ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โครงการปรับปรุงตลาดสดลีรถไฟ เมืองสงขลา

เริ่มโดย ลูกแมวตาดำๆ, 22:08 น. 03 ต.ค 55

ลูกแมวตาดำๆ

โครงการปรับปรุงตลาดสดลีรถไฟ เมืองสงขลา โดยบริษัทมิตรทอง ณ ย่านอดีตสถานีรถไฟสงขลา ถ.ปละท่า-ถ.รามวิถี ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา

ป้ายจำลองมุมสูง หน้าสำนักงาน บ.มิตรทอง

[attach=1 width=700]

นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

ลูกแมวตาดำๆ

ภาพมุมกว้าง ด้านหลังของ(อดีต)สถานีรถไฟสงขลา ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรแล้วตั้งแต่มี พ.ศ.2547 ซึ่งวันที่ 1มกราคม2557 ก็จะมีอายุครบ100ปีแล้วครับ แต่สภาพที่เห็นแล้ว เสียดายคุณค่าการขึ้นทะเบียนจริงๆครับ ส่วนหนึ่งก็ยังติดสัญญาเช่าที่เกิดขึ้นก่อนการขึ้นทะเบียนฯ แถมปีนี้ก็มีการขึ้นป้ายโครงเหล็กของผู้เช่า ทำให้บดบังทัศนียภาพไปอีก เหอๆ

[attach=1 width=700]

ลูกแมวตาดำๆ

โครงการห้างสรรพสินค้า "ลี ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ ช้อปปิ้งแอนด์มูฟวี่" ภายในโครงการ ตลาดลีรถไฟ // โครงการนี้อยู่บริเวณสถานีรถไฟสงขลา(ทิศเหนือของอาคารสถานี แต่คงจะไม่ส่งผลกระทบต่ออาคารและแนวราง โดยน่าจะดัดแปลงอาคารเดิมของโรงภาพยนตร์เฉลิมทองสงขลา ที่ปิดตัวไปเกือบ20ปีแล้ว

[attach=1 width=700]

บ้านรถไฟ

โครงการนี้เกิดค่อนข้างยากมากๆ ด้วยหลายเหตุผล
1 ต้องมีการขับไล่คนที่อยู่อาศัยเดิมออก (ผู้เช่าเดิม) เกือบสิบครอบครัว (หรือมากกว่า) เพราะต้องรื้อบ้านและโรงหนังเก่าออกเพื่อสร้างห้าง และคนเหล่านี้ เขาไม่ได้ทำผิดสัญญาอะไรเลย และอยู่อาศัยมา 10-20 ปี ทำให้ต้องมีการรวมตัวเพื่อประท้วง ส่งหนังสือไปเทศบาล , ผู้ว่า สงขลา , ศาลปกครอง , การรถไฟ เพื่อความเป็นธรรม
2. พื้นที่ที่จะมีการสร้างห้างบางส่วนอยู้ในเขตอนุรักษ์ของพิพิธภัณฑ์ ที่การรถไฟได้มอบพื้นที่ให้พิพิธภัณฑ์ดูแล ตอนนี้จึงมีการฟ้องร้อง ห้างลี
3.จนถึงบัดนี้ 5 ตุลาคม 2555 ยังไม่มีการเซ็นต์สัญญาสัมปทานพื้นที่ระหว่าลีวิวัฒน์ (ในชื่อของ บ.มิตรทอง (ใหม๋)) กับการรถไฟ
4.มีการรวมกลุ่มประท้วงต่อต้าน ลีวิวัฒน์ จากผู้เช่า ทั้งบ้าน ร้านค้า แผงเช่าอย่างต่อเนื่อง
5.......

ลูกแมวตาดำๆ

พื้นที่อนุรักษ์ที่กล่าวถึง น่าจะเป็นพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2547 มากกว่าครับ เพราะรู้สึกคุ้นๆว่าจะกินบริเวณมากกว่าตัวอาคารสถานี แต่ไม่ถึงป้ายประเพณีครับ

คนสงขลาแต่แรกเกิด

อ้างจาก: บ้านรถไฟ เมื่อ 00:14 น.  06 ต.ค 55
โครงการนี้เกิดค่อนข้างยากมากๆ ด้วยหลายเหตุผล
1 ต้องมีการขับไล่คนที่อยู่อาศัยเดิมออก (ผู้เช่าเดิม) เกือบสิบครอบครัว (หรือมากกว่า) เพราะต้องรื้อบ้านและโรงหนังเก่าออกเพื่อสร้างห้าง และคนเหล่านี้ เขาไม่ได้ทำผิดสัญญาอะไรเลย และอยู่อาศัยมา 10-20 ปี ทำให้ต้องมีการรวมตัวเพื่อประท้วง ส่งหนังสือไปเทศบาล , ผู้ว่า สงขลา , ศาลปกครอง , การรถไฟ เพื่อความเป็นธรรม
2. พื้นที่ที่จะมีการสร้างห้างบางส่วนอยู้ในเขตอนุรักษ์ของพิพิธภัณฑ์ ที่การรถไฟได้มอบพื้นที่ให้พิพิธภัณฑ์ดูแล ตอนนี้จึงมีการฟ้องร้อง ห้างลี
3.จนถึงบัดนี้ 5 ตุลาคม 2555 ยังไม่มีการเซ็นต์สัญญาสัมปทานพื้นที่ระหว่าลีวิวัฒน์ (ในชื่อของ บ.มิตรทอง (ใหม๋)) กับการรถไฟ
4.มีการรวมกลุ่มประท้วงต่อต้าน ลีวิวัฒน์ จากผู้เช่า ทั้งบ้าน ร้านค้า แผงเช่าอย่างต่อเนื่อง
5.......


ข้อที่ 4 ถูกต้องเลยครับ เพราะบ้านผมก็อยู่แถวนั้น

ลูกแมวตาดำๆ

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/422037.html

ชาวบ้านตลาดรถไฟสงขลาร้องขอความเป็นธรรมถูกไล่ที่

สงขลา 6 ต.ค. - ชาวบ้านในชุมชนตลาดรถไฟเก่า จ.สงขลา ชุมนุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมกรณีถูกไล่ที่ ด้านประธานคณะ กมธ.คมนาคม สภาฯ เตรียมนำเสนอปัญหา เพื่อหาทางช่วยเหลือ

ชาวบ้านในชุมชนตลาดรถไฟเก่า เขตเทศบาลนครสงขลา กว่า 135 ครัวเรือน รวมตัวชุมนุมเรียกร้องขอความเป็นธรรม หลังบริษัทเอกชนซึ่งเช่าพื้นที่ต่อจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เรียกเก็บค่าเช่าและค่าต่อสัญญาแพงเกินจริง จากเดือนละ 600 บาท เพิ่มเป็นเดือนละ 10,000 บาท และมีค่าต่อสัญญาอีกหลายแสนบาท ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถต่อสัญญาได้ จนถูกบริษัทขับไล่ออกจากบ้านเรือนภายใน 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะดำเนินการฟ้องร้องขับไล่ โดยในวันนี้ (6 ต.ค.) นายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางมารับฟังปัญหาความเดือดร้อน และเตรียมนำเสนอปัญหาเข้าสู่คณะกรรมาธิการฯ เพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป. - สำนักข่าวไทย


คนตลาดรถไฟ

ไม่คิดเลยว่าร้านลีของคนสงขลาแท้ๆ จะทำร้ายคนสงขลาด้วยกันเอง เห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว  ส.โกรธอย่างแรง

คนสงขลาแต่แรกเกิด


คนเฝ้ามอง

ผมอ่านข่าวไม่ผิดใช่ไหมครับว่า สัญญาเดิมที่ทำกับการรถไฟซึ่งที่เช่าตั้งแต่แรกและยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือ เดือนละ 600 บาท ถึงว่าทำไมถึงขาดทุดอยู่ได้ทุกปี ซ้ำซาก แล้วส่วนใหญ่ที่แถวนั้นทำมาค้าขายกันทั้งนั้นเดือนหนึงได้เป็นหมื่นเป็นแสน แล้วที่ในโรงหนังที่เปลี่ยนสภาพเป็นที่เช่าให้จอดรถนั้น ก็เป็นของชาวบ้านแถวนั้นทั้งนั้น เคยเข้าไปดูกันไหมครับว่าเป็นรถรุ่นอะไร ยี่ห้ออะไร คนรวยๆทั้งนั้นครับ  แล้วดูสภาพปัจจุบันชาวบ้านก็ปล่อยให้ดูสะไม่จืด พอมีใครจะมาพัฒนาเพื่อส่วนรวมแล้วกระทบกับบุคคลที่อยู่มานาน(แต่ก็ไม่ใช่ที่ของตนเอง)ก็ประท้วงกัน เห้อ...

บ.มิตรทองสงขลา

สวัสดีครับ  ผมในฐานะกรรมการและเป็นตัวแทนบริษัท มิตรทองสงขลา จำกัด ซึ่งได้รับฟังข่าวสารมาตลอดแต่ไม่ได้โต้ตอบและแก้ข้อกล่าวหา  เพราะไม่อยากทำให้เรื่องบานปลาย ซึ่งยอมให้กลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้กล่าวหาในแง่ลบมาโดยตลอด แต่เมื่อทุกอย่างเริ่มมีการใส่ร้ายป้ายสีมากขึ้น และข้อมูลที่แจ้งออกมาไม่ได้ตรงกับความเป็นจริงเลย เป็นการให้ร้ายป้ายสีทุกอย่างและเท่าที่จะทำให้บริษัทและผู้บริหารได้รับความเสื่อมเสียและเสียหาย สร้างข่าวให้มองภาพในด้านลบมาโดยตลอด ดังนั้นทางบริษัทจะขอตอบชี้แจง ณ ที่นี้และทุกท่านก็จะทราบความเป็นจริงว่าอะไรคืออะไร
   ที่มีข้อความแจ้งว่า ต้องมีการขับไล่ผู้อยู่อาศัยเดิมออกเกือบ 10 ครอบครัวเป็นเพียงเพราะการที่บริษัทตอบรับเงื่อนไขจากการรถไฟให้จ่ายค่าเช่า, ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น รวมมูลค่าต่อสัญญากว่า 65 ล้านบาท และมีค่าปรับปรุงตลาดในโครงการกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมดอกเบี้ยเงินกู้ที่ทางบริษัทได้ขอไว้ที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยกว่าเดือนละ 300,000-400,000 บาทต่อเดือน
โดยการที่บริษัทมิตรทองไม่ต่อสัญญาให้กับผู้เช่าบางส่วน เพียงเพราะต้องการที่จะนำโครงการที่จะพัฒนาพื้นที่ให้สามารถดึงดูดผู้สนใจพื้นที่มาช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณในโครงการและต้องใช้พื้นที่พอสมควรจึงเลือกใช้โรงภาพยนตร์เก่าและคูหาข้างเคียงเพื่อให้กระทบน้อยที่สุด ซึ่งโครงการห้างนั้นจำเป็นต้องใช้พื้นที่พอสมควรจึงสามารถดึงดูดความน่าสนใจครับ เมื่อเกิดแล้วอาคารข้างเคียงก็มีรายได้มากขึ้นใช่หรือไม่ซึ่งทางบริษัทก็มิได้ให้ย้ายออกทันที บริษัทให้บ้านเหล่านั้นอยู่อาศัยปราศจากค่าเช่าไปจนถึงสิ้นปี (ตั้งแต่สิงหาคม-ธันวาคม 2555) โดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าและบริษัทได้ให้ค่าเยียวยาจำนวน 100,000 บาทต่อคูหาครับ ซึ่งบริษัทถือว่าอาคารที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้นเป็นผู้เสียสละให้กับส่วนรวมในการพัฒนาพื้นที่โครงการนี้ให้ทุกคูหาได้มีความเจริญต่อไป

โดยที่การรถไฟนั้นได้ปรับขึ้นมาตามสภาพเศรษฐกิจของพื้นที่ปัจจุบัน และให้บริษัทบุคคลภายนอกนอกมาประเมินค่าเช่า, ค่าเซ้งใหม่โดยไม่ได้อิงจากอัตราเดิม ผมถามว่าทุกท่านในสื่อออนไลน์คิดว่าต้องทำธุรกิจอะไรที่จะสามารถคืนทุนในพื้นที่โทรมๆของตลาดและอาคารพาณิชย์ที่เอาไว้เก็บของและอยู่อาศัย ซึ่งไม่ได้ทำธุรกิจอะไรเลย ทั้งๆที่เป็น "อาคารพาณิชย์" และอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีความเจริญ และที่คุณบอกว่าไม่ผิดสัญญาอะไรเลย อยู่อาศัยมา 10-20 ปี ที่จะบอกความจริงคือทุกท่านและบริวารที่อยู่อาศัยในโครงการรถไฟได้อยู่อาศัยโดยไม่มีสัญญาเช่า (สัญญาได้หมดตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550) ผมถามว่าหากสัญญาเช่าหมดลงและทุกท่านไม่ต่อสัญญาจะอยู่ไปตลอดได้อย่างไรครับ ก็ต้องออกจากสถานที่ที่เช่าเมื่อหมดสัญญาเช่า ที่ดินนี้เป็นของการรถไฟ ซึ่งเมื่อหมดสัญญาเช่าทางการรถไฟก็สามารถจะยกเลิกสัญญาเช่ากับใครก็ได้ หากบริษัทมิตรทองไม่ยอมรับเงื่อนไขทางการรถไฟก็จะประมูลหาผู้เช่ารายใหม่ที่สามารถรับเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ ในทำนองเดียวกันหากอัตราเช่าที่บริษัทได้ตั้งไว้ แล้วผู้เช่ารับไม่ได้ก็ควรสละสิทธ์ และทางบริษัทจะดำเนินการหาผู้เช่ารายใหม่แทน หากจะบอกว่าแพง บริษัทก็อาจจะไม่สามารถหาคนมาเช่าใหม่ได้ แต่ไม่ใช่จะใช้วิธีก่อตั้งกลุ่มมวลชนมาเจรจากดดันข่มขู่ผู้ให้เช่า(เจ้าของที่) และยื้อเวลาอยู่ต่อไปโดยไม่จ่ายค่าเช่าโดยให้วันเวลาผ่านไปเรื่อยๆซึ่งกลุ่มเหล่านั้นไม่มีต้นทุนแต่ทางบริษัทต้องรับภาระดอกเบี้ยเดือนละ300,000-400,000บาท ซึ่งผมถามทุกท่านว่าบ้านอาคาร 2 ชั้น, 3ชั้นในโครงการ พวกท่านจะเช่าในราคา 1,000 บาท ในมุมกลับกันถ้าคุณเป็นผู้ให้เช่าควรจะให้ราคาที่เท่าไหร่เทียบกับราคาข้างเคียงปัจจุบันครับ โดยในปัจจุบันอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นในโครงการนั้นให้เช่าช่วงต่อเอง ซึ่งผิดกฎสัญญาของบริษัทมิตรทองในอัตราตั้งแต่ 5,000 – 8,000 บาท และอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นให้เช่าช่วงต่อสูงถึง 15,000 บาท-20,000บาทต่อคูหา แต่ทางกลุ่มผู้เช่าเสนอให้บริษัทในอัตราที่เดือนละ 1,000 บาทต่อเดือนและค่าเซ้งที่ 50,000 บาท ซึ่งเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ให้เช่าหรือเปล่าครับ ในสภาพของภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
   ตอบข้อ 2 ครับ ที่บอกว่าอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ขอบอกว่าโครงการดังกล่าวอยู่ในอาณาเขตพื้นที่สัญญาเช่าของบริษัทมิตรทองแน่นอนครับ โดยสามรถตรวจสอบจากการรถไฟดีกว่าจะได้ข้อมูลที่เป็นความจริงและที่ถูกต้อง หากเป็นพื้นที่อนุรักษ์จะขึ้นเป็นโรงภาพยนตร์ได้อย่างไรครับและการรถไฟก็ไม่ได้แจ้งอะไรเมื่อต่อสัญญาฉบับใหม่ว่าต้องห้ามปรับปรุงในพื้นที่ของกรมศิลป์ในบริเวณโครงการรถไฟและก็คงจะไม่ต่อสัญญาเช่าให้กับบริษัท มิตรทองสงขลา อย่างแน่นอน
   ตอบข้อ 3 ที่บอกว่าบริษัทยังไม่มีการเซ็นต์สัญญาเช่า ผิดครับ เซ็นต์สัญญาเช่ามาตั้งนานแล้วดูจากจดหมายรูปที่แนบมาด้วยดีกว่าครับ แต่บริษัทไม่ได้คิดว่าต้องพิมพ์แจก โดยบริษัทได้ติดประกาศไว้ที่หน้าสำนักงานเพียงเท่านั้นและได้แจ้งให้ผู้เช่าทุกท่านได้เข้ามาติดต่อเพื่อรับข้อมูลการต่อสัญญาที่บริษัท และทางบริษัทจะชี้แจงว่าจะต้องชำระในอัตราเท่าไหร่เพื่อบริษัทจะได้รับทราบถึงผู้มีสิทธ์ในการเช่าที่แท้จริงด้วยเนี่องจากมีการเช่าช่วงต่อกันเองมากมาย
   ตอบข้อที่ 4 ผู้ประท้วงส่วนใหญ่คือผู้เช่าอาคารพาณิชย์ที่ไม่ยอมจ่ายเงินค่าเช่าและค่าธรรมเนียม ส่วนแม่ค้าทางบริษัทยังไม่มีการเก็บค่าเช่าเพิ่มอย่างไรยังคงเก็บในอัตราเดิมอยู่ มีแต่การพัฒนาการทำความสะอาด จัดระเบียบการจอดรถ เพิ่มระบบแสงสว่าง และกำลังเตรียมปรับปรุงหลังคาตลาดให้ดีขึ้นไม่รั่วซึมและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของแม่ค้า  เพื่อให้ทุกคนในสงขลาได้ใช้บริการได้อย่างสบายใจ,สะดวกไม่เปียกและสะอาดขึ้น ทุกท่านไม่ชอบหรือครับ
   ผมขอเกริ่นให้ทุกท่านลองทบทวนว่าคุณจะยอมรับราคาค่าเช่า 1,000 บาทต่อคูหาได้หรือไม่ และค่าเซ้งที่ 50,000 บาทครับ กับการลงทุนในโครงการกว่า 100 ล้านบาท ค่าเช่าที่การรถไฟเรียกเก็บจากบริษัทมิตรทองสงขลาปีละ 1,000,000 เป็นปีละกว่า 5,000,000 บาท แล้วคุณไม่กล่าวโทษการรถไฟบ้างละครับ แต่กลับมาลงความผิดที่บริษัทรับสัญญาเช่ามาจากการรถไฟ (เสริมอีกนิด ที่ข่าวออกมาว่าบริษัทปรับอัตราค่าเช่าที่อัตรา 10,000 นั้น เป็นข้อมูลเมื่อ 3-4 เดือนที่แล้ว โดยที่ประกาศกันโครมๆว่า10,000บาทนั้นเพียง12คูหาที่เป็นอาคาร3ชั้นติดถนนปละท่าและคิดคูหาละ5,000บาทสำหรับอาคาร2ชั้นที่เหลือ และคิดเฉพาะชั่วคราวถึงสิ้นปี2555เท่านั้น และบริษัทได้ยกเลิกค่าเช่านั้นไปแล้วด้วยเพราะไม่อยากให้มีปัญหา) และหากมีการต่อสัญญาเช่าฉบับใหม่กับบริษัทปัจจุบันอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นบริษัทมีการเรียกเก็บค่าเช่าอยู่ที่เดือนละ 2,650 บาทต่อเดือน และมีค่าเซ้ง(ค่าต่อสัญญา) อยู่ที่คูหาละ 550,000 บาทยกเว้นในส่วนของถนนรามวิถี ซอย 2 มีค่าเซ้ง (ค่าต่อสัญญา) อยู่ที่คูหาละ 600,000 บาท  ส่วนอาคารพาณิชย์ทั้ง 2 ชั้น ละ 3 ชั้น ที่อยู่ห้องหัวมุมมีการเก็บเพิ่มเติมอีกจำนวน 50,000 บาท ในส่วนของอาคารโกดังมีการเก็บค่าเช่าตกเดือนละ 3,000 บาทจำนวน 8 คูหา โดยไม่มีค่าเซ้ง ( ไม่มีค่าต่อสัญญา )  ส่วนอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น เก็บค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ค่าเซ้ง (ค่าต่อสัญญา)  คูหาละ 800,000 บาท ซึ่งบริษัทก็ยอมเก็บอัตราเซ้งเท่ากับที่ทุกท่านได้เซ้งกันเมื่อ20กว่าปีก่อนและเพิ่มเพียงอีกห้องละ100,000-150,000บาท เมื่อเทียบกับความเจริญที่ต่างกันมากมายแต่อัตราเรียกเก็บนั้นใกล้เคียงกับของเดิม ซึ่งทุกวันนี้มีการนำไปเช่าต่อแล้วที่เกือบ 20,000 บาทต่อเดือน ผมถามว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของสิทธิ์ครอบครอง คุณจะให้เช่าอัตราเท่าไหร่ ซึ่งในระหว่างการต่อสัญญาทุกบ้านจะอ้างว่าไม่มีสัญญาก็จะไม่จ่ายค่าเช่า แต่การรถไฟได้เก็บอัตราค่าเช่าใหม่400%ปีละกว่า 5,000,000 บาทตั้งแต่ปี กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 ซึ่งบ้านทุกคูหาก็จ่ายอัตราเดิมมาโดยตลอด ทางบริษัทก็มิได้เก็บเงินส่วนต่างเพิ่มเติมแต่อย่างใด ถือว่าจ่ายกันมาแล้วก็ยกผลประโยชน์ไป บริษัทยอมรับผิดชอบส่วนต่างดังกล่าวกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งเมื่อบริษัทต้องจ่ายค่าเช่าให้การรถไฟในอัตราใหม่และรอให้การรถไฟเซ็นต์กลับมา และต้องเสนอแบบแปลนปรับปรุงอีกกว่า 30 ล้านบาท ทำให้บริษัทคิดว่าคงใช้ระยะเวลาประมาณครึ่งปี ดังนั้นจึงขอความเห็นใจจากทุกท่านโปรดช่วยกันบ้างนิดหน่อย จากบ้านหลังละ 600 บาท(ค่าเช่าถูกหรือไม่,โดยไม่คิดค่าเซ้ง) ปรับขึ้นมาบ้างหากทุกท่านช่วยกันก็แค่สามารถจ่ายค่าดอกเบี้ยได้เท่านั้นเอง แต่ก็ยังดีครับ เพราะบริษัทไม่มีมรดกและสมบัติจากไหนส่งมาให้ ทุกอย่างต้องขอกู้จากสถาบันการเงินทั้งนั้น และที่ปรับ 6 เดือนนั้นทางบริษัทคิดในอัตราตามมาตรฐานที่ละแวกใกล้เคียงที่เช่ากันและปรับลดลงนิดหน่อย เพราะถือว่าที่คุณอยู่ในเวลาที่ชั่วคราวไม่มีค่าเซ้งมารวมด้วย และได้ยกเลิกการคิดอัตราค่าเช่าดังกล่าวนานมาแล้วครับ ยังไม่ได้เก็บบ้านใดบ้านหนึ่งเลย แต่พวกคุณชอบเอาประเด็นดังกล่าวมาจุดฉนวนกระแสต่อต้านบริษัท
   ถ้าบอกว่าบริษัทเก็บค่าเซ้งแพง บริษัทจึงขอให้ช่วยสอบถามดูว่าในการเซ้งเปลี่ยนมือในโครงการตลาดที่ผ่านมา มีการเสนอและเสียค่าใช้จ่ายกันเท่าไหร่ อาคารพาณิชย์ บางแห่งที่ขายอุปกรณ์เบอร์เกอรี่ ขายเสื้อผ้า รองเท้า หนังสือ ละแวกเดียวกับฝั่งตลาดสดบอกว่าบริษัทเรียกเก็บราคาสูง แต่ทางเขาเองเซ้งมาคูหาละ 1 ล้านบาท โดยไม่มีสัญญาอะไรเป็นหลักค้ำประกันเลย และทราบด้วยว่าสัญญาที่ทำกับบริษัทได้กำลังหมดลง และอีกใกล้ๆกันเป็นคลับ, ผับเก่าหัวมุมเขาได้เซ้งกันเองคูหาละ 800,000 บาท เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งแทบจะไม่เหลือระยะเวลาเช่าในสัญญาเลย ขอให้ท่านย้อนกลับไปดูว่าสัญญาเช่าทุกท่านที่เช่าจากบริษัทก็เป็นที่ดินของการรถไฟ เมื่อสัญญาหมดก็ต้องออกโดยไม่มีเงื่อนไขหากไม่มีการต่อสัญญากันใหม่ และก็ขอให้ท่านช่วยกลับไปดูสัญญาเช่าเก่าฉบับครั้งล่าสุดที่ท่านได้ทำสัญญาเช่าไว้กับบริษัทมิตรทองว่ามีเงื่อนไขในสัญญาอย่างไร สัญญาเริ่มมีผลบังคับเมื่อใด สิ้นสุดเมื่อใด หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่ามีอย่างไร สิทธิอำนาจหน้าที่ของผู้ให้เช่ามีอย่างไร ซึ่งก่อนทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าทุกท่านคงได้อ่านรายละเอียดข้อความในสัญญาเช่าแล้ว
   บริษัทไม่ได้กระทำการข้ามขั้นตอนในการแจ้งยกเลิกสัญญาเช่า แต่บริษัทได้แจ้งด้วยวาจาเบี้องต้นตั้งแต่ก่อนที่จะได้รับสัญญา และเมื่อได้รับสัญญามาแล้วก็ได้ทำหนังสือแจ้งให้กับทุกท่านเชิญชวนมาติดต่อที่สำนักงานตั้งแต่สิงหาคม-ต้นกันยายนแล้วแต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ประสงค์ที่จะมาต่อสัญญาเช่า แล้วจะให้ทางบริษัทดำเนินการอย่างไรในเมื่อทุกท่านไม่ประสงค์ต่อสัญญาเช่า ทางบริษัทจึงทำหนังสือให้ย้ายออกเพื่อที่จะได้หาผู้เช่ารายใหม่

สำหรับข้อมูลอื่นๆ หากทุกท่านสงสัยทางบริษัทจะชี้แจงผ่านทาง Web ดีกว่าและขออย่าได้หลงเชื่อคำพูดกล่าวอ้างและใส่ร้ายป้ายสีต่างๆที่ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าทุกท่านดูข้อมูลคร่าวๆที่บริษัทได้อธิบายแล้ว ก็หวังว่าจะเข้าใจหัวอกคนทำธุรกิจที่เดินตามกฎระเบียบต่างๆ และกฎหมาย และบริษัทไม่อำนาจที่จะใช้กฎหมู่ ไม่ใช่คิดจะยื้อไม่จ่ายค่าเช่าและไม่ออกอย่างนี้ ทางบริษัทมีข้อมูลเชิงลึกทุกอย่าง แต่คิดว่าให้ทุกท่านได้พิจารณาเองดีกว่า เพราะบริษัทได้ประชุมกับกลุ่มแกนนำแล้ว ได้บอกกล่าวทุกอย่างแต่กลุ่มแกนนำกลับไม่เปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน จึงขอเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องผ่านสื่อสาธารณะดีกว่าครับ และบริษัทขอย้ำอีกครั้งรรับว่าไม่ได้ต้องกากรยุแหย่แต่เพียงแค่ต้องการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องขอบคุณครับ
   ปล. ท่านใดที่ให้การสนับสนุนกลุ่มบุคคลดังกล่าวโปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟังข้อมูลด้วยนะครับว่าถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ เพราะหากไปช่วยคนที่ไม่สมควรช่วยเหลือ ก็อาจจะเสื่อมเสียและเสียสิทธิที่ควรพึงจะได้รับได้เหมือนกันและหากเกิดความเสียหายแก่ท่านใครหรือบุคคลคลใดจะเป็นผู้รับผิดชอบให้ท่านได้
   ขอความเป็นธรรมกับบริษัทมิตรทองด้วยที่โดนกล่าวใส่ร้ายมาโดยตลอด




กังนัม


ลูกแมวตาดำๆ

ดีครับ ที่เข้ามาชี้แจงข้อมูล

ผมขอสอบถามนอกประเด็นนิดนึงครับ สำหรับตัวอาคารสถานีรถไฟสงขลา ทางบริษัทมีแนวทางการพัฒนา อย่างไร ยังใช้เป็นสำนักงานหรือไม่

อยากให้ช่วยดูแลหน่อยได้มั๊ย อาจจะไม่ต้องถึงขั้นบูรณะ เพราะมันเกินความสามารถ หน้าที่นั้นควรเป็นของกรมศิลปากร แต่ที่อยากเห็นคือ ดูแลอย่าให้มีรถจอดบนตัวอาคาร ปรับปรุงทัศนียภาพให้สวยงาม ส่วนเรื่องป้ายนั้น รู้สึกว่ามันเป็นทัศนียภาพที่ไม่เหมาะสมจริงๆนะครับ พอจะมีแนวทางแก้ไขได้บ้างหรือไม่

ข้าวเหนียวมะม่วง

การอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานสำคัญของชาติ "สถานีรถไฟสงขลา" ก็เปรียบเสมือนการรักษารากเหง้าของตัวเอง ว่าคุณนั้นเป็นใคร

ถ้าจะเป็นการบูรณะเพื่อการรักษาความคงเดิมเอาไว้ ผมจะเป็นหนึ่งคนที่ร่วมสนับสนุน

แต่ถ้าเป็นการพยายามจะทำลาย จะมีอีกหลายร้อยหลายพันคนร่วมต่อต้านอย่างแน่นอน และผมก็จะเป็นหนึ่งในนั้น
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"

boonthung

ไม่ได้อยู่ข้างใคร เล่าให้ฟังตอนผมเด็ก ๆ2529 ผมอยู่หลังบ่อนวัว บ้านผมหลังเดียวเช่าอยู่ ที่เหลือดินรถไฟ ดินบ่อนวัวทั้งหมด สมัยนั้น รางรถไฟ ยังใหม่อยู่ไปเดินเล่นประจำ หลังร้านลีเมื่อก่อนเป็นป่าครับ มีบ้านอยู่หลังเดียว ไปวิ่งเล่นบ่อย ตอนนี้เป็นชุมชนแออัดหมดเลย

คนเฝ้ามอง

ตกลงว่าคนที่ออกมาประท้วงกันคือคนที่อยู่แบบไม่ทำสัญญาหรอกเหรอครับ เรียกว่าอยู่กันแบบฟรีๆ   ส.โอ้โห

จักรพันธ์

 ส.โบยบิน ส.อืม แล้วไม่ทำแบบสำรวจประชามติ จากเสียงส่วนใหญ่ว่าเค้าต้องการสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่หรือป่าว ถ้าคิดจะทำเพื่อส่วนรวมจริงๆๆๆๆๆ  ต้องยอมรับเสียงส่วนใหญ่  อย่าว่าแต่ระเวกนั้นเลย  คนอยู่ที่อื่นยังไม่เห็นด้วยเลย  ขอเป็น1เสียงที่ต้องการซื้อผัก ซื้อกับข้าวราคาบ้านๆๆๆๆ 

บ.มิตรทองสงขลา

อ้างจาก: ลูกแมวตาดำๆ เมื่อ 23:40 น.  11 ต.ค 55
ดีครับ ที่เข้ามาชี้แจงข้อมูล

ผมขอสอบถามนอกประเด็นนิดนึงครับ สำหรับตัวอาคารสถานีรถไฟสงขลา ทางบริษัทมีแนวทางการพัฒนา อย่างไร ยังใช้เป็นสำนักงานหรือไม่

อยากให้ช่วยดูแลหน่อยได้มั๊ย อาจจะไม่ต้องถึงขั้นบูรณะ เพราะมันเกินความสามารถ หน้าที่นั้นควรเป็นของกรมศิลปากร แต่ที่อยากเห็นคือ ดูแลอย่าให้มีรถจอดบนตัวอาคาร ปรับปรุงทัศนียภาพให้สวยงาม ส่วนเรื่องป้ายนั้น รู้สึกว่ามันเป็นทัศนียภาพที่ไม่เหมาะสมจริงๆนะครับ พอจะมีแนวทางแก้ไขได้บ้างหรือไม่

ครับ คุณลูกแมวตาดำๆ
สำหรับตัวอาคารสถานีรถไฟทางบริษัทยังไม่สามารถทำอะไรกับอาคารได้แต่เล็งเห็นถึงความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะพื้นที่อยู่ในการดูแลของกรมศิลป์ หากจะทำอะไรจะต้องขออนุญาตก่อน ปัจจุบันทางบริษัทได้ดูแลเรื่องความสะอาดและรักษาพื้นที่ไม่ให้ใครบุกรุกยึดครองตามระเบียบสัญญาเช่าการรถไฟ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจพื้นที่เท่าไหร่ บริเวณชานชลาเป็นเหล่งเสพยาเสพติดของคนติดยาเสพติดเพราะมืดสนิทและมีป่าล้อมรอบ และเป็นที่นอนสำหรับคนไร้ที่อยู่อาศัยหรือขอทานมากมาย ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับความปลอดภัยของคนละแวกนั้น ซึ่งคนเหล่านั้นก็เป็นผู้ทำลายสถานีให้ทรุดโทรมลงโดยการงัดแงะสิ่งของไปขายและฉีดสีสเปรย์ บริเวณกำแพงสถานีโดยรอบ ซึ่งบริษัทจึงได้ขับไล่กลุ่มดังกล่าวออกไปและเพิ่มแสงสว่างและจัดรปภเข้าไปดูแล  โดยบริษัทเคยได้นำโครงเหล็กไปกั้นไม่ให้รถมอเตอร์ไชด์ขับผ่านตรงบริเวณตรงกลางสถานีเพราะอาจจะไปชนกำแพง, ประตู, หรือเสาแล้วชำรุดได้ โดยให้ใช้ถนนซอยข้างๆแทนเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่มีกลุ่มบางกลุ่มไม่พอใจต่อว่ามา ว่าขับมาอยู่ดีๆจะมาปิดทำไมให้วุ่นวายและยุ่งยาก จึงต้องกลับไปแบบเดิมครับ

ในเรื่องของป้ายโฆษณานั้น ทางบริษัทได้ทำโครงเหล็กแบบชั่วคราวเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการปรับปรุงตลาดและพ่วงในส่วนการขายอาคารพาณิชย์ไปด้วย ซึ่งอาคารพาณิชย์ก็ขายจบหมดแล้วเมื่อเร็วๆนี้ และทางบริษัทก็เตรียมที่จะรื้อถอนโครงเหล็กออกเร็วๆนี้ครับ บริษัทไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น และขอโทษกับสิ่งที่ทำไป

ส่วนเรื่องที่จอดรถมอเตอร์ไซด์นั้นบริษัทเดิมมีแผนในอนาคตที่จะปรับพื้นที่บางส่วนเป็นที่จอดรถและย้ายไปที่ใหม่หากเรียบร้อย ซึ่งที่ให้จอดบนชานชลานั้นเพียงเพราะไม่อยากให้พนักงานไปแย่งที่จอดรถลูกค้าตลาดสดที่ปกติก็แน่นมากแล้วและก็ไม่ได้คิดว่าทำให้เสื่อมโทรมจึงดำเนินการไป

ในอนาคตหากบริษัทพอจะมีรายรับเข้ามาบ้างก็อาจเตรียมงบประมาณสนับสนุนกรมศิลป์ในการปรับปรุงสถานีสงขลา และอาจจะเสนอให้มีการจัดตลาดนัดรถไฟกลางคืนแบบที่มีโฆษณาสินค้าอะไรสักอย่างครับ

ลูกแมวตาดำๆ

อ้างจาก: บ.มิตรทองสงขลา เมื่อ 00:57 น.  13 ต.ค 55
ครับ คุณลูกแมวตาดำๆ
สำหรับตัวอาคารสถานีรถไฟทางบริษัทยังไม่สามารถทำอะไรกับอาคารได้แต่เล็งเห็นถึงความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะพื้นที่อยู่ในการดูแลของกรมศิลป์ หากจะทำอะไรจะต้องขออนุญาตก่อน ปัจจุบันทางบริษัทได้ดูแลเรื่องความสะอาดและรักษาพื้นที่ไม่ให้ใครบุกรุกยึดครองตามระเบียบสัญญาเช่าการรถไฟ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจพื้นที่เท่าไหร่ บริเวณชานชลาเป็นเหล่งเสพยาเสพติดของคนติดยาเสพติดเพราะมืดสนิทและมีป่าล้อมรอบ และเป็นที่นอนสำหรับคนไร้ที่อยู่อาศัยหรือขอทานมากมาย ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับความปลอดภัยของคนละแวกนั้น ซึ่งคนเหล่านั้นก็เป็นผู้ทำลายสถานีให้ทรุดโทรมลงโดยการงัดแงะสิ่งของไปขายและฉีดสีสเปรย์ บริเวณกำแพงสถานีโดยรอบ ซึ่งบริษัทจึงได้ขับไล่กลุ่มดังกล่าวออกไปและเพิ่มแสงสว่างและจัดรปภเข้าไปดูแล  โดยบริษัทเคยได้นำโครงเหล็กไปกั้นไม่ให้รถมอเตอร์ไชด์ขับผ่านตรงบริเวณตรงกลางสถานีเพราะอาจจะไปชนกำแพง, ประตู, หรือเสาแล้วชำรุดได้ โดยให้ใช้ถนนซอยข้างๆแทนเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่มีกลุ่มบางกลุ่มไม่พอใจต่อว่ามา ว่าขับมาอยู่ดีๆจะมาปิดทำไมให้วุ่นวายและยุ่งยาก จึงต้องกลับไปแบบเดิมครับ

ในเรื่องของป้ายโฆษณานั้น ทางบริษัทได้ทำโครงเหล็กแบบชั่วคราวเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการปรับปรุงตลาดและพ่วงในส่วนการขายอาคารพาณิชย์ไปด้วย ซึ่งอาคารพาณิชย์ก็ขายจบหมดแล้วเมื่อเร็วๆนี้ และทางบริษัทก็เตรียมที่จะรื้อถอนโครงเหล็กออกเร็วๆนี้ครับ บริษัทไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น และขอโทษกับสิ่งที่ทำไป

ส่วนเรื่องที่จอดรถมอเตอร์ไซด์นั้นบริษัทเดิมมีแผนในอนาคตที่จะปรับพื้นที่บางส่วนเป็นที่จอดรถและย้ายไปที่ใหม่หากเรียบร้อย ซึ่งที่ให้จอดบนชานชลานั้นเพียงเพราะไม่อยากให้พนักงานไปแย่งที่จอดรถลูกค้าตลาดสดที่ปกติก็แน่นมากแล้วและก็ไม่ได้คิดว่าทำให้เสื่อมโทรมจึงดำเนินการไป

ในอนาคตหากบริษัทพอจะมีรายรับเข้ามาบ้างก็อาจเตรียมงบประมาณสนับสนุนกรมศิลป์ในการปรับปรุงสถานีสงขลา และอาจจะเสนอให้มีการจัดตลาดนัดรถไฟกลางคืนแบบที่มีโฆษณาสินค้าอะไรสักอย่างครับ

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ ฟังรู้สึกดีขึ้นมาไม่น้อยเลยทีเดียว

โครงเหล็กกั้นนั้น ตอนแรกเห็นแล้วก็ชื่นชมครับ แต่วันก่อนเห็นโดนเปิดซะแล้ว แต่ผมว่าวิธีแก้ ต้องจัดอะไรซะอย่าง บริเวณนั้น เป็นการกั้นรถไปในตัว ไว้คิดไอเดียได้ จะมาเสนอครับ

เรื่องป้ายนั้น หวังว่าจะรื้อเมื่อเมื่อเสร็จโครงการน่ะครับ แต่ถ้าได้ก่อนก็ดีครับ อนึ่งทางเข้าฝั่ง ถ.ปละท่า มีป้ายชี้ทางเข้าแหล่งโบราณสถาน ผมเกรงว่านักท่องเที่ยวจะหาโบราณสถานไม่เจอ  ส.หยิบตาข้างเดียว

คือถ้ามีการจอดรถ ก็ย่อมมีการใช้ช่องอาคาร ขี่รถผ่านไปมาอยู่ดีครับ เพราะส่วนหนึ่งที่ขี่ผ่าน ก็คนที่ใช้ที่จอดตรงนั้นล่ะครับ

เรื่องการปรับปรุง ถ้าประสานกับกรมศิลฯ ได้ก็จะดีมากครับ หากบริษัทมีกำไรคืนแก่สังคม ก็ย่อมทำได้ เช่นการทาสี เปลี่ยนหลังคาที่ชำรุด แต่ทุกอย่างจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมระหว่างปรับปรุงโดยกรมศิลปากร เพื่อความถูกต้องหรือใกล้เคียงขอเดิมมากที่สุด

ส่วนร้านน้ำชานั้น ขออย่าย้ายไปไหนนะครับ เพราะนั้นคือสิ่งปัจจุบัน ที่ยังเหลือจากอดีต ส่วนสำนักงานบริษัท ที่ใช้อาคารฝั่งใต้นั้น
ที่ดูๆตอนนี้ก็ไม่กระทบอะไร นอกจากเรื่องเจาะช่องท่อแอร์น่ะครับ

ยังไงฝั่งชานชลาเก่า ถ้าไม่ใช้รถมาจอดได้ คงจะเป็นดีที่สุดครับ รถหลายๆคัน มันก็น้ำหนักไม่น้อย ส่งผลเรื่องการรับน้ำหนักได้นะครับ อาจจะทำให้อาคารทรุดในทางอ้อม ที่สำคัญอาคารนี้ จะครบ100ปี ของการเปิดใช้งาน ในวันที่ 1มกราคม 2557 อายุตอนนี้ก็กว่า98ปีแล้ว อะไรที่ลดเรื่องการรับน้ำหนักได้ ก็ลดเป็นดีนะครับ

เฮียจั๊ว

เรื่องผู้เช่านั้น น่าจะหาคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ย ราคาใหม่ก็น่าจะสมควรแล้ว หรือค่าเซ้งอาจจะต่อรองลงมาอีกนิด
(ไม่ทราบว่าราคาที่ว่านี้ให้กี่ปีครับ)
ถ้าทำแล้วดูดี ก็ควรที่จะสนับสนุน ปรับภูมิทัศน์ อาจจะมีการทาสีใหม่หมดทั้งโครงการเป็นของแถมให้แก่ผู้เช่า
อนุรักษ์ตัวสถานีไว้ ให้ดูสวยงามสมกับเป็นโบราณสถาน

                     ไม่ค่อยจะเห็นด้วยที่ชื่อตลาดลีรถไฟ  อยากจะเห็นชื่อตลาดรถไฟ คงเดิม

       แต่เมื่อเสร็จแล้ว จะชื่อห้างลีรถไฟ ลีทรัพย์สิน ลีเปรสิเด็นท์ หรือลี ว.ค.  แต่ตลาด น่าจะเป็นตลาดรถไฟหรือเปลี่ยนเป็น ตลาดลี ไปเลย  (ขออภัย ที่เสนอแนะ)

coldman

เห็นด้วยที่จะต้องมีคนกลางเข้ามาช่วย เพราะต่างคนต่างให้ข้อมูลเข้าข้างตัวเอง ทั้งนั้น เช่นบอกว่าอยู่ฟรี ทั้งที่จ่ายค่าเช่าอย่ทุกเดือน บอกว่ายังไม่ขึ้นที่ค่าที่แม่ค้า ทั้งที่ขึ้นไปแล้ว ใครไปตลาดรถไฟก็รู้ว่าค่าจอดรถก็ขึ้นราคาไปแล้ว