภพ.... อุปาทาน.... ตัณหา....เวทนา....ผัสสะ...สฬายตนะ....นามรูป.... วิญญาณสังขาร ย่อมไม่กำหนดรู้เหตุเกิดแห่งสังขาร... ความดับแห่งสังขาร.... ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านี้จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้...."

สมณพราหมณ์สูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๙๔)
ตบ. ๑๖ : ๕๓ ตท. ๑๖ : ๔๖
ตอ. K.S. II : ๓๔-๓๕



157 พวกเดียวกันคบกัน

ปัญหา ตามปกติ คนที่มีอะไรคล้ายกันย่อมคบหาสมาคมกันใช่หรือไม่ ? พระผู้มีพระภาคตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุทีเดียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน.... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน.... กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกเกียจร้านย่อมคบค้ากัน..... กับสัตว์จำพวกเกียจคร้าน สัตว์จำพวกมีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน....กับสัตว์จำพวกมีสติหลงลืม สัตว์จำพวกมีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน..... กับสัตว์จำพวกมีปัญญาทราม แม้ในอดีตกาล.... แม้ในอนาคตกาล... แม้ในปัจจุบันกาล...."

อสัทธมูลกสูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๓๔๗)
ตบ. ๑๖ : ๑๙๑-๑๙๒ ตท. ๑๖ : ๑๗๕-๑๗๖
ตอ. K.S. II : ๑๑๐-๑๑๑
168 ดาราศาสตร์ในพุทธศาสนา

ปัญหา พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทรรศนะเกี่ยวกับโลกจักรวาลไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนอานนท์ จักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับโอกาส (ช่องว่าง) ที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์ โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น มีพระจันทร์พันดวง มีพระอาทิตย์พันดวง มีขุนเขาสิเนารุพันหนึ่ง มีชมพูทวีปพันหนึ่ง มีอมรโคยานทวีปพันหนึ่ง มีอุตรกุรุทวีปพันหนึ่ง มีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง มีมหาสมุทร ๔ พัน มีท้าวมหาราช ๔ พัน มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสดีพันหนึ่ง มีพรหมโลกพันหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุอย่างเล็ก ซึ่งมีพันจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแหงโลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาร
"ดูก่อนอานนท์ ตถาคต เมื่อมุ่งหมาย พึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งได้ด้วยเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่มุ่งหมาย....ฯ"

จูฬนีสูตร ติ. อํ. (๕๒๐)
ตบ. ๑๙ : ๒๙๒-๒๙๓ ตท. ๑๙ : ๒๕๗-๒๕๘
ตอ. G.S. I : ๒๐๗
172 ภิกษุควรหัวเราะหรือไม่

ปัญหา ได้ทราบมาว่า พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่มีการหัวเราะมีแต่ยิ้มแย้มเท่านั้น พระภิกษุควรจะหัวเราะหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การขับร้องคือ การร้องไห้ในวินัยของพระอริยเจ้า การฟ้อนรำคือ ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยเจ้าการหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า เพราะเหตุนั้น และ จงละเสียโดยเด็ดขาดในการขับร้องฟ้อนรำ เมื่อท่านทั้งหลายเบิกบานในธรรม ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม"

โรณสูตร ติ. อํ. (๕๔๗)
176 ฤกษ์ยามในพระพุทธศาสนา

ปัญหา ทางพระพุทธศาสนามีการสอนให้ถือฤกษ์ถือยามในการทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย.... ด้วยวาจา.... ด้วยใจในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย.... ด้วยวาจา.... ด้วยใจในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย..... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น..."

สุปุพพัณหสูตร ติ. อํ. (๕๙๕)
ตบ. ๒๐ : ๓๗๘-๓๗๙ ตท. ๒๐ : ๓๓๕
ตอ. G.S. I : ๒๗๒

ชาติหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
"ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
"ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
"ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
"ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
"อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ"
ชาติหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
"ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
"ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
"ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
"ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
"อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ"
ใช้ตัณหาปราบตัณหา

ปัญหา มีบางท่านกล่าวว่า ความอยากถึงนิพพานก็จัดเป็นตัณหาอย่างหนึ่ง และเป็นแรงผลักดันให้คนปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงนิพพาน เข้าทำนอง ใช้ตัณหาดับตัณหา คำกล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานในพระไตรปิฎกยืนยันหรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ".....ดูก่อนน้องหญิง คำที่เรากล่าวว่ากายนี้เกิดด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสียดังนี้ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร
"ดูก่อนน้องหญิง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้ข่าวว่า ภิกษุชื่ออย่างนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ เธอเกิดความปรารถนา (ตัณหา) อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุต ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ ในปัจจุบันชาตินี้ ดังนี้ ในเวลาต่อมา เธออาศัยตัณหานั้นแล้วละตัณหาเสียได้
"ดูก่อนน้องหญิง คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหาอาศัยตัณหาแล้วพึงละเสียดังนี้ เรากล่าวเพราะอาศัยความจริงข้อนี้......"

อินทริยวรรค จ. อํ. (๑๕๙)
ตบ. ๒๑ : ๑๙๕-๑๙๖ ตท. ๒๑ : ๑๗๑
ตอ. G.S. II : ๑๔๙

กัมมุนาวัฏตีโลโก

075 ทำดีไปนรก-ทำชั่วไปสวรรค์

ปัญหา บุคคลกระทำบาปด้วยกาย วาจา ใจ แล้วจะได้ไปเกิดในสุคติเสมอไปหรือ ? และบุคคลกระทำบุญด้วย กาย วาจา ใจ ตายแล้วจะเข้าถึงทุคติสมอไปหรือ ? ถ้าไม่ เพราะเหตุไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนอานนท์ เราไม่เห็นด้วยกับวาทะของสมณะ หรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้เจริญเป็นอันว่า กรรมดีไม่มีวิบากของสุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท สุราเมรัย มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าพึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราเห็นด้วย
"ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่าผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่เห็นด้วย
"แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่เห็นด้วย
"แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไป ถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่านี้เราก็ยังไม่เห็นด้วย......
".....ดูก่อนอานนท์ บุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นเพราะว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่าในเวลาจะตาย มีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อมสมาทานแล้ว เพราะฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก......"

มหากัมมวิภังคสูตร อุ. ม. (๖๑๑-๖๑๕)
ตบ. ๑๔ : ๓๙๖-๓๙๘ ตท. ๑๔ : ๓๓๗-๓๓๙
ตอ. MLS. III : ๒๖๐-๒๖๒

065 วิธีพิสูจน์พระอรหันต์

ปัญหา เราจะมีวิธีพิสูจน์ได้อย่างไร ว่าภิกษุรูปใดเป็นพระอรหันต์ หรือไม่ เพราะเราไม่อาจจะทราบได้ด้วยเครื่องหมายภายนอกใด ๆ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่างเพื่อยินดี อย่าเพื่อคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น... พึงถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โวหารอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ..... ตรัสไว้ชอบนี้มี ๔ ประการ..... คือ คำกล่าวว่าเห็นอารมณ์ที่ตนเห็นแล้ว..... ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว..... ทราบในอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว.... รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว.... ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว.... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพันพ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้เห็น มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่...... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ยิน..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ทราบ..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้ารู้ชัด.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้นพวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาสาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุอุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น..... ตรัสไว้ชอบ มี ๕ ประการ แล.... คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์...... ก็จิตของท่านผู้มีอายุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา..... รู้แจ้งสัญญา.... รู้แจ้งสังขาร..... รู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก..... จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว..... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคนั้น.... ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ.... คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว...... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า.....ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ โดยความเป็นอนัตตา.... ครองเตโชธาตุโดยความเป็นอนัตตา...... ครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา.... มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่าจิตของเราพื้นแล้ว.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ..... จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้....."

ฉวิโสธน ปญ
สูตร อุ. ม. (๑๖๗-๑๗๑)
ตบ. ๑๔ : ๑๒๓-๑๒๗ ตท. ๑๔ : ๑๐๔-๑๐๘
ตอ. MLS. III : ๘๑-๘๕

กัมมุนาวัฏตีโลโก

044 เหตุให้พระธรรมวินัยเสื่อม

ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า การมีกฎหมายหรือระเบียบกฎเกณฑ์ มาก ๆ นั้น แสดงว่าศีลธรรมของชุมนุมชนนั้นเสื่อมลง จริงหรือไม่ ? พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรมกำลังอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตตผลน้อยนัก พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรม (ธรรมอันก่อให้เกิดอาสวะ) บางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในพระธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเห็นหมู่ใหญ่..... อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในพระธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศ ด้วยลาภ.... ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ....... ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูตร..... ยังไม่ถึงความเป็นรัตตัญญู ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นรัตตัญญู เมื่อนั้นอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น ฯ "

ภัททาลิสูตร ม. ม. (๑๗๒)
ตบ. ๑๓ : ๑๗๔-๑๗๕ ตท.๑๓ : ๑๕๒-๑๕๓
ตอ. MLS. II : ๑๑๖-๑๑๗

040 ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ

ปัญหา ได้ทราบว่ามีปัญหาบางประเภทที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาดังกล่าวนั้นมีอะไรบ้าง ? และเพราะเหตุไรพระพุทธองค์ไม่ทรงตอบ ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... เธอทั้งหลายจงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงจำปัญหาที่เราพยากรณ์.... อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์
ดูก่อนมาลุงกยบุตร ทิฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มีไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้เราไม่พยากรณ์.... ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อน มาลุงกยบุตร เหตุนั้น เราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น
"..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร ความเห็นว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้เราพยากรณ์ ก็เพราะเหตุไรเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้นไประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุนั้น เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น
"..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... บุคคลใดแลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคจักไม่ทรงพยากรณ์แก่เรา (ซึ่งทิฐิ ๑๐ ประการนั้น) เพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพียงนั้น ตถาคตไม่พึงพยากรณ์ข้อนั้นเลยและบุคคลนั้นพึงทำกาละ (ตาย) ไปโดยแท้ ดูก่อนมาลุกยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษต้องศรอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา มิตรอมาตรย์ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหานายแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมาผ่า บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร......มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้...... สูงต่ำหรือปานกลาง..... ดำขาวหรือผิวสองสี อยู่บ้าน นิคมหรือนครโน้นเพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักธนูที่ใช้ยิงเรานั้นเป็นชนิดมีแร่หรือเกาทัณฑ์.... สายที่ยิงเรานั้นเป็นสายทำด้วยปอ ผิวไม้ ไผ่ เอ็น ป่าน หรือเยื่อไม้ ลูกธนูที่ยิงเรานั้น ทำด้วยไม้ที่เกิดเองหรือไม่ปลูก ทางเกาทัณฑ์ที่ยิงเรานั้นเขาเสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตะกรุม เหยี่ยว นกยูง หรือนกชื่อว่าสิถิลหนุ (คางหย่อน) เกาทัณฑ์นั้นเขาพันด้วยเอ็นวัว ควาย ค่าง หรือลิง...... ลูกธนูชนิดที่ยิงเรานั้นเป็นชนิดอะไร ดังนี้เพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น ดูก่อนมาลุงกยบุตร บุรุษนั้นพึงรู้ข้อนั้นไม่ได้เลย โดยที่แท้บุรุษนั้นพึงทำกาละไปฉันใด ดูก่อนมาลุกยบุตร บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคจักไม่ทรงพยากรณ์ทิฐิ ๑๐ นั้น ฯลฯ แก่เราเพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพียงนั้น ข้อนั้นตถาคตไม่พยากรณ์เลย โดยที่แท้บุคคลนั้นพึงทำกาละไป ฉันนั้น"

จูฬมาลุงกโยวาทสูตร ม. ม. (๑๕๐-๑๕๒)
ตบ. ๑๓ : ๑๔๗-๑๕๒ ตท.๑๓ : ๑๓๒-๑๓๕
ตอ. MLS. II : ๙๙-๑๐๑

กัมมุนาวัฏตีโลโก

076 การตำหนิและการยกยอ

ปัญหา พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักในการตำหนิ หรือให้การยกยอบุคคลอื่นไว้อย่างไรหรือไม่ ?
พุทธดำรัส ตอบ "ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้การยกยอและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ?

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร เป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม ? คือเมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใด กระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส ของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
"เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใด ไม่กระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบดังนี้ ชื่อว่ายกยอคนพวกหนึ่ง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลเป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ ? คือ ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดกระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส...... ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์...... กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรมมีทุกข์..... ดังนี้ เชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
"ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่กระทำการตามประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส ของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กาม..... ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อนใจ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ..... อย่างนี้แล ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้....."

อรณวิภังคสูตร อุ. ม. (๖๕๗-๖๕๘)
ตบ. ๑๔ : ๔๒๕-๔๒๗ ตท. ๑๔ : ๓๖๒-๓๖๔
ตอ. MLS. III : ๒๗๙-
018 วิธีสร้างอิทธิฤทธิ์

ปัญหา อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีได้จริงหรือ ? ถ้ามีจริงจะมีวิธีสร้างได้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝ่ากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์...ก็ได้"
"ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์... ถ้าภิกษุจะถึงหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง.... พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง .... ว่าในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้.....
"ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม... ด้วยประการฉะนี้เถิด ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารฯ"

อากังเขยยสูตร มู. ม. (๘๕-๘๙)
ตบ. ๑๒ : ๖๐-๖๓ ตท.๑๒ : ๕๑-๕๓
ตอ. MLS. I : ๔๓-๔๔
  307 เทพเจ้าอมตะมีหรือไม่

ปัญหา ศาสนาบางศาสนาเชื่อว่ามีเทวดาที่มีอมตะเที่ยงแท้ แน่นอน ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนามีทัศนะอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราชออกจากที่อาศัยในเวลาเย็นแล้วเหยียดกาย แล้วเหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือสีหนาท ๔ ครั้งแล้วออกเดินไปเพื่อหากิน.... พวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาสีหมฤคราชบันลือสีหนาท อยู่ โดยมากย่อมถึงความกลัว... พญาสีหมฤคราชมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายเช่นนี้แล
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกพระองค์ทรงแสดงธรรมว่า รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ ความดับแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นานในวิมานสูง ได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่างก็ถึงความกลัว ความสังเวช ความสะดุ้ง ว่าผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่าเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่เข้าใจว่าแน่นอน... ได้ยินว่า ถึงพวกเราก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ติดยู่ในกายตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าโลก กับเทวโลกเช่นนี้แล"

สีหสูตร ขันธ. สํ. (๑๕๕, ๑๕๖)
ตบ. ๑๗ : ๑๐๓-๑๑๔ ตท. ๑๗ : ๙๓-๙๔
ตอ. K.S. ๓ : ๗๐-๗๑
343 การเลี้ยงชีพของสมณะ

ปัญหา การเลี้ยงชีพอย่างไม่ถูกต้อง และถูกต้องของสมณะคืออย่างไร ?

พระสารีบุตรตอบ "ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาทำนายทายทัก สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าก้มหน้าบริโภค
"สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาดูฤกษ์ยาม สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าแหงนหน้าบริโภค
"สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยการประกอบกิจการส่งข่าวสารและรับใช้ สมณพราหมณ์นี้เรียกว่ามองดูทิศใหญ่บริโภค
"สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีพ ด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาทำนายทายทัก สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าดูทิศน้อยบริโภค
"ดูก่อนน้องหญิง ส่วนเรานั้นมิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม แล้วจึงบริโภค..."

สูจิมุขีสูตร ขันธ. สํ. (๕๑๘)
ตบ. ๑๗ : ๒๙๖-๒๙๗ ตท. ๑๗ : ๒๘๔-๒๘๕
ตอ. K.S. ๓ : ๑๙๐-๑๙๑
249 วาระสุดท้ายของโลก

ปัญหา นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า โลกของเราจะมีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ ล้านปีแล้วก็จะแตกดับ ทางพระพุทธศาสนาแสดงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม.... ควรเบื่อหน่าย.... ควรคลานกำหนัด.... ควรหลุดพ้น
"ขุนเขาสิเนรุโดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติป่าไม้ใหญ่ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่สองปรากฏ...แม่น้ำลำคลองทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ...แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรพู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ...แม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรพู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ...น้ำในมหาสมุทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี.... ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี.... ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน.... เพียงเขา... เพียงรอยเท้าโค
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ...แผ่นดินใหญ่นี้และเขาสินเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ...แผ่นดินใหญ่นี้และเขาสินเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน.... เมื่อแผ่นดินใหญ่และเขาสิเนรุ ถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า.....
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย..... สังขารทั้งหลาย.... เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย.... ควรคลานกำหนัด.... ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง

สุริยสูตร ส. อํ. (๖๓)
ตบ. ๒๓ : ๑๐๒-๑๐๕ ตท. ๒๓ : ๙๕-๙๗
ตอ. G.S. IV : ๖๔-๖๘

ขอบคุณ

.


....ขอบคุณครับ ต้องค่อยๆอ่าน ค่อยๆพิจารณา ทำความเข้าใจ... ส.ยกน้ิวให้ ส.ก๊ากๆ

กัมมุนาวัฏตีโลโก

028 ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ "ธรรมทั้งปวงที่ไม่ควรยึดมั่น" ดังนี้ พระพุทธองค์ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่นย่อมสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้ว ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จอันยิ่งยวด ถึงที่สุดอันยิ่งยวด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ "

จูฬตัณหาสังขยสูตร มู. ม. (๔๓๙)
ตบ. ๑๒ : ๔๗๐-๔๗๑ ตท.๑๒ : ๓๘๒-๓๘๓
ตอ. MLS. I : ๓๑๐-๓๑๑

135 ใครเป็นผู้สร้าง

ปัญหา ทุกข์ทั้งปวง ตั้งแต่อวิชชาเป็นต้นไปถึง ชาติ ชรา มรณะ มีใครเป็นผู้สร้างหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย....
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ....
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ....
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ....
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน....
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา....
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา....
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ....
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ....
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป....
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ....
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร....
เพราะตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธรรมฐิติ (เป็นสภาพตั้งอยู่ตามธรรมดา) ธรรมนิยาม (เป็นสภาพแน่นอนตามธรรมดา) อิทัปปัจจัย (เป็นมูลเหตุอันแน่นอน) ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำ ให้ตื้น และตรัสว่าท่านทั้งหลายจงดูดังนี้....."

ปัจจัยสูตร นิ. สํ. (๖๑)
ตบ. ๑๖ : ๓๐-๓๑ ตท. ๑๖ : ๑๖-๒๕
ตอ. K.S. II : ๒๑
209 ควรติคนอื่นหรือไม่

ปัญหา คนบางคนถืออุเบกขา ไม่ยุ่งกับคนอื่น ไม่สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญโดยกาลอันควร ไม่ติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร เฉย ๆ เสียสบายดีเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงเห็นอย่างไรในคนประเภทนี้ ?

พุทธดำรัส ตอบ "....ดูก่อนโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร ตามความเป็นจริง (แต่) ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
ผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร (แต่) ไม่
ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑
ผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
"ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร นี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ...."
409 อนาคตของดารานักแสดง

ปัญหา ดารานักแสดงที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้อื่นด้วยคำจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นั้น ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติหรือทุคติ ?

พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้หัวหน้านักแสดงนามว่าตาลปุฏะถามคำถามนั้น ถึง ๓ ครั้ง แต่นายตาลปุฏะก็ยังคะยั้นคะยอจะเอาคำตอบให้ได้

พระพุทธองค์ จึงตรัสตอบว่า

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนหัวหน้านักแสดง แท้จริงเราไม่ได้ อนุญาตให้ท่านถามปัญหานี้ เรากล่าวว่า อย่าเลย หัวหน้านักแสดง เรื่องนี้หยุดไว้เสียเถิด อย่าถามปัญหานี้กะเราเลย แต่เอาเถอะ เราจะตอบปัญหาแก่ท่าน
"ดูก่อนหัวหน้านักแสดง สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ถูกราคะผูกมัดไว้ ยังไม่ปราศจากโทสะ ถูกโทสะผูกมัดไว้ ยังไม่ปราศจากโมหะ ถูกโมหะผูกมัดไว้ อยู่ก่อนแล้ว นักแสดงยิ่งนำเข้ามาซึ่งธรรมอันส่งเสริม ราคะ ส่งเสริมโทสะ ส่งเสริมโมหะแก่ชนเหล่านั้นในท่ามกลางเวที ท่ามกลางโรงมหรสพให้มี ราคะ โทสะ โมหะ มากยิ่งขึ้น บุคคลนั้นตนเองก็ประมาทมัวเมาอยู่แล้ว ยังทำให้คนอื่นประมาทมัวเมาอีก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะแตกทำลาย ย่อมเกิดในนรกชื่อปหาส....
"ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักแสดงคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงตามคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางเวที ผู้นั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาส ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด...."

ตาลปฏสูตร สฬา. สํ. (๕๘๙-๕๙๑)
ตบ. ๑๘ : ๓๗๗-๓๗๘ ตท. ๑๘ : ๓๓๖-๓๓๗
ตอ. K.S. ๔ : ๒๑๔-๒๑๖410 อนาคตของนักรบอาชีพ

ปัญหา นักรบอาชีพที่มีความอุตสาหะ วิริยะในสงครามตายไปแล้วจะเกิดในสุคติหรือทุคติ ?

คำถามนี้ ประธานชุมชน (นายบ้าน) ผู้เป็นนักรบอาชีพทูลถามพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงตอบ แต่ในที่สุดก็จำต้องตอบว่า

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนนายบ้าน แท้จริงเราไม่ได้อนุญาตให้ท่านถามปัญหานี้ เกร่ากล่าวว่า อย่าเลย นายบ้าน เรื่องนี้พักไว้เสียเถิด อย่างถามปัญหานี้กะเราเลย แต่เอาเถอะ เราจะตอบปัญหาแก่ท่าน
"ดูก่อนนายบ้าน นักรบอาชีพคนใด อุตสาหพยายามในสงคราม จิตของเขาเป็นสภาพต่ำ ชั่ว ตั้งไว้ไม่ดีก่อนแล้วว่าขอสัตว์เหล่านั้นจงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่าอย่าได้มีอยู่เลย ดังนี้บุคคลอื่นย่อมฆ่า ย่อกำจัดเขาที่กำลังอุตสาหพยายามอยู่นั้น เมื่อเขาตายเพราะกายแตกทำลายย่อมยังเกิดในนรกชื่อสรชิต...
"ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหพยายามในสงคราม ผู้นั้นเมื่อตายไปเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิตดังนี้ไซร้ ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด ดูก่อนนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด...."

โยธาชีวสูตร สฬา. สํ. (๕๙๓)
ตบ. ๑๘ : ๓๘๐-๓๓๙ ตท. ๑๘ : ๓๓๘-๓๓๙
ตอ. K.S. ๔ : ๒๑๖-๒๑๗
415 พระภิกษุกับการรับเงินและทอง

ปัญหา ราชบริษัทในเมืองราชคฤห์สนทนากันว่า เงินและทองเป็นสิ่งควรแก่พระภิกษุ พระภิกษุยังยินดีในเงินและทอง และย่อมรับเงินและทองได้ นายบ้านนามว่ามณีจูฬกะได้ยินเช่นนั้น จึงปฏิเสธคำกล่าวหานั้นแล้วภายหลังได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ และทูลถามว่าที่เขาปฏิเสธไปนั้นถูกต้องหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดีละ นายคามณี เมื่อท่านตอบอย่างนั้นเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และคราวตอบธรรมถูกต้องเหมาะสม ... เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีในเงินและทอง ห้ามเสียซึ่งเพชรนิลจินดาและทอง ปราศจากเงินและทอง
"ดูก่อนนายคามณี กามคุณทั้ง ๕ ควรแก่ผู้ใด เงินและทองย่อมควรแก่ผู้นั้นท่านพึงจำข้อนี้ไว้อย่างเด็ดขาดเถิด ว่า ข้อนั้นไม่ใช่สมณธรรม ไม่ใช่ธรรม ของสมณศากยบุตร นายคามณี เรากล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการหาเกวียนพึงแสวงหาเวียน ผู้ต้องการบุรุษจึงแสวงหาบุรุษ แต่เรามิได้กล่าวโดยปริยายใด ๆ เลยว่า พระศากยบุตรพึงยินดีและแสวงหาเงินและทอง...."

มณีจุฬาสูตร สฬา. สํ. (๖๒๓-๖๒๖)
ตบ. ๑๘ : ๔๐๑-๔๐๓ ตท. ๑๘ : ๓๕๕-๓๕๗
ตอ. K.S. ๔ : ๒๓๐-๒๓๒
515 คนตายแต่กาย

ปัญหา มีหลักฐานอะไรบ้าง ที่พระพุทธองค์ตรัสรับรองว่าคนเราตายแต่กายเท้านั้น ส่วนจิตยังสืบต่อไปเกิดในภพหน้าได้ ?

พุทธดำรัส ตอบ " ดูก่อนมหาบพิตร จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่อบรมแล้วด้วยศรัทธา ท ศีล สุตะ จาคะ ปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้ของผู้นั้น มีรูปประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดแต่มารดาบิดาเติบโตขึ้นมาด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องขัดสีนวดฟั้น และจะต้องแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา พวกกา แร้ง เหยี่ยว สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก หรือสัตว์นานาชนิด ย่อมกัดกินกายนี้แล ส่วนจิตของผู้นั้นที่อบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมเป็นสิ่งไปในเบื้องบน เป็นสิ่งถึงภูมิอันวิเศษ...เปรียบเหมือนบุรุษลงไปยังห้วงน้ำลึก แล้วพึงทุบหม้อเนยใส หรือหม้อน้ำมันสิ่งใดที่มีอยู่ในหม้อนั้น จะเป็นก้อนกรวดหรือกระเบื้องก็ตาม สิ่งนั้นจะจมลงสิ่งใดเป็นเนยใสหรือน้ำมัน สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งลอยขึ้นบน เป็นสิ่งถึงวิเศษ...."


มหานามสูตร ที่ ๑ มหา. สํ. (๑๕๐๘-๑๕๐๙ )
ตบ. ๑๙ : ๔๖๓-๔๖๔ ตท. ๑๙ : ๔๒๐-๔๒๑
ตอ. K.S. ๕ : ๓๒๐-๓๒๑
516 แม้คนขี้เมาก็อาจเป้นพระโสดาบันได้

ปัญหา เมื่อเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นพระโสดาบัน พ้นจากอบายภูมิอย่างเด็ดขาด มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าศากยะเป็นจำนวนมากประชุมกันแล้วพูดตำหนิว่า เจ้าสรกานิศากยะประพฤติย่อหย่อนในศีลธรรมและชอบดื่มน้ำเมา ถ้าท่านเป็นพระโสดาบันได้ ใคร ๆ ก็เป็นโสดาบันกันทั้งบ้างทั้งเมือง ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงชี้แจงอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ " ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนานจะไปสู่วินิบาตได้อย่างไร ? เมื่อจะพูดให้ถูก ควรพูดถึงเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะมาเป็นเวลานานแล้ว จะพึงไปสู่วินิบาตได้อย่างไร ?
" ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า.... ในพระธรรม...ในพระสงฆ์ ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่บรรลุถึงวิมุต แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ แม้บุคคลผู้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก....ทุคติวินิบาต
" ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าต้นสาละใหญ่เหล่านี้พึงรู้ สุภาษิต และทุพภาสิต
อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นสาละใหญ่เหล่านี้ได้ว่า เป็นโสดาบัน จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า จะช่วยกล่าวไปไยถึงเข้าสรกานิศากยะ
"ดูก่อนท้าวมหานาม เจ้าสารกานิศากยะสมาทานสิกขาได้ในเวลาสิ้นพระชนม์แล"

สรกานิสูตร ที่ ๑ มหา. สํ. (๑๕๒๘-๑๕๓๖ )
ตบ. ๑๙ : ๔๗๐-๔๗๔ ตท. ๑๙ : ๔๒๖-๔๒๘
ตอ. K.S. ๕ : ๓๒๔-๓๒๖แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล    บันทึกการเข้า
493 พระพุทธเจ้าอาจอยู่ได้ตลอดกัลป์

ปัญหา พระพุทธเจ้าตรัสไว้จริงหรือวา ถ้ามีพระประสงค์ พระพุทธองค์อาจจะทรงพระชนม์อยู่ได้เป็นเวลาถึง ๑ กัลป์ ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนอานนท์ เมืองเวสาลีเป็นที่น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ สัตตัมพะเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นยาน กระทำให้เป็นฐาน ให้คล่องแคล่วแล้วสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อปรารถนาอยู่ พึงดำรงอยู่ได้กัลป์ หนึ่งหรือเกินกว่ากัลป์หนึ่ง...."

เจติยสูตร มหา. สํ. (๑๑๒๔ )
ตบ. ๑๙ : ๓๓๓ ตท. ๑๙ : ๓๑๒-๓๑๓
ตอ. K.S. ๕ : ๒๓๐-๒๓๑แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล    บันทึกการเข้า
601 คนปากเสีย และปากดี

ปัญหา คนเช่นใด "ปากอุจจาระ" "ปากดอกไม้ และปากน้ำผึ้ง" คืออย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลปากอุจจาระ คือ อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในที่ประชุมก็ดี ในฝูงชนก็ดี ไปในท่ามกลางเหล่าญาติก็ดี ไปในท่ามกลางเสนาก็ดี ไปในท่ามกลางราชาสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน.... เขาไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ หรือรู้ก็ว่าไม่รู้ ไม่เห็นก็ว่าเห็น หรือไม่เห็นก็ว่าเห็น กล่าวแกล้งเท็จทั้งที่รู้ เพราะเห็นแก่ตนเอง เพราะเห็นแก่คนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย... นี้เรียกว่าคน "ปากอุจจาระ"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ปากดอกไม้ คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในที่ประชุม.... ถูกเขาอ้างเป็นพยาน.... เมื่อเขาไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น ย่อมไม่แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเห็นแก่ตน เพราะเห็นแก่คนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย... นี้เรียกว่าคน "ปากดอกไม้"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ปากน้ำผึ้ง คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ พูดแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสตเป็นที่รักจับหัวใจ เป็นวาจาของชาวเมือง เป็นที่รักที่ชอบในของคนมาก... นี้เรียกว่าคน "ปากน้ำผึ้ง"....


คูถภาณิสูตร ติก. อํ. (๖๔๗)
ตบ. ๒๐ : ๑๖๑-๑๖๒ ตท. ๒๐ : ๑๔๕
ตอ. G.S. ๑ : ๑๑๐-๑๑๑
589 ความคดโกง กาย วาจา ใจ

ปัญหา เปรียบเทียบความสมบูรณ์แห่งการดัด ?

คำตอบ "ในอดีตกาล มีกษัตริย์ องค์หนึ่งพระนามว่าปเจตนะ รังสั่งให้นายช่างรถไปทำล้อรถคู่หนึ่งให้เสร็จใน ๖ เดือน เมื่อเวลาล่วงไป ๕ เดือน กับ ๒๔ วัน เขาทำล้อเสร็จเพียงข้างเดียว แต่ภายใน ๖ วันที่เหลืออยู่เขาก็สามารถทำล้ออีกข้างหนึ่งให้เสร็จได้ เขาได้นำล้อ ๒ ข้างมาแสดงให้พระราชาทอดพระเนตร ล้อที่เขาทำใน ๖ วันนั้นกลิ้งไปสุดแรงผลักแล้วก็ล้มลง ส่วนล้อที่ทำใน ๕ เดือน ๒๔ วันนั้น เมื่อกลิ้งไปสุดแรงแล้ว ยังตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในตัวรถ เมื่อพระราคาตรัสถามถึงสาเหตุ นายช่างรถทูลว่า ล้อที่ทำใน ๖ วันนั้นมีส่วนประกอบที่คดโค้ง มีข้อเสีย มียางเหลืออยู่ในไม้ ส่วนล้อที่ทำใน ๕ เดือน ๒๔ วันนั้น ไม่มีข้อบกพร่องเหล่านั้น นายช่างผู้ทำรถนั้นคือใคร ?
พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอาจจะคิดอย่างนี้ว่านายช่างทำรถนั้นในสมัยนั้นคงจะเป็นคนอื่น แต่ข้อนี้ท่านทั้งหลายไม่ควรเห็นดังนั้น นายช่างรถในสมัยนั้น ก็คือเรานั้นเอง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คราวนั้นเราฉลาดในความคดโค้งแห่งไม้ ในข้อเสียแห่งไม้ ในยางเหนียวแห่งไม้ แต่บัดนี้เราเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าฉลาดในความคดโกงแห่งกาย ในโทษแห่งกาย ในยางเหนียวแห่งกาย ฉลาดในความคดโกง...ในโทษ...ในยางเหนียวแห่งวาจา ฉลาดในความคดโกง...ในโทษ... ในยางเหนียวแห่งใจ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งไม่ละความคดโกง... โทษ.... ยางเหนียวแห่งกาย... แห่งวาจา...แห่งใจ เขาได้พลัดตกไปจากพระธรรมวินัย เหมือนกับล้อที่เสร็จใน ๖ วัน....
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งละความคดโกง... โทษ.... ยางเหนียวแห่งกาย... วาจา...ใจได้ เขาตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย นี้ เหมือนกับล้อที่เสร็จใน ๖ เดือนหย่อน ๖ ราตรี...."


ปรจตนสูตร ติก. อํ. (๔๕๔)
ตบ. ๒๐ : ๑๔๐-๑๔๒ ตท. ๒๐ : ๑๒๘-๑๒๙
ตอ. G.S. ๑ : ๙๕-๙๗


กัมมุนาวัฏตีโลโก

034 ความสำคัญของจิตใจ

ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า ในบรรดาการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจนั้น การกระทำทางกายสำคัญที่สุด เพราะก่อให้เกิดผลเห็นได้ชัด เช่น ฆ่าเขาตายด้วยกาย ย่อมมีผลเสียหายมากกว่ากล่าวอาฆาตด้วยวาจา และการคิดจะฆ่าด้วยใจ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไรในเรื่องนี้ ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนตัปสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติกายกรรมวจีกรรมว่ามีโทษมากเหมือนมโนกรรมหามิได้"
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดีผู้เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตรก็ยังยืนยันอยู่นั่นเองว่า กายกรรมมีโทษมากกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญในความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้เป็นคนอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ห้ามน้ำเย็น ดื่มแต่น้ำร้อน เมื่อเขาไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย ดูก้อนคฤหบดี ก็นิครนถนาฏบุตรบัญญัติความเกิดของนิครนถ์ผู้นี้ ณ ที่ไหนเล่า?"
อุบาลีคฤหบดี "..... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่นิครนถ์นั้นย่อมเกิดในเทวดาจำพวกนั้น.... เพราะนิครนถ์ผู้นั้นเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวทำกาละ...."
ก็เป็นอันว่า อุบาลีคฤหบดีย่อมรับว่ามโนกรรมสำคัญกว่า แต่เขายังยืนยันต่อไปว่า กายกรรมสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือ ห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาปด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว เมื่อเขาก้าวไป ถอยกลับ ย่อมถึงการฆ่าสัตว์ตัวเล็ก ๆ เป็นอันมากดูก่อนคฤหบดี นิครนถนาฏบุตรบัญญัติ วิบากเช่นไรแก่นิครนถ์ผู้นี้ ?"
อุบาลี "ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ นิครนถนาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรม อันเป็นไปโดยไม่เจาะจงว่ามีโทษมากเลย"
พระผู้มีพระภาค "ดูก่อนคฤหบดี ก็ถ้าจงใจเล่า ?"
อุบาลี ".... เป็นกรรมมีโทษมาก"
พระผู้มีพระภาค "... ก็นิครนถนาฏบุตรเจตนาลงในสวนไหน ?"
อุบาลี "... นิครนถนาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนมโนทัณฑะ" (มโนกรรม)
ก็เป็นอันว่า อุบาลีคฤหบดี ยอมรับด้วยถ้อยคำของตนเองว่ามโนกรรมสำคัญกว่า แต่ก็ยังยืนยันว่ากายกรรมสำคัญกว่าต่อไปอีก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บ้านนาฬันทานี้ เป็นบ้านมั่งคั่งเป็นบ้านเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น.... พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เขาจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาฬันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ดูก่อนคฤหบดี ท่านจักสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในหมู่บ้านนาฬันทานี้ให้เป็นลานเนื้อันเดียวกันได้หรือ ?"
เมื่ออุบาลีทูลว่า ทำไม่ได้ พระพุทธองค์จึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาฬันทานี้.... พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำบ้านนาฬันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยจิตคิดประทุษร้ายดวงเดียว ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์.... นั้น จะสามารถทำบ้านนาฬันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยจิตประทุษร้ายดวงหนึ่งได้หรือหนอ ?"
อุบาลีคฤหบดียอมรับว่าทำได้ ซึ่งแสดงให้เป็นว่ามโนกรรมสำคัญกว่าแต่ก็ยังยืนยันต่อไปว่ากายกรรมสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑดี ป่ากาลิคะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไปท่านได้ฟังมาแล้วหรือ ?
อุบาลี ".... ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว...."
พระผู้มีพระภาค "... ท่านได้ฟังมาว่าอย่างไร เกิดเป็นป่าไปเพราเหตุไร ?"
อุบาลี "... เพราะใจประทุษร้าย อันพวกเทวดาทำเพื่อฤาษี"
ในที่สุด อุบาลีคฤหบดีก็ยอมรับว่ามโนกรรมสำคัญกว่า และประกาศตนเป็นสาวกของพระบรมศาสดา

นัยอุปาลิวาทสูตร ม. ม. (๖๔-๗๐)
ตบ. ๑๓ : ๕๕-๖๕ ตท.๑๓ : ๕๔-๖๑
ตอ. MLS. II : ๓๘-๔๓

019 การล้างบาปด้วยน้ำ

ปัญหา ลัทธิพราหมณ์ถือว่า กระทำบาปแล้วอาจจะชำระล้างให้หมดสิ้นไปด้วยการอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา เป็นต้น ทางพระพุทธศาสนามีทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....คนพาล มีกรรมดำ (บาป) แล่นไปยังแม่น้ำพาหุกาท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำคะยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดีแม้เป็นนิตย์ ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือแม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้ จะชำระนรชนผู้มีเวรทำกรรมอันหยายช้า ผู้มีกรรมอันเป็นบาปนั้นให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ผัคคุณฤกษ์ย่อมพึงพร้อมแก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ อุโบสถก็ย่อมถึงพร้อมแก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว มีการงานอันสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงอาบในคำสอนของเรานี้เถิด จงทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่กล่าวคำเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือวัตถุที่เขาไม่ให้เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ไซร้ ท่านจักต้องไปยังท่าน้ำคะยาทำไม แม้การดื่มน้ำในท่าน้ำคะยาก็จักทำอะไรให้แก่ท่านได้ฯ

วัตถูปมสูตร มู. ม. (๙๘)
ตบ. ๑๒ : ๗๐ ตท.๑๒ : ๕๘
ตอ. MLS. I : ๔๙-๕๐

กัมมุนาวัฏตีโลโก

047 ความหมายของสัพพัญญู

ปัญหา คำว่า "สัพพัญญู" ผู้รู้สิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นพระนามประการหนึ่งของพระพุทธเจ้านั้นหมายความว่า พระองค์ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างในสากลจักรวาลทั้งเวลาหลับและเวลาตื่น หรือหมายความแค่ไหนแน่?

พุทธดำรัส ตอบ "....ดูก่อนวัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญาณญาณทัสสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไปดังนี้ ไม่เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้วและชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มี ไม่เป็นจริง
"ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ ) ดังนี้แล เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม....
"ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง..... ตลอดสังวัฎวิวัฎกัปเป็นอันมาก ในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น... เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้
"ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ซึ่งเป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิฉาทิฐิ เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมทิฐิ..... เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
"ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง..."

จูฬวัจฉโคคตสูตร ม. ม. (๒๔๑-๒๔๒)
ตบ. ๑๓ : ๒๓๗-๒๓๘ ตท.๑๓ : ๒๐๓-๒๔๒
ตอ. MLS. II : ๑๖๐

กัมมุนาวัฏตีโลโก

158 วัฏสงสารที่ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย

ปัญหา เราอาจจะทราบได้ไหมว่า เราเริ่มเกิดขึ้นในวัฏสงสารเมื่อใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัวทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดมัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฏพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้"

ติณกัฏฐสูตร นิ. สํ. (๔๒๑-๔๒๒)
ตบ. ๑๖ : ๒๑๒ ตท. ๑๖ : ๑๙๙
ตอ. K.S. II : ๑๑๘-๑๑๙
     ตัวแทนพระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต, โส โว มมจฺจเยน สตฺถา ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด อันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ, ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ครั้งหนึ่งว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์ล่วงลับไปแล้ว[2] พระไตรปิฎกจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ และเป็นที่ที่ชาวพุทธสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดาของตน [3] พุทธศาสนิกชนสามารถศึกษาปริยัติศาสน์จากพระไตรปิฎก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป

กัมมุนาวัฏตีโลโก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] จูฬศีล


[๙] ๔. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ ตรัสแต่คำสัตย์
ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจาก
ฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่าย
โน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน
ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
ตรัสแต่ ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๖. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำหยาบ คือ ตรัสแต่คำไม่มี
โทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมาก
รักใคร่พอใจ
๗. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ ตรัสถูกเวลา
ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย ตรัสคำที่มี
หลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะ
แก่เวลา
[๑๐] ๘. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
๙. พระสมณโคดมเสวยมื้อเดียว ไม่เสวยตอนกลางคืน ทรงเว้นขาด
จากการเสวยในเวลาวิกาล๑
๑๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี
และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกาย
ด้วยพวงดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว
๑๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๒

    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] จูฬศีล
พวกภิกษุกราบทูลว่า "รู้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้
เห็นชัดว่า 'เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา'
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวยกย่องเรา กล่าวยกย่องพระธรรม
หรือกล่าวยกย่องพระสงฆ์ก็ตาม พวกเธอไม่ควรทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจ
ต่อคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจต่อพวกเขา พวกเธอ
ก็จะประสบอันตรายเพราะความรื่นเริงดีใจนั้นได้เช่นกัน คำยกย่องนั้น ถ้าเป็นเรื่อง
จริง พวกเธอควรยืนยันให้เขารู้ชัดลงไปว่า 'เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถูกต้อง มีอยู่
และปรากฏในพวกเรา'

จูฬศีล

[๗] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน๑ เมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็พึงกล่าวด้วยเรื่อง
เล็กน้อย ต่ำต้อยเพียงเรื่องระดับศีลเท่านั้น คือ
[๘] ปุถุชนเมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็จะพึงกล่าวว่า
๑. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและ
ศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่
๒. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่ทรงเป็นขโมย
เป็นคนสะอาดอยู่
๓. พระสมณโคดมทรงละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติ
พรหมจรรย์๒ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๓ อันเป็นกิจของชาวบ้าน

เชิงอรรถ :
๑ คนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้ เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนานานัปการ
ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต และกัลยาณปุถุชน คนที่ได้
รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ที.สี.อ. ๗/๕๘-๕๙)
๒ พรหมจรรย์มีความหมายหลายนัย ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ หรือการงดเว้นจากเมถุนธรรม (ที.สี.อ.
๑๘๙ /๑๖๐)
๓ กิจของคนคู่ หมายถึงการร่วมประเวณีหรือการเสพสังวาสกัน (ที.สี.อ. ๘/๗๐ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๓ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] จูฬศีล


[๙] ๔. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ ตรัสแต่คำสัตย์
ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจาก
ฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่าย
โน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน
ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
ตรัสแต่ ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๖. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำหยาบ คือ ตรัสแต่คำไม่มี
โทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมาก
รักใคร่พอใจ
๗. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ ตรัสถูกเวลา
ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย ตรัสคำที่มี
หลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะ
แก่เวลา
[๑๐] ๘. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
๙. พระสมณโคดมเสวยมื้อเดียว ไม่เสวยตอนกลางคืน ทรงเว้นขาด
จากการเสวยในเวลาวิกาล๑
๑๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี
และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกาย
ด้วยพวงดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว
๑๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๒

เชิงอรรถ :
๑ เวลาที่ห้ามไว้เฉพาะแต่ละเรื่อง เวลาวิกาลในที่นี้หมายถึง ผิดเวลาที่กำหนดไว้ คือตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึง
เวลาอรุณขึ้น (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)
๒ หมายถึง ธัญญชาติที่มีเมล็ดมีเปลือกสมบูรณ์ พร้อมที่จะงอกได้ เช่นข้าวเปลือก (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๔ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] มัชฌิมศีล


๑๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน
๒๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม
และด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการ
ตลบตะแลง หรือ
๒๖. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ
การตีชิงวิ่งราว การปล้นและการขู่กรรโชก

จูฬศีล จบ

มัชฌิมศีล

[๑๑] ปุถุชนเมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็จะพึงกล่าวว่า
๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่น
ที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังพรากพืชคาม๑
และภูตคาม๒ เหล่านี้ คือ พืชเกิดจากเหง้า เกิดจากลำต้น เกิดจากตา เกิดจาก
ยอด เกิดจากเมล็ด

เชิงอรรถ :
๑ พืชพันธุ์จำพวกที่ถูกพรากจากที่แล้ว ยังสามารถงอกขึ้นได้อีก (ที.สี.อ. ๑๑/๗๘)
๒ ของเขียว หรือพืชพันธุ์อันเกิดอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ ที่เกิดจากเหง้า เช่นกระชาย, เกิดจากต้น เช่นโพ,
เกิดจากตา เช่นอ้อย, เกิดจากยอด เช่นผักชี, เกิดจากเมล็ด เช่นข้าว (ที.สี.อ. ๑๑/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๕ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] มัชฌิมศีล


[๑๒] ๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้ เช่นที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังบริโภคของ
ที่สะสมไว้เหล่านี้ คือ สะสมข้าว น้ำ ผ้า ยาน ที่นอน เครื่องประทินผิว ของหอม
และอามิส๑
[๑๓] ๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล
เช่นที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยัง
ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศลอย่างนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การ
ประโคมดนตรี การรำ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่น
ตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้งดงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การเล่น
กระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การ
แข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การ
รำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัด
กระบวนทัพ การตรวจกองทัพ
[๑๔] ๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการขวนขวายในการเล่นการพนัน
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เช่นที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทอย่างนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตา หรือ ๑๐ ตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด
เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถเล็ก ๆ
เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถเล็ก ๆ เล่นธนูเล็ก ๆ เล่นเขียนทาย เล่นทาย
ใจ เล่นล้อเลียนคนพิการ
[๑๕] ๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังใช้ที่นอนสูงใหญ่อย่างนี้ คือ
เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย พรมขนสัตว์ เครื่องลาดขนแกะ
ลายวิจิตร เครื่องลาดขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีลายรูปดอกไม้ เครื่องลาดยัดนุ่น
เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายเช่นสีหะและเสือ เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒
ด้าน เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ เครื่อง

เชิงอรรถ :
๑ อามิส คือวัตถุเครื่องล่อใจ เช่นเงินทองเป็นต้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องปรุงอาหาร (ที.สี.อ. ๑๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๖ }

กัมมุนาวัฏตีโลโก

110 วิธีล่วงรู้คุณสมบัติผู้อื่น

ปัญหา เพราะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ใดมีศีล มีกำลังใจ หรือมีปัญญาหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนมหาบพิตร ศีลถึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ก็ศีลนั้นจะพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้
"ดูก่อนมหาบพิตร กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ก็กำลังใจนั้น จะพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้
"ดูก่อนมหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้น จะพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้
"คนผู้เกิดมาดี ไม่ควรไว้วางใจ เพราะผิวพรรณและรูปร่างไม่ควรไว้วางใจ เพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว เพราะว่านักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปในโลกนี้ ด้วยเครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว ประดุจกุณฑลดินและมาสกโลหะ หุ้มด้วยทองคำปลอมไว้ คนทั้งหลายไม่บริสุทธิ์ในภายใน งานแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวาร ท่องเที่ยงอยู่ในโลก"

ชฏิลสูตรที่ ๑ ส. สํ. (๓๕๖)
ตบ. ๑๕ : ๑๑๔ ตท. ๑๕ : ๑๑๓
ตอ. K.S. I : ๑๐๕-๑๐๖

121 เมื่อถูกด่าควรทำอย่างไร

ปัญหา เมื่อเราถูกโกรธก็ดี ถูกด่าก็ดี เราควรทำอย่างไร ควรจะโกรธตอบ ด่าตอบ หรือควรจะเฉยเสีย ?

พุทธดำรัส ตอบ " ดูก่อนพราหมณ์..... ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับรู้เรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าของท่านผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์.... ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่.... ผู้นี้ เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคร่วมกัน ย่อมกระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น เป็นของท่านผู้เดียว"


อักโกสกสูตรที่ ๒ ส. สํ. (๖๓๒)
ตบ. ๑๕ : ๒๓๘ ตท. ๑๕ : ๒๒๕
ตอ. K.S. I : ๒๐๒

กัมมุนาวัฏตีโลโก

พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

242 การให้ทานในแบบต่าง ๆ และผลของทานชนิดนั้น ๆ

ปัญหา ก่อนที่จะให้ทาน ถ้าเราตั้งใจขอให้ได้เสวยผลของทานผลจะเป็นอย่างไร ?
**พุทธดำรัส ตอบ ".....บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลแล้วให้ทานมุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจตุมหาราช สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือมาสู่ความเป็น (มนุษย์) อย่างนี้"

ปัญหา คนบางคนเมื่อให้ทาน ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนอะไร เห็นว่าการให้ทานเป็นความดี ก็ให้ทานเพื่อกระทำความดี ทานแบบนี้จะมีผลอย่างไร ?
**พุทธดำรัส ตอบ "......ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นเมื่อให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือมาสู่ความเป็น อย่างนี้"

ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่ใช่เพราะหวังผลทาน ไม่ใช่เพราะเห็นว่าการให้ทานเป็นความดี แต่ให้ทานเพราะมารดาบิดาปู่ย่าตายายเคยให้มา ให้ทานเพื่อรักษาประเพณี ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
**พุทธดำรัส ตอบ "......บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความหวังจึงให้ทาน.... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า มารดาบิดาปู่ย่าตายายเคยให้มา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ฯลฯ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือมาสู่ความเป็น อย่างนี้"

ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่มุ่งผล ไม่เห็นว่าทานเป็นของดี ไม่ทำตามประเพณี แต่ให้เมื่อมุ่งอนุเคราะห์แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไม่ไดประกอบอาชีพอย่างตน ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
**พุทธดำรัส ตอบ "......บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า มารดาบิดาปู่ย่าตายายเคยให้มา แต่ให้ท่านด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ฯลฯ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา ......"

ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่ใช่เพื่อมุ่งหวังผลใด ๆ แต่ให้ทานเพื่อจะกระทำตามตัวอย่างของบุคคลสำคัญในอดีตที่เขาให้มาแล้ว ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
**พุทธดำรัส ตอบ "......บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน แต่สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่าเราจักเป็นผู้จำแนกแจกทานเหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี สมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปถาษี และภคุฤาษีบูชามหายัญฉะนั้น เขาให้ทานคือ ข้าว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี สิ้นกรรม .... แล้ว ยังมีการกลับมา ......"

ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนทางวัตถุ แต่เห็นว่าให้ทานแล้วสบายใจดี ก็ให้ทาน ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
**พุทธดำรัส ตอบ "......บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะผ่องใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทานคือข้าว.... เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สิ้นกรรม แล้ว ยังมีการกลับมา ......"

ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่ได้ให้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว แต่ให้เพื่อให้ทานนั้นเป็นเครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากกิเลส มีความตระหนี่เห็นแก่ตัว เป็นต้น ผลทานจะเป็นอย่างไร ?
**พุทธดำรัส ตอบ "......ในการให้ทานนั้นบุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้จิตจะผ่องใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนี้แล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ......"

ทานสูตร ส. อํ. (๔๙)
ตบ. ๒๓ : ๖๑-๖๔ ตท. ๒๓ : ๖๐-๖๓
ตอ. G.S. IV : ๓๓-๓๕
  394 วิธีทำจิตใจตอนเจ็บหนัก

ปัญหา ในเวลาเจ็บหนักจวนตาย ควรจะทำจิตใจอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติคอยกาลเวลานี้เป็นคำแนะนำของเราแก่ท่านทั้งหลาย
"ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นภายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรในความรู้ตัว มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ พิจารณาเห็นจิตใจอยู่เป็นประจำ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เป็นประจำ อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้มีสติ
"ภิกษุเป็นผู้มีความรู้ตัวอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยหลับ.... การแล.... การเหลียว...การคู้เข้า...การเหยียดออก...การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ... การกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม... การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ... การเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง...
"ถ้าเมื่อภิกษุนั้น มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า เวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า เวทนานั้นมีที่อาศัยจึงเกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี่แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็เวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง จักเที่ยงแต่ที่ไหนดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความเที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและเวทนา ย่อมละราคานุสัยในกายและสุขเวทนา ย่อมละปฏิฆานุสัยในกายและทุกขเวทนา ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและอทุกขมสุขเวทนาเสียได้
"ถ้าภิกษุเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย เวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกาย ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกาย เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกตายหลังแต่ความสิ้นชีวิต เวทนาที่ไม่น่าเพลิดเพลินทั้งปวงในโลกนี้ จักดับเย็นสนิทไป...


"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันอาศัยน้ำมันและไส้จึงลุกโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อเพลิง พึงดับไป..."


เคลัญญสูตร ที่ ๑ สฬา. สํ. (๓๗๔-๓๘๑)
ตบ. ๑๘ : ๒๖๐-๒๖๔ ตท. ๑๘ : ๒๔๒-๒๔๕
ตอ. K.S. ๔ : ๑๔๒-๑๔๓

กัมมุนาวัฏตีโลโก

ภพภูมิ 31 ภูมิ จากสูงสุด สู่เบื้องต่ำ
๓๑ ภูมิ ประกอบไปด้วย
( อรูปพรหม ๔ + รูปพรหม ๑๖ + เทวภูมิ ๖ + มนุษยโลก ๑ + อบายภูมิ ๔ )
(เดรัจฉาน , อสุรกาย , เปรต , นรก )
ส่วนพระอรหันต์ไม่นับรวมใน ๓๑ ภูมิ เพราะพระอรหันต์พ้นจากวัฏฏสงสารแล้ว
ดับกิเลสโดยสิ้นเชิงไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว
( พระอริยบุคคล ๔ จำพวก) มีดังนี้
๑. อรหัตโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นสูงสุด) มี ๒ ประเภท
(๑). เจโตวิมุตติ เป็นผู้ปฎิบัติสมถกรรมฐานได้ฌานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อจนสำเร็จพระอรหันต์ หรือ ผู้ที่ปฎิบัติเฉพาะวิปัสสนา เมื่อได้มรรคผลนั้นพร้อมกับได้วิชา ๓ อภิญญา ๖ สามารถแสดงฤทธิ์ได้
(๒). ปัญญาวิมุตติ สำเร็จพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานล้วนๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมถกรรมฐานมาก่อนเลย เรียกว่าสุกขวิปัสสกพระอรหันต์ คือ ผู้ปฏิบัติทำให้ฌานแห้งแล้ง ผู้ถึงภูมินี้เป็นผู้ที่สมควรแก่การบูชา ของเหล่าเทพยาดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะสิ้นกิเลสด้วยโดยตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ สามารถเข้าอรหันตผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามปรารถนา และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกในวัฎสงสาร เมื่อถึงอายุขัยก็ดับขันธ์ปรินิพพาน
หรือ แบ่งได้อีกเป็น 4 ประเภท คือ
1.สุขวิปัสสโก แปลว่าผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง หมายถึง ท่านผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีสมถเข้ามาเกี่ยวข้อง เจริญแต่วิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียว จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์ปัญญาวิมุตติ ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีอภิญญา
2. เตวิชโช คือ ผู้ได้วิชชา 3 หมายถึงผู้ได้ความรู้แจ้ง 3 ประการ คือ
1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือการระลึกชาติได้ ได้แก่ การเกิดของเหล่าสัตว์ที่ผ่านกันมาในอดีตกาล ไม่สามารถกำหนดนับชาติได้
2.จุตูปปาตญาณ (ทิพพจักษุ) คือ รู้จักกำหนดการจุติและการเกิดของสัตว์ทั้งหลายในโลกนั้น รู้เห็นว่าเกิดมาจากกรรมที่บุคคลเหล่านั้นได้กระทำเอาไว้ ภายในชาตินั้นๆ
3.อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำให้กิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดาน ที่เก็บสะสมข้ามภพข้ามชาติเป็นเวลาที่นับไม่ได้ ให้หมดสิ้นไป ด้วยการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 และญาณทั้ง 3 ตามลำดับ
3. ฉฬภิโญญ คือ ผู้ได้อภิญญา 6 คำว่า อภิญญา แปลว่า ปัญญาเป็นเครื่องหยั่งรู้ จำแนกไปน 6 ประการ คือ
1.อิทธิวิธิ คือการแสดงฤทธิ์ เช่น คนเดียวสามารถเนรมิตให้เป็นหลายคนได้ ล่องหนได้ ดำดินได้ เดินบนผิวน้ำได้ เหาะได้
2.ทิพพโสต คือ หูทิพย์ สามารถฟังได้ทั้งเสียงทิพย์ เสียงมนุษย์ ทั้งเสียงใกล้ เสียงไกล หรือเสียงกระซิบ
3.เจโตปริยญาณ คือรู้จักกำหนดใจผู้อื่น หมายถึง กำหนดด้วยใจของตนเอง แล้วได้รู้ใจของบุคคลอื่นว่าบริสุทธิ์หรือเศร้าหมองอย่างไร รวมทั้งสามารถทายใจของบุคลอื่นว่ากำลังคิดอะไรอยู่ และกำหนดรู้อัธยาศัยของบุคคลอื่นด้วย
4.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติได้
5.ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์
6.อาสวักขยญาณ
4. ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา แปลว่า ปัญญาอันแตกฉาน จำแนกออกเป็น 4 ประการ คือ
1.อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ หมายถึง ความรอบรู้แตกฉานในเนื้อหาของธรรมะย่อๆ สามารถอธิบายให้พิสดาร เช่น พระมหากัจจายนะ หรือความเข้าใจที่สามารถคาดกาลข้างหน้าถึงผลอันจักมี ด้วยอำนาจ อนาคตังสญาณ
2.ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในธรรม หมายถึงความเข้าใจ อุทเทส ถือเอาความใจความของอรรถาธิบายนั้นๆ ตั้งเป็นกระทู้ขึ้นได้ หรือความเข้าใจสาวหาสาเหตุในหนหลัง ด้วยอำนาจอตีตังสญาณ
3.นิรุตติปฏิสัมภิทา คือปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ หมายถึงรู้และเข้าใจในเรื่องของภาษาต่างๆ ฉลาดและรู้จักใช้ถ้อยคำในภาษานั้นๆ ตลอดถึงรู้และเข้าใจในภาษาต่างประเทศ สามารถชักนำบุคคลทั้งหลายให้นิยมตามคำพูดได้
4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ หมายถึง เรื่องของการมีไหวพริบ ความเข้าใจทำให้สบเหมาะในทันทีทันใด ในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน ปฏิภาณนี้คือ ความคิดว่องไว มีความรู้ความคิดทันคน ไม่จำนนต่อคำถาม นับเข้าในปัจจุปปันนังสญาณ
๒. โสดาบันโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลกชั้นที่ ๑)
ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอริยะบุคคลโสดาบัน แบ่งเป็น
(๑). เอกพิซีโสดาบัน จะเกิดอีกชาติเดียว แล้วก็บรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน
(๒).โกลังโกลโสดาบัน จะเกิดอีก ๒-๖ ชาติ เป็นอย่างมากแล้วก็บรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน
(๓). สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน จะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ แล้วก็จะบรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน
๓. สกทาคามีโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ ๒)
ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าถึงพระอริยบุคคลสกทาคามี ซึ่งจะเกิดอีกเพียงชาติเดียวแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
(๑). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษยโลก และบรรลุพระอรหันตผลในมนุษย์โลก
(๒). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษย์โลกแล้วไปบรรลุพระอรหันต์ผลในเทวโลก
(๓). ผู้ถึงภูมินี้ในเทวโลกและบรรลุอรหันต์ผลในเทวโลก
(๔). ผู้ถึงภูมินี้ในเทวโลกแล้วมาบรรลุพระอรหันต์ผลในมนุษย์โลก
(๕). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษยโลกแล้วจุติไปเกิดในเทวโลกแล้วกลับมาบรรลุพระอรหันตผลในมนุษยโลก
๔. อนาคามีโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ ๓)
ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอนาคามี จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
(๑). อันตราปรินิพพายี สำหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรกของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่
(๒). อุปหัจจปรินิพพายี สำหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลังของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่
(๓). อสังขารปรินิพพายี สำหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยสะดวกสบายไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
(๔). สสังขารปรินิพพายี สำหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยต้องพยายามอย่างแรงกล้า
(๕). อุทธังโสตอกนิฎฐคามี ไปเกิดในสุทธาวาสพรหมโลก ชั้นต่ำที่สุด (อวิหาสุทธาวาสพรหมโลก) แล้วจึงจุติไปเกิด ชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ คือ อวิหา อัตัปปา สุทัสสา สุทัสสี แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานในอกนิฎฐพรหมโลก
โลกเบื้องสูง
ปฐมมฌานภูมิ ๓, ทุติยฌานภูมิ ๓, ตติยฌานภูมิ ๓, และพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑o-๒o
( แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๕,๕o๘,ooo โยชน ์)
อรูปพรหม ๔
(๒๐). เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๒๐ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยความประณีตเป็นอย่างยิ่งมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่อรูปพรหม อายุ ๘๔,๐๐๐ มหากัป บุพกรรม โยคีฤาษีผู้ได้ อากิญจัญญายตนฌาน และสำเร็จเนวสัญญานา- สัญญายตนฌาน
(๑๙). อากิญจัญญายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑๙ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย นัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ อรูปพรหม อายุ ๖๐,๐๐๐ มหากัป บุพกรรม เป็นโยคีฤาษีผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌานและสำเร็จอากิญจัญญายตนฌาน
(๑๘). วิญญาณัญจายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑๘ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย วิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ อรูปพรหม อายุ ๔๐,๐๐๐ มหากัป บุพกรรม โยคีฤาษีผู้ได้อากาสานัญจายตนฌาน และสำเร็จวิญญาณัญจายตนฌาน
(๑๗). อากาสานัญจายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑๗ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยอากาสบัญญัติ ซึ่งไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ อรูปพรหม อายุ ๒๐,๐๐๐ มหากัป บุพกรรม เป็นโยคีฤาษีผู้ได้จตุตถฌานแล้ว และสำเร็จอากาสานัญจายตนฌาน
รูปพรหม ๑๖
(๑๖). อกนิฎฐสุทธาวาสภูมิพรหมโลก ชั้นที่ ๑๖ ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลายผู้ทรงคุณวิเศษโดยไม่มีความเป็นรองกัน พระพรหมอนาคามีอายุ๑๖,๐๐๐มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้ จตุตถฌาน และเจริญวิปัสสนาภาวนาจน สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยมีปัญญินทรีย์แก่กล้า
(๑๕). สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑๕ ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลายผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่าพระพรหมอนาคามี อายุ ๘,๐๐๐ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌาน และเจริญวิปัสสนาจนสำเร็จ เป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยมีสมาธินทรีย์แก่กล้า
(๑๔). สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑๔ ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสพระพรหมอนาคามี อายุ ๔,๐๐๐ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌาน และเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยมีสตินทรีย์แก่กล้า
(๑๓). อตัปปาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑๓ ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่มีความเดือนร้อนพระพรหมอนาคามี อายุ ๒,๐๐๐ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยมีวิริยินทรีย์แก่กล้า
(๑๒). อวิหาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑๒ ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่เสื่อมคลายในสมาบัติของตนพระพรหมอนาคามี อายุ ๑,๐๐๐ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอานาคามีอริยบุคคลโดยมีสัทธินทรีย์แก่กล้า
(๑๑). อสัญญสัตตาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑๑ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้ไม่มีสัญญา(พรหมลูกฟัก) อายุ ๕๐๐ มหากัป บุพกรรมผู้เจริญสมถภานาสำเร็จจตุตถฌาน และเป็นผู้มีสัญญาวิราคภาวนา
(๑๐). เวหัปผลาภูมิ พรหมโลก ชั้นที ๑๐ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์พระพรหมอายุ ๕๐๐ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จจตุตถฌาน
(๙). สุภกิณหาภูมิพรหมโลกชั้นที่ ๙ ภูมิอันป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลายผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีที่ออกสลับปะปนไปอย่างเสมอตลอดสรีระกายพระพรหม อายุ ๖๔ มหากัป บุพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดในชั้นนี้ได้ ต้องสำเร็จตติยฌานได้อย่างปราณีต
(๘). อัปปมาณสุภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๘ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีความสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มีประมาณพระพรหม อายุ ๓๒ มหากัป บุพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดในชั้นนี้ได้ต้องสำเร็จตติยฌานได้อย่างปานกลาง
(๗). ปริตตสุภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๗ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อยพระพรหมอายุ ๑๖ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จตติยฌานได้อย่างสามัญ
(๖). อาภัสสราภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๖ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีประกายรุ่งโรจน์แหงรัศมีนานาแสงพระพรหมอายุ ๘ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จทุติยฌานได้อย่างปราณีต
(๕). อัปปมาณาภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๕ ภูมิอันเป็นทีอยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีรัศมีรุ่งรื่องมากมายหาประมาณมิได้พระพรหมอายุ ๔ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จทุติยฌานได้อย่างปานกลาง
(๔). ปริตตาภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๔ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งท่านพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่มีศักดิ์สูงกว่าตน พระพรหม อายุ ๒ มหากัป บุพกรรม ผู้ทีจะมาอุบัติบังเกิดในชั้นนี้ได้ต้องสำเร็จทุติยฌานได้อย่างสามัญ
(๓). มหาพรหมาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๓ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระพรหม อายุ ๑ มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จปฐมฌานอย่างประณีต
(๒). พรหมปุโรหิตาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๒ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้ทรงฐานอันประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่านมหาพรหม พระพรหมอายุ ๓๒ อัตรกัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จได้ปฐมฌานอย่างปานกลาง
(๑). พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ ๑ ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหม ผู้เป็นท้าวมหาพรหม พระพรหม อายุ ๒๑ อันตรกัปเศษ บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จปฐมฌานได้อย่างสามัญ 
โลกเบื้องกลาง
เทวภูมิ ๖ กับ โลกมนุษย์ ๑
( แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๔๒,ooo โยชน์ )
เทวภูมิ ๖
(๖). ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ ๖) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าซึ่งเสวยกามคุณอารมณ์ แบ่งเป็น
ฝ่ายเทพยาดา มีท้าวปรนิมมิตเทวราชปกครอง กับ ฝ่ายมาร มีท้าวปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราชเป็นผู้ปกครอง อายุ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ (๙,๒๑๖ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ อุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งใหญ่เป็นอุกฤษฏ์ อบรมจิตใจสูงส่งไปด้วยคุณธรรม เมื่อจะให้ทานรักษาศีลก็ต้องบำเพ็ญกันอย่างจริงๆ มากไปด้วยศรัทธาปสาทะ อย่างยิ่งยวดและถูกต้อง ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า "เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับฤาษีทั้งหลายแต่กาลก่อน"
แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า "เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส"
เพราะวิบากแห่งทาน และศีลอันสูงยิ่งเท่านั้น จึงอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้
(๕). นิมมานรตีภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ ๕) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าผู้ยินดีในกามคุณอารมณ์ ซึ่งเนรมิตขึ้นมาตามความพอใจ มีท้าวสุนิมมิตเทวราชปกครอง อายุ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ (๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ ยินดียิ่งในการบริจาคทาน ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตใจผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ ไม่มุ่งสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทาน ด้วยคิดว่า "เราหุงหากินได้แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากินเราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร"
" แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า"เราจักจำแนกแจกทานเช่นเดียวกับฤาษีทังหลายในกาลก่อน" ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ พยายามรักษาศีลไม่ให้ขาด
มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล และมีวิริยอุตสาหะในการบริจาคทานเป็นอันมาก เพราะผลวิบากแห่งทาน และศีลอันสูงส่งเท่านั้น จึงอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้
(๔). ตุสิตาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ ๔) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าผู้มีความยินดีแช่มชื่นเป็นนิจ มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง อายุ ๔,๐๐๐ปีทิพย์ (๕๗๖ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษยมีจิตบริสุทธิ์ ยินดีมากในการบริจาคทาน ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลของทานแล้วให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ให้ทานด้วยความคิดว่า "บิดา มารดา ปู่ ยา ตา ยาย เคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี"แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า "
" เราหุงหากิน แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร"
ทรงศีล ทรงธรรม ชอบฟังพระธรรมเทศนาหรือเป็นพระโพธิสัตว์รู้ธรรมมาก ฯลฯ
(๓). ยามาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ ๓) เป็นที่อยู่ของเทพยดาผู้มีแต่ความสุขอันเป็นทิพย์ มีท้าวสุยามเทวราชเป็นผู้ปกครอง อาย ุ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ (๑๔๔ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ พยายามสร้างเสบียง ไม่หวั่นไหวในการบำเพ็ญบุญุศล ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า "การให้ทานเป็นการกระทำที่ดี"
แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า "บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้ เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี"
รักษาศีล มีจิตขวนขวานในพระธรรม ทำความดีด้วยความจริงใจ
(๒). ตาวติงสาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ ๒) ที่เราเรียกว่า ไตรตรึงษ์หรือดาวดึงส์ เป็นเมืองใหญ่มี ๑,๐๐๐ ประตู มีพระเกศจุฬามณีเจดีย์ มีไม้ทิพย์ ชื่อปาริชาตกัลปพฤกษ์ สมเด็จพระอมรินทราธิราชปกครอง อายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ (๓๒ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์ มีจิตบริสุทธิ์ ยินดีในการบริจาคทาน ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมการให้ทานไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า "ตายแล้วเราจักได้เสวยผลทานนี้"
แต่ให้ทานด้วยด้วยความคิดว่า "การให้ทานเป็นการกระทำดี"
งดงามด้วยพยายามรักษาศีล ไม่ดูหมิ่นดูแคลนผู้ใหญ่ในตระกูล ฯลฯ
(๑). จาตุมหาราชิกาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ ๑) เป็นที่อยู่ของเทพยดาชาวฟ้า มีท้าวมหาราช ๔ พระองค์ปกครองคือ
-๑.ท้าวธตรัฐมหาราช - ๓.ท้าววิรูปักษ์มหาราช และ
-๒.ท้าววิรุฬหกมหาราช - ๔. ท้าวเวสสุวัณมหาราช (ท้าวกุเวร)อายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ (๙ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์ ชอบทำความดี สันโดษ ยินดีแต่ของๆตน ชักชวนให้ผู้อื่น ประกอบการกุศล ชอบให้ทาน ในการให้ทานเป็นผู้มีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยความคิดว่า "เราจะตายแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนี้" และเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
โลกมนุษย์
( อายุมนุษย์สมัยพระพุทธองค์ ๑๐๐ ปี และอายุมนุษย์ในปัจจุบัน ๗๕ ปี )
( มนุษยภูมิ ) เป็นที่อาศัยของสัตว์ผู้มีใจในเชิงกล้าหาญที่จะประกอบกรรมต่างๆ
ทั้งที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมแบ่งเป็น ๔ จำพวก คือ
(๑). ผู้มืดมาแล้วมืดไป บุคคลที่เกิดในตระกูลอันต่ำ ยากจน ขัดสน ลำบาก ฝืดเคืองอย่างมากในการหาลี้ยงชีพ มีปัจจัย ๔ อย่างหยาบ
เช่น มีอาหารและน้ำน้อย มีเครื่องนุ่งห่มเก่า ร่างกายมอซอ หม่นหมอง หรือมีร่างกายไม่สมประกอบ บ้าใบ้ บอด หนวก หาที่นอน ทีอยู่อาศัย ยารักษาโรค ไม่ใคร่ได้ และเขากลับประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงทุคติอบาย
(๒). ผู้มืดมาแล้วสว่างไป บุคคลที่เกิดในตระกูลต่ำ ผิวพรรณหยาบ ฯลฯ แต่เป็นเขาเป็นคนมีศรัทธา ไม่มีความตะหนี่ เป็นคนมีความดำริประเสริฐ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับสมณะชีพราหมณ์ หรือวณิกพกอื่นๆ ย่อมสำเนียกในกริยามารยาทเรียบร้อย ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้ทาน เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
(๓). ผู้สว่างมาแล้วมืดไป เป็นบุคคลผู้อุบัติในตระกูลสูง เป็นคนมั่งคั่งมั่งมี มีโภคสมบัติมาก เป็นผู้มีปัจจัย ๔ อันประณีต ทั้งเป็นคนที่มีรูปร่างสมส่วนสะสวย งดงาม ผิวพรรณดูน่าชม แต่กลับเป็นคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ กรุณาอาทร มีใจหยาบช้า มักขึ้งโกรธย่อมด่า ย่อมบริภาษบุคคลต่างๆ ไม่เว้นกระทั้งมารดาบิดา สมณชีพราหมณ์ ย่อมห้ามคนที่กำลังให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงทุคติอบาย
(๔). ผู้สว่างมาแล้วสว่างไป เป็นบุคคลที่อุบัติเกิดในตระกูลสูง มีผิวพรรณงามและเขาย่อมประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ บุพกรรม กรรมของมนุษย์ที่ทำในกาลก่อน ส่งผลให้มีปฎิปทาต่างกัน
เช่น บางคนเป็นคนดี บางคนบ้า บางคนรวย บางคนจน บางคนมีปัญญา บางคนเขลา ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัยต่างๆ อาทิ
- ปฎิปทาให้มีอายุสั้น เพราะเป็นคนเหี้ยมโหดดุร้าย มักคร่าชีวิตสัตว์
- ปฎิปทาให้มีอายุยาว เป็นผู้เว้นขาดจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มีความละอาย เอ็นดูอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลสรรพสัตว์และภูตอยู่
- ปฎิปทามีโรคมาก เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยมือ ท่อนไม้ ก้อนดิน ก้อนหิน หรือศาสตราอาวุธต่างๆ
- ปฎิปทามีโรคน้อย ไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยมือ หรือศาสตราอาวุธต่างๆ มีมีด ขวาน ดาบ ปืน เป็นต้น
- ปฎิปทาให้มีผิวพรรณทราม เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความเคืองแค้น ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจโกรธเคือง พยาบาทหมาดร้าย ทำความโกรธความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฎ
- ปฎิปทาให้มีผิวพรรณงาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฎ
- ปฎิปทาให้เป็นคนมีศักดาน้อย คือเป็นคนไม่มีใจริษยา มุ่งร้าย ผูกใจในการอิจฉาริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของคนอื่น
- ปฎิปทาให้เป็นคนมีศักดามาก เป็นคนไม่มีใจริษยา ไม่มุ่งร้าย ยินดีด้วยในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของคนอื่น
- ปฎิปทาให้มีโภคะน้อย เป็นผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ที่นอนที่อาศัย เป็นต้น
- ปฎิปทาให้มีโภคะมาก ชอบให้ทานมีอาหาร น้ำ เครื่องนุ่มห่ม ของหอม ที่นอนที่อาศัย เครื่องตามประทีบแก่สมณะหรือชีพราหมณ์ เป็นต้น
- ปฎิปทาให้เกิดในตระกูลต่ำ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่ควรให้ ไม่ให้ทางแก่คนที่ควรให้ทาง เป็นต้น
- ปฎิปทาให้เกิดในตระกูลสูง เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน วจีไพเราะ สงเคราะห์เอื้อเฟื้อ รู้จักยืนเคารพ ยืนรับ ยืนคำนับ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ สักการะแก่คนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เป็นต้น
- ปฎิปทาทำให้มีปัญญาทราม คือเป็นผู้ไม่เคยเข้าหาบัณฑิต สมณะหรือชีพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ เป็นต้น
- ปฎิปทาทำให้มีปัญญาหลักแหลม เป็นผู้มักเข้าไปสอบถาม บัณฑิตสมณะหรือชีพราหมณ์ อะไรเป็นุศล อะไรไม่เป็นกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน อะไรเมื่อทำไปแล้วย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ดังนี้   
โลกเบื้องต่ำ
อบายภูมิ ได้แก่ นรก เปรต อสุูรกาย เดรัจฉาน
เดรัจฉานภูมิ
เดรัจฉานภูมิ ) (โลกเดรัจฉานอยู่ในโลกมนุษย์) โลกของสัตว์ที่มีความยินดีในหตุ ๓ ประการ คือ
(การกิน การนอน การสืบพันธุ์) แบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ
(๑). อปทติรัจฉาน (ไม่มีเท้า ไม่มีขา) เช่นงู ปลา ไส้เดือน ฯลฯ
(๒). ทวิปทติรัจฉาน (มี ๒ ขา) เช่น นก ไก่ ฯลฯ
(๓). จตุปทติรัจฉาน (มี ๔ ขา) เช่น วัว ฯลฯ
(๔). พหุปทติรัจฉาน (มีมากกว่า ๔ ขา) เช่น ตะขาบ กิ่งกือ ฯลฯ
อายุ ไม่แน่นอน แล้วแต่กรรมที่นำไปเกิดในสัตว์ประเภทต่างๆ ตามอายุของสัตว์ประเภทนั้นๆ
บุพกรรม
เป็นมนุษย์จิตไม่บริสุทธิ์ ประพฤติอศุลกรรม อันหยาบช้าลามกทั้งหลายหรือเพราะอำนาจของเศษบาปอกุศลกรรมที่ตนทำไว้ให้ผล
หรือเป็นเพราะเมื่อเป็นมนุษย์ไม่ได้ก่อกรรมทำชั่วอะไร แต่เวลาใกล้จะตายจิตประกอบด้วยโมหะ หลงผิด ขาดสติ ไม่มีสรณะเป็นที่พึ่งจะยึดให้มั่นคง
คตินิมิต นิมิตที่ชี้บอกถึงโลกดรัจฉานที่ตนจะไป เช่น เห็นทุ่งหญ้า ป่าไม้ ดงหญ้า เชิงเขา ชายน้ำ แม่น้ำ กอไผ่ เป็นต้น บางทีเห็นเป็นรูปสัตว์ทั้งหลาย เช่น ช้าง เสือ วัว หมู หมา เป็ด ไก่ แร้ง กา เหี้ย นก หนู จิ๊กจก ฯลฯ หากภาพเหล่านี้มาปรากฎทางใจ แล้วจิตยึดหน่วงเป็นอารมณ์มื่อจิตดับตายขณะนั้นต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอย่างแน่นอน
อสุรกายภูมิ
( อสุรกายภูมิ ) (โลกอสุรกาย) ภูมิอันเป็นทีอยู่ของสัตว์อันปราศจากความเป็นอิสระและสนุกรื่นเริง
แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ เทวอสุรา เปตติอสุรา นิรยอสุรา
(๑). เทวอสุรา มี ๖ จำพวก คือ ๑.เวปจิตติอสุรา ๔.ปหารอสุรา
(๒). สุพลิอสุรา ๕.สัมพรตีอสุรา
(๓). ราหุอสุรา ๖.วินิปาติกอสุรา
แล้ว ๕ จำพวกแรกเป็นปฎิปักษ์ต่อเทวดาชั้นตาวสิงสา อยู่ใต้ภูเขาสิเนรุ สงเคราะห์เข้าในจำพวกเทวดาชั้นตาวติงสา
๑. วินิปาติกอสุรา มีรูปร่างสัณฐานเล็กกว่า และอำนาจก็น้อยกว่าเทวดาชั้นตาวติงสา เที่ยวอาศัยอยู่ในมนุษยโลกทั่วไป เช่น ตามป่า ตามเขา ต้นไม้ และศาลที่เขาปลูกไว้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของภุมมัฎฐเทวดาทั้งหลาย แต่เป็นเพียงบริวารของภุมมัฎฐเทวดาเท่านั้น สงเคราะห์เข้าในจำพวกเทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกา
๒. เปตติอสุรา มี ๓ จำพวก คือ ๑.กาลกัญจิกเปรตอสุรา ๒.เวมานิกเปรตอสุรา ๓.อาวุธิกเปรตอสุราเป็นเปรตที่ประหัตประหารกันและกันด้วยอาวุธต่างๆ
๓. นิรยอสุรา เป็นเปรตจำพวกหนึ่งที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ในนรกโลกันตร์ นรกโลกันตร์ตั้งอยู่ระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสามอสุรกายนี้ ี้หมายเอาเฉพาะกาลกัญจิกเปรตอสุรกายเท่านั้น อายุและบุพกรรม เช่นเดียวกันกับโลกเปรต
เปตติวิสยภูมิ
( เปตติวิสยภูมิ ) (โลกเปรต) โลกที่อยู่ของสัตว์ผู้ห่างไกลจากความสุข
มีมหิทธิกเปรตเป็นเจ้าปกครองดูแลอายุไม่แน่นอนแล้วแต่กรรม ได้แก่
เปรต ๑๒ ชนิด เปรต ๑๒ ชนิด คือ
(๑). วันตาสเปรต กินน้ำลาย เสมหะ อาเจียน เป็นอาหาร
(๒). กุณปาสเปรต กินซากศพคน หรือสัตว์เป็นอาหาร
(๓). คูถขาทกเปรต กินอุจจาระต่างๆ เป็นอาหาร
(๔). อัคคิชาลมุขเปรต มีเปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ
(๕). สูจิมุขาเปรต มีปากเท่ารูเข็ม
(๖). ตัณหัฎฎิตเปรต ถูกตัณหาเบียดเบียนให้หิวข้าว หิวน้ำอยู่เสมอ
(๗). สุนิชฌามกเปรต มีลำตัวดำเหมือนตอไม้เผา
(๘). สัตถังคเปรต มีเล็บมือเล็บเท้ายาวและคมเหมือนมีด
(๙). ปัพพตังคเปรต มีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา
(๑๐). อชครังคเปรต มีร่างกายเหมือนงูเหลือม
(๑๑). เวมานิกเปรต ต้องเสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่กลางคืนได้ไปเสวยสุขในวิมาน
(๑๒). มหิทธิกเปรต มีฤทธิ์มาก ที่อยู่ เชิงเขาหิมาลัยในป่าวิชฌาฎวี
เปรต ๔ ประเภท เปรต ๔ ประเภท คือ
(๑). ปรทัตตุปชีวิกเปรต มีการเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยโดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้
(๒). ขุปปิปาสิกเปรต ถูกเบียดเบียนด้วยการหิวข้าว หิวน้ำ
(๓). นิชฌามตัณหิกเปรต ถูกไฟเผาให้เร้าร้อนอยู่เสมอ
(๔). กาลกัญจิกเปรต (ชื่อของอสูรกายที่เป็นเปรต) มีร่างกายสูง ๓ คาวุต มีเลือดและเนื้อน้อยไม่มีแรง มีสีสันคล้ายใบไม้แห้ง ตาถลนออกมาเหมือนตาปู และมีปากเท่ารูเข็มและตั้งอยู่กลางศีรษะ
เปรต ๒๑ จำพวก เปรต ๒๑ จำพวก คือ
(๑). มังสเปสิกเปรต มีเนื้อเป็นชิ้นๆไม่มีกระดูก
(๒). กุมภัณฑ์เปรต มีอัณฑะใหญ่โตมาก
(๓). นิจฉวิตกเปรต เปรตหญิงที่ไม่มีหนัง
(๔). ทุคคันธเปรต มีกลิ่นเหม็นเน่า
(๕). อสีสเปรต ไม่มีศีรษะ
(๖). ภิกขุเปรต มีรูปร่างสัณฐานเหมือนพระ
(๗). สามเณรเปรต มีรูปร่างสัณฐานเหมือนเณรและ ฯลฯ
บุพกรรม ประพฤติอศุลกรรมบถ ๑๐ ประการ เมื่อขาดใจตายจากมนุษยโลก หากอศุลกรรมสามารถนำไปสู่นิรยภูมิได้ ต้องไปเสวยทุกข์โทษในนรกก่อน พอสิ้นกรรมพ้นจากนรกแล้ว เศษบาปยังมีก็ไปเสวยผลกรรมเป็นเปรตต่อภายหลัง หรือมีอศุลกรรมที่เกิดจากโลภะนำมาเกิดคตินิมิต
นิมิตที่บ่งบอกถึงโลกเปรต เช่น เห็นหุบเขา ถ้ำอันมืดมิดที่วังเวง และปลอดเปลี่ยวหรือเห็นเป็นแกลบ และข้าวลีบมากมายแล้วรู้สึกหิวโหยและกระหายน้ำเป็นกำลัง บางทีเห็นว่าตนดื่มกินเลือดน้ำหนองที่น่ารังเกียจสะอิดสะเอียน หรือเห็นเป็นเปรตมีร่างกายผ่ายผอมน่าเกลียดน่ากลัว เนื้อตัวสกปรกรกรุงรัง ฯลฯ
หากภาพเหล่านี้มาปรากฎทางใจแล้วจิตยึดหน่วงเป็นอารมณ์ เมื่อดับจิตตายขณะนั้น ต้องบังเกิด เป็นเปรตเสวยทุกขเวทนาตามสมควรแก่กรรมอย่างแน่นอน
นรกภูมิ
( มหานรก ๘ ขุม ) (แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๑๕,๐๐๐ โยชน์)
(๑). สัญชีวนรก นรกที่สัตว์นรกไม่มีวันตาย อายุ ๕๐๐ ปีอายุกัป (๑วันนรก = ๙ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตไม่บริสุทธิ์ หยาบช้าลามก ก่อกรรมทำเข็ญ เช่นฆ่าเนื้อ เบื่อสัตว์ เบียดเบียนบุคคลที่ต่ำกว่าตน โดยความไม่เป็นธรรมให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นนิจ ฯลฯ
(๒). กาฬสุตตนรก นรกที่ลงโทษด้วยเส้นเชื่อกดำ แล้วถากหรือตัดด้วยเครื่องประหาร อายุ ๑,๐๐๐ ปีอายุกัป (๑ วันนรก = ๓๖ ปีล้านมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีใจบาป ทำการทรมานสัตว์ด้วยการตัดเท้า หู ปาก จมูก ฯลฯ ทำร้ายบิดามารดา ครู อาจารย์ ฯลฯ เบียดเบียนหรือฆ่าภิกษุ สามเณร ดาบส หรือเป็นเพชฌฆาต
(๓). สังฆาฎนรก นรกที่มีภูขาเหล็กใหญ่มีไฟลุกโพลงบดขยี้สัตว์นรก อายุ ๒,๐๐๐ ปีอายุกัป (๑ วันนรก = ๑๔๔ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีใจบาปหยาบช้าด้วยใจอศุลกรรม ไร้ความเมตตากรุณา ทำทารุณกรรมสัตว์ด้วยวิธีการต่างๆ เป็นประจำ หรือ บุคคลที่ทรมานเบียดเบียนสัตว์ที่ตนใช้ประโยชน์ และพวกนายพราน
(๔). โรรุวนนรก (ธูมโวรุวหรือจูฬโรรุว) นรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องไห้ครวญครางดังของสัตว์นรกที่ถูกควันไฟอบอ้าว อายุ ๔,๐๐๐ ปีอายุกัป (๑วันนรก = ๕๗๖ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีใจบาปเผาสัตว์ทั้งเป็น ตัดสินความไม่ยุติธรรม รุกที่ดินเอาสาธารณสมบัติมาเป็นของตน กินเหล้าเมาประทุษร้ายผู้อื่น ชาวประมง คนที่เผาป่าที่สัตว์อาศัยอยู่
(๕). มหาโรรุวนรก (ชาลโรรุว) นรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องไห้ครวญครางดังกว่าโรรุวนรก อายุ ๘,๐๐๐ ปีอายุกัป(๑ วันนรก = ๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีใจบาป ตัดคอสัตว์ด้วยความโกรธ ปล้น ขโมยทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และของศาสนาเช่นของภิกษุสามเณรดาบสแม่ชีและสิ่งของเครื่องสักการะที่เขาบูชาพระรัตนตรัยปล้นโกงเอาของคนอื่นมาเป็นของตน
(๖). ตาปนนรก (จูฬตาปน) นรกที่ทำให้สัตว์เร่าร้อน ด้วยการให้นั่งตรึงติดอยู่ในหลาวเหล็กอันร้อนแดงแล้วให้ไฟไหม้อยู่ อายุ ๑๖,๐๐๐ ปีอายุกัป (๑ วันนรก = ๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์)
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์เป็นคนใจบาป ประกอบกรรมด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
เช่น ฆ่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพและคนที่เผาบ้านเมือง กุฎิ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท ทำลายเจดีย์
(๗). มหาตาปนนรก (ปตาปน) นรกที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อนอย่างมากมายเหลือประมาณ อายุ ครึ่งอันตรกัปของมนุษย์
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีใจบาปหนาไปด้วยอกุศลมลทิน เช่น ประหารคนหรือสัตว์ให้ตายเป็นหมู่มากๆ ไม่คำนึงถึงชีวิตเขาชีวิตท่าน และคนที่มีอุจเฉททิฎฐิ สัสสตทิฎฐิ นัตถิกทิฎฐิ อเหตุทิฎฐิ และอกิริยทิฎฐิ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
(๘). อเวจีนรก นรกที่ปราศจากคลื่นคือ ความเบาบางแห่งความทุกข์ อายุ ประมาณ ๑ อันตรกัปของมนุษย์
บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์ได้ทำอนันตริยกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ฆ่ามารดา บิดา พระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท ยุยงให้สงฆ์แตกกัน และบุคคลที่ทำลายพระพุทธเจดีย์ พระพุทธรูป ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้โดยจิตคิด ประทุษร้ายบุคคลที่ติเตียนพระอริย บุคคลพระสงฆ์ผู้มีคุณแก่ตน ผู้ที่ยึดถือนิยตมิจฉาทิฎฐิ ๓
( อุสสทนรก ๑๒๘ ขุม ) (อยู่รอบ ๔ ทิศ ๆ ละ ๔ ของมหานรกแต่ละขุม)
(๑). คูถนรก สัตว์นรกทีมาเกิดได้รับทุกขเวทนาอยู่ในอุจจาระเน่า โดยถูกหนอนกัดกินทั้งเนื้อและกระดูกตลอดจนอวัยวะภายในทั้งหมดจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
(๒). กุกกุฬนรก สัตว์นรกที่มาเกิดได้รับทุกขเวทนา โดยถูกเผาด้วยขี้เถ้าร้อนระอุ ร่างกายไหม้ยับย่อย ละเอียดเป็นจุณ จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
(๓). สิมปลิวนนรก สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีเศษอศุลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้นจากนรกขี้เถ้าร้อนแล้วก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องเสวยทุกข์จากนรกป่าไม้งิ้วต่อไปจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
(๔). อสิปัตตวนนรก สัตว์นรกที่มาเกิดได้รับทุกข์จากป่าไม้ใบดาบ เช่น ใบมะม่วงซึ่งกลายเป็นหอกดาบ และมีสุนัขแร้งคอยทรมานขบกัดกินเลือดเนื้อ จนกว่าจะสิ้นกรรม
(๕). เวตรณีนรก สัตว์นรกที่เกิดมาได้รับทุกข์จากน้ำเค็มแสบที่มีเครือหวายหนามหล็ก ใบกลีบบัวหลวงเหล็กตั้งอยู่กลางน้ำ ซึ่งคมเป็นกรด มีเปลวไฟลุกโชนอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
( ยมโลกนรก ๓๒๐ ขุม ) ( อยู่รอบ ๔ ทิศ ๆ ละ ๑๐ ของมหานรกแต่ละขุม )
(๑). โลหกุมภีนรก เป็นหม้อเหล็กขนาดใหญ่เท่าภูเขา เต็มไปด้วยน้ำแสบร้อนเดือดพล่านตลอดเวลา สัตว์ที่มาเกิดต้องได้รับทุกข์ทั้งแสบทั้งร้อนเสวยทุกขเวทนาอย่าง แสนสาหัส ถูกต้มเคี่ยวในหม้อเหล็กนรกนั้นจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วที่ตนได้ทำมา
บุพกรรม เช่น จับสัตว์เป็นๆมาต้มในหม้อน้ำร้อน แล้วเอามากินเป็นอาหาร
(๒). สิมพลีนรก เต็มไปด้วยป่างิ้วนรก มีหนามแหลมคมเป็นกรดยาวประมาณ ๓๖ องคุลี ลุกเป็นเปลวไฟแรงอยู่เสมอ สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับ ทุกข์ทรมานจนสิ้นกรรมชั่วของตน
บุพกรรม เช่น คบชู้สู่สาว ผิดศีลธรรมประเพณี ชายเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น หญิงเป็นชู้สามีของผู้อื่น หรือชายหญิงที่มีภรรยาหรือสามี ประพฤตินอกใจไปสู่หาเป็นชู้กับผู้อื่น มักมากในกามคุณ
(๓). อสินขะนรก สัตว์นรกที่มาเกิดมีรูปร่างแปลกพิกล เช่น เล็บมือเล็บเท้าแหลมยาว กลับกลายเป็นอาวุธ หอก ดาบ จอบ เสียม สัตว์นรกเหล่านี้ เหมือนคนบ้าวิกลจริตบ้างนั่ง บ้างยืน เอาเล็บมือถากตะกุยเนื้อหนังของตนกินเป็นอาหารตลอดเวลา จนกว่าจะสิ้นกรรม
บุพกรรม เช่น เมื่อมนุษย์ชอบลักเล็กขโมยน้อย ขโมยของในสถานที่สาธารณะและของทีเขาถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
(๔). ตามโพทะนรก มีหม้อเหล็กต้มน้ำทองแดงปนด้วยหินกรวด ร้อนระอุตลอดเวลา สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับทุกข์ โดยการถูกกรอกด้วยน้ำทองแดง และกรวดหินเข้าไปทางปาก จนกว่าจะสิ้นกรรม
บุพกรรม ด้วยผลกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนๆเป็นคนใจอ่อนมัวเมา ประมาท ดื่มสุราเมรัย แสดงอาการคล้ายคนบ้าเป็นเนืองนิจ
(๕). อโยคุฬะนรก เต็มไปด้วยก้อนเหล็กแดงเกลื่อนกลาดไปหมด อกุศลกรรมบันดาลสัตว์นรกที่มาเกิดเห็นก้อนเหล็กแดงเป็นอาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้วเหล็กแดงนั้นก็เผาไหม้ไส้พุง ได้รับทุกขเวทนาจนกว่าจะสิ้นกรรม
บุพกรรม เช่น แสดงว่าตนเป็นคนใจบุญใจกุศล เรี่ยไรทรัพย์ว่าจะนำไปทำบุญสร้างกุศล แต่กลับยักยอกเงินทำบุญของผู้อื่นมาเป็นของตน การกุศลก็ทำบ้างไม่ทำบ้างตามที่อ้างไว้หลอกลวงผู้อื่น
(๖). ปิสสกปัพพตะนรก มีภูเขาใหญ่ ๔ ทิศ เคลื่อนที่ได้ไม่หยดหย่อน กลิ้งไปมาบดขยี้สัตว์นรกที่มาเกิดให้บี้แบนกระดูกแตกป่นละเอียดจนตายแล้วฟื้นขึ้นมาอีก ถูกบดขยี้อีกจนตายเรื่อยไปจนสิ้นกรรมของตน
บุพกรรม เช่น เคยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ประพฤติตนเป็นคนอันธพาล กดขี่ข่มเหงราฎร ทำร้ายร่างกาย เอาทรัพย์เขามาให้เกินพิกัดอัตราที่กฏหมายกำหนด ไม่มีความกรุณาแก่คนทั้งหลาย
(๗). ธุสะนรก สัตว์นรกที่มาเกิดมีความกระหายน้ำมาก เมื่อพบสระมีน้ำใสสะอาดที่ดื่มกินเข้าไปอำนาจของกรรมบันดาลให้น้ำนั้นกลายเป็นแกลบเป็นข้าวลีบลุกเป็นไฟเผาไหม้ท้องและลำไส้
เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส จากกรรมชั่วที่ทำมา
บุพกรรม เช่น คดโกงไม่มี ความซื่อสัตย์ ปนปลอมแปลงอาหารและเครื่องใช้แล้วหลอกขายผู้อื่น ได้ทรัพย์สินเงินทองมาโดยมิชอบ
(๘). สีตโลสิตะนรก เต็มไปด้วยน้ำเย็นยะเยือก เมื่อสัตว์นรกที่มาเกิดตกลงไปก็จะตายฟื้นขึ้นมาก็ถูกจับโยนลงไปอีกเรื่อยไปจนสิ้นกรรมชั่วของตน
บุพกรรม เช่น จับสัตว์เป็นๆ โยนลงไปในบ่อ ในเหว ในสระน้ำ หรือมัดสัตว์เป็นๆ
ทิ้งน้ำให้จมน้ำตาย หรือทำให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้รับความทุกข์และตายเพราะน้ำ
(๙). สุนขะนรก เต็มไปด้วยสุนัขนรก ซึ่งมี ๕ พวกคือ หมานรกดำ หมานรกขาว หมานรกเหลือง หมานรกแดง หมานรกต่างๆ และยัง มีฝูงแร้งกา นกตะกรุม สัตว์นรกที่มาเกิดจะถูกสุนัข แร้งกา ไล่ขบกัดตรงลูกตา ปากและส่วนต่างๆ ได้รับทุกขเวทนาจากผลกรรมชั่วทางวจีทุจริต
บุพกรรม คือ ด่าว่าบิดามารดา ปู่ยาตายาย พี่ชายพี่สาวและญาติทั้งหลายไม่เลือกหน้า
ไม่ว่าจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ตลอดจนพระภิกษุสงฆ์สามเณร
(๑๐). ยันตปาสาณะนรก มีภูเขาประหลาด ๒ ลูก เคลื่อนกระทบกันตลอดเวลา สัตว์นรกที่มาเกิดจะถูกภูเขาบีบกระแทกได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสตายแล้วก็กลับเป็นขึ้นมา จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
บุพกรรม เช่น เป็นหญิงชายใจบาปหยาบช้าด่าตีคู่ครองด้วยความโกรธแล้วหันเหประพฤตินอกใจไปคบชู้เป็นสามีภรรยากับคนอื่นตามใจชอบ
โลกันตร์
( โลกันตร์นรก ๑ ขุม )
โลกันตนรก เป็นนรกขุมใหญ่ อยู่นอกจักรวาล มืดมนไม่มีแสง มองไม่เห็นอะไรเลยและเต็มไปด้วยทะเลน้ำกรดเย็น
ที่ตั้ง อยู่ระหว่างโลกจักรวาล ๓ โลก เหมือนกับวงกลม ๓ วงติดกัน คือ บริเวรช่องว่างของวงทั้ง ๓ สัตว์นรกที่มาเกิดต้องได้รับทุกขเวทนาเป็นเวลา ๑ พุทธันดร จากผลกรรมชั่ว เช่น ทรมาน ประทุษร้ายต่อบิดามารดา และผู้ทรงศีล ทรงธรรมหรือปาณาติบาตเป็นอาจิณ ฆ่าตัวตาย เป็นต้น
( โลกนรกประกอบด้วย )
มหานรก ๘ ขุม
อุสสทนรก ๑๒๘ ขุม
ยมโลกนรก ๓๒๐ ขุม
โลกันตร์นรก ๑ ขุม
รวม ๔๕๗ ขุม
ภพภูมิในพระพุทธศาสนา
ในทางพระพุทธศาสนานั้น แบ่งภพภูมิที่สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในวัฏสงสารจะสามารถไปเกิดได้ ตามผลกรรมของตน ไว้ทั้งสิ้น 31 ภูมิใหญ่ๆ เรียงจากภูมิสูงไปหาภูมิต่ำได้ดังนี้คือ
(ดูจากล่างขึ้นบน จะเข้าใจได้ง่ายกว่า)
อรูปภูมิ
4
ชั้น  เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
อากิญจัญญายตนภูมิ
วิญญาณัญจายตนภูมิ
อากาสานัญจายตนภูมิ
รูปภูมิ
16
ชั้น  จตุตถฌานภูมิ
7
ชั้น  สุทธาวาสภูมิ
5
ชั้น  อกนิฏฐาภูมิ
สุทัสสีภูมิ
สุทัสสาภูมิ
อตัปปาภูมิ
อวิหาภูมิ
เวหัปผลาภูมิ
อสัญญสัตตภูมิ
ตติยฌานภูมิ
3 ชั้น สุภกิณหกา
อัปปมาณสุภา
ปริตตสุภา
ทุติยฌานภูมิ
3 ชั้น อาภัสสรา
อัปปมาณาภา
ปริตตาภา
ปฐมฌานภูมิ
3 ชั้น มหาพรหมาภูมิ
พรหมปุโรหิตาภูมิ
พรหมปาริสัชชาภูมิ
กามภูมิ
11
ชั้น  กามสุคติภูมิ
7
ชั้น  สวรรค์
6
ชั้น  ปรนิมมิตวสวัตตี
นิมมานรตี
ดุสิต
ยามา
ดาวดึงส์
จาตุมหาราชิกา
มนุษยภูมิ
อบายภูมิ
4
ชั้น  สัตว์เดรัจฉาน
อสุรกาย
เปรต
นรกภูมิ
ลักษณะพิเศษในบางภพภูมิ
อริยบุคคลทุกประเภทจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ
สิ่งมีชีวิตในอบายภูมิจะบรรลุมรรคผลนิพพานไม่ได้
เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีทั้งที่อยู่ระดับพื้นดิน ที่เรียกว่าภุมมัฏฐเทวดา เช่น รุกขเทวดา เป็นต้น และที่อยู่ในอากาศ ซึ่งเรียกว่า อากาสเทวดา
สวรรค์ชั้นดุสิตเป็นที่รวมของนักปราชญ์และผู้มีปัญญา รวมถึงพระโพธิสัตว์
รูปภูมิเป็นที่เกิดของผู้ที่ได้รูปฌาน
ผู้ที่เกิดในอสัญญสัตตภูมิจะมีเฉพาะรูปขันธ์เท่านั้น ไม่มีนามขันธ์อยู่เลย คือจะมีเฉพาะร่างกายไม่มีความรู้สึกใดๆ เลย เกิดในอิริยาบทใด ก็จะอยู่อย่างนั้นตลอดชีวิต ไม่มีการเคลื่อนไหว เพราะก่อนตายในชาติก่อนได้จตุตถฌานแต่ไม่ยินดีในการมีความรู้สึก
สุทธาวาสภูมิเป็นที่เกิดของอนาคามีบุคคล (ปุถุชนและอริยบุคคลชั้นต่ำกว่านี้จะไปเกิดที่นี่ไม่ได้)
อรูปภูมิเป็นที่เกิดของผู้ที่ได้อรูปฌาน
ผู้ที่เกิดในอรูปภูมิจะมีเฉพาะนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณขันธ์เท่านั้น ไม่มีรูปขันธ์ คือไม่มีร่างกายอยู่เลย เพราะจิตไม่มีความยินดีในรูปทั้งหลาย

กัมมุนาวัฏตีโลโก

พระพุทธเจ้าพูดถึงโลกอื่นๆหรือต่างดาว

--------------------------------------------------------------------------------




จักรวาลอันหนึ่ง โดยยาวและโดยกว้าง ประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร)
ส่วนโดยรอบปริมณฑลทั้งสิ้น (ของจักรวาลนั้น) ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์

ขนาดหนาของแผ่นดิน ในจักรวาลนั้น แผ่นดินนี้ กล่าวโดยความหนา มีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์

ขนาดหนาของน้ำรองแผ่นดิน สิ่งที่รองแผ่นดินนั้นหรือ
คือน้ำอันตั้งอยู่บนลม โดยความหนามีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์

ขนาดความหนาของลมรองน้ำ
ลมอัน (พัดดัน) ขึ้นฟ้า (โดยความหนา) มีประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ นี่เป็นความตั้งอยู่พร้อมมูลแห่งโลก

ขนาด ภูเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) และต้นไม้ประจำทวีป อนึ่ง ในจักรวาลที่ตั้งอยู่พร้อมมูลอย่างนี้นั้น มี ภูเขาสิเนรุอันเป็นภูเขาสูงที่สุด หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็ประมาณเท่ากันนั้น
ภูเขาใหญ่ทั้งหลาย คือภูเขายุคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวีกะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธระ ภูเขาวินตกะ ภูเขาอัสสกัณณะ อันตระการไปด้วยรัตนะหลากๆ ราวกะภูเขาทิพย์ หยั่ง (ลึก) ลงไป (ในมหาสมุทร) และสูงขึ้นไป (ในฟ้า) โดยประมาณกึ่งหนึ่งแต่ประมาณแห่งภูเขาสิเนรุไปตามลำดับ ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ นั้น (ตั้งอยู่) โดยรอบภูเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ (จาตุ)มหาราช เป็นที่ๆ เทวดา และยักษ์อาศัยอยู่

ภูเขาหิมวาสูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ (เท่ากัน) ประดับไปด้วยยอดถึง ๘๔,๐๐๐ ยอด
ต้นชมพู (หว้า) ชื่อนคะ วัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ ลำต้นสูง ๕๐ โยชน์ และกิ่ง (แต่ละกิ่ง)
ก็ ยาว ๕๐ โยชน์ แผ่ออกไปวัดได้ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ และสูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น ด้วยอานุภาพของ ต้นชมพู (นี้) ไรเล่า ทวีปนี้จึงถูกประกาศชื่อว่า ชมพูทวีป

ก็ แลขนาดของต้นชมพูนี้ใด ขนาดนั้นนั่นแหละเป็นขนาดของต้นจิตรปาฏลี (แคฝอย) ของพวกอสูร ต้นสิมพลี (งิ้ว) ของพวกครุฑ ต้นกทัมพะ (กระทุ่ม) ในอมรโคยานทวีป ต้นกัปปะในอุตตรกุรุทวีป ต้นสิรีระ (ซึก) ในบุพพวิเทหทวีป ต้นปาริฉัตตกะ ในดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้นแล ท่านโบราณจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
(ต้นไม้ประจำภพและทวีป คือ) ต้นปาฏลี ต้นสิมพลี ต้นชมพู ต้นปาริตฉัตตะของพวกเทวดา
ต้นกทัมพะ ต้นกัปปะ และต้นที่ ๗ คือ ต้นสิรีสะ ดังนี้

ขนาดภูเขาจักรวาล

ภูเขาจักรวาล หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐ โยชน์
สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็เท่ากันนั้น ภูเขาจักรวาลนี้ตั้งล้อมโลกธาตุทั้งสิ้นนั้นอยู่

ขนาดของภพและทวีป
ใน โลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภพดาวดึงส์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ภพอสูร มหานรกอเวจี และชมพูทวีปก็ เท่ากันนั้น อมรโคยานทวีป ๗,๐๐๐ โยชน์ บุพพวิเทหทวีปก็เท่านั้น อุตตรกุรุทวีป ๘,๐๐๐ โยชน์ อนึ่ง ในโลกธาตุนั้น
ทวีปใหญ่ๆ ทวีป ๑ ๆ มีทวีปน้อยเป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐
สิ่งทั้งปวง (ที่กล่าวมานี้) นั้น (รวม) เป็นจักรวาล ๑ ชื่อว่า โลกธาตุอัน ๑ ๑ในระหว่างแห่งโลกธาตุ ทั้งหลายมีโลกันตนรก (แห่งละ ๑)


๑. มหาฎีกาว่า จักรวาล ก็คือโลกธาตุ โลกธาตุได้ชื่อว่า จักรวาล ก็เพราะมีภูเขาจักรวาล ซึ่งสัณฐานดังกง
รถล้อมอยู่โดยรอบเท่านั้นเองไม่ใช่จักรวาลอัน ๑ โลกธาตุอัน ๑
๒. ท่านว่าจักรวาลหรือโลกธาตุนั้นมีมากนัก ช่องว่างในระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาลต่อกัน มีโลกันตนรก ๑
ทุกแห่งไป โดยนัยนี้ คำว่า โลกันตนรก ก็แปลว่า นรกอันตั้งอยู่ในช่องระหว่างจักรวาล ๓ อันนั่นเอง

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "จูฬนีสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๒๑๕ เล่ม ๒๐ ว่า
จักรวาล ประกอบด้วยดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจร ไปร่วมกัน จะมีขุนเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) (เป็นภูเขาทิพย์ที่เห็นได้เฉพาะผู้มีอภิญญา) ทวีปต่างๆ ที่ตั้งชื่อกันในสมัย นั้นคือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตรกุรุทวีป และปุพพวิเทหทวีป มหาสมุทรทั้ง ๔ (นับกันได้ในสมัยนั้น)
มีนรกขุมต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ และพรหมโลกชั้นต่างๆ
โลกธาตุ มี ๓ ขนาด คือ โลกธาตุอย่างเล็กมีจำนวนพันจักรวาล โลกธาตุอย่างกลางมีจำนวนล้านจักรวาล โลกธาตุอย่างใหญ่มีจำนวน แสนโกฏิจักรวาล

ทั้งโลกธาตุอย่างเล็กก็ดี อย่างกลางก็ดี อย่างใหญ่ก็ดี ยังมีอีกจำนวนมากมาย
"ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไปในที่สุด"
กำเนิดของโลกพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "อัคคัญญสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๖๑ เล่ม ๑๑ ว่า
เกิดมีน้ำขึ้นในห้วงอวกาศอันมืดมิดก่อนแล้วนานๆไปเกิดการรวมตัวงวดเข้าเป็นง้วนดิน แล้วพัฒนาเป็นกระบิดิน
ต่อไปเป็นเครือดิน จากนั้นมีต้นข้าวและพืชทั้งหลายเกิดขึ้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หมู่ดาว
นรกขุมต่างๆ เทวโลกและพรหมโลกชั้นต่างๆ ก็เกิดขึ้นเอง

กำเนิดชีวิตพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "เพราะมีความอยาก จึงมีการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา
เมื่อไม่มีความอยากการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ไม่มี"

๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

-มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
-มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
-สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระวิปัสสี" มนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
-สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระเรวะตะ" มนุษย์ในชมพูทวีปมีความสูงถึง ๘๐ ศอก
-แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง จิตใจหยาบช้าลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง ร่างกายก็เตี้ยลง
-ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาด
ต้องสอยมะเขือกิน เรียกยุคนั้นว่า "ยุคทมิฬ" เป็นยุคที่เสื่อมที่สุดของ "ชมพูทวีป"
-ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป"
เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"
-ชมพูทวีป เป็นทวีปเดียวที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องมาตรัสรู้ที่ทวีปนี้เท่านั้น
๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เป็นแผ่นดินกว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
-มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้วผลึก
-มนุษย์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
-มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"
๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
-มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้า
และมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์
มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
-มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"
๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
-มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้า
และมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ
ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)"
ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ ชั้นตาวติงสาห์ภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว
-ในภาษาบาลี "อุตร" แปลว่า "เหนือ" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกทวีปนี้ว่า "อุตรกุรุทวีป"

ขอขอบคุณพระไตรปิฏกฉบับประชาชน

กัมมุนาวัฏตีโลโก

ปัญหาของอจินไตย ๔ ข้อ
ถาม ๑. สิ่งที่เป็นอจินไตย นี่เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ได้ ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาหรือพระอรหันต์ธรรมดาจะรู้ได้ใช่ไหม
ตอบ สิ่งที่เป็นอจินไตยนั้นมี ๔ อย่าง คือ
๑. พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้า
๒. ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน
๓. กัมมวิบาก ผลจากกรรม
๔. โลกจินดา ความคิดเรื่องโลก
ทั้ง ๔ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่ควรคิดผู้ที่คิดจะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากโดยเปล่าประโยชน์
ในอจินไตย ๔ อย่างนี้ อย่างแรกคือ พุทธวิสัย คือวิสัยของพระพุทธเจ้านั้น ผู้ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าคิดอย่างไร ก็เข้าไปไม่ถึงวิสัยของพระพุทธเจ้า มีอานุภาพของพระพุทธคุณและพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
อย่างที่ ๒ ฌานวิสัย วิสัยของผู้ที่ได้ฌานอภิญญา ผู้ที่ไม่ได้ฌานคิดเท่าไรก็คิดไม่ออกว่า ทำไมผู้ที่ได้ฌานอภิญญาจึงสามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ มีเหาะได้ หายตัวได้ ดำดินได้ เป็นต้น ผู้ที่ได้อภิญญาประเภทนั้นๆ เท่านั้นจึงจะรู้ได้
อย่างที่ ๓ กัมมวิบาก ผลของกรรม คือคนธรรมดาๆ ย่อมไม่อาจรู้ว่า ผลของกรรมที่ตนได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้มาจากกรรมอะไร ทำไว้แต่เมื่อใด คิดไปเท่าไรก็คิดไม่ออก คิดมากไปจะเป็นบ้าไปเสียเปล่าๆ ผู้ที่รู้ผลของกรรมได้อย่างถ่องแท้ต้องเป็นผู้ที่ระลึกชาติก่อนๆ นับย้อนหลังไปได้โดยไม่จำกัดอย่างพระพุทธเจ้า จึงสามารถจะทราบได้ถูกต้องแท้จริงไม่ผิดพลาด ท่านที่ระลึกชาติได้จำกัด เช่นระลึกได้ ๕๐๐ ชาติ แต่กรรมที่ทำไว้ ทำไว้เมื่อชาติที่ ๕๐๐ ผู้ที่ระลึกชาติได้ ๕๐๐ ชาติก็ไม่สามารถระลึกได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถจะรู้กรรมและผลของกรรมได้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะพระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ที่ระลึกชาติย้อนหลังได้โดยไม่จำกัด มียถากัมมูปคญาณ ญาณที่เข้าถึงกรรมของสัตว์ตามความเป็นจริง พระพระสัพพัญญุตญาณ ญาณที่ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่คนอื่นไม่มี ทั้งยังมีพระอนาวรณญาณ ญาณที่ไม่มีอะไรมาปิดกั้น ที่คนอื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าไม่มี เพราะฉะนั้น ป่วยการคิดเรื่องผลของกรรมว่ามาจากกรรมไหน เมื่อใด เป็นต้น คิดมากไป อาจเป็นบ้าได้
อย่างที่ ๔ โลกจินดา ความคิดเกี่ยวกับเรื่องโลก เช่นคิดว่าใครสร้างพระจันทร์-พระอาทิตย์ ใครสร้างภูเขา ต้นไม้ เป็นต้น คิดมากไปไร้ประโยชน์เพราะไม่อาจจะรู้ได้
ด้วยเหตุนี้ อจินไตยทั้ง ๔ อย่างนี้ บางท่านอาจจะคิดว่าตนเองคิดแล้วรู้ได้ ซึ่งก็รู้ได้เพียงวิสัยของตนเท่านั้น พระอรหันต์ก็รู้เท่าวิสัยของพระอรหันต์ จะรู้เท่าความรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเตือนว่า สิ่งทั้ง ๔ นี้ไม่ควรคิด คิดไปอาจเป็นบ้า ลำบากโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้นไม่ได้สั่งสมสติปัญญาบารมีความรู้มาเสมอด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งต้องอบรมมาอย่างน้อยถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ทีเดียว
ถาม ๒. ถามว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ารู้ในสิ่งที่เรียกว่า "อจินไตย" หรือเปล่า
ตอบ ขอเรียนว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าก็รู้ในสิ่งที่เรียกว่าอจินไตย ตามวิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่อาจรู้ไปถึงวิสัยของพระพุทธเจ้าได้ เพราะท่านมิได้ญาณ โดยเฉพาะพระสัพพัญญุตญานอย่างพระพุทธเจ้านั่นเอง
ถาม ๓. ถามว่า พรหมชั้นสุทธาวาสอายุนานกว่าพรหมชั้นอื่น มีโอกาสที่จะค้นคว้าศึกษาในเรื่องที่เป็นอจินไตยจนรู้ได้หรือเปล่า
ตอบ ปัญหานี้ขอเรียนว่า ผู้ที่จะเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสได้นั้น จะต้องเป็นพระอนาคามีได้ปัญจมฌาน เมื่อตายลงจึงเกิดเป็นพรหมอนาคามีในชั้นสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งใน ๕ ชั้นได้ และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในสุทธาวาสนั้นเอง ไม่กลับไปเกิดในภพภูมิใดๆ ที่ต่ำกว่าอีกเลย เพราะฉะนั้น พรหมชั้นนี้จึงเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งแน่นอน ความรู้ของสาวกย่อมไม่อาจเทียบกับความรู้ของพระพุทธเจ้าแน่ ถ้าท่านจะรู้เรื่องราวของอจินไตย ท่านก็รู้ได้ตามวิสัยของท่านเท่านั้น ไม่เกินวิสัยของท่านไปได้
ที่มา อ้างอิง และแนะนำ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อจินติตสูตร

กัมมุนาวัฏตีโลโก

รู้ตามเป็นจริง (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

--------------------------------------------------------------------------------

รู้ตามเป็นจริงทุกอย่างคือพุทธศาสนา

ก่อนจังหัน

นั่นดูซิพระ ดูผ้าพระ นี่ละครั้งพุทธกาลดูเอาองค์นี้ ครั้งพุทธกาลท่านห่มผ้าอย่างนี้ละ ทั้งปะทั้งชุนเต็มไปหมด ท่านไม่ยุ่งอะไร มีอะไรท่านปะท่านชุนของท่านใช้เรื่อยไป นี่ละครั้งพุทธกาลดูเอา ไม่ได้โก้อย่างสมัยปัจจุบัน เรื่องกิเลสโก้ เรื่องธรรมเป็นอย่างนี้ดูเอา ในครั้งพุทธกาลตำราบอก ศาสดาอยู่ในนั้น หรูหราฟู่ฟ่าอะไร

ธรรมท่านทำความสบายให้แก่โลก แต่โลกไม่ยอมรับธรรม อะไรพอดี เช่น สนฺตุฏฺฐี ความยินดีตามมีตามเกิด อปฺปิจฺฉตา ความมักน้อย นี่ธรรมพระพุทธเจ้า อันนี้ประมวลมาแห่งความสุขทั้งหลายนะ ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมได้ไม่พอกินไม่พอ นี้เรื่องกิเลสเผาหัวใจสัตว์โลกให้ดีดดิ้นตลอดเวลา เอาซิเอาธรรมพระพุทธเจ้าออกไปหาดูสัตว์โลกชาวพุทธลองดูซิ ทั้งฝ่ายพระฝ่ายฆราวาส จะหาที่ต้องติตรงไหนไม่มี ที่ต้องติอยู่ตลอดเวลานี้มีแต่เรื่องกิเลส ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ทุกอย่างไม่มีความพอดี ขึ้นชื่อว่ากิเลสไม่พอๆ ทั้งนั้น ถ้าธรรมแล้วพอๆ

ยกตัวอย่างเช่นพระ จีวรของท่านรอยปะรอยชุนเท่าไร นี่ละดูเอาแบบพระพุทธเจ้า เหมือนศาสดาองค์หนึ่งอยู่นั้นดูเอา แต่มันไม่มองซิอย่างนั้น มันมองหาสิ่งที่จะเผาหัวใจมันด้วยกิเลสได้ไม่พอๆ ใช้ไม่พอ อะไรๆ ถ้าเป็นเรื่องกิเลสแล้วไม่พอทั้งนั้น ถ้าเรื่องธรรมแล้วพอๆ ตัดออกๆ ตัดความทุกข์ความวุ่นวายออกเป็นลำดับ โลกมันไม่อยากมองธรรม เดี๋ยวนี้แทบไม่มีธรรมในชาวพุทธเรานะ เรื่องฆราวาสเราไม่อยากจะไปหา หาในวัดนี่ ก็มีแต่ส้วมแต่ถานเต็มวัดเต็มวา ส้วมคืออะไร สิ่งบรรจุอยู่ในวัดนั้นมีอะไร มีแต่กิเลสเต็มอยู่ในวัดนั้น นั่นเรียกว่าส้วม มูตรคูถคืออะไร ความประพฤติเลวทรามของพระ เหลวแหลกแหวกแนวอยู่ในวัดนั้น นี่เรียกว่ามูตรคูถอยู่ในส้วม ส้วมคือวัด ทัพสัมภาระต่างๆ เครื่องบำรุงบำเรอที่เป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้นเต็มอยู่ในวัด จึงเรียกว่าส้วมว่าถานว่ามูตรว่าคูถ ไม่อยากเรียกว่าวัดนะ

วัดพระพุทธเจ้าเป็นยังไงก็เห็นด้วยกัน วัดเป็นที่วัดที่ตวง กำหนดกฎเกณฑ์มีเหตุมีผล มีหลักมีเกณฑ์ วัดไม่ได้เป็นส้วมเป็นถาน ส้วมถานมีแต่ของสกปรกเต็มอยู่ในนั้น วัดเลยบรรจุของสกปรกอยู่ในนั้นหมดเลยใช้ไม่ได้ นี่ละเลอะเทอะไปๆ กิเลสมันเหยียบไปๆ ธรรมะความน่าดูน่าชม ความสงบร่มเย็น จะไม่ปรากฏในโลกนี้ ไปที่ไหนจึงเห็นตั้งแต่ความเดือดร้อนวุ่นวาย ดูซิทั่วแดนมนุษย์เรานี้ไปที่ไหน สถานที่นี่ สมาคมนี้ ประเทศนั้นประเทศนี้มีความสงบร่มเย็น มีศีลมีธรรมเป็นแบบเป็นฉบับปฏิบัติกัน โลกทั้งหลายมีความสงบร่มเย็นไม่มี มีแต่ความคืบความคลาน ความกินความกลืน กลืนไปตลอด ผู้ใหญ่เท่าไรยิ่งอำนาจบ้าป่าเถื่อนไปเรื่อย กินไปเรื่อย นี่ละเรื่องกิเลสทำความเดือดร้อนแก่ผู้น้อยมากทีเดียว ผู้ใหญ่นี้ก็โดด โอ๋ย ไม่มีหยุดมีถอยนะ ผู้ใหญ่มันใหญ่กิเลสไม่ใหญ่ธรรม ถ้าใหญ่ธรรมใหญ่เท่าไรยิ่งสงบร่มเย็น

องค์ศาสดานั่นละใหญ่แห่งธรรม ดูเอาศาสดา เป็นแบบฉบับได้ทั่วโลกดินแดน นี่แบบแห่งธรรม แบบสาวกคือแบบธรรมทั้งนั้น แต่แบบกิเลสนี้มีตั้งแต่ฟืนแต่ไฟ ไปที่ไหนเราไปหาดูซิที่ไหนเจริญ ที่มีความสงบร่มเย็น มีแต่เห็นแต่ฟืนแต่ไฟเผาไหม้ ความประพฤติความเคลื่อนไหวของโลกทั้งนั้น มันน่าทุเรศนะ เอาธรรมจับซิ ปากเดียวเท่านี้ก็เถอะ ปากพูดอยู่นี้ เอาปากธรรมมาจับ พิจารณาซิ ปากกิเลสมันไม่พอแหละ สกปรกคือปากกิเลส สะอาดที่สุดคือปากของธรรม พูดออกไปอะไรมีเหตุมีผลมีหลักมีเกณฑ์ เอาละให้พร


หลังจังหัน

ผู้กำกับ ปัญหาทางอินเตอร์เน็ตจากเว็บหลวงตาครับ กระผมภาวนาบริกรรมด้วยพุทโธไปเรื่อยๆ แต่พอนานไปจิตมันเริ่มที่จะออกไปภายนอก กระผมจึงกำหนดจิตเพ่งดูกระดูกตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงกะโหลกศีรษะภายในกาย ไล่ขึ้น-ไล่ลงไปเรื่อยๆ จิตมันจึงไม่ค่อยส่งออกไปข้างนอก และจะนั่งได้นาน การที่กระผมเพ่งที่กระดูกนี้กระผมจะบริกรรมคำว่าพุทโธไปพร้อมกัน และบางครั้งก็จะกำหนดที่ลมหายใจแทนการเพ่งที่กระดูก และบริกรรมพุทโธพร้อมกัน อยากกราบเรียนหลวงตาว่า วิธีการภาวนาของกระผมถูกต้องหรือไม่ครับ

หลวงตา ถูกต้อง แต่อย่าทำหยิบโหย่งๆ หยิบนั้นปล่อยนี้ วางนั้นจับนั้น จะพิจารณาอะไรจับอะไร เช่นคำบริกรรมก็ให้เป็นคำบริกรรม คำใดก็คำนั้น อย่าเอามาสับปนกันยุ่งเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์ เข้าใจเหรอ พิจารณาร่างกายนั่นก็ถูกแล้ว ถูกต้องแล้ว

ผู้กำกับ ข้อสองครับ การกำหนดจิตดูที่กระดูกพร้อมกับคำบริกรรมพุทโธนี้ มันจะหลายอย่างเกินไปหรือเปล่าครับ หรือจะให้กำหนดเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง?

กระผมอยากจะขอคำชี้แนะจากองค์หลวงตา เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการภาวนาให้มีความเจริญก้าวหน้าในการภาวนาต่อไป

หลวงตา จะเอาอะไรก็เอา จิตทำหน้าที่เดียว ถ้าจะดูอัฐิก็ดูอัฐิ นี่ทั้งอัฐิทั้งพุทโธวุ่นกันไปมันเป็นน้ำไหลบ่าไม่ค่อยมีกำลังแรง ก็เท่านั้นแหละ

ศาสนาไหนล่ะมาสอนอย่างพระพุทธเจ้านี่ไม่มี ศาสนามีทั่วโลก ไม่มีศาสนาใดสอนอย่างพระพุทธเจ้าเรา พูดแล้วก็คือว่าไม่ใช่ศาสนา เป็นเรื่องอารมณ์ของกิเลสต่างหาก คำสอนของกิเลส ผู้เป็นเจ้าของศาสนาคือคลังกิเลสแล้วจะเอาธรรมมาจากไหน พระพุทธเจ้าเป็นคลังแห่งธรรม สอนโลกเป็นธรรมล้วนๆ นั่นต่างกัน แสดงออกไปบทใดบาทใดเพื่อความระงับดับทุกข์ทั้งนั้นๆ ศาสนะ แปลว่าคำสอน ศาสนกิเลส คำสอนของกิเลสก็ได้ ศาสนธรรม คำสอนของธรรมก็ได้

เราได้พิจารณาเต็มกำลังจริงๆ หายสงสัยหมด เรื่องศาสนาในโลกนี้ว่างั้นเลยแหละ เข้าเวทีพุทธศาสนานี้ตีออกๆ คัดเลือกๆ ไปในตัวของมันเอง แยกออกๆ สุดท้ายลงในพุทธศาสนาแห่งเดียวที่สอนด้วยความถูกต้อง เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ และแก้ไขความผิดประการต่างๆ ได้เป็นอย่างดีโดยลำดับ คือพุทธศาสนา ยิ่งสอนเพื่อความพ้นทุกข์ด้วยแล้วยิ่งพุ่งเลย ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ๆ หายสงสัย พอขึ้นบนเวทีคือจิตตภาวนาแล้ว มันกระจายหมดที่ว่ามหาเหตุ ทั้งกิเลสทั้งธรรมอยู่ในใจ พอตีนี้แตกกระจาย กิเลสก็ทราบไปหมด ธรรมก็ทราบไปหมด ทั่วถึงไปหมด

เรื่องภาวนาจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ตีแผ่ความรู้นี้ออก ทั้งกิเลสทั้งธรรม ความรู้เป็นไปกับกิเลส แยกกันออกรู้เรื่อง ความรู้แยกไปทางธรรมก็เป็นธรรมล้วนๆ ไป สุดท้ายก็มาเป็นธรรมหมด พูดธรรมดาโลกจะว่าอะไรผิดก็ไม่ได้ ให้ถูกทั้งหมด โลกเขาเป็นอย่างนั้น เช่นศาสนาใดก็ถือว่าเจ้าของถูกๆ ถูกทั้งนั้น ใครไปตำหนิไม่ได้ นี่หลักของศาสนาก็คือหลักของกิเลสนั่นเอง ถ้าเป็นศาสนธรรมจริงๆ แล้ว เอ้า ตำหนิมา ผิดตรงไหน เอ้า ว่ามา แก้ไขดัดแปลงไปตามนั้น อย่างนั้นเรียกว่าศาสนาแท้หรือศาสนธรรม เปิดโอกาสให้ผู้ใดจะคัดค้านต้านทานได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย นี่เรียกว่าศาสนธรรม

ศาสนาที่ใครไปคัดค้านต้านทานไม่ได้ ถือกรรมสิทธิ์ในศาสนาของตนโดยไม่คำนึงว่าผิดหรือถูก กำไว้หมด นี้ไม่ถูก เปิดซิ ถ้าเป็นของจริงเปิดได้ทั้งนั้น เอ้า ผิดตรงไหนว่ามาแล้วแก้ไข ก็แก้ไขเพื่อให้ถูก ว่ามาก็แก้ไขไปตาม ถ้าเห็นว่าทางนั้นถูกต้องแล้วแก้ไขไปตามทางนั้นก็ถูกต้องเป็นลำดับ เราหายสงสัยเราพูดจริงๆ นี่ละขึ้นเวทีจิตต ภาวนามันถึงได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง หายสงสัยหมดเลย เราจึงพูดได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยตามความรู้สึกของเราที่เต็มอยู่ในนี้ ความรู้อันนี้เต็มอยู่ในหัวใจแล้ว ว่าเราเรียนจบแล้วทั้งทางโลกทั้งทางธรรม เรียนจบคือว่ารู้ไปเรียบร้อยแล้วปล่อยวางลงโดยสภาพของมัน หมดโดยสิ้นเชิง เรียกว่าเรียนโลกจบ ปล่อยโลกจากหัวใจโดยสิ้นเชิง เรียนธรรมจบ เป็นธรรมธาตุล้วนๆ ภายในหัวใจ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งกว่านั้นพอจะเอามาเพิ่มเติม พอแล้วๆ ด้วยความเลิศเลอ

ค้นเข้าดูในหัวใจหายสงสัยหมด ภาคจิตตภาวนาเป็นของเล็กน้อยเมื่อไร เพราะมหาเหตุอยู่นั่น รวมขอบเขตจักรวาลมาอยู่ในจิตดวงเดียวนี้ เรียกว่ามหาเหตุ มันแผ่กระจายออกไป ต้นมันอยู่นี้มันแผ่กระจายออกไป เราตื่นเงามันซิ อย่างเขาฉายหนังไปเห็นภาพอยู่ในจอนั้น ที่เขาฉายออกอยู่ที่นี่มันออกไปเป็นภาพนั้น นี่ที่มันปรุงออกมันอยู่ที่นี่ ไปเป็นภาพหลอกตัวเองอยู่ทางโน้น ทีนี้พอเรียนจบแล้วมันกระเพื่อมเท่านั้นรู้แล้ว มันยังไม่ออกเป็นภาพนะ กระเพื่อมปั๊บรู้ทันที ดับปุ๊บๆ ตัวเหตุของมันอยู่ที่นี่

เราดูภาพดูวันยังค่ำก็อย่างว่าแหละ เราได้เห็นต่อหน้าต่อตาเรา หมามันเห่าภาพ เขาฉายภาพยนตร์อยู่กลางทุ่งนา ที่ชุมนุมชนแหละกลางทุ่งก็ดี เขาไปฉายหนังอยู่ที่นั่น ทีนี้เวลาหนังฉาย พอดีเราก็เดินออกมาเจอเอาจังๆ เสียงหมานี่ โถ เห่าลั่นเลย หมาอยู่ที่เขาฉายหนัง ตัวไหนอยู่ที่ไหนเห่าอึกทึก ทำไมหมาจึงเป็นอย่างนั้นมาก ก็คือคนไปดูหนังเขาไปกินอะไรๆ เศษอาหารตกแถวนั้น หมาไปกิน เข้าใจไหมล่ะ ทีนี้เวลาฉายหนัง ทั้งลิงทั้งค่างอะไรออกมาโก้กก้ากๆ หมาก็เห่าอึกทึกครึกโครม โอ๊ย สูก็เป็นบ้าเหมือนกูนะ สูก็ตื่นเงาเหมือนกู เราก็ว่าเราเป็นบ้าเหมือนกัน สูก็ตื่นเงาเหมือนกู สูก็เป็นบ้าเหมือนกัน นี่มันหลอกอย่างนั้นนะ หมาแท้ๆ ยังไปเห่า ลิงตัวใหญ่ๆ ลิงเมืองนอกออกมาโว้กว้ากๆ หมามันมองเห็นซิ ฟังเสียงเห่าอึกทึก เลยลืมกินข้าวกินอาหาร ขบขัน เราไปเห็นด้วยตาของเรา โอ๊ย สูก็หลงเป็นเหมือนกูนะ เป็นอย่างนั้นละ

นี่ละภาพ คือมันออกจากใจไปวาดภาพต่างๆ เราไม่เห็นตัวที่มันออก ส่วนทำจิตตภาวนามันย้อนเข้ามาดูตัวเหตุ มันออกไปไหนมันออกไปจากนี้ เมื่อรู้ตัวนี้แล้ว พอปรุงแพล็บดับปุ๊บๆ เลย เพราะรู้ตัวเหตุมันแล้ว ถ้าไม่รู้ก็ตายกับมันวันยังค่ำ ตั้งแต่หมายังได้เห่า เสียงมันเห่าอึกทึก เรื่องพุทธศาสนานี่เป็นศาสนาที่เปิดโลกธาตุจริงๆ เปิดโล่งออกหมด รู้ตามเป็นจริงทุกอย่างๆ คือพุทธศาสนา สมพระนามว่าศาสดาองค์เอก เป็นเจ้าของศาสนาอย่างแท้จริง กิเลสไม่มี มีแต่ อาโลโก อุทปาทิ สว่างจ้าตลอดเวลาภายในพระทัย

วันนี้เป็นวันจันทร์ คนก็ยังมากอยู่นะ วันจันทร์คนก็ยังมากอยู่ ให้พี่น้องทั้งหลายสนใจในธรรมให้มากขึ้น ความสงบร่มเย็นจะปรากฏขึ้นกับความสนใจในธรรม ถ้าความสนใจกับหนังตะลุงที่มันฉายอยู่นั่นตายกัน หมาก็เป็นบ้าไปด้วยอย่าว่าแต่คน ถ้าหลงตามมันเป็นบ้าไปด้วยกัน ให้สนใจในธรรมพิจารณาเสียก่อน จะทำอะไรอย่าพรวดพราดๆ คิดอยากทำอะไรทำ นี้เป็นนิสัยของกิเลส ทำอะไรไม่คำนึงถึงผิดถูกชั่วดี ผู้รับเคราะห์ก็คือเรานั่นแหละ ผิดทั้งนั้น ถ้าลงทำไปด้วยความพรวดพราดผิดทั้งนั้น ถ้าทำด้วยความพินิจพิจารณาผิดถูกดีชั่วแล้วไม่ค่อยมีนะ ท่านจึงสอนว่า นิสมฺม กรณํ เสยฺโย พิจารณาใคร่ครวญก่อนแล้วค่อยทำ ทุกอย่างพิจารณาเสียก่อนค่อยลงมือทำไม่ค่อยผิดพลาดแหละ นั่น ปุ๊บปั๊บทำเลยๆ นี้อย่างว่านั่นละ ให้ใช้ความพินิจพิจารณา

ธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดลออมากทีเดียว ให้ใช้ความพินิจพิจารณา ผิดก็พลิกมาเป็นถูกได้ทันทีๆ คือธรรม คือความถูกต้องลบทันทีเลย ถ้าปล่อยให้กิเลสไปมันก็ไปตามเรื่องของมัน โกโรโกโสไม่มีหลักมีเกณฑ์ อย่างเราเกิดมานี่จนกระทั่งวันตาย บางคนไม่สนใจในอรรถในธรรมเลย ไม่เคยทำบุญให้ทานเลย เป็นเศษมนุษย์อยู่เฉยๆ นะนั่น มีแต่จิตใจครองร่างอยู่ ลมหายใจขาดก็ปึ๋งลงเลย คือมันไม่ทำความดี แต่มันทำความชั่วมาก มันไม่อยู่เฉยๆ ละมนุษย์เรา มันต้องทำ

เคลื่อนไหวไปมาส่วนมากทำตามอารมณ์ของใจ อารมณ์ของใจเป็นอารมณ์ของกิเลส มันก็หมุนลงทางต่ำ อารมณ์ของธรรมดึงขึ้นนะ เพราะฉะนั้นผู้ใช้ในทางธรรมจึงต้องได้นำมาพินิจพิจารณาในสิ่งไม่ดีทั้งหลาย แล้วก็จับได้ๆ แก้ไขได้ดัดแปลงได้ ถ้าจะปล่อยตามอารมณ์นี้ตายทิ้งเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่ใจนั่นละเป็นผู้รับเคราะห์ ทำดีทำชั่วไม่ไปไหนมันอยู่กับใจ ครั้นตายแล้วกรรมชั่วมันก็อยู่กับใจ ทำดีกรรมดีก็อยู่กับใจพาไปเลย ไม่อยู่กับอะไรไม่มีอะไรตัดสินได้ มีกรรมที่เจ้าของทำขึ้นอย่างเดียว ตัดสินตัวเอง กมฺมสฺสโกมฺหิ กรรมเป็นของของตน กรรมเป็นของเราเอง จะไปแบ่งให้ใครไม่ได้ จึงต้องได้เลือกเฟ้นเสียก่อนการทำกรรม

ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เลือกไม่ได้นะ ผิดพลาดไปเรื่อยๆ ถ้ามีตั้งแต่กิเลสโลกก็มีแต่ความรุ่มร้อนเป็นฟืนเป็นไฟ ประเทศไหนจะว่าเจริญรุ่งเรืองขนาดไหนก็มีแต่ลมปาก ตื่นลมกันไปอย่างนั้นละ ความจริงจริงๆ มีแต่ไฟเผาหัวอกๆ แล้วดีดดิ้นออกมาทางร่างกายหมุนเป็นกังหันไปเลย คือกิเลสมันผันหัวใจคน ถ้าธรรมแล้วไม่ผัน ห้ามล้อๆ อะไรผิดห้ามล้อ ไปในทางที่ถูก เรียกว่าห้ามล้อในสิ่งที่ผิด เหยียบคันเร่งในสิ่งที่ถูก คือความขยันหมั่นเพียร อดทน หนักก็เอาเบาก็สู้ เมื่อเหตุผลควรทำแล้วทำ อย่าเอาความขี้เกียจขี้คร้านมาเป็นหัวหน้า มันจะขยันในทางความชั่วนะ เรื่องกิเลสขยันทางความชั่ว แต่อ่อนแอท้อแท้ในทางความดี แล้วไม่เอาไหนในทางความดีนะ ถ้าเป็นความชั่วนั้นติดปั๊บๆ เลย นี่กิเลสมันฝังใจมาลึกแล้ว

คิดดูซิเราจะประกอบความพากเพียร เวลาเราเริ่มฝึกหัดเบื้องต้นนี่ โถ เหมือนจะจูงหมาไปใส่ฝนร้องแง้กๆ ฝนกำลังตกจ้ากๆ นี้ลองจูงหมาใส่ฝนดูซิ มันร้องแง้กๆ มันไม่อยากตากฝน นี้จูงเราเข้าสู่ศีลสู่ธรรมไม่อยากเข้านะ ร้องแง้กๆ เข้าใจ ถูไถกันไปซัดกันไปหลายครั้งหลายหนมันได้ผลขึ้นมา พอได้ผลขึ้นมาเป็นพยาน มีความดูดดื่มทางธรรมเกิดแล้วๆ ทางนี้ก็หนักขึ้น ความท้อแท้อ่อนแอทั้งหลายอ่อนลงๆ ทางนี้ก็บุกๆ เรื่อยเลย เห็นผลมากเท่าไรธรรมยิ่งหมุน ทางธรรมหมุนๆ เพื่อพ้นทุกข์ ยิ่งหมุนเรื่อยๆ เลย เป็นอย่างนั้นนะ

เวลากิเลสมีกำลังมากมีแต่หมุนลงทั้งนั้น หมุนลงโดยถ่ายเดียว เมื่อธรรมมีมากหมุนขึ้นโดยถ่ายเดียว หมุนขึ้นจนทะลุเลยถึงนิพพาน หมุนถึงขนาดนั้น ถ้าไม่ถึงนิพพานไม่หยุด นิพพานเลยอยู่ชั่วเอื้อมๆ มันเป็น นิพพานอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่เหมือนว่าอยู่ชั่วเอื้อม ความจะหลุดพ้นจากทุกข์มันอยู่จุดสุดท้ายของความเพียรนี้ มันเป็นเหมือนชั่วเอื้อมๆ นิพพาน นั่นละความเพียรไม่มีถอย กำลังที่จะให้หลุดพ้นจากทุกข์มีมาก มันก็บืนเรื่อยละ เวลามันอืดอาดเนือยนาย มันขี้เกียจขี้คร้านมากๆ มันก็มีอย่างนั้น ครั้นเวลาทำไปทำมา รบกันไปรบมา มีท่าชนะได้นะ พอมีท่าชนะได้บ้างแล้วเป็นพยาน ทีนี้ก็บุกเรื่อยละ ชนะไปเรื่อยๆ จากนั้นก็บุกใหญ่เลย เรียกว่าอัตโนมัติ

ความเพียรเพื่อความพ้นทุกข์นี้เป็นอัตโนมัติ เมื่อมีกำลังกล้าแล้วเป็นอัตโนมัติหมุนตลอดไม่มีคำว่าถอย เหมือนกิเลสเป็นอัตโนมัติในใจหัวใจสัตว์โลก มันหมุนตลอดให้สัตว์โลกจมอยู่ในวัฏจักร เป็นอัตโนมัติของมัน แต่เราไม่รู้นะ นี้ก็ใครพูด ในเมืองไทยมีใครพูดอย่างนี้ไหมล่ะ หลวงตาบัวมาพูดเพราะมันผ่านกันบนเวทีแล้วนี่ เวลากิเลสเป็นอัตโนมัตินี้มันหมุนด้วยกันหมดในโลกอันนี้ ใครไม่ทราบว่ากิเลสเป็นอัตโนมัติ หมุนสัตว์โลกให้เป็นไปตามความต้องการของมัน ทีนี้เวลาธรรมเข้าเทียบกันปั๊บ ธรรมแก้เข้าไปๆ จนกระทั่งถึงขั้นอัตโนมัติแบบเดียวกัน กับกิเลสหมุนสัตว์โลกเป็นอัตโนมัติ ธรรมลากเข็นสัตว์โลกหรือหัวใจของเราให้หลุดพ้นจากทุกข์ ก็เป็นอัตโนมัติเหมือนกัน จนลืมหลับลืมนอน

เวลามันหมุนของมันเต็มที่แล้ว ลงทางจงกรมตั้งแต่ฉันเสร็จแล้ว จนกระทั่งปัดกวาดไม่ทราบว่ากี่ชั่วโมงไม่สนใจ มันหมุนของมันอยู่ภายใน เรื่องแดดนี้ไม่สนใจ มันร้อนมันอะไรไม่สนใจ หมุนอยู่ภายใน ความร้อนความหนาวนี้ไม่ค่อยมีกำลังอะไรนะ เวลาจิตมีกำลังทางธรรมะมากแล้ว มันจะหมุนอยู่ภายใน ไม่สนใจกับคำว่าร้อนว่าหนาวอะไร หมุนติ้วๆ นี่เรียกว่าธรรมทำงานบนหัวใจ เพื่อรื้อถอนกิเลสออกจากใจนั้นเป็นอัตโนมัติ หมุนไปอย่างนั้น จนกระทั่งกิเลสขาดไปหมดไม่มีอะไรเหลือแล้ว คำว่าอัตโนมัตินี้หยุด เป็นเอง หยุดเอง อย่างมหาสติมหาปัญญา มหาสติมหาปัญญาก็คือ สติปัญญาที่เฉียบขาดที่สุดฆ่ากิเลส พอกิเลสขาดสะบั้นลงไปแล้ว สติปัญญานี้ก็เป็นเหมือนเครื่องมือ วางได้ปล่อยได้ เราทำอะไรอยู่ด้วยเครื่องมืออะไร เราปล่อยเครื่องมือนั้นได้ อันนี้ก็วางลง ถึงขั้นมหาสติมหาปัญญาเรียกว่าเครื่องมือที่เฉียบแหลมมากที่สุดฆ่ากิเลส พอกิเลสขาดสะบั้นลงไป สติปัญญานี้ก็เป็นอัตโนมัติหายตัวไปเอง หยุดไปเอง

ทีนี้ยังเหลือแต่ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ล้วนๆ แล้วชำระอะไร นั่น มันก็รู้อย่างนั้นเวลามันถึงที่สุด ที่หมุนติ้วก็หยุด ทุกอย่างหยุดหมด เพราะหมุนเพื่อความหลุดพ้น พ้นแล้วหมุนหาอะไร เราพูดเหล่านี้เราถอดออกมาจากหัวใจทั้งนั้นนะ ไม่ได้พูดงูๆ ปลาๆ ลูบๆ คลำๆ มาสอนนะ เราสอนด้วยความจริงจัง เป็นไปภายในหัวใจ ตั้งแต่ล้มลุกคลุกคลานมาจนกระทั่งเป็นอัตโนมัติ หมุนติ้วเลย ตลอด อยู่ในหัวใจนี้หมด

พากันตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญความดีนะ อย่าได้ปล่อยได้วางวันหนึ่งๆ อย่าไปเชื่อมันนักนะกิเลส ถ้าเชื่อกิเลสแล้วไม่มีทางที่จะผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ จะจมไปเรื่อยๆ จมไปตลอด ต้องอาศัยคุณงามความดี ทุกข์ยากลำบาก เอ้า ทน เราไม่ได้เกิดมาในท่ามกลางแห่งเศรษฐีแหละ เราเกิดมาจากท้องแม่ด้วยกันมีแต่ตัวล่อนจ้อนออกมา แล้วก็มาขวนขวายหาใหม่ ก็มีได้ด้วยกันนั้นแหละ อันนี้เราก็ขวนขวายหาใหม่ได้ด้วยกัน เอาละวันนี้พูดเพียงเท่านี้

ที่มา::
__________________
http://www.wimutti.net
"จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ"
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

กัมมุนาวัฏตีโลโก

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ สวนแสงธรรม
วันที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ [ค่ำ]
{หลวงตาเมตตาตอบคำถามปัญหาธรรมจากเว็บไซด์หลวงตา}
"พญานาคมีหรือไม่มี"

(ลูกศิษย์อ่านคำถามปัญหาธรรมที่ส่งเข้ามาทางเว็บไซด์หลวงตา เพื่อกราบเรียนถามหลวงตา) ข้อแรก กระผมขอกราบนมัสการเรียนถามหลวงตาว่า การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ท่านเหล่านั้นจะได้รับส่วนบุญที่เราทำบุญให้จริงหรือ และสิ่งของที่เราทำบุญให้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นของที่เราเคยกินเคยใช้ แต่เป็นของที่เราสร้างขึ้นแล้วมีประโยชน์ต่อสังคม เช่น สร้างที่พักเป็นต้น อยากทราบว่าท่านจะได้รับส่วนบุญกุศลที่เราสร้าง และอุทิศให้ท่านหรือไม่ กราบขอบพระคุณหลวงตา

หลวงตา : ถ้ามันไปตกนรกหมกไหม้เสียมันก็ไม่ได้รับ ที่ท่านแสดงไว้มี ไปตกนรกหมกไหม้เสียมันก็ไม่ได้รับ แล้วอันหนึ่งท่านแยกไปอีก แสดงไว้ในตำรา มันขัดในนี้ก็มี เป็นอยู่นะ ตามตำราว่าไว้งั้นนะ แต่ก็มาขัดตรงนี้ก็มี ไม่ใช่ไม่มีนะ แต่ที่ว่าขัดนี้จะว่าเราเป็นทิฐิมานะ ตำหนิติเตียนอันนั้น หรือคัดค้านสิ่งนั้นมันก็ไม่ใช่ มันมีของมันอยู่งั้น อันนี้มีความจริงอันหนึ่งในนี้ว่างั้นเถอะ ที่ควรจะขัดมันก็ขัดกัน ที่ไหนที่ไม่ขัดมันก็โล่งไปด้วยกัน มี ดังที่เขาอุทิศถวาย อยู่ในฐานะที่จะได้รับ พวกปรทัตตูปชีวีเปรต เปรตพวกนี้คอยรับเครื่องไทยทานจากบรรดาญาติมิตรทั้งหลาย อุทิศให้ นี่ได้รับร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วเปรตก็มีถึง ๑๓ จำพวก นอกนั้นไม่ได้รับ ได้รับจำพวกนี้

ท่านแสดงไว้ ผู้ไปสวรรค์ ไปอะไรเสีย อันนี้ในตำราเขาว่าไม่ได้รับ ว่างั้นนะ แต่มันมีขัดอยู่ในนี้ บุญกุศลบนสวรรค์พรหมโลกนั้นสูงกว่าบุญกุศลที่อุทิศ นี่มันขัด บุญกุศลด้วยกัน คนนั้นคนบุญ คนนี้คนบุญ อุทิศปั๊บถึงกันปุ๊บ เป็นอย่างงั้นนะ ท่านแสดงไว้ในตำรามี ส่วนผู้ที่ล่วงลับไปนั้นเคยใช้อะไรจำเจอยู่ตลอด แต่เวลาเราไปทำบุญให้ทานไม่ได้เอาสิ่งอย่างนั้นไปให้จะได้รับไหม คำว่าบุญก็คือแก้วสารพัดนึก อุทิศไปให้ อันไหนที่เป็นส่วนกุศลที่เหมาะสมกับผู้นั้นจะได้รับแล้ว จะเข้าถึง เหมาะสมกันทันที ไม่ขัดไม่แย้งกัน อย่างที่เราเคยสร้าง เคยทำ อยู่ในบ้านในเรือน สร้างนั้นสร้างนี้ ทำนั้นทำนี้ แต่เวลาตายแล้วไปสวรรค์ เลยกลายเป็นบ้านหลังหนึ่งขึ้นมา มาขัดกับอันนี้ บ้านหลังนั้นกับเจ้าของมันก็เลยขัดกัน เป็นคู่ความกัน ไม่เคยมีในบุญกุศล บุญกุศลท่านบอกเป็นแก้วสารพัดนึก พอเหมาะพอดีกับผู้ควรจะได้รับตลอด ๆ เมื่อควรได้รับแล้วถึงเลย ๆ เป็นความเหมาะสมกับผู้นั้นทันที ไม่ได้ไปขัดไปแย้งกัน ไม่ขัด ผ่านไปแล้วหรือข้อนี้ เออว่าไปอีกมีอะไร

(นักวิทยาศาสตร์ชื่อไอสไตน์ เขาเขียนว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ หลวงตาว่าจริงหรือเปล่าครับ) พระพุทธเจ้าจริง ไอสไตน์สแตว่ามาตั้งแต่โคตรพ่อโคตรแม่ไอสไตน์มันก็สู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ จะมาอวดอะไรภาษาไอสไตน์ กิเลสเต็มหัวใจมัน พระพุทธเจ้ากิเลสไม่มีในหัวใจ พุทธศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กับวิทยาศาสตร์มันผิดกันคนละโลก วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ของคนมีกิเลส มันจะไอไหนก็ตาม ยกหมดทั้งโคตรทั้งแซ่มาไอก็ตาม มาจามด้วยก็ตาม เข้าใจไหม นี่ก็คือไอจามของโคตรแซ่นี่แหละ มันไม่ได้เหมือนพระพุทธเจ้า ที่ว่าไม่ขัดกันคือเป็นหลักธรรมชาติ มันเข้าได้ในเป็นแง่ ๆ ที่เข้าได้ คือหลักพุทธศาสนานี้เป็นหลักธรรมชาติ ตรัสรู้ในหลักธรรมชาติ สิ่งใดมีจริงยังไง ๆ อย่างนี้รู้เห็นตามเป็นจริง สิ่งใดที่ควรแก้ได้ ไม่แก้ได้ ก็แก้ได้ตามหลักความเป็นจริง ๆ ท่านไม่ฝืน ไม่ขัดธรรมพระพุทธเจ้า ที่ว่านี้เราก็เคยได้ยิน แต่ไม่ตั้งเป็นปัญหามาถามเรา เราก็ไม่ตอบ เราเคยได้ยินไอสไตน์ นี่เรียกว่าเข้าในหลักธรรมชาติ แง่ไหนที่เข้าได้เราก็ยอมรับในหลักพุทธศาสนาของเรา มีอะไรอีก ตอบเสร็จแล้วผ่านไปแล้วไอสไตน์ ก็ยกมาหมดทั้งโคตรมันแล้วจะไม่หมดยังไง หรือมันมีหลายโคตรอีก มาเอามาอีก เราจะยกโคตรเราใส่ว่ะ เอาว่ามา

(เขาว่าพญานาคมีจริงหรือไม่) โคตรพ่อโคตรแม่มันไม่เคยเห็น มันมาถามหาอะไร พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ปฏิเสธพญานาคยังไง ก็มีแต่พวกตาบอดเท่านั้นมาหลับตาถาม ทีนี้ เวลาตอบลืมตาตอบมันก็เข้ากันไม่ได้ซิ พระพุทธเจ้าลืมตา มาถามสุ่มสี่สุ่มห้า อย่างคนตาบอดเขาก็บอกเขาตาบอด คนตาดีทั้งโลกเขาก็ไม่ปฏิเสธ แต่เขาตาบอดเขาก็บอกเขาตาบอด ก็ยอมให้เขาตามส่วน เราไม่ว่าอะไรแหละ พอพูดถึงเรื่องพญานาค หลวงพ่อผางสำคัญอยู่นะ กับพวกงูพวกพญานาค นี่ละอำนาจวาสนาของคน มีฤทธาศักดานุภาพ ปัจจุบันนี่หลวงพ่อผางขอนแก่น นั่นน่ะท่านบวชทีหลังเรา ตอนท่านไปเราก็อยู่ที่นั่นวัดนามน ที่ท่านศึกษาปรารภกับหลวงปู่มั่น ท่านก็เทศน์อย่างเด็ดทีเดียว นั่นล่ะท่านได้ธรรมะนั่นล่ะมา ใส่เปรี้ยง ๆ ลง ท่านคงเล็งดูแล้ว เหมาะแล้ว ธรรมะจึงไม่มีอ่อนข้อเลย เด็ดตลอดจนจบ ใส่เปรี้ยงๆ เหมือนคนโกรธแค้นกันมาได้ห้ากัปห้ากัลป์ พอมาก็ปรี่ใส่กันเลยว่างั้นเถอะน่ะ นั่นล่ะผู้ท่านได้อันนั้นมา มาพิจารณาก็ได้คติตั้งแต่นั้นมา เอาจนทะลุไป นี่ล่ะองค์นี้หลวงพ่อผาง แล้วก็เล่าถึงเรื่องของเรา

ท่านบอกว่าท่านเคยพบกับเราอยู่ที่นั่น นามน เล่าให้พระทั้งหลายฟัง เพราะตอนนี้เราก็มาขั้นครูขั้นอาจารย์แล้ว หลวงพ่อผางก็เป็นครูเป็นอาจารย์ไปแล้ว เลยเล่าเรื่องถึงกันเฉย ๆ ทีนี้เวลาท่านออกมาแล้วนี้ งู จระเข้ เหล่านี้ เหมือนกับท่านเป็นครูเลยเชียว พวกนี้หมอบกลัวหมด จระเข้ตัวหนึ่งมันอยู่ในสระที่วัดนั้น เราเคยไปแล้ววัดนี้ เวลาเขาไปปลูกกุฏิกลางน้ำ เวลาเผลอ ๆ คนกำลังทำกุฏิมันมางับเอาขาละซิ ร้องเอิ้กอ้ากขึ้นเลย พอร้องขึ้นหลวงพ่อผางก็มา พอมันได้ยินเสียงหลวงพ่อผางมันจำได้เลยนะ พอหลวงพ่อผางมานี่ไม่ทราบหนีไปไหนกลัว ถ้าได้ยินเสียงหลวงพ่อผาง หมอบเลย กลัว

แล้วทีนี้ไปพักภาวนาอยู่ทางน้ำหนาว นี่ล่ะที่สำคัญนะ มีหลวงพ่อองค์หนึ่งอยู่ทางด้านนู้น เดินจงกรมอยู่กลางวันนะไม่ใช่กลางคืน หลวงพ่อผางเดินจงกรมอยู่ทางนี้ องค์นั้นเดินอยู่ทางนั้น งูใหญ่ ใหญ่เท่ากับต้นมะพร้าว มานี้มายกคอขึ้นอ้าปากใส่หลวงตาองค์นี้ ตัวมันใหญ่กว่านี้ ฟังเสียงร้องว้อ ๆ ขึ้น ตอนนั้นก็เดินจงกรมอยู่ "เป็นอะไรว่ะ" "งูใหญ่ไม่ทราบมาจากไหน กำลังจะงับผม อ้าปากใส่ผมอยู่นี่" ท่านก็มาแล้ว ก็เห็นจริง ๆ กลางวันนะ หายก็หายในขณะนั้นเลยต่อหน้าต่อตา เป็นยังไงพญานาคมีหรือไม่มีฟังซิ ผู้เห็นท่านเห็นอยู่อย่างงั้น ผู้หลับตามันก็หลับอยู่งั้น พอมาก็เห็น โอ๊ย มันยกคอขึ้น ตัวเท่าต้นมะพร้าว ตัวยาว หลวงตานี้ก็เดินจงกรม ตัวแข็ง มันอ้าปาก มันไม่เข้ามาใกล้แหละ ห่างประมาณสักวาเศษ ๆ มันอ้าปากอยู่อย่างงี้ ตัวใหญ่

ทีนี้หลวงพ่อผางมา "ไหนมันอยู่ไหน" พอว่าท่านเดินเข้ามาเลยนะ หลวงพ่อผางไม่มีคำว่าสะทกสะท้าน มันก็อ้าปาก ทางนี้ก็เดินเข้าไป เอามึงจะกินกูเหรอ เอาเลย มึงชอบตรงไหนเอาเลย เดินบุกเข้าไปหาเลยเชียว มันกำลังอ้าปากอยู่ พรึบเดียวหายเงียบเลย ไม่ทราบหายไปไหน ตัวใหญ่ ๆ หายเดี๋ยวนั้นเลย ไปเงียบ บอกว่าพญานาคมันมาแกล้งเฉย ๆ ภาวนาเมตตามันไม่ดี นั่นเห็นไหมล่ะ ภาวนามันไม่คอยแผ่เมตตา พญานาคก็มาแกล้งเอาบ้าง นี่หลวงพ่อผาง ตัวใหญ่จริง ๆ ท่านบุกเข้าไปเลยนะ ที่มันอยู่นั้น ท่านเดินไปหาเลย ท่านไม่มีสะทกสะท้าน เอาเลยกินเรา เดินเข้าไปหาตรงนั้น หายวูบไปเลย เงียบเลย ไม่มี หายหมดทั้งตัว มันไปไหนไม่รู้ เวลาออกมาพูดว่ามาแกล้งหลวงพ่อ หลวงพ่อใจดำไม่มีเมตตาจิต มันมาแกล้งเอา

อันนี้ก็เข้ากันได้ ก็เรียนหนังสือเหมือนกันไม่ใช่หรือ ที่พวกพาไปภาวนาไม่แผ่เมตตา พวกเทวดาทั้งหลายเกิดความเดือดร้อน มาแสดงอาการทั้งหลายให้เห็น เป็นกะโหลกหัวผีบ้างอะไรบ้าง และทำพระให้ทั้งจามทั้งไอ เป็นไข้เป็นหนาว วิ่งไปหาพระพุทธเจ้า พระองค์รับสั่ง เวลาไปไม่สบาย "ไม่สบายซิพวกเธอใจดำ พวกเทพทั้งหลายเขาอยู่ที่นั่น เขาได้รับความลำบากลำบน เขาก็แกล้งเอาบ้าง ไม่มีเมตตาจิต ไป ไปเจริญเมตตาจิต ไปอยู่ที่นั่น" ไล่กลับมาที่เก่า ไปคราวนี้เจริญเมตตาจิตชุ่มเย็นหมดเลย อำนาจเมตตาธรรมไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เป็นธรรมชนะโลก สุดยอดอยู่กับเมตตาธรรม ให้พากันจำไว้นะ

เมตตาธรรมคือความอ่อนนิ่ม ถ้าพวกเราพูดออกมา และมาเป็นสมมุติอย่างนี้ เรียกว่าความอ่อนนิ่มทุกตัวสัตว์ไม่เป็นภัยต่อผู้ใดเลย เพราะฉะนั้นจึงเข้าได้หมดเมตตาธรรม จะเป็นโหดร้ายมา ทารุณขนาดไหนก็ตาม อำนาจเมตตาธรรมนี้นิ่มไปหมด ลบล้างได้หมดเลย พระเหล่านั้นเลยเจริญสมณธรรมได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน เยอะนะ อยู่ในนั้น พวกเทพ พวกเทวดา รุกขเทวดาอยู่บนต้นไม้เขาเคารพเขาก็ลงมาอยู่ข้างล่าง ลำบากลำบน เพราะพวกนี้เคยอยู่ต้นไม้ใช่ไหมล่ะ พระก็เป็นพระใจดำน้ำขุ่น อยู่นานไปเห็นท่าจะไม่ได้การณ์เขาก็เลยกลั่นแกล้งเอาบ้าง พระเหล่านี้เป็นหวัด เป็นไอ เป็นอะไรเป็นไข้บ้าง บางทีเป็นกะโหลกหัวผีมาอยู่ทางจงกรมบ้าง อะไรบ้าง เขาแกล้งทำต่าง ๆ พอไปหาพระพุทธเจ้า พระองค์รับสั่งไล่กลับมาที่เก่าเลย ให้เจริญเมตตาอย่างนั้น ๆ เหตุการณ์ทั้งหลายจะเปลี่ยนไปหมด มาก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ

พูดถึงเรื่องหลวงพ่อผางที่ว่างูใหญ่นั่นก็เห็นประจักษ์อย่างนั้นแล้ว พรึบหายเงียบ ไม่ทราบไปไหน ทั้ง ๆ ที่ท่านเดินบุกเข้าไปหาเลยนะ ไม่มีสะทกสะท้าน เอาเลย ต้องการอันไหนเอาเลย เดินเข้าไปหามันพรึบเดียวหมดเลย ไปไหนไม่รู้ จึงได้มาสอนหลวงพ่อ ที่ถ้ำนั้นอีกเหมือนกันนั่นแหละพระไปอยู่ก็เป็นพระขลัง ๆ ไปอยู่แทนที่จะเจริญเมตตาภาวนาชำระจิตใจตามหลักธรรมพระพุทธเจ้า กลับไปทำแต่ของขลัง ทำนั้นทำนี้มีแต่ของขลัง ๆ แบบโลกแบบกิเลสตัณหาไปหมด พวกเทวดาทั้งหลายเขาก็รำคาญ แทนที่จะเป็นศีลเป็นธรรมให้ได้รับความร่มเย็นยิบ ๆ แย็บ ๆ ก็ไม่มี ดีไม่ดีมีพระสองสามองค์ไปก็ไปทะเลาะกัน สร้างความรำคาญให้เขาอีก เขาก็มาดลบันดาลให้พระเหล่านี้หนีจากนั้นเลย

พระองค์ไหนมาถ้าไม่เป็นศีลเป็นธรรม พวกรุกขเทพเหล่านั้นเขาหาอุบายขับไล่ อยู่ไม่ได้ จนร่ำลือสถานที่นั่น นี่ก็ทางน้ำหนาวเหมือนกัน นี่ก็หลวงพ่อผางไปอยู่ พอมันนานมาจนร่ำลือว่าที่นี่มันแข็งอะไรต่ออะไร ทางภาษาภาคอีสานเขาเรียกมันเข็ดมันขวาง ทางนี้เรียกว่ามันแข็งมันแรง เวลาท่านไปอยู่ที่นั่นเขาก็บอกเลยอยู่ที่นี่อยู่ไม่ได้นะ เป็นอย่างงั้นอย่างงี้ เป็นก็เป็นเถอะ ท่านไม่สนใจแหละ จะพักที่นี่ เวลาพักแล้วท่านไม่ใช่พระขลังแบบนั้นซิ ท่านเป็นอรรถเป็นธรรม ไปอยู่นั้นพวกเทพทั้งหลายเข้ามาหา เขามาเล่าเรื่องถึงพระองค์นั้นให้ฟัง เล่าเรื่องพระที่มาอยู่ที่นี่ให้ฟัง เป็นอย่างงั้นเป็นอย่างนี้ เขาเล่าให้ฟัง

ตกลงเรียกว่าเทวดาเล่าให้ฟังเสียเอง ประชาชนสู้เทวดาเล่าให้ฟังไม่ได้ ประชาชนว่ามานี่ทะเลาะกันเรื่องนั้นเรื่องนี้บ้าง แตกกันไป องค์ไหนมาก็มาทะเลาะกัน มาหาแต่ของขลัง ๆ ทำตระกุดบ้าง ทำอะไรทุกอย่างอะไรที่มันขลัง ๆ แล้วก็แตกกันไป มามีหลายพวกแล้วนะพระ อยู่ที่นี่ไม่ได้ เขาว่างั้นประชาชน แต่เวลาเทวดามาพูด เทวดานี่ละทำเอา มาแล้วมาทำตั้งแต่ของอย่างนั้น ของสกปรก เทวดาเขายังรู้ของสกปรก พระทำไมไม่รู้ เขากลั่นแกล้งเอาบ้าง เลยแตกหนี ทีนี้เวลาท่านมาอยู่ที่นั่น ขอนิมนต์ไม่ยอมให้ท่านหนีไปไหน อยู่ที่นั่น ที่นี่มีความชุ่มเย็นไปหมดทุกแห่งทุกหน ท่านก็อยู่นาน อยู่สถานที่นั่น และต่อไปก็ดูเหมือนเป็นวัดขึ้น เราก็ลืม ๆ ตอนนั้น หากทราบตั้งแต่ไปอยู่ทีแรกอยู่ไม่ได้ แต่ท่านไปอยู่ได้จนกระทั่งพวกเทพทั้งหลายเขาอาราธนานิมนต์ท่าน ไม่อยากให้ท่านหนี เขามีความชุ่มเย็นเป็นสุข ทุกสิ่งทุกอย่างราบรื่นดีงามไปหมด ท่านมาพักอยู่ที่นี่ร่มเย็นมาก ว่างั้น ไม่อยากให้ท่านไปไหน ท่านก็รู้สึกว่าพักอยู่นานอยู่นะ ก็เห็นใจเทวดาเหมือนกัน เรื่องพญานาค ฟังรึยัง ตอบกันเดี๋ยวนี้

(มีอีกข้อครับผม พระบางรูปเขียนประวัติตัวเอง และบอกว่าบรรลุธรรม และมีผู้หลงเชื่อมากมาย มีบางคนไม่เชื่อก็ถอยห่างออกมา แต่ผู้ที่หลงเชื่อ ถามว่าอย่างนี้เรียกว่าเป็นกรรมของสัตว์ได้ไหมครับ) สัตว์ตัวไหนเราก็อยากถาม ถ้าสัตว์ตัวไปเชื่อกับเขาก็เป็นสัตว์ตัวนี้แหละ ถ้าสิ่งเลวร้ายนี้มันเชื่อง่าย ลูกศิษย์หลวงตาบัวนี้มีแต่พวกเชื่อทั้งนั้น ๆ เราจึงไม่อยากตำหนิคนอื่น ถ้ามาตำหนิมาตำหนิลูกศิษย์เราเสียเอง เขามาว่าก็มาว่าลูกศิษย์เราเอง เราเขกกบาลมันก็ได้ จะไปว่าคนอื่นไม่ได้นะ ไม่ใช่ลูกศิษย์เรา ลูกศิษย์เรามันหูเบาเชื่อง่าย ใครพูดยังไงมันก็เชื่อ ๆ ส่วนที่มีเหตุผลต้นปลายที่จะเป็นหลักเป็นเกณฑ์ให้ยึดให้ถือมันไม่ค่อยเชื่อ กิเลสมันปัด ๆ อยู่ภายใน ถ้าอย่างงั้นมันเชื่อ แต่ก็อย่างว่า ถ้าเรื่องของจริงกับของปลอม ของปลอมมันไม่นาน มันเป็นของมันไปเอง ถ้าของจริงแล้วคงเส้นคงวาหนาแน่นตลอดไป ก็เท่านั้นมีอะไรอีก

(ผู้ถามกับเพื่อนไปเจองูคาบกบเอาไว้แต่ยังไม่ตาย กบก็ร้องหาคนช่วย เพื่อน เอาไม้ไปเขี่ยให้งูเกาะ เพื่อนอีกคนบอกว่าไม่ถูก เพราะว่าเขาหากินโดยสุจริตตามวิสัย สัตว์ของเขา กราบนมัสการถามหลวงตาว่า โปรดเมตตาช่วยชี้แนะความถูกต้องด้วย เพราะเรื่องนี้ก็พบเห็นกันอยู่ทั่ว ๆ ไป) อ๋อ อันนี้ไม่ต้องพูดงูกับกบล่ะ อย่างไอ้หมีเราอยู่ในศาลานั้นมันขู่คำรามใครไม้เรียวหวดเอาเลย ถ้าผิดแล้วเราตีไอ้หมีเรา มันขู่คำรามเขา ไม่ถึงกับงูกับเขียดได้กัดกันอย่างงั้น เพียงขู่คำรามไม้เรียวเราลงแล้วไอ้หมีเปิดเลย ตอบแล้วใช่ไหม เท่านั้นแหละไม่ตอบมาก ตอบอะไรมากมาย

หมดปัญหาแล้วไม่ใช่เหรอ หายสงสัยแล้วไม่ใช่เหรอที่พูด หรือใครมาด้วยกัน จับมากัดกันให้หมดอยู่ในนี้นะ ถ้าว่าการอยู่ด้วยกันนี้ไม่ดี สู้กัดกันไม่ได้ ปิดประตูแล้วให้กัดกัน ให้หลวงตาบัวเป็นผู้ชำระหมากัดกันนี้ หลวงตาจะชำระแบบไหนท่านทั้งหลายคอยฟังก็แล้วกัน เอาล่ะพอ เข้ากันได้ไหมที่ว่า (ได้ครับ ) เอาล่ะเข้ากันได้ก็ผ่านไปเลย หมดแล้วเหรอปัญหา (หมดแล้วครับ) อ๋อ หมดแล้ว

ตรงสำคัญตรงโคตรน่ะนะ จะได้ออกทั่วโลก อย่ามาถามนะ แบบเรา มันไม่มีนะสูงต่ำอะไร มันตรงเป๋งเลยนะ อะไรเป็นน้ำหนักจะเอาเข้ามาทันที ที่ว่าโคตรว่าแซ่เราไม่ได้มีเจตนาเรื่องหยาบช้าลามกนะไม่มี อย่างนั้นไม่มี ในธรรมไม่มี ท่านเอาน้ำหนักต่างหาก คือคนธรรมดาคนหนึ่งสองคนไม่มีน้ำหนัก โคตรแซ่มีน้ำหนักมาก รักสงวนมาก เทิดทูนมาก ใช่ไหม เอาตัวนั้นมา ยกมาตีทางนี้ หมายความว่าอย่างงั้นต่างหาก

เรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องของคนตาบอดสุดวิสัยนะ คนตาดีอยู่มีวิสัยธรรมดา เหมือนเราคนตาดีด้วยกันไปไหนอยู่ในวิสัยธรรมดา แต่คนตาบอดสุดวิสัยไปหมดนะ ส่วนที่เห็นมันไม่เห็นเสีย คนหูหนวกควรได้ยินมันไม่ได้ยินเสีย สุดวิสัยของมัน แต่คนตาดีอยู่ในวิสัย ควรเห็นเห็นทันที ควรได้ยินได้ยินทันที เป็นธรรมดา มันก็ขัดกันอยู่เพียงเท่านี้เอง จะเอาคนตาดีมาแข่งคนตาบอด เอาคนหูหนวกมาแข่งคนหูดีไม่ได้ ต้องปล่อยไว้ตามสภาพของใครของเรา อย่างที่สิ่งเหล่านี้มีแต่คนตาดี โลกวิทูทั้งนั้นแสดงไว้ทั้งหมด ไม่มีองค์ไหนคัดค้านองค์ใดเลย

แม้แต่สาวกที่ไปเจอเข้ามาอย่างนี้ก็เหมือนกัน พอมาเล่าทูลถวายพระพุทธเจ้า เอ้อ อันนี้เราเห็นแล้วตั้งแต่นู้น ๆ ถ้าไม่มีอะไรท่านก็เหมือนไม่รู้ไม่ชี้ เห็นด้วยกันมันก็ค้านกันไม่ได้ คนหนึ่งตาบอด คนหนึ่งตาดี มันค้านกันวันยังค่ำ พวกเราพูดอะไรมันก็ค้านกันอยู่ในนั้น เพราะมันไม่เห็น และมันเอาความไม่เห็นเป็นใหญ่เป็นโต เป็นอำนาจบาตรหลวง มันไม่ยอมรับความจริง ท่านผู้รู้ผู้เห็นท่านรู้ตามความจริง เห็นตามความจริง ท่านไม่ได้ฝืนอะไร พวกนี้พวกฝืน มันต่างกันนะ

พวกสัตว์ยิ่งตาบอด ยิ่งหนายิ่งแน่นขึ้นทุกวัน ๆ สิ่งทั้งหลายนี้จะถูกความตาบอดหนาแน่นนี่กดลงเหยียบลง ๆ หมด เรียกว่าแร่ธาตุที่มีคุณค่ามหาศาลจะถูกเหยียบย่ำทำลายลงด้วยฝ่าเท้าของคนกิเลสหนาปัญญาหยาบ เหยียบลงเรื่อย ๆ อย่างทุกวันนี้ไม่เห็นเหรอ เทศน์บางทียังออกจนดูแล้วดูสลดสังเวช ว่างี้เลยก็ว่า เราเทศน์บนธรรมาสน์ ก็เอาความจริงออกเทศน์ ไม่ได้ดูถูกเหยียดหยามผู้ใด รู้เห็นตามความจริง พูดออกมาตามความจริง ถึงกับขั้นเกิดความสลดสังเวช ก็มันไม่มีกิริยาอาการของอรรถของธรรมแทรกเลย มีแต่เรื่องกิเลสเต็มเนื้อเต็มตัว แสดงออกที่ไหน ๆ มันมีแต่อย่างงั้น ศาสนามันอยู่ที่ไหนน่ะ มันไม่มองเห็นเลย มันมีแต่ลมปาก

เมื่อถามถือศาสนาอะไร ถือศาสนาพุทธ ก็มีเพียงลมปาก หัวใจไม่ได้เป็นพุทธ มันเป็นส้วมเป็นถานอยู่ตลอดเวลา ศาสนาไม่ใช่ส้วมถานมันก็เข้ากันไม่ได้ มันสลดสังเวชนะ ยิ่งหนาขึ้นทุกวันนะ แล้วผู้ที่จะรื้อฟื้นมีใครบ้างมารื้อฟื้น สำคัญตรงนี้นะ มีแต่ต่างคนต่างเหยียบไปด้วยกัน เหยียบอรรถเหยียบธรรมไปด้วยกัน ฝ่าฝืนหลักธรรมหลักวินัย หลักศาสนา ทั้งพระทั้งฆราวาสต่างคนต่างหนาด้วยกัน ความหนานั่นละมันลากเข็นลงไปให้เหยียบให้ย่ำทำลายของดิบของดีทั้งหลาย จนกระทั่งไม่มีอะไรเหลือติดตัว พระเรานี้สร้างความชั่วช้าลามกหนาแน่นมากกว่าฆราวาสเรามีน้อยเมื่อไร เอาเพียงผ้าเหลืองมาครอบเฉย ๆ

นี่เอาความจริงมาพูด กิเลสมันไม่ได้บวชนี่นะ บวชแต่คนเฉย ๆ บวช อุปัชฌาย์อาจารย์ก็บวชแต่กิเลสมันอยู่เบื้องหลัง มันไม่ได้บวช บวชไปแล้วกิเลสมันไม่อายบาป อยากทำอะไรมันก็ทำ บีบหัวใจพระที่บวชแล้วให้ทำตามความชอบใจของมัน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีหิริโอตตัปปะ และสร้างบาปสร้างกรรมหนามากยิ่งกว่าโยมพระเรา นี้เอาหลักความจริงมา ผู้ดีเราไม่ว่า ผู้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักของพระจริง ๆ แล้วนั้นเราชมเชย เทิดทูนตลอด ไอ้ที่เลวนี้ไม่มีใครเอามาพูด มันมีอยู่จะไม่เอามาพูดได้ยังไง ของมีอยู่ด้วยกันก็ต้องเอามาพูดซิ เลวร้ายขนาดนั้นนะ

บวชเข้ามาแล้วแทนที่จะมีหิริโอตตัปปะ ละอาย กลัวต่อบาปต่อกรรม สำรวมระวังในอรรถธรรมในวินัย มันไม่ได้เป็น ดีไม่ดีเอาเพศของตัวเองนี้เป็นเจ้าอำนาจบาตรหลวง ไปไหนเลยกลายเป็นความเย่อหยิ่งจองหองว่าเราเป็นพระ ๆ ใครจะไปทำอะไรๆ อย่างนี้ใครเขาก็ไม่กล้าแตะ เขากลัวบาป ประชาชนเขายังกลัวบาป ตัวเองหัวโล้น ๆ ผ้าเหลือง ๆ ไม่กลัวบาป มันก็สนุกทำชั่วไปได้ล่ะซิ เพราะฉะนั้น จึงไม่นิยม ในนรกไม่มีว่าพระ ว่าฆราวาส ว่าสัตว์ตัวใดทำกรรมเอาไว้ ตกนรกได้แบบเดียวกันหมด ไม่มีคำว่าพระว่าโยม ทำชั่วลงไปแบบเดียวกันหมด เป็นอย่างนั้น

ทำดีก็เหมือนกัน ไม่มีฆราวาส ไม่มีพระ ไปดีด้วยกันหมด ถ้าทำชั่วแล้วเลวด้วยกันหมด ไม่มีอะไรที่จะแม่นยำยิ่งกว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณาไปตรงไหนค้านไม่ได้เลยนี่ซิ พิจารณาด้วยภาคปฏิบัติล่ะซิ เพียงเราคาดเราหมายไปเฉย ๆ อันนั้นมันก็เป็นอีกแง่หนึ่งโลกหนึ่ง แต่ภาคปฏิบัตินี่ซิจับความจริงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งรู้เห็นความจริงขึ้นมา รู้ยังไง เห็นยังไง เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้แล้วเห็นแล้ว ๆ ทั้งนั้น ๆ ไม่ว่ารู้กิเลส ละกิเลส ไม่ว่ารู้สิ่งภายนอกทางดีและชั่วต่าง ๆ มันรู้จริงๆ เห็นจริงๆ ถ้าสิ่งที่ควรละก็ละได้จริง ๆ เช่นกิเลสในหัวใจ ผู้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นอรหันต์ นี่ที่ละกิเลสได้พระพุทธเจ้า กิเลสมีพระพุทธเจ้าก็บอกว่ามี ละกิเลสก็ละตัวที่มันมีอยู่นั้นแหละ จนกระทั่งกิเลสไม่มี เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาก็เป็นตามทางของศาสดาที่สอนไว้ ผิดที่ตรงไหน ไม่ผิด

ออกไปนอกไปในอะไรเหมือนกันหมด คำสอนอันนี้ เอกนามกึ íไม่มีสอง ทรงหยั่งทราบตลอดทั่วถึง แม่นยำไปหมด จึงไม่มีศาสนาใด ๆ ที่จะมาแข่งได้ว่างั้นเลย พุทธศาสนาแม่นยำมากที่สุด ไม่มีคลาดเคลื่อนจากหลักความจริงเลย ตรงเป๋ง ๆ สอนลงที่หัวใจเสียด้วย หัวใจเป็นตัวดีดตัวดิ้น แล้วฝังจมอยู่นั้น ทั้งกิเลสทั้งธรรม อยู่ในหัวใจดวงเดียวกัน พระพุทธเจ้าก็บอกว่าฝังอยู่ที่นี่ ให้แก้ตัวนี้ แก้กิเลสที่มันอยู่ภายในใจ มันแสดงฤทธิ์เดชของมันไปตามอารมณ์ของกิเลส ธรรมเกิดอยู่ภายในใจแสดงฤทธิ์แสดงเดชไปตามเรื่องของอรรถของธรรม

ถ้าเป็นเรื่องของอรรถของธรรมก็พาคนให้ดิบให้ดี เจตนาการพูดการจา การทำดีไป ๆ นี้คือธรรม ไปตามสายของธรรม ถ้าไปตามสายกิเลส ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำ ไปตามสายของกิเลสต่ำลง ๆ ชั่วช้าลามกทั้งนั้น แก้ตรงนี้ เช่นอย่างแก้กิเลสหมดแล้วความชั่วก็ไม่มี ท่านจะไปทำความชั่วหาอะไร มันไม่มีความอยากทำความชั่ว ในหัวใจของท่านก็ไม่มีความชั่วพอจะเป็นต้นเหตุให้อยากทำชั่วเพิ่มเติมเข้าอีกท่านไม่มี อย่างใจพระอรหันต์เอาอะไรไปให้ท่านมัวหมองท่านไม่มี เป็นอฐานะแล้ว ตายท่านก็ตายด้วยความไม่มีอะไร

เขาจะดุด่าว่ากล่าวนินทา อะไรแบบไหนก็ตาม หรือโจมตีท่าน ว่าไงก็เป็นเรื่องปากของเขา ท่านไม่ไปสนใจกับกรรมชั่วที่เขาสร้างขึ้นมา ท่านดีอยู่แล้วท่านไม่มีอะไร ใครสร้างขึ้นมาก็เป็นเรื่องกรรมของผู้นั้น สร้างดีสร้างชั่วเกิดขึ้นจากกิริยาของจิตที่แสดงออกมาตั้งแต่เริ่มคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี เจ้าของเองเป็นผู้สร้าง แล้วใครจะเป็นผู้รับกรรม ก็เจ้าของเป็นผู้สร้าง เจ้าของเป็นผู้รับกรรม เรียกว่า กมฺมสฺสโกมฺหิ กรรมเป็นของเราเองผู้สร้าง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านไม่มีอะไรกับใคร ถึงใครจะมาว่าอะไรมันก็เป็นเรื่องของเขาทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องของท่าน ท่านไม่มีอะไร ท่านไม่ก่อขึ้น ท่านไม่มีก็ไม่มี

นี่จึงได้พูดอยู่เสมอย้ำแล้วย้ำเล่า เรื่องพุทธศาสนานี้เอกเลยนะ ไม่มีแล้วในโลก สามโลกนี้ไม่มีเสมือนพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ อันนี้เป็นแบบเดียวกันเป๋งเลย เดินตามแถวกันมาเลย แล้วยังเล็งญาณอีกด้วย พระพุทธเจ้าองค์นี้ เล็งญาณเอาไว้ ๆ ต่อจากนั้นจะเป็นอย่างนั้น ๆ ก็เป็นไปตามนั้น องค์นี้มาตรัสรู้ก็เล็งญาณเอาไว้ ๆ ญาณของท่านเป็นญาณหยั่งทราบ เอกนามกึí คือหนึ่งไม่มีสอง แน่ แม่นยำโดยถ่ายเดียว เป็นอย่างนี้ด้วยกัน พระพุทธเจ้าองค์ไหนตรัสรู้ก็มีพระญาณหยั่งทราบเหมือนกัน ๆ ไปหมด อย่างที่ว่าพระอริยเมตไตรย ในภัทรกัปนี้ก็มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ห้าองค์ กกุสันโธ โกนาคมน์ กัสสโป โคตโม อริยเมตเตยโย ท่านก็รับสั่งไว้เรียบร้อยแล้ว

พระอริยเมตไตรยนี้เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองราชสมบัติอยู่สี่หมื่นปี ระยะนั้นอายุของสัตว์โลกมีอยู่ถึงแปดหมื่นปีนะ ท่านครองราชย์สมบัติอยู่สี่หมื่นปีเสด็จออกทรงผนวช เพียง ๗ วันตรัสรู้ธรรมขึ้นมาในต้นไม้ เขาเรียกต้นอะไร เราลืม บำเพ็ญง่าย ตรัสรู้เร็ว แล้วครองศาสนาอยู่เป็นเวลาสี่หมื่นปี พอนิพพานแล้วศาสนาไปพร้อมกันหมดเลย ท่านก็บอกไม่ยากเหมือนเรา เราลำบากลำบน อายุของเราก็เพียง ๘๐ ท่านก็พูดไว้แล้ว ๘๐ พอถึงกาลเวลาก็ ๘๐ เห็นไหมล่ะ เสด็จไปเลย ถึงวันนั้นแล้วเสด็จ เดือน ๓ เพ็ญ เป็นวันปลงพระชนมายุ ลั่นพระวาจาว่า จากนี้ต่อไปอีก ๓ เดือน เราจะตายความหมายว่างั้น คือไปถึงเดือน ๖ เพ็ญ

พอเดือน ๖ เพ็ญ เสด็จไปเลยเห็นไหมล่ะ สะทกสะท้านอะไร เสด็จไปตามพระญาณหยั่งทราบว่าจะต้องปรินิพพานในวันเดือน ๖ เพ็ญ พอไปถึงสวนมัลลกษัตริย์ เมื่อเขาทูลถามว่ามายังไง จะมาตายที่นี่ในคืนวันนี้ นั่นเห็นไหมล่ะ เขาก็จัดที่จัดฐานรับรองท่าน ท่านบอกว่าท่านจะมาตายที่นี่ในคืนวันนี้ สั่งไว้ขนาดนั้น ผิดไหมล่ะ พอถึงนั้นแล้วในคืนวันนั้นก็มีพราหมณ์สุภัททะ พราหมณ์คนนี้ก็เป็นพวกชาติอริยกะเหมือนกันกับพระพุทธเจ้า แต่เป็นรุ่นแก่เหมือนว่าเป็นปู่เป็นย่า พระพุทธเจ้านี่เป็นลูกเป็นหลาน ถึงจะเป็นชาติอริยกะเหมือนกันก็อ่อนในชาติ เป็นลูกเป็นหลานเสีย ก็ถือทิฐิมานะไม่อยากฟังเสียง ไม่ยอมเชื่อ มาถามลูกถามหลานมันเสียเกียรติ ความหมายว่างั้นแหละ ไม่ถามตลอดมา พระองค์ก็ทรงทราบ

จนกระทั่งถึงวันแล้วก็เล็งญาณดู พราหมณ์แก่คนนี้คนหนึ่งละจะได้บรรลุธรรม พอเสด็จมาถึงที่นั่นแล้ว พราหมณ์คนนี้ก็ลงใจ เอ้อ นี่เป็นวันสุดท้ายของพระสมณโคดม พระพุทธเจ้าเราที่จะมาปรินิพพานวันนี้ ท่านรับสั่งอะไรไม่เคยผิดเคยพลาด วันนี้ท่านก็รับสั่งท่านจะมานิพพานในคืนวันนี้ เราแต่ก่อนก็ถือทิฐิมานะ ว่าเราแก่กว่าแม้เป็นชาติอริยกะ ก็เราเป็นขั้นปู่ ย่า ตา ยาย จะไปถามเด็กไม่เหมาะสม ทีนี้ท่านก็จะปรินิพพานแล้ว ถ้าเราไม่ถามเวลานี้จะถามเวลาไหน ปลงใจลงได้เลย เอาไปถาม คราวนี้เป็นคราวสุดท้าย พอไปถูกพระอานนท์ห้ามไม่ให้เข้าเฝ้า ว่าเวลานี้พระองค์ทรงเพียบมากแล้ว พระองค์รับสั่งทันที ทราบว่าแกมา "ให้มา เรามาที่นี่เพื่อพราหมณ์คนนี้แหละ"

พอมาก็มาถามถึงเรื่องศาสนาต่าง ๆ เพราะโลกมันมีหลายศาสนามาดั้งเดิมนะ ศาสนาไหนก็ว่าแต่ศาสนาของตัวดี ก็เลยไม่ทราบจะยึดเอาศาสนาไหนเป็นหลักเป็นเกณฑ์ มาทูลถาม เอ้อ เวลาของเรามีน้อยอย่าถามเรามากไปเลย ศาสนาใด ๆ ท่านไม่บรรยาย ศาสนาใดที่มีมรรคแปด มีอริยสัจ ศาสนานั้นแลจะทรงมรรคทรงผล สมณะที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ จะมีในศาสนานั้น สมณที่หนึ่งได้แก่พระโสดา ที่สองพระสกิทาคา ที่สามได้แก่พระอนาคา ที่สี่ได้แก่พระอรหัตบุคคล อยู่ในศาสนานี้ที่มีมรรคแปด อริยสัจสี่ ทรงสั่งสอนย่อ ๆ แล้วรับสั่งให้พระอานนท์ไปบวชให้เสีย บวชแล้วให้บำเพ็ญได้เป็นพระอรหันต์ปัจฉิมสาวก พร้อมกับการตายของเรา ให้พระอานนท์บวชให้

พอบวชให้แล้วก็รับสั่ง "อย่ามากังวลกับเรื่องความเป็นความตายของเรา ให้พิจารณาเรื่องความเป็นความตายของตัวเอง ซึ่งเป็นอริยสัจ พิจารณาเรื่องความเป็นความตายของตัวเอง อริยสัจอยู่นั่น มรรคแปดอยู่ที่นั่น" สอนลงไปที่นั่น "ให้ไปบำเพ็ญ ไม่ให้มากังวลกับเรา จะเป็นจะตายเมื่อไรไม่ต้องกังวล ให้บำเพ็ญสมณธรรม" ก็บำเพ็ญในคืนวันนั้น บรรลุธรรมปึ๋งขึ้นมาเป็นอรหันต์ แล้วเป็นกาลเวลาเดียวกันกับพระพุทธเจ้าปรินิพพาน นั้นก็เลยเป็นปัจฉิมสาวกองค์สุดท้าย

เห็นไหมล่ะรับสั่งจะมาตายวันนี้ก็เลยตายอย่างงั้นจริงๆ เป็นอย่างงั้นผิดพลาดที่ไหนลงได้รับสั่งแล้ว ไม่มีผิดพลาด พระญาณหยั่งทราบ นี่พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เลิศเลอสุดยอดแล้ว เรานี้เรียกว่าตัดคอรองเลย เราไม่มีแม้เม็ดหินเม็ดทรายที่จะค้านพระโอวาทของพระพุทธเจ้าได้แม้นิดหนึ่งไม่มีเลย ปฏิบัติไปตรงไหน รู้ตรงไหนมันยอมรับ ๆ เมื่อยอมรับแล้วก็เป็นพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แล้ว มันก็เป็นซ้ำเข้าอีกเป็นสอง ๆ เจ้าของรู้ เจ้าของยอมรับ แล้วยังพระพุทธเจ้าเป็นสักขีพยานอีก ทรงสอนไว้เรียบร้อยแล้ว ที่รู้ที่เห็นนี้ ไม่ใช่พึ่งมารู้มาเห็น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แล้ว ๆ แล้วมันจะค้านได้ที่ไหนล่ะ

ความจริงในหัวใจมันก็ไม่ค้านตัวเอง พระพุทธเจ้าก็ทรงรู้แล้วเห็นแล้ว สอนไว้เรียบร้อยแล้ว มันก็จะไปค้านที่ไหนอีก นั่นยิ่งเป็นศาสดาเอกอีกด้วย ท่านว่าอะไรไม่มีผิดมีพลาดเป็นอย่างงั้น สอนอย่างแม่นยำ เป็นแถวเป็นแนวเลย นี่เรียกว่าขีดเส้นตายเลยนะกับพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า หัวใจเรานี้ขีดเส้นตายไปเลย ไม่มีอะไรมาแยกไปได้เลย แยกหัวใจเราจากพุทธศาสนานี้ ไม่มีอะไรจะมาแยกไปไหนได้เลย เรียกว่าแน่วเลย มอบหมดทุกอย่าง เรียกว่ายอมรับหมด ตัดคอรองได้เลย ตายยอมตายไปเลย ไม่มีอะไรเสียดาย มันแน่ขนาดนั้นนะ

ทีนี้เวลารู้ทุกสิ่งทุกอย่าง มันก็แน่อยู่ในหัวใจ แน่ไปทางไหนมันก็เป็นสักขีพยานกัน เป็นความจริงเหมือนกัน ๆ ก็ไม่ทราบจะไปสงสัยอะไร มันแน่อยู่ในนี้แล้วไปตรงไหนก็แน่อย่างเดียวกัน ไม่ว่าข้างนอกข้างในแน่แบบเดียวกัน แล้วจะไปค้านกันได้ที่ตรงไหน มันก็ยอมรับซิ นี่เรามีวาสนานะได้มาพบพุทธศาสนา ศาสนามีเต็มโลกเต็มสงสาร มีมากต่อมาก

วันนี้ก็เอาอันนี้เป็นเทศน์ไปเลย มันก็ลงแล้วออกทางอินเตอร์เน็ตแล้วนะ ขอให้พากันสืบทอดให้ได้นะ พุทธศาสนาของเราเอกทีเดียว สืบทอดให้ได้จากภาคปฏิบัติของเรา อยู่เป็นฆราวาสเหย้าเรือนก็ให้ปฏิบัติศีลธรรมตามเพศของตน ผู้บวชเป็นพระก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติตามจารีตของพระ อย่าให้คลาดเคลื่อนในหลักธรรมหลักวินัย เราจะอบอุ่นตลอดไป ไปที่ไหนมีศาสดาติดตัว ๆ ติดใจ ติดมรรยาท ก็ธรรมวินัยนั้นแหละเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย "พระธรรมและพระวินัยนั้นแลจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายแทนเราตถาคต เมื่อเราตายไปแล้ว" ก็เมื่อเรามีความสำรวมอยู่ในธรรมและวินัย ระมัดระวังนี้ก็เท่ากับเราตามเสด็จพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ห่างเหินพระองค์เลย ตลอดมรรค ผล นิพพาน ติดกันไปด้วย

ถ้าห่างจากนี้จับชายจีวรก็ไม่เกิดประโยชน์ เกาะชายจีวรไปจีวรขาดเฉย ๆ เราก็ตกตูมลงนรกตามเดิม จีวรขาด จีวรไม่ยอมตกนรกด้วย จีวรขาดแล้วตกแต่เรา ถ้าฝ่าฝืนธรรมวินัยก็คือฝ่าฝืนองค์ศาสดา เหยียบย่ำทำลายศาสดานั้นเอง คือธรรมวินัยนั้นแลเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ท่านบอกไว้ชัดเจนมากแทนเราตถาคตเมื่อเราตายไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงให้เทิดหลักธรรมหลักวินัยนี้ไว้ สอนไว้ถูกต้องแล้ว นี่เป็นองค์แทนศาสดา พระอานนท์ก็ไปทูลอาราธนาให้ทรงพระชนม์อยู่ตั้งหลายปีหลายเดือน "อานนท์จะมาหวังอะไรกับเราอีก อะไรๆ เราก็สอนหมดทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว นี่ก็ยังเหลือแต่ร่างกระดูก จะมาหวังอะไรกับเราอีก"

ทีแรกก็ขู่เสียก่อน ครั้นต่อมาจึงมาปลอบโยนบ้าง "เออ อานนท์ พระธรรมและพระวินัยนั้นแลจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายแทนเราตถาคต เมื่อเราตายไปแล้ว" และรับสั่งอีก "อานนท์ เมื่อมีผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมหลักวินัยที่เราประกาศสอนไว้ ซึ่งเป็นองค์ศาสดาของเราด้วยแล้วนี้อยู่ พระอรหันต์ไม่สูญจากโลกนะอานนท์" ก็อยู่กับข้อปฏิบัติ เข็มทิศทางเดินนี่ชี้มรรค ผล นิพพาน ปฏิบัติตามนี้จะไปไหน ก็ต้องไปมรรค ผล นิพพาน เพราะศาสดาสอนเพื่อมรรค ผล นิพพาน พระองค์จะปรินิพพานไปแล้ว คำสอนนี้ชี้แนวบอกอยู่อย่างนี้ เป็นศาสดาแทนพระองค์ ชี้บอก ก้าวเดินตามนี้ก็ถึง

วันนี้เอาเท่านั้น วันนี้เป็นตอบปัญหาบ้าง พูดธรรมะปลีกย่อยเท่านั้นพอ

คัดลอกมาจาก Luangta.Com -

กัมมุนาวัฏตีโลโก

รักตนเองให้ถูก (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

--------------------------------------------------------------------------------
เทศน์อบรมฆราวาส ณ สวนแสงธรรม กทม.
เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖

ท่านสอนไว้เป็นบาลีว่า นตฺถิ อตฺต สมํ เปมํ (นัตถิ อัตตะ สมัง เปมัง) ความรักอื่นใดไม่เสมอกับความรักตนเลย ความรักตนนี้สำคัญ สำคัญมาก เรารักตัวของเราต้องรักความดีงาม ซึ่งจะเป็นเครื่องส่งเสริมตัวของเราให้ดีมีความสุข ความเจริญ นี้เรียกว่าคนรักตัว รักตัวด้วยความชั่วช้าลามก หาฟืนหาไฟมาเผาผลาญตัวเองก็ฉิบหายไปทั้งคนนั้นแหละ ให้พากันระมัดระวัง ศาสนาคือคำสอนของพระพุทธเจ้านี้เลิศเลอแล้ว ให้พากันยึดเข้ามาปฏิบัติ ขมก็ให้กลืน มันจะขม จะเผ็ด จะร้อน ขนาดไหนกลืนเข้าไปเถอะ คุณค่าจะเกิดขึ้นจากความขมเป็นยานั้นแหละ หวานนั้นมันเป็นพิษ อย่าไปหาเรื่องของกิเลสที่ว่าหวานๆ นั้นเข้ามาใส่ตัว จะเผาตัวของเรา คนเราดีด้วยการฝึกฝนอบรม ไม่ใช่ดีด้วยการปล่อยเนื้อปล่อยตัว คำสอนนี้เป็นเครื่องชำระล้างสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ให้ดีทั้งนั้นๆ เป็นกฎ เป็นแบบ เป็นฉบับ เพื่อสร้างคนให้ดี แต่กิเลสมันก็แบบฉบับในหลักธรรมชาติของมัน สร้างคนให้ชั่วช้าลามก จนกระทั่งมีตั้งแต่ความทุกข์ทั้งวันทั้งคืน อยู่ในโลกนี้ก็เป็นความทุกข์ ทั้งๆ ที่เขามีความสุขความเจริญ เราก็มีแต่ความทุกข์เต็มตัว เพราะเราสร้างแต่ความทุกข์ ท่านผู้มีความสุขเพราะท่านสร้างความสุข รบรากับสิ่งไม่ดีทั้งหลายออกเป็นลำดับลำดา

นั่นแหละดีด้วยการฝึกนะ ไม่ได้ดีด้วยการปล่อยเนื้อปล่อยตัว ให้พากันหักห้าม ความอยาก ความทะเยอทะยานของตน ส่วนมากมักเป็นภัย อยากไปในทางไม่ดีทั้งนั้นแหละ ส่วนความดีนี้ฝืนความอยากนั้นละ ไม่ทำตาม ๆ หลายวันหลายคืนก็ค่อยชินเข้ามา ชินเอง ต่อไปจะทำความดีงามนี้ราบรื่นไปเลย จะทำความชั่วนี้ฝืนภายในใจ ทั้งๆ ที่แต่ก่อนการทำความชั่วนี้ราบรื่นไปเลย แต่อำนาจแห่งความดีเข้าลบล้างกัน เลยทำความดีอย่างราบรื่น ความชั่วขัดข้องภายในใจ ไม่ปลงใจที่จะทำ นี่ละเราฝึกไปนานๆ ก็เป็นนิสัย

อย่างพระท่านตั้งใจมาบวช มุ่งอรรถมุ่งธรรมจริงๆแล้ว ท่านจะมีการระมัดระวังตั้งแต่ขณะที่บวชตลอดไป ไม่ชินชากับการรักษาตัว รักษาศีล รักษาธรรม ให้มีศีลเต็มตัว ธรรมก็มีความอุตส่าห์พยายาม วิริยธรรม คือความพากความเพียร ขันติธรรม อดทนทำในทางที่ถูกที่ดี ต่อไปก็ค่อยชินไปๆ การคัดค้านต้านทานความชั่วทั้งหลาย ซึ่งเราเคยทำมาแต่ก่อนนั้นค่อยเบาลงไปๆ ไม่ต้องได้คัดค้าน แล้วก็ราบรื่นไปเลย ผลปรากฏเป็นความสุขเย็นใจ นี่คือผู้รักษาตัวด้วยศีลด้วยธรรม จะเป็นความดีงามหาที่ต้องติไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงทำเป็นพยานของพระองค์ชัดเจนแล้วมาสอนโลกให้เป็นคติตัวอย่างอันดีงาม ตามฐานะของสัตว์โลกที่จะรับไปได้มากน้อยเพียงไร เราเป็นสัตว์โลกก็ควรจะอุตส่าห์พยายามปฏิบัติตามพระองค์ จะเป็นคนดีเป็นลำดับลำดาไป ปฏิบัติตนด้วยศีลด้วยธรรม ทำคนให้ดีอย่างนั้น ให้จำเอา

อย่างที่พระท่านปฏิบัติ ที่ว่าเป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกเรานั้น ล้วนแล้วตั้งแต่ท่านผู้รบรากับความชั่วช้าลามกที่ฝังใจอยู่ด้วยกันนั้นแหละออกเป็นลำดับลำดา จนกลายเป็นผู้เลิศเลอทั้งๆที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน สังขารร่างกายธาตุ ๔ เป็นเหมือนกัน แต่จิตใจของท่านเป็นธรรมทั้งแท่ง เพราะท่านซักฟอกขัดถูอยู่ตลอดเวลา ใจก็มีความสว่างไสวกลายเป็นสรณะของพวกเราได้ นี่เราก็พยายามซักฟอกความไม่ดีของเรา ให้เป็นสรณะของเราโดยทางที่ดี สรณะของเราเองนั้นได้แก่เราปฏิบัติตัวเราให้เป็นคนดี อยู่ที่ไหนก็อบอุ่นเย็นใจสบายใจ นี่เป็นสรณะแล้วนะ ความดีนั้นละจะมาเป็นสรณะของพวกเรา

ความชั่วเป็นภัยต่อสัตว์โลกทั่วๆ ไป ความดีเป็นคุณต่อสัตว์โลกเช่นเดียวกัน ให้พากันอุตส่าห์พยายามปฏิบัติ อย่าปล่อยเลยตามเลย นิสัยการปล่อยตัวนี้มันมีประจำอยู่ทุกหัวใจสัตว์ ถ้าไม่มีอรรถมีธรรมความดีงามเข้ามาแก้ไขดัดแปลงแล้ว จะชั่วไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจม ตายไปเลย ชาตินี้ก็ชั่ว สร้างแต่ความชั่ว ชาติหน้าเสวยแต่ความทุกข์ มันต่างกันนะ ชาตินี้สร้างความชั่ว สร้างทั้งวันทั้งคืน ถือว่าเป็นของดิบของดีทั้งๆ ที่เป็นของชั่ว ก็เป็นผลชั่วขึ้นมาในตัวของผู้สร้าง สร้างไม่หยุดไม่ถอยกระทั่งถึงวันตาย ได้ความทุกข์ขนาดไหน พิจารณาซิ มีตั้งแต่สร้างมา หาขนเข้ามา กว้านเข้ามา ขนเข้ามาทุกวันไม่มีทางออก มีแต่ทางเข้าๆ ความทุกข์ทั้งหลายก็เต็มตัวของเรา ถ้ามีทางออกก็เรียกว่ากำจัดด้วยความดีงาม กำจัดด้วยอรรถด้วยธรรม ความทุกข์ก็จะไม่พอกพูน ความดีก็จะเด่นขึ้นๆ เรื่อยๆ

อย่าพากันสร้างตั้งแต่ความชั่ว เหมาตั้งแต่ความทุกข์ ทั้งๆ ที่ยังไม่ตายก็เหมาไว้ปัจจุบันนี้ด้วย แล้วอนาคตก็เป็นความทุกข์เต็มตัว ความทุกข์ที่เราเสวยอยู่ในชาตินี้ มีมากมีน้อยเพราะการทำความชั่วของเรานั้น มีชั่วอายุเราเท่านี้ไม่ได้ยืดยาวอะไรเลย แต่ความทุกข์ในเมืองผีนั้น เป็นความทุกข์ที่ยืดยาวหลายร้อยเท่าพันทวีกับเวล่ำเวลาที่เราเสวยอยู่นี้ เช่น เราเสวยอายุด้วยความชั่วนี้ไป ๕๐ ปี ๖๐ ปีเราตาย อายุอันนี้กับทุกข์อันนี้ก็ดับในชาตินี้ แต่ไปแผลงฤทธิ์ขึ้นในชาติหน้าเป็นร้อยๆ คูณขึ้นไป ความทุกข์ทวีคูณขึ้นไป นี่ละท่านถึงบอกว่าผู้ตกนรกนั้นตั้งกัปตั้งกัลป์ ก็คือมันขยายตัวไปเองไม่ใช่จะลดลง ขยายตัวไปเรื่อยๆ ตกนรกในเมืองผีก็นาน ติดคุกติดตะรางในเรือนจำเท่านั้นปีเท่านี้ปี อย่างมากก็ว่าติดคุกติดตะรางตลอดชีวิต ครั้นไปทำความดีงามให้แก่ทางเรือนจำแล้ว ผลก็ค่อยได้ขึ้นมาและลดโทษลงไปไม่ถึงตลอดชีวิต ก็ออกจากคุกจากตะรางได้

อันนี้เราไปทำความชั่วแล้วไปตกนรก มันก็ยืดยาวเข้าไปอีก เรื่องที่ว่าจะตลอดไปไม่มี ไม่ว่านรกหลุมใด นานนั้นยอมรับกันว่านาน ตามอำนาจแห่งกรรมของสัตว์ และกรรมดีกรรมชั่วนี้ก็เป็นกฎอนิจจัง มีความเปลี่ยนแปลง ช้าหรือเร็วเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นผู้ตกนรกหมกไหม้จึงพ้นขึ้นมาได้ ถึงจะกี่กัปกี่กัลป์ก็มีทางพ้นได้ เหมือนเขาติดคุกติดตะรางว่าตลอดชีวิตอย่างนี้ ก็มีทางพ้นมาได้ พ้นมาแล้วถ้ากลับเนื้อกลับตัวดี ก็ไม่ถูกเขาจับไปติดคุกติดตะรางอีก ถ้าไปทำชั่วซ้ำเข้าอีกก็กลายเป็นลูกพี่ในเรือนจำ ตายอยู่ในเรือนจำ เป็นเปรตเป็นผีเฝ้าเรือนจำอยู่นั้น อันนี้ทำตั้งแต่ความชั่วช้าลามก ตกลงไปในนรกแล้วก็จะไปเป็นผีเฝ้านรก ผีที่ไหนจะยิ่งกว่าผีแห่งความชั่วที่เราตกนรกอยู่แล้วนั้น

ให้เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า นรกพระองค์ทรงทราบ ทรงรู้ทรงเห็นประจักษ์พระทัยด้วยกันทุกๆ พระองค์ บรรดาพระพุทธเจ้าตรัสรู้มากี่พระองค์นับไม่ได้เลย มีความรู้ความเห็นในสิ่งเหล่านี้เหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นท่านเเสดงไว้จึงแสดงแบบเดียวกัน คือพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาแต่ละพระองค์นี้ มารู้มาเห็นสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย คือฝ่ายดีฝ่ายชั่ว ฝ่ายชั่วก็คือบาปกรรม ทำสัตว์ทั้งหลายให้เกิดเป็นเปรตเป็นผี เป็นสัตว์นรก จนกระทั่งถึงตกนรกกี่กัปกี่กัลป์ นี่เรื่องของเมืองผี พระองค์ก็ทรงทราบทุกๆ พระองค์ เห็นประจักษ์พระทัย ตลอดถึงความดี คนที่สร้างความดีแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวบุตรเทวดาอินทร์พรหม พระองค์ก็ทรงทราบทุกสิ่งทุกอย่างตามสิ่งที่มีที่เป็นทั้งหลาย แล้วนำมาสั่งสอนสัตว์โลกด้วยความเมตตา
สิ่งใดที่ชั่วก็สอนสัตว์โลก ห้ามไม่ให้ทำ ถ้าทำลงไปแล้วก็เท่ากับตัวของเราดื้อด้าน ทะลึ่งเข้าหาฟืนหาไฟ แล้วก็จมลงในนรก นี่ท่านก็นำมาสอนหมด ความชั่วอย่าทำ เป็นทางแห่งความทุกข์ทั้งหลาย จนกระทั่งถึงตกนรกหมกไหม้ ความดีให้พากันพยายามสร้าง ตถาคตทุกๆ พระองค์สร้างความดีทั้งนั้นถึงได้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเพราะการสร้างความชั่วช้าลามกทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงสอนให้สร้างความดี แม้จะไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่ได้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ความสุขความเจริญ ความดิบดี เป็นสิ่งที่สัตว์โลกปรารถนาและต้องการทั่วหน้ากัน ทางที่จะให้สมหวังก็คือการทำความดี ชำระความชั่ว ให้ดีขึ้นเป็นลำดับๆ ตามที่ท่านสอนไว้นั้นแล


คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรที่ให้เกิดความสงสัย คือกลับตาลปัตรกันว่า บาปมี ท่านสอนว่าบาปมี เราพลิกตาลปัตรก็ว่า บาปไม่มี นี่คือความผิดของเราไม่ใช่ความผิดของพระพุทธเจ้า ว่านรกมี สวรรค์มี แต่เราลบล้างว่านรกสวรรค์ไม่มี นี่ก็เป็นความชั่ว ความผิดของเรา ไม่ใช่ความผิดของพระพุทธเจ้า ให้พากันจำอันนี้ เราเดินทางเป็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปทางดี ทางหนึ่งไปทางชั่ว พระองค์สอนไว้หมดทั้งทางชั่วทางดี ให้เราเลือกเฟ้นในตัวของเรา ก้าวเดินในทางที่ถูกที่ดี ที่ท่านสั่งสอนและส่งเสริมให้ดี ให้ปฏิบัติตามนั้น


สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าทรงหวงห้ามอย่าฝืนทำ ความผิดจะเป็นของเราทั้งนั้น ไม่ได้เป็นความผิดของพระพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนห้ามปราม แล้วกลับผิดพลาดไปเสียอย่างนี้ ไม่มีในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความฝ่าฝืนของคนมีกิเลสก็คือพวกเรา มีตั้งแต่เรื่องความผิดความพลาดอยู่ตลอดไป ให้นำธรรมเข้ามากางแล้วก็ปฏิบัติ ทุกข์ยากลำบาก เราเกิดในท่ามกลางแห่งความทุกข์ความสุข ย่อมมีเป็นธรรมดา แต่ทุกข์ขอให้ทุกข์เพื่อเป็นความสุข เช่นคนอุตส่าห์พยายามสร้างความดีงามทั้งหลายก็ต้องมีทุกข์เหมือนกัน แต่ผลที่เกิดขึ้นหลังความทุกข์นั้นเป็นความสุขความเจริญ คนสร้างความชั่วก็เป็นทุกข์ ตายไปก็เป็นทุกข์ ผลเป็นทุกข์ตลอด ให้เราเลือกเฟ้นเอา


ทุกข์ยากลำบากก็ต้องทนคนเรา ไม่เช่นนั้นหาความดีไม่ได้นะ มีแต่นอนฝันกันอยู่เฉยๆ ฝันอยากได้ดิบได้ดีด้วยความฝันอย่างนั้น โลกนี้ฝันกันได้ทั้งนั้น แต่ไม่เห็นเป็นผลเป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นจึงสรุปความลงไปว่า เราเป็นลูกชาวพุทธ ให้เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนไว้แล้วโดยถูกต้อง อย่าฝ่าอย่าฝืน จะเป็นการทำลายเรา ผู้ผิดเป็นเรา ความผิดเป็นของเรา ความทุกข์เป็นของเราไม่ได้เป็นของพระพุทธเจ้า ผู้สั่งสอนไว้แล้วด้วยความถูกต้อง ที่เรียกว่าสวากขาตธรรม ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ท่านไม่ได้ผิด ท่านดีเพราะปฏิบัติตามสิ่งดีงามทั้งหลายต่างหาก ท่านไม่ได้ดีเพราะทำความชั่ว เราอย่าไปแหวกแนวทำความชั่วเพื่อหวังความดิบความดี จะมีแต่ฟืนแต่ไฟทั้งนั้น ให้พากันจดจำเอาไว้

กัมมุนาวัฏตีโลโก


กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่
--------------------------------------------------------------------------------
033 กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่

ปัญหา มีพุทธศาสนิกชนบางพวกเห็นว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเพราะเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นฆ่า ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "..... ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล....."

ชีวกสูตร ม. ม. (๕๗)
ตบ. ๑๓ : ๔๘-๔๙ ตท.๑๓ : ๑๓ : ๔๗
ตอ. MLS. II : ๓๓

033

กัมมุนาวัฏตีโลโก

วิธีสร้างสติอัตโนมัติ

มีสติ แต่อย่าตามความคิด

อัคคิเวสนะ ! ...ครั้นภิกษุประกอบพร้อมด้วยสติ สัมปชัญญะแล้ว

ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า "มาเถิดภิกษุ ! เธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด
คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หรือลอมฟางเถิด" ดังนี้.

ภิกษุนั้นย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด

ครั้นก้าวกลับจากบิณฑบาต ในกาลเป็นปัจฉาภัต
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอย่อมละอภิชฌาในโลก
มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌาอยู่

ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท
เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาทอยู่

ละถีนมิทธะ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ
มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะอยู่

ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะอยู่

ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้
ไม่ต้องกล่าวถามว่า "นี่อะไร นี่อย่างไร" ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่

ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ 5 ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว
เธอเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่
...มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
...มีปกติ ตามเห็นจิตในจิตอยู่
...มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก

ตถาคต ย่อมแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า

"มาเถิดภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกายอยู่
แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับกายเลย ( มา จ กายูปสญหิตํ วิตกฺกํ วิตกฺเกสิ )

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับเวทนาเลย

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นจิตในจิตทั้งหลายอยู่
แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับจิตเลย ;

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับธรรมเลย" ดังนี้

ภิกษุนั้น เพราะเข้าไปสงบระงับเสียได้ ซึ่งวิตกและวิจาร จึงเข้าถึงทุติยฌาน
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่

( แล้วได้ตรัสถึง ตติยฌาน ...จตุตถฌาน
...ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ...จุตูปปาตญาณ ...อาสวักขยญาณ
จนกระทั่ง วิมุตติญาณ ตามหลักที่มีกล่าวอยู่ในบาลีทั่วๆไป ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ )

ทันตสูตร อุปริ. ม. 14/268 – 270/396 – 401.
__________________
พุทธวจน/จากพระโอษฐ์ 5 เล่ม :

กัมมุนาวัฏตีโลโก

วิจัยพบ "สวดมนต์" "สมาธิ" "วิปัสสนา" รักษาโรคได้จริง!
   การสวดมนต์
สิ่งสำคัญของการเริ่มปฏิบัติกรรมฐานคือการสวดมนต์การสวดมนต์มีผลดีต่อสุขภาพโดยไม่ต้องสงสัย การสวดมนต์นอกจากจะให้ประโยชน์ทางศาสนาคือ ทำให้จิตเป็นสมาธิแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างมากมายทำให้มีการผ่อนคลาย ทั้งทางกายและทางใจ นอกจากนั้นยังสามารถใช้บำบัดโรคได้ด้วยในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้หลายเรื่อง เช่น เมื่อพระมหากัสสปเถระอาพาธพระพุทธเจ้าเสด็จมาและทรงสวดโพชฌงค์ 7 พอทรงสวดจบ พระมหากัสสปก็หายอาพาธ (ปฐมคิลานสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)ในทำนองเดียว กันพระโมคคัลลาน์หายอาพาธ ได้เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ให้ฟัง(ทุติยคิลานสูตรสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)แม้แต่พระพุทธเจ้าเองเมื่อทรงอาพาธทรงโปรดให้พระมหาจุนทะสวดโพชฌงค์ 7 ถวาย เมื่อสวดจบพระพุทธองค์ทรงหายจากอาการประชวร(ตติยคิลานสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)

นอกจากนั้นในสมัยพุทธกาล อุบาสกยังนิยมนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ให้ที่บ้านเมื่อเจ็บป่วย เช่นธรรมิกอุบาสก เมื่อใกล้จะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต นิมนต์พระสงฆ์มาสวดสติปัฏฐานสูตร(อรรถกถาธรรมบท)หรือในกรณีของมานทินคหบดี หรือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเมื่อไม่สบายก็นิมนต์พระสงฆ์มาสวดที่บ้าน เมื่อสวดมนต์จบความเจ็บป่วยหายไปได้การสวดมนต์ใน กรณีเหล่านี้ เป็นการนำธรรมมาแสดงการได้ฟังธรรมและได้พิจารณาข้อธรรมต่างๆ ด้วยปัญญาทำให้ผู้ฟังมีความปีติ โสมนัสชุ่มชื่นเบิกบานใจ จิตใจมีพลัง มีผลให้ความเจ็บป่วยทางกายหายไปด้วย ดังนั้นการสวดมนต์ จึงบำบัดโรคได้โดยเฉพาะสำหรับผู้มีความรู้ความเข้าใจข้อธรรมที่สวดนั้นอย่างดีและเคยปฏิบัติธรรมมาก่อนมีใจน้อมไปทางธรรม และชอบสวดมนต์เป็นประจำ

การสวดมนต์ที่ชาวพุทธคุ้นเคยกันคือการทำวัตรเช้า-เย็น สวดมนต์แผ่เมตตาสวดคาถาพาหุงมหากาฯ และสวดพระปริตรธรรมมีการวิจัยในการแพทย์ปัจจุบันจำนวนมากที่แสดงว่าการสวดมนต์ช่วยให้เกิดความสุขความพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่เช่นทำให้สุขภาพ จิตดี และช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตได้(Mc Collough Me Prayer and Health : Conceptual Issues ,' Journal of psychology and Theology, 1995)ตัวอย่างเช่น นายแพทย์ลารี ดอสซีได้วิเคราะห์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ประมาณ ๑๐๐ เรื่อง และพบว่าในงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้การสวดมนต์มีผลต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดพืชและการที่แผลหายเร็วขึ้นนอกจากนั้น ในงานวิจัยหลายรายเราพบว่าการสวดมนต์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้สมาคมวิทยาศาสตร์ทางจิตแห่งรัฐเทกซัสได้เจาะเลือด อาสาสมัคร 32 รายเมื่อแยกเอาเม็ดเลือดแดงออกแล้ว ใส่สารละลายที่จะทำให้เมล็ดเลือดแดงบวมและแตกน้อยลงผลคือ เม็ดเลือดแดงนั้นแตกช้าลง(Castleman M, Nature 's Cures)

จากการศึกษางานวิจัยดังกล่าว เราอาจสรุปได้ว่าการสวดมนต์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้เราผ่อนคลายทั้งทางจิตใจและทางกายทำให้เรารู้สึกสบายใจ สภาพจิตใจ เช่นนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพทางใจและทางกายมากด้วยเหตุนี้จิตแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนไม่น้อยจึงนำการสวดมนต์มาใช้ในการบำบัดทางจิตร่วมกับวิธีการรักษาทางการแพทย์(King E., Bushwick B, Beliefs and Attitudes of Hospital Inpatients about Faith Healing and Prayer)การสำรวจของ นักวิจัยหลายกลุ่มพบว่าคนอเมริกันนิยมสวดมนต์กันมากกล่าวคือ 70 % สวดมนต์ทุกวัน และ 44 % สวดมนต์เพื่อการบำบัดโรคมีงานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าการสวดมนต์ช่วยให้ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรงน้อยลง เช่น โรคหัวใจ โรคความดัน โรคเครียดและโรคซึมเศร้า เป็นต้น แม้แต่ผู้ป่วย ที่เป็นโรคมะเร็งจะมีอัตราตายต่ำกว่าประชากรทั่วไป(Michello Ja, 'Spiritual and Emotional Determinants of Health,' Journal of health,1988)นอกจากนั้นการสวดมนต์เมื่อปฏิบัติร่วมกับสมาธิยังสามารถลดปัญหาการฆ่าตัวตายและการใช้ยาเสพติดได้(Ellison E.C., 'Religious involvement and subjective well-begin,' Journal of Health Social Behaviors,1991)
   การปฏิบัติสมาธิ
การสวดมนต์ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย ปัจจุบันมีงานวิจัยเกี่ยวกับสมาธิและสุขภาพมากกว่า ๒๐๐ ราย งานวิจัยต่างๆ เหล่านี้ชี้ให้เห็นผลดีของสมาธิ (หรือการมีจิตใจสงบจิตตั้งมั่นอยู่ ในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด) ต่อการรักษาโรคทางกายอย่างชัดเจน ดังนั้นแพทย์จำนวนไม่น้อยในอเมริกาจึงนำสมาธิไปใช้รักษาโรค ผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้ไว้มากคือดร.เฮอร์เบอร์ เบนสันศาสตราจารย์ทางอายุรศาสตร์แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาด ศาสตราจารย์ ผู้นี้ได้ศึกษาเรื่องนี้มากว่า 30 ปีศาสตราจารย์เบนสัน เองเคยเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในอินเดียและทิเบต ในงานช่วงแรกศาสตราจารย์เบนสันได้ให้อาสาสมัครทำสมาธิ แล้ววัดความดันอัตราการเต้นของหัวใจคลื่นสมองคลื่นหัวใจ เจาะเลือดดูกรดแลคติกพบว่าคนที่จิตเป็นสมาธิ ความดันอัตราการหายใจลดลง หัวใจเต้นช้าลงคลื่นสมองช้าและเป็นระเบียบขึ้น การเผาผลาญอาหารในร่างกายลดลงความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง

การค้นพบของศาสตราจารย์เบนสันครั้งนี้ ทำให้แพทย์แผนปัจจุบันยอมรับว่าจิตใจและร่างกายมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกันจริง พร้อมทั้งเชื่อว่าการทำสมาธิสามารถรักษาโรคได้ เพราะสมาธิทำให้จิตใจและร่างกายผ่อนคลาย ไม่เครียดในเวลาที่เราเครียด ความดันจะสูงขึ้น การหายใจจะเร็วขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้นกล้ามเนื้อ จะตึงตัวมากขึ้น อัตราการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย มากขึ้นและร่างกายใช้ออกซิเจนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ความเครียดจึงทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้การทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทำให้โรคต่างๆหายได้งานวิจัยของศาสตราจารย์เบนสันพบว่าผู้ป่วยมาพบแพทย์ 60-90 % เป็นโรคเกี่ยวกับจิตใจมากกว่าร่างกายการทำให้เกิดการผ่อนคลายด้วยการทำสมาธิช่วยให้โรคส่วนใหญ่หายหรือดีขึ้นได้(Benson Lt., et al Relaxation Respone, Med Clin North AM, 1977)นอกจากนั้น การปฏิบัติสมาธิยังทำให้ร่างกายหลั่งสารบีต้า แอนคอฟินด์ซึ่งเป็นสารประเภทฝิ่นออกมาในสมอง มีผลทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกสดชื่นอิ่มเอิบและสุขสบาย

นายแพทย์โจน คาบัท-ซินนักวิจัยทางการแพทย์ได้พบว่า การทำสมาธิร่วมกับการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ความดันลดลงมาก ผู้ป่วยไม่ต้องกินยาหรือในกรณีที่ผู้ป่วยที่ใช้ยาลดความดันอยู่แล้ว การใช้ยาจะลดลงมากทั้งชนิดและขนาดงานวิจัยชิ้นหนึ่ง รายงานว่า ในจำนวนอาสาสมัคร 23 รายที่มีค่าไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด 254มิลลิกรัม/เดซิลิตร สามารถลดลงได้ 30 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังการปฏิบัติได้ 11 เดือน โดยไม่ได้ควบคุมเรื่องอาหารงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่าความหนาของผนังเส้นเลือดหัวใจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 60 ราย ลดลง หลังจากฝึกสมาธิราว 6-9 เดือนสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง อาการปวดลดลง เคลื่อนไหวได้มากขึ้นมีความเครียดและอาการซึมเศร้าน้อยลง ผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับ 58 % นอนหลับดีขึ้น และหลังการปฏิบัติได้ 6 เดือน 91% ใช้ยานอนหลับลดลงหรือหยุดยาได้ส่วนสตรีที่มีอาการก่อนประจำเดือนอาการลดลง 57% และผู้ที่มีอาการรุนแรงอาการจะทุเลาลง ผู้ป่วยที่หัวใจเต้นไม่ปกติ การเต้นผิดปกติ ของหัวใจจะลดลงส่วนผู้ป่วยปวดศีรษะแบบไมเกรน อาการปวดศีรษะและความรุนแรงจะลดลง

งานวิจัยต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การทำสมาธิ มีผลให้เกิดการผ่อนคลายความเครียดสามารถรักษาโรคให้หายได้โดยไม่ต้องใช้ยาหรือใช้ยาน้อยลง(Zamarra J, et al., Usefulness of the Transcendental Meditation Program in the Treatment of Patients with Coronary Disease, AM J Cardinal, 1996)จิตที่เป็นสมาธิเป็นจิตที่มีพลัง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ ประโยชน์ในทางพัฒนาสุขภาพจิตและบุคลิกภาพ คือทำให้เป็นคนมีสุขภาพจิตดี สงบ หนักแน่น ใจเย็นไม่หงุดหงิด ไม่ฟุ้งซ่าน นุ่มนวล และมีความคิดในทางสร้างสรรค์ ในทางสุขภาพสมาธิทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงหายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้
   การปฏิบัติกรรมฐาน
สมาธิที่กล่าวมาหมายถึงสิ่งที่ศาสนาพุทธเรียกว่าสมถกรรมฐาน การทำสมาธิแบบนี้ไม่ว่าในขั้นต้น (ขณิกสมาธิ) หรือขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) เพียงพอที่จะทำ ให้เรามีสุขภาพแข็งแรงกำลังของสมาธิที่ทำได้สามารถ กดข่มอารมณ์ หรือกิเลสต่างๆ ให้ระงับชั่วคราวได้แต่ทำลายไม่ได้ มีลักษณะเหมือนเป็นหินทับหญ้า พอเอา หินออกหญ้าที่เฉาเมื่อได้รับน้ำฝนก็งอกขึ้นใหม่(จำลอง ดิษยวณิช, ความเครียดความวิตกกังวล และสุขภาพ, 2545)

การปฏิบัติอย่างหนึ่งเรียกว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นวิธีปฏิบัติที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้นศาสนาอื่น มีแต่คำสอนเรื่องสมาธิประเภทแรกเท่านั้นวิปัสสนากรรมฐานเป็นการฝึกจิตให้เกิดปัญญาเห็นสภาวธรรม ต่างๆ เป็นของไม่เที่ยงเป็นอนัตตา ทำให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงทำให้ถอดถอนความยึดติดในสิ่งทั้งปวง ว่าไม่ใช่ตัวเรา ของเรา เป็นเหตุให้สามารถขจัดกิเลสโดยเฉพาะกิเลสอย่างละเอียดหรืออนุสัยกิเลสได้วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่หลวงพ่อนำ มาสอนคือการเจริญสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ใช้สติกำหนด กาย เวทนา จิต และธรรมงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แนวทางปฏิบัติแบบนี้ช่วยให้การบำบัดโรคได้ทั้งทางกายและทางใจ ช่วยให้ จิตอยู่กับเวลาปัจจุบันสามารถทิ้งความนึกคิด ทำให้รู้สึกเบากายและใจ การหยุดความคิดช่วยบำบัดโรคต่างๆ ได้เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคตื่นตระหนกกลัว โรควิตกกังวลว่าตัวเองเป็นโรคนั้นโรคนี้โรคเครียด โรคกลัวอยู่คนเดียวและโรคกลัวความมืด เป็นต้น

การรู้จักคิดเป็นสิ่งที่ดี แต่การคิดมากเป็นสิ่งไม่ดีเพราะทำให้จิตใจและใบหน้ามีลักษณะเหมือน "ต้นอ้อสดที่ถูกตัดแล้ว" หม่นหมองไม่มีความสุข ดังนั้นเราจึงควรหยุดคิด (ในบางขณะ) จะได้มีความสุขการฝึกวิปัสสนากรรมฐานเป็นการฝึกการหยุดคิดโดยการให้จิตใจจับอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายนายแพทย์โจนคาเบตซินในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้การฝึกสติปัฏฐาน 4 ในชีวิตประจำวันในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเครียด และโรค ทางกายอื่นๆ เช่นโรคถุงลมโป่งพอง และได้จัดตั้งศูนย์ การเจริญสติทางแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแมสซาซูเซตที่ศูนย์นี้โปรแกรมการรักษาของนายแพทย์โจนใช้เวลา 8 สัปดาห์โดยให้ผู้ป่วยมาหาสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมงครึ่งเพื่อเรียนรู้วิธีเจริญสติในชีวิตประจำวันและให้ผู้ป่วยกลับไปฝึกทุกวันที่บ้านวันละ 45 นาที สัปดาห์ละ 6 วัน พร้อมทั้งให้เทปคาสเสท ไป 1 ม้วนเพื่อให้เปิดฟังไปปฏิบัติไป นายแพทย์ผู้นี้สอนคนไข้ครั้งละ 30 คนโดยให้นั่งล้อมวงเป็นวงกลม เมื่อครบ 6 สัปดาห์จะมีการปฏิบัติแบบเงียบไม่ให้พูดติดต่อกัน 8 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วย เจริญสติในอิริยาบถต่างๆ เช่น ท่านั่งเดิน ยืน โดยให้ต่างคนต่างทำไม่มองไม่สนใจคนอื่น

ในครั้งแรกนายแพทย์โจนสอนการใช้สติกำหนดรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ชำนาญโดยทำในท่านอนหรือท่านั่ง คนไข้บางคนทำในขณะนั่งรถเข็น ต่อไปสอนอานาปานสติให้ทำสติให้ระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจ หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบและเมื่อหูได้ยินเสียงก็กำหนด รู้แล้วปล่อยวาง เวลาเกิดความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ ก็กำหนดรู้ และเมื่อใจคิดก็กำหนดรู้แล้ววางเฉย เขาสอนคนไข้ให้เจริญสติในอิริยาบถต่างๆ แต่ละขณะตลอดทั้งวัน เน้นที่อิริยาบถย่อยต่างๆ ในชีวิตประจำวันเช่น การกินอาหาร การยืนรอรถประจำทาง การเดินไปทำงาน ในช่วง 2 ปีแรกที่นายแพทย์โจนสอนคนไข้ไป 1,155 คน พบว่า อาการปวดจากโรคต่างๆ ดีขึ้น 24 % หลังจากการฝึกครบ 8 สัปดาห์ อารมณ์เครียด โกรธ ซึมเศร้าลดลง 32 % ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นมากและเมื่อติดตาม ต่อไปอีก 4 ปี พบว่าอาการต่างๆ ดีขึ้น 40-50 % โดยเฉพาะในผู้ป่วยถุงลงโป่งพอง อันเกิดจากการสูบบุหรี่จัดและ/หรือการหายใจเอาสารพิษเข้าไป

ดังนั้น ในปัจจุบันนายแพทย์โจน จึงสอนการเจริญสติเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคปอดนอกจากนั้นเขาได้ศึกษาผู้ป่วยโรค เรื้อนกวาง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่งรักษาด้วย การฉายแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ตามผิวหนังทั่วตัวร่วมกับการกินยาโดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งรักษาโดยการกินยาร่วมกับการฉายแสงอีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้กินยา แต่ให้ฝึกวิปัสสนาร่วมกับการฉายแสงนายแพทย์ผู้นี้พบว่าในกลุ่มที่ฝึกวิปัสสนารอยโรคที่ผิวหนังยุบหายไปได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฝึกวิปัสสนา(Danial Goleman, Healing Emotions) ปัจจุบันมีผู้ป่วย ผ่านหลักสูตร 8 สัปดาห์ของนายแพทย์โจนมากกว่า 13,000 คน หลักสูตรที่นายแพทย์ผู้นี้คิดค้นขึ้นมาได้รับการยอมรับจากศูนย์การแพทย์กว่า 240 แห่งทั่วอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น สแตนฟอร์ด และดุกซ์ด้วย
น้ำมีชีวิต พูดดีมีมงคล
เรื่อง โดย พุฒิวงศ์ บุษบวรรษ
การที่เห็นคนโบราณเสกน้ำมนต์ คนสมัยนี้บางกลุ่มก็ว่าเป็นเรื่องเหลวไหลงมงาย เลยต้องยกเอาผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาอ้างอิง ซึ่งมีผลงานการวิจัยจากหลานที่ ทั้งที่ยุโรปและเอเซีย เช่น หลักวิทยาศาสตร์ที่ได้พิสูจน์แล้วจากหนังสือชื่อ Messages from Water ซึ่งเป็นผลงานการวิจัย ดร.มาซารุ เอะโมโตะ (Dr.Masaru Emoto)ที่โด่งดังไปทั่วโลก โดยการใช้กล้อง ส่องดูโมเลกุลของน้ำที่มีที่นำมาจากแหล่งต่างๆ พบว่ารูปผลึกของน้ำมีความสวยงาม และหลากหลายตามสภาวะสิ่งแวดล้อม โดยมีตัวอย่างผลงานผลการวิจัย
   
ผลึกน้ำจากเขื่อน ผลึกน้ำจากเขื่อน หลังผ่านการสวดมนต์ ผลึกน้ำจากการเปิดเพลงเนื้อหารุนแรง
   
ผลึกน้ำจากเพลงเพราะๆ ผลึกน้ำที่ไหลผ่านคำว่า "ฉันจะฆ่าคุณ" ผลึกน้ำที่ไหลผ่านคำว่า "ขอบคุณ"
ผลึกน้ำที่ไหลผ่านคำว่า "รัก"
จะสังเกตุได้ว่าลักษณะของน้ำจะดูสวยงามเมื่อผ่านสิ่งดีดี แล้วลองย้อนคิดว่า ในดลกนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึงสาม ในสี่ส่วน รวมทั้งภายในร่างกายของเราด้วย เพราะเฉพาะหากเราพูดดี ไพเราะ คิดดี อารมณืดี อยู่ในสถานที่ดีดี เป็นไปได้มากว่าจะทำให้น้ำในร่างกายเรา และตัวเราเองดี มีความสุขไปด้วย ในขณะเดียวกัน หากเราจ้องแต่จะแค้นเคือง อาฆาต ด่าทอหรือพายังไปหมกมุ่นกับสิ่งไม่ดี น้ำในร่างกาย และตัวเองก็พลอยแย่ไปด้วย ไม่แน่นะนี่อาจเป็นคำเฉลยสำคัญว่าทำไมคนยุคสมัยนี้ถึงเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็งกับเพิ่มมากขึ้นก็ได้

กัมมุนาวัฏตีโลโก

อย่าโง่กันนักเลย 
โดย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์ อันเกิดขึ้นจากการฟัง ตามสมควรแก่เวลา
พวกเราชาวไทยเรียกตนเองว่าพุทธบริษัท พุทธบริษัท ก็คือ ผู้นั่งแวดล้อมพระพุทธเจ้า นั่งแวดล้อมพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติ ที่จะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป เรียกว่า เป็นพุทธบริษัท พุทธบริษัทนั้นประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณีคือพระผู้หญิง อุบาสก อุบาสิกา แต่ว่าในปัจจุบันนี้ภิกษุณีไม่มีแล้ว ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ราว ๒๐๐ ปี ภิกษุณีก็สูญพันธุ์ไป ยังอยู่แต่ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพุทธบริษัทที่ยังเหลืออยู่ในยุคปัจจุบันนี้ เราทั้งหลายที่เป็นพุทธบริษัทมีหน้าที่ที่จะต้องรักษา ทำความเข้าใจในหลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูก ให้ตรงตามหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

เราจะต้องมีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าไม่เอาใจออกห่างไปจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การกระทำอันใดที่เป็นการแสดงออกซึ่งน้ำใจว่าเราขาดความไว้วางใจในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม พระสงฆ์ การกระทำเช่นนั้น ชื่อว่าเป็นโทษ เป็นบาปเป็นการกระทำที่เรียกว่านอกรีดนอกรอยไปจากหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา

เราผู้เป็นพุทธบริษัท จะต้องมีการกวดขันควบคุมพรรคพวกเราด้วยกันเอง ไม่ให้เขวออกไปนอกลู่นอกทาง ไม่ให้ปฏิบัติ กาย วาจา ใจ เป็นไปในทางที่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะถ้าหากว่าเราเขวออกไปนอกลู่นอกทาง ปฏิบัติไม่คงเส้นคงวา ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว พระศาสนาก็จะเสื่อม คือ เสี่อมไปจากจากจิตใจของพวกเราทั้งหลาย แล้วก็จะเสื่อมหายไปจากโลก แต่มีสิ่งอื่นเข้ามาแทนพระพุทธศาสนาไป การกระทำเช่นนั้น ได้เชื่อว่า เป็นการทำลายธรรมะของพระพุทธศาสนาให้เหลืออยู่แต่เพียงชื่อให้เหลือเพียงแต่วัตถุของศาสนา ตัวศาสนาที่แท้จริงหายไป ถ้าตัวศาสนาที่แท้จริงหายไปแล้ว จะเรียกว่า เป็นเมืองพระพุทธศาสนาได้อย่างไร จะเรียกว่าเป็นพุทธบริษ้ท ผู้นั่งแวดล้อมพระพุทธเจ้าได้อย่างไร เพราะว่าเราไม่ได้เอาหลักธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้าไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน ชีวิตก็จะตกต่ำเรื่อยไป ไม่มีความก้าวหน้า อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่เราผู้เป็นพุทธบริษัทจะต้องกวดขันกันสักหน่อย

ในศาสนาอื่นนั้น เขามีการกวดขันกันมาก ที่จะไม่ให้บริษัทของเขาทำอะไรนอกลู่นอกทาง ซึ่งไม่ใช่เรื่องศาสนาที่เขาสอน ไม่ใช่เรื่องปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์แล้ว เขาจะไม่ปฏิบัติเป็นอันขาด ให้เราสังเกตพวกอิสลามมิกชน หรือว่าพวกคริสเตียน ไม่ว่านิกายใด เขาจะไม่ทำอะไรนอกออกไป จากหลักการของคำสอนในทางพระศาสนา อันนี้เรียกว่า เขาเคร่งครัด เขาปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักที่เขาได้รับมาจากคัมภีร์ของเขาแต่ว่าเราที่เป็นพุทธบริษัทนั้น ไม่เหมือนเขาทั้งหลาย เพราะผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นพุทธบริษัท มีการประพฤติปฏิบัติอะไรหลายอย่างนอกลู่นอกทาง ห่างไปจากแนวคำสอนในทางพระศาสนา ต่ว่าไม่มีใครพูดทักท้วง ไม่มีใครเห็นว่าเป็นเรื่องเสียหาย และการปล่อยอย่างนั้นก็เรียกว่า สมรู้ร่วมคิดกันทำลายพระพุทธศาสนา ทำลายหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้หายไปจากจิตใจคน ให้คนไปเกาะจับสิ่งอื่น ไม่ใช่เรื่องหลักคำสอนในทางพระศาสนา เราทำลายตัวเราเองโดยไม่รู้ตัว เหมือนกับไม้บางชนิดมันเปื่อยของมันเอง มีตัวมอดตัวอะไรกัดกร่อนของมันเองแล้วไม้นั้นก็ผุยืนตายอยู่ เอาไปใช้ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ฉันใด

ในวงการพระศาสนาเรานี้ก็เหมือนกัน ถ้าหากว่าเราไม่ช่วยกันปรับปรุงแก้ไขสิ่งถูกต้องให้คงอยู่ ทำลายสิ่งผิดให้หายไป พุทธบริษัทก็เป็นแต่เพียงชื่อ ไม่ได้เป็นโดยน้ำใจไม่ได้เป็นโดยการปฏิบัติตามสัจจธรรม อันเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนา พระศาสนาก็จะเสื่อมหายไป จะเหลืออยู่แต่เพียงโบสถ์ เหลืออยู่แต่พระพุทธรูป สำหรับคนไปไหว้ สั่นติ้ว ขอหวย ขอเบอร์ หรือไปขออะไรๆ ต่างๆ มันก็ไม่มีค่าอะไร ในทางดับทุกข์ ไม่มีค่าอะไรในทางที่จะขูดเกลากิเลเลส ให้หมดไปจากจิตใจของเราเป็นเด็กอมมือ นับถือศาสนาแบบเด็กอมมือไป อันนี้คือความเสื่อมมาโดยลำดับ ในวงการพระศาสนา

ความเสื่อมอย่างนี้เกิดขื้นเพราะอะไร ก็เพราะว่า เราเป็นคนใจกว้างมากเกินไป จนไม่รู้ว่าอะไรมันเป็นอะไร เราปล่อยกันเกินไป ไม่ประท้วงพุทธบริษัท ที่กระทำกิจนอกลู่นอกทาง ไม่เฉพาะแต่ญาติโยมชาวบ้าน แม้พระสงฆ์ในทางพระศาสนา ก็ไม่ได้กวดขันเคร่งครัด ให้ปฏิบัติถูกตรง ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

ในเมืองไทยเราเวลานี้ มีพระประเภทนอกรีดนอกรอย ตั้งตนเป็นครูบาอาจารย์ เป็นหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ในรูปต่างๆ ซึ่งอยากจะพูดให้เข้าใจว่า นั่นมันไม่ถูกต้อง ไม่ใช่หลักคำสอนใน ทางพระพุทธศาสนา การทำตนเป็นคนขลัง เป็นคนศักดิ์สิทธิ์เป็นหลวงพ่อเป็นเกจิอาจารย์ที่โด่งดังกันอยู่ทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นพวกนอกรีดนอกรอย ไม่ได้เข้าแนวทางคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ได้เอาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปสอนคน ให้รู้ให้เข้าใจ ให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แต่ว่าเอาไสยศาสตร์บ้าง เอาเรื่องอะไรๆ ต่างๆ ไปสอนประชาชน ทำให้คนเกิดการหลงผิดในพระพุทธศาสนา
สติปัฏฐานสี่

เมื่อวานนี้ไปพบอุบาสกคนหนื่ง ที่หน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี แกก็เคยบวชเคยเรียนพระพุทธศาสนา แกเล่าให้ฟังว่า เมื่อแกบวชแล้วนี่ แกอยู่กับอาจารย์ที่บ้านนอก ที่อำเภอพัฒนานิคม แล้วอยากจะมาเรียนหนังสือกรุงเทพฯ เพื่อให้รู้จักพระพุทธศาสนา อาจารย์องค์นั้นก็บอกว่า เธอจะไปเรียนอะไรที่กรุงเทพฯ เรียนกับฉันนี่ก็ได้ แล้วก็จะได้ประโยชน์ จะเจริญงอกงามหลายๆ อย่าง สี่งเอามาให้เรียนนั้น เป็นเรื่องคาถาอาคม สำหรับท่องปลุกเสก เพื่อให้เกิดความขลัง เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ยิงไม่เข้า แทงไม่เข้า แต่ถ้าเอาไม้แยงก้นแล้วก็ตายเหมือนกัน มันไปไม่รอด ให้ท่องคาถาประเภทอย่างนั้น อุบาสกคนนั้นเมื่อสมัยเป็นพระก็มองเห็นว่า นี่มันไม่ได้เรื่อง แกไม่เชื่อความเชื่อเหลวไหลอย่างนั้นไม่มึในสมอง ก็เลยบอกว่า นี่มันไม่ได้เรื่องอะไร มันไม่จริงหรอก คนที่ว่ายิงไม่เข้ามันก็ตายมาหลายรายแล้ว แทงไม่เข้าก็ไส้ไหลมาหลายรายแล้ว พวกที่ถูกยิงตายนี่มีวัตถุเครื่องรางเต็มคอมันก็ตาย ผมไม่เอาหรอก ผมจะไปเรียนหนังสือกรุงเทพฯ แล้วก็เลยมาอยู่วัดมหาธาตุ มาเรียนนักธรรม มาเรียนอภิธรรมเรียนภาวนาอะไรไปตามเรื่อง สมควรเวลาแล้วแกก็ลาสิกขาออกไป ได้พบกันเมี่อวานนี้

นี่แหละเรียกว่า อาจารย์หลงแล้วยังจะชวนลูกศิษย์ให้หลงต่อไป คือ อาจารย์แกหลงเข้าดงของขลัง เข้าดงเครื่องรางเข้าดงการปลุกเสก ลงเลขลงยันต์ แล้วก็ถือว่านั่นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งความจริงสิ่งนั้นไม่ใช่เรื่องของพระพุทธศาสนา แต่ว่าเมื่อทำขึ้นแล้วคนก็นิยมชมชอบเหมือนกัน มันเป็นทางไปสู่ลาภ ไม่ใช่ทางไปสู่ทางพ้นทุกข์

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีทางอยู่สองทาง คือทางหนึ่งไปสู่ลาภสักการะ ทางหนึ่งไปสู่ความดับกิเลส เราไม่สรรเสริญเส้นทางที่จะให้ไปสู่ลาภสักการะ เราไม่พอกพูนเส้นทางนั้น แต่เราสรรเสริญเส้นทางที่จะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เพื่อความขุดเกลา เพื่อพระนิพพานมากกว่า" อันนี้เป็นเครื่องชี้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริมสิ่งที่เรียกว่า ขลังๆ หรือว่าศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์มีเดช

เราได้ยินคำว่าปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์มันมีอยู่ ๓ เรื่องด้วยกัน ในคัมภีร์ได้เอ่ยชื่อไว้ เอ่ยไว้ก็เพื่อจะบอกให้พระรู้ว่า ปาฏิหาริย์นั้นมีอะไรบ้าง มีอิทธิปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง อิทธิปาฏิหาริย์ ก็คือการแสดงฤทธิ์เดชได้ต่างๆ เช่นว่าเหาะเหินเดินอากาศ ดำดินอะไรก็ตามเรื่องเถอะเรียกว่าสำเร็จด้วยฤทธิ์ เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่ง, อาเทสนาปาฏิ หมายความว่า ทายใจคนได้ ทายความคิดของคนได้ ใครมานั่งลงคิดอะไรบอกว่า คุณกำลังคิดเรื่องนั้น คิดเรื่องนี้ นี่ทายใจได้ อย่างนี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ว่าวิเศษวิโสอะไร มันเป็นวิชากลางบ้าน ที่มีอยู่ในประเทศอินเดียสมัยนั้น พระพุทธเจ้าท่านห้ามไม่ให้กระทำ ห้ามไม่ให้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ห้ามไม่ให้ใช้วิธีอาเทสนาปฏิหาริย์ คือการดักใจคน เพราะว่าการกระทำอย่างนั้น มันไปเหมือนกับวิชาเล่นกลหรือปาหี่ที่เขาเล่นกันอยู่ทั่วๆ ไป

นักบวชในพระพุทธศาสนาไม่ใช่นักบวชประเภทปาหี่ ประเภทแสดงกลให้คนดู อะไรต่างๆ เช่นเสกข้าวทิพย์บ้าง เสกอะไรให้เป็นปลา เสกเกสรบัวให้เป็นปลา เสกให้เป็นปลาช่อนเสกแล้วเอาไปขาย ได้เงิน อุบาสกคนนั้นก็เล่าให้ฟังเหมือนกัน เมื่อวานนี้ บอกว่าที่วัดหน้าพระลานนี่ เคยมีพระองค์หนึ่งมาปักกลดในศาลา คือว่า เพียงแต่ปักกลดนอน ก็คือ กางมุ้งนอนนั่นเอง แต่คนก็หลงไหลแล้ว หลงว่าพระองค์นี้อยู่ในกลด ความจริงกลด มันก็คือ มุ้งนั่นเอง ไม่ใช่ของวิเศษวิโสอะไรไปไหนที่แบกกลดนั่นก็เพื่อจะเอาไปกางนอน กางมุ้งกลด ก็คือ มุ้ง อยู่ในกลดแล้ว ยุงมันไม่กิน ไม่ใช่ว่าเพิ่มความวิเศษอะไร

ทีนี้ก็อยู่ในกลดแล้วก็มีปาฏิหาริย์ว่า เสกดอกบัวให้เป็นปลาได้ อุบาสกคนนี้เวลานั้นแกเป็นพระ สึกแล้วก็เลยเห็นว่าพระองค์นี้มาหลอกชาวบ้าน แกก็พยายามที่จะจับ ว่าจะทำอย่างไร คือ ให้คนไปซี้อปลาหมอบ้าง ปลาช่อนบ้าง ตัวเล็กๆ ทั้งนั้น ตัวใหญ่มันก็ลำบากหน่อย เล่นกลยาก ตัวมันใหญ่ลำบากเอามาใส่ไว้ในภาชนะ ซ่อนไว้ในกลดของตัวนั่นเองแล้วเวลาจะเสกก็ต้องปิดกลดลงเสีย ให้นั่งห่างๆ นั่งใกล้กลมันก็แตกน่ะซิ แล้วก็เวลาเสกเอาดอกบัว เอาเกสรใส่ลงไปในบาตร แล้วก็นั่งเสกๆๆ ไป พอเสกไปนานๆ ก็ยกพระพุทธรูปมาองค์หนึ่ง พระพุทธรูปนี่ข้างล่างกลวง ก็เจาะรูไว้ เอาถุงปลาไปใส่ไว้ในรูนั้น แล้วเวลายกมาก็เปิดปากถุง เอาวางปากบาตร แล้วก็เสกคลำพระพุทธรูปเรื่อยๆ ไป ปลามันก็ได้น้ำ มันได้ไอน้ำ ก็รู้ว่าอ้ายนี่มีน้ำอยู่ในนี้ มันก็ออกจากถุงลงไปว่ายปร๋ออยู่ในน้ำ พอปลาลงไปว่ายสักพัก แล้วก็ยกบาตรมาวาง ในนั้นมีปลา กลีบบัวหายไป คือเก็บกลีบบัวไว้เสีย แล้วก็เอาปลาออกมา ญาติโยมก็ซื้อปลาตัวละพัน ถ้าเป็นปลาช่อนตัวละสามพัน ไม่ใช่เล็กน้อย ก็ได้เงินไปหลายเหมือนกัน

อุบาสกนั้นก็เข้าไปคัดค้าน คัดค้านมากเข้า เกือบไปเหมือนกัน อุบาสกที่คัดค้านนั้น คือ เกือบถูกรุม ถูกรุมตีนรุมมือ เข้าให้กันเลยทีเดียว เพราะว่าคนโง่มันมากกว่าคนฉลาด เราไปคัดค้านคนโง่มันก็หาว่าไม่เชื่อ อ้ายนี่มันพวกนอกศาสนา คนในศาสนากลับหาว่าเป็นคนนอกศาสนา พวกนอกศาสนากลับยกตนเองว่าเป็นคนในศาสนา นี่คือความหลงผิดที่เกิดขึ้นเพราะการกระทำอย่างนั้น แล้วก็อยู่ไม่นาน อยู่ไม่นานหรอกของอย่างนี้ คือ อยู่ไม่นานต้องไปที่อื่น แล้วก็ล้มหายไป ไม่ได้ทำต่อไป

ของหลอกนี่มันไม่ถาวร ของจริงเท่านั้นจึงจะถาวร สัจจธรรมของพระพุทธเจ้าอายุถึง ๒๕๐๐ ปีกว่าแล้ว ยังอยู่แต่ของหลอกๆ ทั้งหลาย เดี๋ยวเกิดหลอกที่นั่น เกิดหลอกทีนี่ ไม่กี่เดือนก็หายไปเพราะเป็นของชั่วคราว หลอกกินกันชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ว่าศักดิ์สิทธิ์อะไร น้ำศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ แม่ย่านางเรือศักดิ์สิทธิ์ ต้นกล้วยศักดิ์สิทธิ์ อะไรศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมันดังอยู่ไม่กี่วันหรอกแล้วก็ซาๆ ไป หายไป ที่เจ็บใจก็คือว่า อ้ายศักดิ์สิทธิ์นี่มันอยู่ในวัดเสียด้วย สมภารก็นั่งยิ้มแฉ่งอยู่ ในเรื่องศักดิ์ลิทธิ์ ได้ลาภสักการะ นั่นเรียกว่า เดินตามเส้นทางที่พระพุทธเจ้าไม่โปรด เดินในเส้นทางที่พระพุทธเจ้าไม่โปรดให้เดินคือ ไปเดินในรูปหาลาภจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นานา ทำคนให้หลง ทำคนให้งมงาย ทำคนให้ไม่ให้เข้าถึงศีลธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ว่าไปเชี่อคำศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์มีเดชทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้น่าเสียดาย ที่ไปอยู่ในวัดวาอารามต่างๆ แต่ว่าพระท่านก็ไม่พูด เพราะว่าปัจจัยมันมาปิดหูปิดตา อุดปากแน่นพูดไม่ออก อมเงินแล้วมันพูดไม่ออก เสียงมันอ้อแอ้ อ้อแอ้ พูดไม่ออกไปตามๆ กัน เห็นแก่ลาภสักการะ

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะนี่ มันฆ่าคนได้เหมือนกัน "สักกาโร ปุริสัง หันติ" แปลว่า ลาภสักการะฆ่าคน ไม่ได้ฆ่าคนให้ตายทางร่างกาย แต่ฆ่าคนให้ตายทางจิต ทางวิญญาณ คือ จิตเขาตายด้าน ไม่เจริญงอกงามในธรรมวินัย ไม่ก้าวหน้าในการคึกษา ในการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ไปติดอยู่ในวัตถุเหล่านั้นในความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น อันนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็มีคนนิยมกันอยู่ แล้วก็พระเราทำด้วย คนก็นึกว่าเป็นเรื่องทางพระพุทธศาสนา เลยเข้าใจเขวไป

ความไขว้เขวในสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นก็เพราะว่านักบวช ไม่สอนโยมให้เข้าใจความจริง ที่ไม่สอนให้เข้าใจความจริงก็เพราะว่าตัวไม่ศึกษาจริง ไม่เรียนจริง ไม่คิดค้นจริง ในทางหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา รู้งูๆ ปลาๆ ไม่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการค้นคว้าศึกษาธรรมะ แล้วก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปสอนญาติโยม เวลาญาติโยมทำอะไรไม่ถูกต้องก็ไม่กล้าพูด เพราะไม่มีหลักในใจ ไม่มีความเชื่อมั่นในสิ่งถูกต้องจะพูดไปเดี๋ยวเขาก็จะไม่เชื่อบ้าง เขาจะขัดคอบ้าง ก็เลยปล่อยกันไป ปล่อยกันไปจนกระทั่งว่าเป็นผู้ใหญ่

เช่นพระองค์นั้นมาเติบโตขึ้นเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ก็เลยทำตามไปในรูปอย่างนั้น ทำตามๆ กันมาโดยไม่ได้นึกว่าอันนี้ไม่เหมาะไม่ควร ไม่กล้าที่จะตัดสิ่งที่ไม่ถูกต้องออกไปจากวงการของพระศาสนา ไม่กล้าที่จะพูดอะไร ที่เป็นความจริงให้ญาติโยมทั้งหลายทราบ เพราะตัวนั้นชอบสิ่งเหล่านั้น คือ ชอบสักการะที่ได้จากสิ่งเหล่านั้น ตัดไปเสียแล้วก็จะขาดรายได้ไปก็เป็นพวกติดอยู่ในลาภสักการะ ลาภสักการะก็ทำลายจิตวิญญาณของท่านผู้นั้น ไม่ให้เจริญงอกงามในทางดับทุกข์ดับร้อน ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา
สติปัฏฐานสี่ 
นี่เป็นเรื่องเสียหาย ไม่ใช่เสียหายเพียงเล็กน้อย เพราะว่าเป็นมิจฉาทิฐฏิ ทำคนให้หลง ให้เข้าใจผิดไปด้วยประการต่างๆ เช่นเรื่องที่ไม่เหมาะไม่ควร เป็นเรื่องที่เราควรจะพูดจา ทำความเข้าใจกับญาติโยม ให้รู้ชัด เข้าใจชัด ในเรื่องอย่างนี้ไว้ ให้เขาได้รู้ว่าอะไรเป็นพระพุทธศาสนา อะไรไม่ใช่หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา

ถ้าเราเห็นคนโง่ แล้วเราให้ความโง่เพิ่มแก่เขา เราไม่ได้ช่วยอะไรเขา ถ้าเราเห็นคนจน เราทำให้เขาจนหนักลงไป ก็ไม่ได้ช่วยคนจนนั้นให้อยู่ดีกินดีขึ้น ถ้าเราเห็นคนงมงาย แล้วเราช่วยให้มันงมงายหนักลงไป อะไรมันจะดีขึ้นในวงคนเหล่านนั้น อะไรจะเจริญงอกงามในคนเหล่านั้นผู้กระทำก็ไม่ใด้ชื่อว่า ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นนักบวช นุ่งเหลืองห่มเหลือง โกนผมโกนคิ้ว แต่หาได้ปฏิบัติตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ ได้ร่วมมือร่วมใจกัน ทำลายหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา ที่เป็นของแท้ของจริง ให้จมหายไป แต่ให้สิ่งซึ่งไม่ใช่สัจจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเจริญงอกงาม นั่นคือ การทำลายนั่นเอง

ทำไมพระพุทธศาสนาจึงเสื่อมสูญไปจากประเทศอินเดีย ก็่ไม่ใซ่ว่ามีคนอื่นมารังแกอะไร หามิได้ มาในตอนปลายเรียกว่าอิสลามรังแกบ้าง แต่ส่วนสำคัญที่สุดนั้น ก็คือว่า พระเราไม่ยืนหยัดอยู่ในหลักการของ

พระพุทธศาสนา พูดตามภาษาปัจจุบันว่า ใม่มีจุดยืนที่แน่นอน จุดยืนแน่นอนไม่มี แต่ว่ากวัดแกว่งไปตามอารมณ์คน อารมณ์โลก

ต้องการจะเอาพวกมาก ต้องการเอาบริษัท ต้องการลาภสักการะจากคนเหล่านั้นๆเลยโน้มเอียงไปตามความต้องการของคน คนต้องการอะไร ก็ทำสิ่งนั้นให้ ทำหนักเข้าๆ ชาวบ้านก็มองเห็นว่า พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานี่เหมือนกับนักบวชพราหมณ์ คือ เหมือนกับนักบวชพราหมณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ก่อนยุคพระพุทธเจ้า พราหมณ์ทำไสยศาสตร์ ทำน้ำมนต์ สวดวิงวอน บนบานศาลกล่าว เซ่นเจ้า เซ่นผี ไหว้เทวดา พระสงฆ์ก็ทำอย่างนั้น เมื่อทำเหมือนกับพราหมณ์แล้ว ก็มีพราหมณ์มาก่อนพระพุทธเจ้า ก่อนพระสงฆ์ แล้วทำไมเราจะต้องมานับถือพระสงฆ์อีก นับถือพราหมณ์แบบเดิมดีกว่า เพราะเหมือนกันแล้ว เลยหมดเท่านั้นเอง คือ หมดไปจากอินเดีย ก็เพราะว่าพระเราลดตัวลงไปทำทุกอย่างที่พราหมณ์กระทำ จนชาวบ้านเห็นว่าพระกับพราหมณ์เหมือนกันเสียแล้ว แล้วก็เลยไม่นับถือพระ ไม่สนใจพระต่อไป พระก็เลยหายไปจากประเทศอินเดีย ไม่มีพระเหลืออยู่ เวลานี้พึ่งแตกหน่อใหม่ขึ้นมาบ้างไม่กี่หน่อ เพราะว่าเอาพันธุ์ไปจากลังกาบ้าง ไปจากประเทศไทยบ้าง ได้ไปปลูกไปเพาะ ให้เกิดเชื้อขึ้นในประเทศอินเดีย นี่คือ การสูญพันธุ์

ในบ้านเมืองของเราเวลานี้ เรียกว่า มีพันธุ์นักบวชอยู่ แต่ว่าพันธุ์ปลอมก็มี พันธุ์แท้ก็มี มันก็จะทำให้เสื่อมต่อไปเหมือนกัน ถ้าเราอยู่กันในรูปส่งเสริมความเชื่องมงาย ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ต่อไปคนก็จะเสื่อมศรัทธามากขึ้น โดยเฉพาะคนใหม่ๆ ในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าในวิชาการ ไม่มีความเชื่ออย่างนั้น เขาก็มองเห็นว่า นักบวชในพระพุทธศาสนานี่ไม่ได้เรื่องอะไรเพราะไปทำสิงที่นอกเรี่องนอกราวของพระพุทธศาสนา คนเหล่านั้นก็จะไม่เข้าวัด ไม่ฟังธรรม ไม่ศึกษาพระศาสนา จิตใจก็จะห่างจากหลักธรรมะ สังคมก็อยู่ในความมืดบอด เหตุที่จะทำให้เกิดความมืดบอดก็เพราะว่า เราเอาน้ำมันปลอมมาใส่ตะเกียง ควันมันก็โขมงขึ้นมา ปิดบังดวงตาคนไม่ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ถูกต้อง ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา อันนี้คือความผิด เป็นสิ่งที่เราควรจะช่วยกันปรับปรุง แก้ไข ไม่ให้เกิดขึ้นในวงการของพุทธบริษัทต่อไป นี่เรื่องหนึ่ง

อีกเรื่องหนึ่งที่เราเห็นว่า มีคนหลงใหลใฝ่ฝันกันอยู่ เช่นเรื่องการทรงเจ้าเข้าผีอะไรต่างๆ เชิญวิญญาณเข้าทรงอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าวิญญาณของผู้นั้นผู้นี้มาเข้าทรงจริงหรือไม่ การทรงเจ้าเข้าผีนั้น อยากจะบอกให้ญาติโยมรู้ไว้ แล้วก็บอกต่อๆ กันไปว่า ไม่ใช่วิธีการของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์บทใดในพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนา ว่าให้ภิกษุไปทรงเจ้าเข้าผี ไปเชิญวิญญาณเข้ามาสิงสู่ แล้วก็สนทนาอะไรๆ กับคนที่ต้องการจะรู้จะเข้าใจ

พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เรากระทำอย่างนั้น ไม่มีหลักการอย่างนั้นในวงการพระศาสนา เรื่องทรงเจ้าเข้าผีทั้งหลายทั้งปวงนั้น ความจริงก็เป็นเรื่องการสกดจิตของบุคคลผู้นั้นเอง เพียงให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็เป็นไปตามที่เขาต้องการ เขาสร้างขึ้น สร้างอำนาจจิตขึ้นแล้วก็พูดไปตามอำนาจของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจในขณะนั้น คนฟังก็ไปเชื่อ เพราะว่าคนที่ไปนั้นเชื่อไปตั้งแต่บ้านแล้ว ไม่ได้ใส่แว่นไปด้วย ไม่ได้เอาปัญญาไปด้วย สุดแล้วแต่เขาทำอะไรก็เชื่อมันทั้งหมด เจ้าว่าอย่างนั้น เจ้าพ่อว่าอย่างนั้น เจ้าพ่อว่าอย่างนี้ ก็หลงเชื่อไป กลายเป็นเหยื่อของคนทรงเจ้าเข้าผี หรือของคณะที่ทรงเจ้าเข้าผี ที่จะเรียกร้องเอาอะไรจากคนนั้นได้โดยไม่ลำบากใจ เพราะคนเราถ้าเชื่อแล้วมันทำได้ทั้งนั้น ดูข่าวเมื่อปีก่อนโน้น คนอเมริกันที่ไปฆ่าตัวตายที่ประเทศกาน่า จำนวนเท่าไร เป็นร้อยๆ ฆ่าตัวตายตามคำสังของผู้ที่เป็นผู้นำในศาสนา ให้ฆ่าตัวตาย เพื่อชีวิตที่ดีกว่าต่อไป คนเหล่านั้นมันเชื่อด้วยความงมงาย ไม่ได้คิดมาก มีแต่ความเชื่อ หลับหู หลับตาเชื่อ สุดแล้วแต่เขาจะจูงไปในทางไหน ผลที่สุดเขาให้ฆ่าตัวตายมันก็ยอมฆ่าตัวตาย อันนี้คือความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับหลักการในทางพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าของเราสอนความเชื่อเหมือนกัน แต่พระองค์บอกว่า ต้องเชื่อด้วยปัญญา ไม่ได้เชื่อด้วยความงมงาย ไม่ได้เชื่อง่าย เชื่อดาย ตามที่เขาแสดง เขาทำให้เราดูแต่เราจะต้องเอาไปคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ว่าสิ่งนั้นมันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วจึงจะปลงใจเชี่อลงไป แต่ว่าในเบื้องต้นนั้น เราควรจะมีความเชื่อเป็นหลักประจำจิตใจว่า สิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งนั้นไม่ใช่พระพุทธศาสนา ให้ถือหลักอันนี้ไว้ก่อน ว่าสิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา สิ่งใดที่ไม่ใช่พุทธศาสนา เราผู้เป็นพุทธบริษัท จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง จะไม่เข้าไปยุ่ง จะไม่ไปสนใจ ไม่ไปหา ไม่ไปทำอะไรกับคนเหล่านั้น เราไม่ยอมไป เราไม่ยอมโง่กับคนพวกนั้น

อันนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เรา ตกเป็นเหยื่อของนักต้มมนุษย์ทั้งหลาย ที่อาศัยผี อาศัยเจ้า หรืออาศัยวิญญาณของใครๆ มาทรง แล้วก็ว่ากันไปตามเรื่องตามราว เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านั้น เพราะเราไม่ยอมหลับหูหลับตาเชื่อ เราเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า เชื่อมั่นในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ใครเขาทำอะไรกันที่ไหน เราไม่ไป เพราะไปมันไม่ได้อะไร ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางจะดับกิเลส ไม่ใช่ทางที่จะให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือ นิพพาน เราก็ไม่ไป ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสียเงินทอง ในการที่จะไปเอาสิ่งเหล่านั้น ไปหาสิ่งเหล่านั้น ไปถึงพวกนั้นก็ว่า คนโง่มาอีกหมู่หนึ่งแล้ว เขาก็ยิ้มเยาะ ยิ้มเยาะเราที่ไปหา มาให้กูต้มอีกแล้ว แล้วมันก็ต้มตามชอบใจ ขูดตามชอบใจ มันเสียศักดิ์ศรีของความเป็นพุทธบริษัท เสียศักดิ์ศรีของปัญญาชน ที่ไปให้พวกทรงเจ้าเข้าผีต้มยำได้ตามชอบใจ เป็นเรื่องที่ไม่สมควร

ยิ่งเป็นพระสงฆ์องค์เจ้าแล้วละก็ ยิ่งไม่สมควรเป็่นการใหญ่ เขาจะนิมนต์ไปทำพิธีอะไรที่มันไม่ใช่เรื่องของพระพุทธศาสนา เราก็ไม่ควรกระทำ ไม่ควรไปร่วมมือกระทำกับคนเหล่านั้น เราควรกล้าที่จะพูดกับใครๆ เสียบ้างว่า สิ่งนั้นมันไม่ใช่เรื่องพระพุทธศาสนา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ฉันเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า จะให้ไปทำอะไรที่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ฉันกระดาก ฉันอายในความเป็นพุทธบริษัทของฉันเราก็ไม่ต้องไป แม้จะได้ลาภสักการะ ได้จากการ ไปทำพิธีอย่างนั้น มันไม่พอกินอะไร เราไม่ทำก็ยังไม่ตาย เรายังมีข้าวฉัน มีกุฏิอยู่ มียาแก้โรค มีปัจจัยสี่ใช้ ทำไมจะต้องไปนั่งรับจ้างทำสิ่งโง่ๆ กับคนโง่ๆ ทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้มันน่าคิด
  สติปัฏฐานสี่
ความจริงควรจะคิดอย่างนั้น ถ้าเราคิดอย่างนั้น พระศาสนาของเราจะสดใสขึ้น จะก้าวหน้าขึ้น เพราะเราไม่ยอมทำอะไรแบบโง่ๆ ให้คนทั้งหลายที่มาขอให้เรากระทำ เราไม่ทำสี่งเหล่านั้นเพราะเราถือว่า ไม่ใช่แนวปฏิบัติตามหลักพระธรรมคำสอนในทางพระศาสนาก็ไม่มีเรื่องอะไรที่จะเสียหาย เหมือนกับสำนักที่ล่มไปนั้น มีพระไปอยู่หลายรูป พระเหล่านั้นขาดการศึกษา ไม่มีปัญญา ไม่มีความรู้ในเรื่องอะไร ไปตามความโง่เท่านั้นเอง ไปอยู่ก็มีอาหารกินสบาย มีอะไรสะดวก ก็เลยอยู่มันต่อไป อยู่ให้มันโง่ต่อไป จนกระทั่งสำนักล้มไปแล้ว ก็ใด้ออกไปหาที่อืนอยู่ต่อไป อย่างนี้มันก็มี

วันหนึ่ง หลายปีมาแล้ว อาตมาไปเทศน์ที่เพชรบูรณ์ แล้วไปที่หล่มเก่า ไปพักอยู่ที่วัดศรีสะเกษ ชื่อวัดศรีสะเกษหมือนกันวัดนั้น นอนในโบสถ์ เขาให้นอนในโบสถ์ พอตอนเย็นสัก ๕ โมง มีขบวนแห่มา ขบวนใหญ่มาก คนมาก แต่งตัวแปลกๆ คนแก่ผู้หญิงก็มี ผู้ชายก็มี ใส่เสื้อใส่แสง เครื่องแต่งตัว มองดูแล้วมันไม่เต็มบาททั้งนั้น คือ มันเที่ยวแต้มสีนั้น สีนี้ ตัดนั่น ตัดนี่ ให้วุ่นวายมองดูแล้วถามว่า มาจากไหนกัน ดูมันแปลกๆแล้ว คนหมู่นั้นก็มีพระไปด้วย ๓-๔ รูป ก็เลยสนทนากับเขา ถามว่านี่มาจากไหนกัน คือ ในหมู่นั้นมีผู้ชายอยู่คนหนึ่ง รูปร่างใหญ่โตมากใหญ่โต สูงหน่อย แขวนลูกกระพรวน ลูกกระพรวนที่เขาแขวนหมา แกเอามาแขวนไว้ที่คอแก แล้วไม่ใช่แขวนลูกเดียว แขวนหลายลูก เป็นพวงๆ เลย ถามว่า คนแขวนลูกกระพรวนนั่นเป็นอะไร นั่นแหละหัวหน้า

โธ่เอ๋ย นี่หัวหน้ามันเป็นอย่างนั้น แล้วลูกน้องที่ตามมาจะขนาดไหน อาตมาก็นึกในใจว่า หัวหน้ามันก็โง่ ลูกน้องมันก็แย่น่ะซิ แขวนลูกกระพรวนนี่ เวลาเดินดังกริ๊งกรั้งๆ เรานึกว่าม้าวิ่งมาแล้ว แต่มันกลายเป็นม้าสองขาไป เลยถามว่านี่อะไรนี่ พวกไหนกันนี่ เขาบอกว่านี่หลวงพ่อเขียด หลวงพ่อเขียดว่าอย่างนั้น เอ๊ะชื่อเกียรติ ไม่ใช่เกียรติหลวงพ่อเขียด ถามว่าทำไมชื่ออย่างนั้น ชื่อหลวงพ่อเขียด เขาบอกว่าเขียด มันตัวเล็กกว่ากบว่าอย่างนั้น


ที่ลพบุรี ที่อำเภอบ้านหมี่ มีหลวงพ่ออยู่องค์หนึ่ง เขาเรียกว่าหลวงพ่อกบ หลวงพ่อกบนี่ท่านอยู่ถ้ำสาริกา ที่ภูเขาบ้านหมี่นั่นแหละ ทางตะวันตกของสถานีบ้านหมี่ เขาเรียกว่าเขาสาริกา หลวงพ่อกบที่นั่นเก่ง นี่ไม่ใช่หลวงพ่อกบ นี่หลวงพ่อเขียด คือ มันเล็กกว่ากบหน่อยหนึ่ง แล้วก็จะพากันไปไหนล่ะนี่ บอกว่าไปเที่ยวนมัสการสถานที่ต่างๆ ก็เลยมานมัสการที่นี่ อาตมา ก็นึกว่าพวกนี่มันจะนมัสการกันที่ตรงไหนอาตมาพักในโบสถ์นี่ คนหนึ่งเป็นลูกน้อง หัวหน้าให้มา มาถึงบอกว่า ท่านครับ ถ้าพวกผมจะมาไหว้พระในโบสถ์นี้จะได้ไหม บอกว่าจะเป็นไรไป ไหว้พระไม่มีอะไรเสียหาย ก็มาไหว้ นั่งไหว้สวดมนต์ธรรมดานั่นเอง สวดอิติปิโส สวากขาโต สุปฏิปันโน อะไรอย่างนี้ เริ่มต้นก็เข้าทีหรอก สวดกันธรรมดา แต่มันประหลาดใจว่า ลูกน้องนี่นั่งหลับตาสวดทั้งนั้น ไม่มีลืมตาสวด ส่วนหัวหน้าที่แขวนลูกกระพรวนสำหรับแขวนสุนัขนี่ แทนที่จะสวด กลับนั่งขัดสมาธิสูบบุหรี่ฉุยอยู่คนเดียวในโบสถ์นั่น


พวกนั้นก็หลับตาสวด แต่หัวหน้าไม่สวด นั่งสูบบุหรี่ อาตมาออกมาอยู่นอกโบสถ์แล้ว ปล่อยให้เขาแสดงของเขาไปตามเรื่อง ก็ไปยืนมองทางหน้าต่าง ว่า ลูกน้องนี่หลับตาสวด แต่หัวหน้า กำลังนั่งสูบบุหรี่ไม่เห็นสวดอะไรสักหน่อย ก็สวดกันจบ พอจบแล้วก็นั่งสงบใจนิดหน่อย พอนั่งสงบใจแล้วหัวหน้าก็เทศน์ให้ฟัง ไม่พูดภาษาไทย ไม่พูดภาษาที่มนุษย์ฟังได้ แต่พูดภาษาอะไรก็ไม่รู้ เอามาเขียนเป็นหนังสือก็ไม่ได้ เอามาเลียนแบบก็ไม่ได้ มันว่าอะรกโต๊กๆ อะไรก็ไม่รู้เรื่อง มันว่ากันไปอย่างนั้น ว่ายืดยาว ว่าคล่องเชียวนะ ภาษาบ้าบอนี่ว่าไปได้ อาตมาฟังๆ สวดอะไร

พอเขาจบแล้วมีคนหนึ่งออกมาจากโบสถ์ อาตมาถามว่า หัวหน้าเทศน์ภาษาอะไร เขาบอกว่า ภาษาวิญญาณ แล้วพวกเราฟังรู้เรื่องหรือ บอกว่าไม่รู้หรอก ฟังไม่รู้ ไม่รู้แล้วฟังทำไม หัวหน้าเขาให้ฟังก็ต้องฟัง นี่มันหลับหูหลับตาเชื่อแท้ๆ มันเชื่อแล้วก็่หลับหูหลับตาฟัง เป็นอย่างนั้น ฟังไปแล้ว พอเสร็จแล้วออกจากโปสถ์ ออกจากโบสถ์ก็ตีกลองอีก มีกลองยาว กลองสั้น ตีกันไปรำกันไป แห่กันไปรอบโบสถ์ ๒-๓ รอบ แล้วก็เดินรำกันไป ไปตรงโน้น ตรงนั้นมีศาลอยู่หน่อยหนึ่ง เรียกว่า เป็นศาลเก่า คนก็ยังไปไหว้อยู่ คล้ายกับศาลหลักเมืองอะไรอย่างนั้น ตีกลองไป ไหว้กันอยู่ที่นั้นแหละ ตีกลองสนั่นหวั่นไหว รำฟ้อนกันไป คนแก่ๆ ทั้งหมดลุกขึ้นรำป้อแป้ ป้อแป้ อาตมาก็ ไปยืนดู เสียดายไม่มีกล้องวีดีโอเทปสมัยนั้น ถ้ามีแล้วจะได้ถ่ายภาพ มันน่าดู เรียกว่าคนแก่รำกัน รำกันจนเหนื่อย


พอเหนื่อยแล้วคนหนึ่งอยากจะหยุดรำ พวกตีกลองไม่ยอมหยุดตีกลอง ทะเลาะกันอีกแล้ว เอ้า แล้วกัน ตีกันแล้ว นี่ ตีกันแล้ว พวกนนั้นตีกัน ชกกันต่อยกัน วุ่นวายกันไปหมด จน สมภารต้องมาห้าม บอกว่า เอ้า ทำไมอีกล่ะ ตีกัน หรือ ความมันไม่ตรงกัน ก็เลยตัดสินกันด้วยหมัดด้วยมวยหน่อย ว่าอย่างนั้น ตีกันใหญ่ เสร็จแล้วรุ่งเช้าอาตมาก็ว่า เมี่อคืนนี้ทำไมรำนาน รำถวายเจ้า ว่าอย่างนั้น เอ้อ ไปกันอย่างนั้นเสียแล้ว แล้วทำไมถึง ตีกันล่ะ มันไม่ตกลง ไอ้พวกหนึ่งจะหยุดรำ พวกตีกลองไม่ยอมหยุด มันจะตีเรื่อยไป ทีนีกลองขึ้นเราก็ทนไม่ได้ต้องลุกขึ้นรำ รำกันจนเหนื่อยหอบไปตามๆ กัน เพราะบางคนอายุ ๖๐ กว่าแล้ว รำมากๆ มันก็จะสลบไสล อาตมาดูๆ แล้วว่า เฮ้อ มันบ้ากันสิ้นดีอ้ายพวกนี้ เรียกว่า มันตามหลวงพ่อเขียด มันก็เลยเป็นเขียด ไปตามๆ กัน นี่เป็นตัวอย่างที่มองเห็น ที่ความเชี่องมงาย


คนที่เขาเป็นหัวหน้าคนในเรื่องอย่างนี้ เขามีจิตวิทยา พวกนี้เข้าใจวิธีการต้ม วิธีการหลอก มีกลเม็ด เรียกวามี Trick ถ้าพูดภาษาอ้งกฤษ เขาเรียกว่ามี Trick สำหรับที่จะล่อจะหลอกให้คนเพลินไปกับอารมณ์ จูงใจ เขามีวิธีการจูงใจให้เพลิดเพลิน มัวเมาไปกับสิ่งเหล่านั้น แล้วเขาทำอะไรให้มันแปลกๆ ตามวิธีการของเขา ที่เคยฝึกเคยอบรมมาในเรี่องอย่างนั้น คนก็เลยเชื่อเพราะถูกจูงใจ แล้วคนเราถ้าถูกจูงใจแล้วมันเชื่อไป เดินไปตก เหวก็ตกเหวละ ตกบ่อก็ตกบ่อ มันไม่ถอยหรอก เชื่อ เขาจึงใช้วิธีการอย่างนั้น คนก็ไปหลง


อันนี้มันขัดกับหลักพระพุทธศาสนา คือพระพุทธศาสนา นั้นไม่มีวิธีการจูงใจให้คนหลง ให้คนงมงายให้คนเชื่ออะไรแบบงมงาย พระพุทธเจ้าจะจูงใครไปไหนท่านให้เดินลืมตา ให้มองเห็นอะไรชัดเจนแจ่มแจ้ง ไม่ให้เดินอย่างงงมงาย ไม่ให้เดิน ตกหลุมตกบ่อ แห่งความโง่ ความเขลา ความหลงผิดต่างๆ พระพุทธศาสนาไม่มีเรื่องความบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนานี้ คุยได้ว่า ร้อยเปอร์เซ่นต์ พระพุทธศาสนามีคำสอนที่บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีอะไรเข้าเจือปนเลยแม้แต่น้อย แต่ที่เราเห็นปะปนกันอยู่บ้าง สานุศิษย์เยุคหลังเที่ยวเอามาปนเข้าไว้เป็นเนื้อไม้ผุๆ เอามาใส่ไว้ในเนื้อไม้ดีๆ พระพุทธเจ้าท่านก็รู้ ว่าต่อไปข้างหน้ามันจะเกิดอะไร พระองค์จึงได้กล่าวเปรียบเทียบว่า "มีกลองอยู่ใบหนึ่ง ทำด้วยไม้อย่างดี แต่ว่าต่อมาสิ่งทั้งหลายมันไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลง เนื้อไม้อย่างดีของกลองใบนั้น มันผุไปบางส่วน เมื่อผุไปก็เอาไม้อื่นมาใส่ ต่อมาผุอีกก็เอาไม้อื่นมาใส่ไว้ ใส่เข้าไปจนกระทั่งว่าเนื้อกล่องไม้เดิมไม่มีแล้ว มีแต่ไม้ผุๆ มาใส่ไว้ทั้งนั้น กลองใบนั้น ไม่ใช่กลองเดิมแล้ว แต่มีไม้อื่นมาปะจนไม่รู้ ว่ากลองเดิมคือไม้อะไร" อันนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นฉันใด

สติปัฏฐานสี่
ต่อไปข้างหน้าศาสนาของตถาคต จะมีพวกมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย เอาคำสอนที่ไม่ใช่สัจจธรรมเข้ามาปะปนไว้ในคำสอนของตถาคต ปะปนเข้าไปทีละน้อย ทีละน้อย จนกระทั่งว่า หมดเลย คำสอนไม่มี เนื้อแท้ไม่มี มีแต่สิ่งทีไม่ถูกต้อง เป็นไม้ผุๆ เข้ามาปะปนไว้ จนไม่รู้ว่าอะไรเป็นเนื้อแท้ นี่แหละมันสำคัญ พระพุทธเจ้าท่าน วาดภาพไว้แล้ว ว่าให้ระวังไว้ บอกว่า สิ่งนี้ไม่เกิดในปัจจุบัน แต่จะเกิดในอนาคตข้างหน้า ท่านพูดอย่างนั้น เพื่ออะไร เพื่อเตือนภิกษุทั้งหลาย อุบาสก อุบาสิกา ให้รู้ไว้ว่า กล่องคือ สัจจธรรมของพระพุทธเจ้านั้น จะถูกเอาไม้ไม่ดีเข้ามาปนจนจำไม่ได้ แล้วก็ไปยึดถือเอาสิ่งไม่ดีนั้น ว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนา

อันนี้เป็นความจริง ที่ปรากฎอยู่ในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งเราเห็นว่ามีอะไรมากมายก่ายกอง ที่เข้ามาแทรกมาปนในธรรมะของพระพุทธเจ้า จนคนไม่ถึงธรรมะ ไม่รู้จักเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา หลงไหลมัวเมากันไปด้วยรูปต่างๆ นี่เรื่องหนึ่ง ที่น่าคิด

อีกเรื่องหนึ่งที่ทำคนให้มัวเมาไม่เข้าเรื่อง ให้สังเกตญาติโยมที่มาจากไกลๆ นั่งรถผ่านทางถนนสายใหญ่ๆ เช่นโยมมาจากนครปฐม ถนนที่มีสามแยก สี่แยก หรือตลาด จะเห็นป้ายใหญ่โตมหึมา ป้ายแผ่นโตๆ งานอะไร งานวัด ผูกพัทธสีมา วัดนนั้น วัดนี้ ลงทุนเขียนไม่ใช่น้อยนะ ใช้สีใช้สรรอย่างดี แล้วไม่ใช่รายเดียว เป็นร้อยๆ รายที่เอาไปบอกไว้ในที่ต่างๆ ลงทุนไม่ใช่น้อย อาตมาดูป้ายแล้วสลดใจ ไม่ใช่สลดใจว่าป้ายใหญ่ หรือว่า เปลืองสี ใม่ใช่อย่างนั้น

แต่มันสลดใจว่า ชวนคนให้มาทำอะไร ในงานเหล่านั้น ไม่มีรายใดที่จะชวนคนให้มาลืมหูลืมตาเลย แต่ชวนคนให้มาโง่กันทั้งนั้น มาหลับหูมาหลับตากันทั้งนั้น มาทำอะไร เพราะในป้ายเหล่านั้นไม่มีเรื่องศาสนา แต่บอกว่าในงานนี้มีดนตรีลูกทุ่งวงสายัญสัญญา สุรพล อะไรต่ออะไร สังข์ทอง สีใส มีหนังจอยักษ์ แล้วก็มีลิเกอะไรต่ออะไร เรื่องสนุกทั้งนั้น แปลว่า ให้คนมาวัด เพื่อความสนุกสนานเฮฮา ไม่ได้มาศึกษาธรรมะ แล้วทางวัด ก็ไม่ได้ประกาศธรรมอะไร หาโฆษกอย่างดี ท่านทั้งหลายได้ปิดทองลูกนิมิตแล้วหรือยัง อะไรคืออะไร โฆษณาจะให้คนชื้อทองปิดหินเท่านั้นเอง แต่ว่าไม่ไม่โษณาว่าให้เชิญไปฟังธรรมที่นั่น ให้ไปนั่ง สวดมนต์ที่นี่แล้ว ญาติโยมที่ไปในงานลูกนิมิตนี่ก็ไปด้วยความ ขออภัยเถอะ ออกไปด้วยความโง่เหมือนกันอีกนั่นแหละ ไม่ใช่ไปด้วยความฉลาดอะไร ไปให้มันโง่หนักลงไปอีก คือ เข้าใจว่า ถ้าได้ปิดทองหินลูกนิมิตแล้ว จะไม่ไปตกนรก มันจะกั้นนรกได้อย่างไร เพียงปิดทองลูกนิมิตเท่านั้น


นั่นเป็นอุบายของเขา ที่จะให้คนไปซื้อทอง เพื่อเอาเงินมาบำรุงวัด แล้วว่าเงินบำรุงวัดไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องแบ่งให้คนขายทองบ้าง คนชายเข็มบ้าง คนขายเชือกบ้าง คนขายธูปขายเทียนบ้าง วัดได้กี่เปอร์เซ็นต์ ที่จะได้มาเข้าวัดก็ใม่เท่าใด เรียกว่า ได้ไม่เท่าไร แล้วก็ยังไปแบ่งให้หนังละครอีก วงดนตรีลูกทุ่งทั้งหลาย ลูกกรุงทั้งหลายเพลงอะไรทั้งหลาย มากมายก่ายกอง ๕ วัน ๕ คืน ๗ วัน ๗ คืน ทำให้เศรษฐกิจของชาติซบเซาไปสักเท่าใด เพราะคนไปเที่ยวกลางคืน แล้วรุ่งเช้าไม่ต้องตัดอ้อยแล้ว มันง่วง ตัดอ้อยไม่ได้ เดี๋ยวไปตัดมือของตัวเองเข้าให้เท่านั้นเอง พวกทำอะไรก็ไม่ได้ทำเท่านั้นเอง แล้วนี่เราไม่ได้คิดถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจ ไม่ได้คิดถึงความเสื่อมโทรมทางจิตใจ เราคิดแต่ว่าจะสนุกกันเท่านั้นเอง


ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ลำพังแต่วัด แต่ชาวบ้านนั่นแหละเข้าไปหนุนคนเวลานี้นะโยมนะ วัดไหนจะมีงานแล้ว รับอาสา ผมจะไปหาดนตรี ผมจะช่วยเรื่องดนตรี ไม่ได้ช่วยให้วัดได้ แต่ช่วยให้วัดฉิบหาย กรรมการครึงหนึ่ง วัดครึ่งหนึ่ง จนร้องเป็นเพลงแล้วเวลา เอาไปร้องเป็นเพลงแล้ว มาช่วยผมจะหาดนตรีมาช่วย ผมจะเอามวยมาช่วย ชกมวย ในงานวัดนี่ชกมวย พอชกมวยเสร็จมาถึงบอกว่า แหม หลวงพ่อ ไม่ได้กำไรอะไรเลย ขาดทุน วัดไม่ได้สักสตางค์หนึ่ง เพราะมันบอกว่าขาดทุน แล้วจะเอาอะไร สมภารจะไปฟ้องร้องที่ไหนละ มีพันธะสัญญาอะไรกันบ้างล่ะ ว่ากี่เปอร์เซ็นต์ มันชกมวยเสร็จแล้วก็กลับบ้านน่ะซิ กลับบ้านไม่กลับเปล่า แต่ทิ้งเวทีไว้ให้พระรื้อด้วย พระก็ต้องไปรื้อเวทีมวย โกยขยะมูลฝอย เศษกระดาษถุงพลาสติก ถ้ามีงาน ๗ วัน ๗ คีน นื่ วัดเหม็นทั้งวัดเลย คนเที่ยวขี้รด เยี่ยวรดเต็มวัดเลย ไม่สามารถจะเดินได้แล้ว


อาตมานี่ถ้าเขานิมนต์ ถามว่าไปงานอะไร ไปงานฝังลูกนิมิต ไปเทศน์วันไหน วันสุดท้ายของงาน บอกว่าไม่เอาหรอก พิษมันมากในงานนั้น ฉันไม่ไป ไม่ไปแล้ว คือไม่ไปส่งเสริมงานที่บ้าๆ บอๆ อย่างนั้น ไม่ไหว มันยุ่ง


นี่เรียกว่าเราไม่ได้ส่งเสริมหลักศีลธรรม ไม่ได้ทำคนให้ฉลาดได้ลืมหูลืมตากันเลย ทุกวัดทุกวาทำกันอย่างนั้น ส่งเสริมแต่สิ่งที่ว่าไม่ถูกต้อง มันเป็นอย่างนี้


วันนี้ตอนบ่าย เขานิมนต์ให้ไปเทศน์วัดมหาธาตุ พระนักศึกษาหนุ่มๆ เขาจัดงาน จะต้องไปพูดสักหน่อย ทำไมจะต้องมีภาพยนตร์ด้วย ทำงานในวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ ทำไมจะต้อง มีภาพยนตร์ด้วย มันไม่จำเป็นอะไรที่จะต้องมีภาพยนตร์ฉาย เพราะว่า รอบวัดมันก็มีอยู่แล้ว สนามหลวงเขาก็ฉายกันบ่อยๆ แล้วคนกรุงเทพฯ นี่ เราไม่ต้องเอาภาพยนตร์มาให้ดูแล้ว โยมดูกันจนตาเปียกตาแฉะ จนตาบอดไปตามๆ กันแล้ว แล้วทำไมจึงมี คือ พระหนุ่มแกอยากดูเอง ไม่ใช่เรื่องอะไร ทีนี้เอามาแสดงในวัด แล้วทีนี้เอาสตางค์โยมมาใช้ให้ค่าภาพยนตร์อีก วันนี้เขาจะให้ไปเทศน์ ต้องเล่นงานพวกพระหนุ่มๆ เสียหน่อย คือ ไม่ได้เรื่องอะไร ทำอะไรจะขาดทุนไปเสียเรื่อย ขาดทุนเงินนี่ไม่สำคัญหรอกโยม ขาดทุนทางจิตทางวิญญานี่มันสำคัญนักหนา คือ ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ทำให้จิตเสือม เพิ่มราคะ เพิ่มโทสะ เพิ่มโมหะ เพิ่มความชั่วขึ้นในจิตใจ อันนี้มันเสื่อม


อาตมาไม่ส่งเสริมสิ่งเหล่านั้น จิตใจไม่ชอบ คือ ไม่ชอบสิ่งเหล่านั้น มันติดมาตั้งแต่โยม ความจริงที่บ้านโยมนี่ พวกมโนราห์มาขอพักนอน มโนราห์โรงหนึ่งมันตั้ง ๒๐ คนที่มาพัก ก็หุงข้าวให้กิน พอหุงข้าวให้กินแล้ว ก็ไปบอกโยมว่า ผมจะรำให้ชาวบ้านดูหน่อย โยมบอกว่า นอนดีกว่า เธอเหนื่อยๆ อย่ารำเลยนอนเถอะ โยมแกไม่ชอบให้มันรำ นอนเถิดพรุ่งนี้จะได้เดินทางแต่เช้า รุ่งเช้าขึ้นโยมผู้หญิงหุงข้าวหม้อใหญ่ๆ แกงหม้อใหญ่ๆ ให้กิน กินเสร็จแล้วไปเลย ไม่ต้องรำ คือ ไม่ชอบให้รำ


อาตมาอยู่ในบ้านอย่างนั้น ก็ไม่ค่อยชอบอะไร ดนตรี ลูกทุ่ง ลูกกรุงอะไร เขาว่า คนไม่ชอบดนตรีเป็นคนป่าแต่ก็ป่าในเมือง เราไม่ใช่ป่าอย่างนั้น คือ ฟังได้เหมือนกัน ถ้าดนตรีที่เป็นประโยชน์ ฟังเพื่อศึกษาเพื่ออะไรอย่างนั้น แต่ถ้าฟังให้มันเพลินมันไม่ได้เรื่องอะไร เช่นมีงานวัด มีลูกทุ่งวงใหญ่สลับกัน คืนนี้สายัญสัญญา คืนพรุ่งนี้เพลินพรหมแดน อะไรต่ออะไรไม่รู้เอามาเล่นกันในวัดนั้น เพราะฉะนั้นพวกวงดนตรีนี่บัญชียาวเหยียด งานฝังลูกนิมิตวัดนั้นวัดนี้ ไปแสดงแสดงกันเป็นการใหญ่


เมื่อแสดงดนตรีสนุกสนานมาก เป็นเหตุให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในวัดเพราะว่า คนมันมาก มันสนุกมันขอเพลง ทีนี้พอขอแล้วไม่ให้เดี๋ยวมันก็ขว้างเวทีแล้ว เกิดเรื่องแล้ว ตีรันฟันแทงกัน ชกต่อยกันในงานบุญงานกุศลแล้ว นี่แหละคือความเสื่อม ยิ่งรำวงด้วยแล้ว ยิ่งเละเทะใหญ่ หารำวงมาเล่นในงาน ในงานบุญงานกุศลนี่แหละ รำวง รำวงแหม นุ่งชายหาด ไม่มีหาดสักหน่อย ไม้กระดาน ไม่ได้ไสกบด้วยซ้ำไป ที่ขึ้นไปเต้นอยู่นั่น บอกว่ารำวงชายหาด แต่งดัวไม่เข้าท่า ไม่น่าจะเอามารำกันในบริเวณงานวัดเลย งานศาสนา
    สติปัฏฐานสี่ 
งานวัดนี่เราควรจะมีจุดหมายว่า ทำงาน เพื่อให้ คนเขึาถึงศาสนา ให้คนได้เรียนรู้ธรรมะ เงินไม่สำคัญ เงินนั้นถือว่าเป็นผลพลอยได้เท่านั้น เราไม่ถือเป็นเรื่องใหญ่ให้ ถือว่า จิตใจสำคัญ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญ แล้วเงินนั้น เป็นผลพลอยได้ มันเกิดทีหลัง เมื่อคนดีแล้วเขาทำเอง คนเข้าใจแล้วเขาทำเอง แล้วทำถูก ทำดี เขาไม่งมงาย ไม่ทำด้วยความงมงาย ด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ ทำอะไรมันก็ขึ้น เป็นการบำรุงศาสนาถูกต้อง ทีนี้เราไม่ได้สอนให้เขารู้ธรรมะ ไม่แจกธรรมะ มีงานแจกแต่เครื่องรางของขลัง บางทีก็มีหลวงพ่อไปนั่งอยู่ด้วย มานั่งปลุกเสก นั่งปลุกนั่งเสก ให้ญาติโยมทั้งหลาย แทนที่จะเสกด้วยธรรมะ แต่ไป เสกด้วยความโง่ ความเขลาเข้าไปอีก ไปนั่งเสกอย่างนั้น หลวงพ่อก็อุตส่าห์นั่งไปจนปวดเอวปวดหลัง นั่งเสกนั่งรดน้ำมนต์ไปบ้าง อะไรไปบ้าง สะเดาะเคราะห์ สะเดาะโศกอะไรไปตามเรื่องตามราว อาตมาเคยไปเห็น เห็นแล้วมันสลดใจสลดใจว่าทำไมจึงไปกันถึงขนาดนี้ ช่างไม่รู้บ้างว่า สมเด็จพ่อของเรานั้นชอบอะไร สั่งให้เราทำอะไร แล้วเราทำอะไรกันอยู่เวลานี้ มันถูกไหม ตรงไหม กับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเราพูดว่าบำรุงศาสนา


บำรุงศาสนา บำรุงอะไร บำรุงที่ตรงไหน ญาติโยมลองคิดดู บำรุงศาสนานั้น เราต้องบำรุงด้วยศึกษาให้เข้าใจ นี่เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องต้น ศึกษาให้เข้าใจ ให้รู้เนื้อแท้ของศาสนา ต่อไปก็ปฏิบัติตามสิ่งที่เราได้รู้ได้เข้าใจ แล้วปฏิบัติด้วยตนเองก็ยังไม่พอ ต้องชวนเพื่อนฝูงมิตรสหาย ให้ช่วยกันปฏิบัติสิ่งถูกต้องตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาต่อไป ที่ใดเขามีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เราก็เข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุน ให้สำนักให้กับบุคคลที่เขาทำถูก ทำชอบนั้น ได้มีกำลังใจที่จะทำอะไร ให้มันถูกต้องต่อไป นีแหละเรียกว่าบำรุงศาสนา


พระศาสนาคือตัวธรรม ศาสนาเจริญคือ จิตใจคนเจริญด้วยธรรม ถ้าศาสนาเจริญด้วยวัตถุ โบสถ์สวยงาม ปิดทองอร่อมตา แต่คนข้างวัดมีแต่คนขี้เมาหยำเป บ่อนการพนันเลอะเทอะกันอยู่ทั้งนั้น แล้วจะเจร้ญได้อย่างไร นั่นมันเจริญเปลือก ไม่ได้เจริญด้วยเนื้อ แล้วถ้าเปลือกเจริญ ประเทศชาติจะอยู่ได้อย่างไร นี่มันกินไปไกล คุณโทษมันมองเห็นกันทั้งนั้น เราต้องแก้แล้วเวลานี้ ต้องช่วยกันแก้ไข ที่จะให้คนเข้าใจถูก ในเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้ปฏิบัติถูก สิ่งใดที่เป็นความงมงาย ไม่ถูกไม่ตรงต่อหลักคำสอน เราก็ค่อยขูดค่อยเกลาไปตามเรื่องตามราว นี่ญาติโยมมาวัดชลประทาน แล้วอาตมาก็ขูดเกลากันมาเรื่อย ขูดเกลากันไปเรื่อยๆ ก็ดีขึ้นเยอะแล้วเวลานี้ เรียกว่า อะไรที่งมงายไม่เข้าเรื่องก็ค่อยเบาไป จางไป ความเข้าใจถูกขึ้น แล้วขอให้ช่วยนำสิ่งถูกต้องนี้ ไปบอกกล่าวแก่เพื่อนบ้าน แก่อนุชนรุ่นหลังของเรา เช่นมีลูกมีหลาน เราก็สอนให้เข้าใจถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา กวดขันให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปตั้งแต่ตัวน้อยๆ เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นนิสัยสันดานในด้านธรรมะ มีนิสัยเป็นธรรมะ มีสันดานเป็นธรรมะ มีอะไรถูกต้องเป็นธรรมะ ชีวิตเราจะมั่นคง ครอบครัว สกุล ประเทศชาติจะอยู่รอดปลอดภัย เรื่องมันเป็นอย่างนี้ จึงขอฝากให้ญาติโยมทั้งหลาย ได้คิดนึกไว้ด้วย เพื่อเป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจ


ดังที่พูดมาในวันนี้ ก็สมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้

ต่อไปนี้ ขอเชิญญาติโยมนั่งสงบใจ เป็นเวลา ๕ นาที นั่งสงบใจ นั่งตัวตรง หลับตาเสียมันไม่ยุ่ง แล้วก็หายใจเข้าแรงลึก เพื่อจะได้กำหนดง่าย หายใจออกแรง หายใจเข้าออกแรงๆ ช่วยสุขภาพทางกายด้วย ทำให้สุขภาพดีขึ้น ว่างๆ หายใจแรงๆ เสียบ้าง แล้วเวลาหายใจก็รู้ว่ากำลังหายใจเข้า กำลังหายใจออก คอยกำหนดรู้ เป็นการฝึกจิต การหายใจแรงนั้นเป็นประโยชน์ทางสุขภาพร่างกาย การกำหนดรู้เป็นประโยชน์แก่สุขภาพทางจิตใจ ได้กำไร เรื่องเดียวแต่ได้กำไร ๒ อย่าง จะทำให้สิ่งทั้งหลายดีขึ้น กำหนดรู้อย่าไปนึกเรื่องอื่น มันไปก็ดึงกลับมา ให้มาอยู่ที่ลมเข้า ลมออก หายใจเข้าออก กำหนดรู้ไว้ เผลอปุ๊บมันไปทันที ต้องดึงกลับมา ให้อยู่ที่ลมเข้าลมออกให้ทำเป็นเวลา ๕ นาที